การระบาดทั่วของโควิด-19
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
![]() | เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
การระบาดทั่วของไวรัสโควิด-19 | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() แผนที่แสดงจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยันเฉลี่ยต่อ 100,000 คน ณ 20 พฤศจิกายน 2022
| |||||||
| |||||||
| |||||||
(ตามเข็มนาฬิกาจากบนสุด)
| |||||||
โรค | โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) | ||||||
สถานที่ | ทั่วโลก | ||||||
ผู้ป่วยต้นปัญหา | อู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน 30°35′14″N 114°17′17″E / 30.58722°N 114.28806°E | ||||||
วันที่ | 1 ธันวาคม 2019 – 26 กันยายน 2023 (3 ปี 9 เดือน 25 วัน) | ||||||
ผู้ป่วยยืนยันสะสม | 695,750,008 คน[1] | ||||||
หาย | 667,793,648 คน[1] | ||||||
เสียชีวิต | 6,919,476 คน[2] | ||||||
ดินแดน | 223 ดินแดน[2] |
การระบาดทั่วของโควิด-19 เป็นการระบาดทั่วโลกที่กำลังดำเนินไปของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19; โควิด-19) โดยมีสาเหตุมาจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยพบครั้งแรกในนครอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน[3][4] องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ ในวันที่ 30 มกราคม 2563 และประกาศให้เป็นโรคระบาดทั่ว ในวันที่ 11 มีนาคม 2563[5][6]
ไวรัสมีการแพร่เชื้อระหว่างคนในลักษณะเดียวกับไข้หวัดใหญ่ โดยผ่านการติดเชื้อจากละอองเสมหะจากการไอ[7][8][9] ระยะระหว่างการสัมผัสเชื้อและมีอาการโดยทั่วไปแล้วอยู่ที่ 5 วัน แต่มีช่วงอยู่ระหว่าง 2 ถึง 14 วัน[9][10] อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ ไอ และหายใจลำบาก[9][10] ภาวะแทรกซ้อนอาจรวมไปถึงปอดบวม และกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน โดยยังไม่มีวัคซีนที่ได้รับอนุญาตหรือยาต้านไวรัสจำเพาะ แต่กำลังมีการวิจัยอยู่ขณะนี้ การรักษาจึงพยายามมุ่งเป้าไปที่การจัดการกับอาการ และรักษาแบบประคับประคอง มาตรการป้องกันที่มีการแนะนำ คือ การล้างมือ การอยู่ห่างจากบุคคลอื่น (โดยเฉพาะกับบุคคลที่ป่วย) ติดตามอาการ และกักตนเองเป็นเวลา 14 วัน ในกรณีที่สงสัยว่าตนอาจติดเชื้อ[8][9][11]
การตอบสนองทางสาธารณสุขทั่วโลก ประกอบด้วย การจำกัดการท่องเที่ยว การกักด่าน การห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืน การยกเลิกการจัดงาน และการปิดสถานศึกษา นอกจากนี้ยังมีการกักด่านทั้งหมดของประเทศอิตาลีและมณฑลหูเป่ย์ของประเทศจีน และมีการใช้มาตรการการห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืนอย่างหลากหลายในประเทศจีนและประเทศเกาหลีใต้[12][13][14] มีการคัดกรองตามท่าอากาศยานและสถานีรถไฟ[15] และมีการออกคำแนะนำเกี่ยวกับการเดินทางไปยังภูมิภาคที่มีการแพร่เชื้อในระดับประชาคม[16][17][18][19] มีการปิดสถานศึกษาทั่วประเทศหรือส่วนท้องถิ่นในอย่างน้อย 115 ประเทศ ส่งผลกระทบกับนักเรียนนักศึกษามากกว่า 1.2 พันล้านคน[20]
การระบาดทั่วยังก่อให้เกิดอุบัติการณ์ ประกอบด้วย ความไม่มั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ[21][22] อาการกลัวคนแปลกหน้าและการเหยียดเชื้อชาติชาวจีนและชาวเอเชียตะวันออก[23][24][25][26][27] และการแพร่กระจายของข้อมูลที่ผิด ๆ และทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับไวรัส[28][29][30]
จำนวนผู้ป่วยที่พบโรคนี้ลดจำนวนลงเรื่อย ๆ และวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 อธิบดีองค์การอนามัยโลก เตโวโดรส อัดฮาโนม ได้ประกาศว่าการระบาดทั่วของโควิด-19 สิ้นสุดลงแล้ว ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า มีเสียชีวิตจากโควิด-19 มากกว่า 6,921,601 คนทั่วโลก
วิทยาการระบาด[แก้]
ประเทศและดินแดน[A] | ผู้ป่วย[B] | เสียชีวิต[C] | อ้างอิง | |
---|---|---|---|---|
252 | 765,222,168 | 6,921,601 | [32] | |
![]() |
สหรัฐ[D][E][F][G] | 103,266,404 | 1,124,063 | [34][35] |
![]() |
สาธารณรัฐประชาชนจีน[H][I][J][K] | 99,248,443 | 120,961 | [36] |
![]() |
อินเดีย | 44,952,996 | 531,564 | [37] |
![]() |
ฝรั่งเศส[L][M] | 38,930,489 | 162,868 | [38][39] |
![]() |
เยอรมนี[N] | 38,403,667 | 173,044 | [40][41] |
![]() |
บราซิล | 37,449,418 | 701,494 | [42][43] |
![]() |
ญี่ปุ่น | 33,720,739 | 74,542 | [44] |
![]() |
เกาหลีใต้ | 31,176,660 | 34,487 | [45][46] |
![]() |
อิตาลี[O] | 25,788,387 | 189,738 | [49][50] |
![]() |
สหราชอาณาจักร[P][Q] | 24,581,706 | 224,106 | [52] |
![]() |
รัสเซีย[R][S] | 22,858,855 | 398,366 | [56] |
![]() |
ตุรกี | 17,004,677 | 101,419 | [57] |
![]() |
สเปน[T][U] | 13,825,052 | 120,715 | [58] |
![]() |
เวียดนาม | 11,561,848 | 43,191 | [59] |
![]() |
ออสเตรเลีย[V][W] | 11,210,651 | 20,119 | [61] |
![]() |
อาร์เจนตินา | 10,044,957 | 130,472 | [62][63] |
![]() |
ไต้หวัน | 9,970,937 | 17,672 | [64] |
![]() |
เนเธอร์แลนด์[X][Y][Z] | 8,610,372 | 22,992 | [66][67] |
![]() |
อิหร่าน[AA] | 7,607,744 | 146,058 | [68][69] |
![]() |
เม็กซิโก | 7,587,447 | 333,908 | [70] |
![]() |
อินโดนีเซีย | 6,776,984 | 161,327 | [71] |
![]() |
โปแลนด์ | 6,513,979 | 119,555 | [35][72] |
![]() |
โคลอมเบีย | 6,364,636 | 142,713 | [73] |
![]() |
ออสเตรีย | 6,065,711 | 22,372 | [74] |
![]() |
กรีซ | 6,018,544 | 36,754 | [75] |
![]() |
โปรตุเกส | 5,581,619 | 26,575 | [76][77] |
![]() |
ยูเครน[AB][AC] | 5,529,459 | 112,128 | [78][79] |
![]() |
ชิลี[AD][AE][AF][AG] | 5,283,908 | 61,384 | [80] |
![]() |
มาเลเซีย | 5,071,840 | 37,020 | [81] |
![]() |
อิสราเอล[AH] | 4,822,313 | 12,493 | [82] |
![]() |
เบลเยียม[AI] | 4,793,425 | 34,237 | [83][84] |
![]() |
ไทย | 4,732,301 | 33,957 | [85][86] |
![]() |
แคนาดา | 4,659,971 | 52,121 | [87][88] |
![]() |
เช็กเกีย | 4,640,354 | 42,767 | [89] |
![]() |
เปรู | 4,501,130 | 220,122 | [90][91] |
![]() |
สวิสเซอร์แลนด์[AJ] | 4,402,432 | 13,995 | [92][93] |
![]() |
เกาหลีเหนือ | 4,304,380 | 80 | [94] |
![]() |
ฟิลิปปินส์ | 4,092,158 | 66,444 | [95][96] |
![]() |
แอฟริกาใต้ | 4,072,533 | 102,595 | [97][98] |
![]() |
เดนมาร์ก[AK][AL] | 3,411,909 | 8,556 | [100][101] |
![]() |
โรมาเนีย | 3,393,902 | 68,089 | [102][103] |
![]() |
ฮ่องกง | 2,876,106 | 13,466 | [104] |
![]() |
สวีเดน[AM] | 2,706,122 | 24,070 | [105] |
![]() |
เซอร์เบีย[AN] | 2,534,886 | 18,021 | [106] |
![]() |
อิรัก | 2,465,545 | 25,375 | [107] |
![]() |
สิงคโปร์ | 2,368,597 | 1,722 | [108][109] |
![]() |
นิวซีแลนด์ | 2,251,440 | 2,736 | [110] |
![]() |
ฮังการี | 2,201,355 | 48,762 | [111] |
![]() |
บังกลาเทศ | 2,038,250 | 29,446 | [112][113] |
![]() |
สโลวาเกีย | 1,866,470 | 21,167 | [114] |
![]() |
จอร์เจีย[AO] | 1,840,187 | 17,059 | [115] |
![]() |
จอร์แดน | 1,746,997 | 14,122 | [116] |
![]() |
ไอร์แลนด์ | 1,710,302 | 8,849 | [117][118] |
![]() |
ปากีสถาน | 1,580,631 | 30,656 | [119] |
![]() |
คาซัคสถาน | 1,502,667 | 19,072 | [120][121] |
![]() |
นอร์เวย์[AP][AQ][AR] | 1,483,222 | 5,435 | [123] |
![]() |
ฟินแลนด์[AS][AT] | 1,473,603 | 9,308 | [126] |
![]() |
สโลวีเนีย | 1,343,485 | 9,304 | [127][128] |
![]() |
ลิทัวเนีย | 1,318,513 | 9,668 | [129] |
![]() |
บัลแกเรีย | 1,304,393 | 38,328 | [130][131] |
![]() |
โมร็อกโก[AU] | 1,273,463 | 16,297 | [132] |
![]() |
โครเอเชีย | 1,272,886 | 18,180 | [133] |
![]() |
กัวเตมาลา | 1,248,171 | 20,189 | [134] |
![]() |
เลบานอน | 1,236,702 | 10,900 | [135] |
![]() |
คอสตาริกา | 1,228,659 | 9,351 | [136] |
![]() |
โบลิเวีย | 1,197,239 | 22,377 | [137] |
![]() |
ตูนิเซีย | 1,152,612 | 29,387 | [138] |
![]() |
ปวยร์โตรีโก | 1,116,823 | 5,891 | [139][140] |
![]() |
คิวบา[AV] | 1,113,088 | 8,530 | [141] |
![]() |
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | 1,062,321 | 2,349 | [142] |
![]() |
เอกวาดอร์ | 1,061,100 | 36,019 | [143][144] |
![]() |
อุรุกวัย | 1,037,893 | 7,625 | [145] |
![]() |
ปานามา | 1,036,733 | 8,621 | [146][147] |
![]() |
มองโกเลีย | 1,007,970 | 2,136 | [148] |
![]() |
เนปาล | 1,003,004 | 12,030 | [149][150] |
![]() |
เบลารุส | 994,037 | 7,118 | [151][152] |
![]() |
ลัตเวีย | 977,667 | 6,346 | [35][153] |
![]() |
ซาอุดีอาระเบีย | 840,337 | 9,643 | [154] |
![]() |
อาเซอร์ไบจาน | 831,386 | 10,242 | [155] |
![]() |
ปารากวัย | 735,759 | 19,880 | [156] |
![]() |
ปาเลสไตน์ | 703,228 | 5,708 | [157] |
![]() |
บาห์เรน | 696,614 | 1,536 | [158] |
![]() |
ศรีลังกา | 672,177 | 16,843 | [159] |
![]() |
คูเวต | 665,741 | 2,570 | [160] |
![]() |
สาธารณรัฐโดมินิกัน | 661,045 | 4,384 | [161][162] |
![]() |
ไซปรัส[AW] | 658,450 | 1,354 | [163] |
![]() |
พม่า | 635,102 | 19,492 | [164] |
![]() |
มอลโดวา[AX] | 620,253 | 12,112 | [165] |
![]() |
เอสโตเนีย | 618,173 | 3,001 | [166] |
![]() |
เวเนซุเอลา | 552,578 | 5,856 | [167] |
![]() |
อียิปต์[AY] | 515,970 | 24,826 | [168] |
![]() |
ลิเบีย | 507,250 | 6,437 | [169][170] |
![]() |
กาตาร์ | 506,323 | 690 | [171] |
![]() |
เอธิโอเปีย | 500,837 | 7,574 | [172] |
![]() |
ฮอนดูรัส | 472,533 | 11,112 | [173][174] |
![]() |
อาร์มีเนีย | 449,062 | 8,747 | [175] |
![]() |
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา | 402,848 | 16,337 | [176] |
![]() |
โอมาน | 399,449 | 4,628 | [177] |
![]() |
มาซิโดเนียเหนือ | 348,142 | 9,673 | [178][179] |
![]() |
แซมเบีย | 343,910 | 4,058 | [180][181] |
![]() |
เคนยา | 343,060 | 5,688 | [182] |
![]() |
แอลเบเนีย | 334,090 | 3,604 | [183] |
![]() |
บอตสวานา | 329,852 | 2,796 | [184][185] |
![]() |
ลักเซมเบิร์ก | 319,959 | 1,232 | [186] |
![]() |
มอริเชียส | 301,096 | 1,046 | [187] |
![]() |
มอนเตเนโกร | 289,292 | 2,808 | [188] |
![]() |
บรูไน | 288,051 | 157 | [189][190] |
![]() |
คอซอวอ | 273,852 | 3,206 | [191] |
![]() |
แอลจีเรีย | 271,719 | 6,881 | [192][193] |
![]() |
ไนจีเรีย | 266,675 | 3,155 | [194] |
![]() |
ซิมบับเว | 264,685 | 5,686 | [195][196] |
![]() |
อุซเบกิสถาน | 253,009 | 1,637 | [197] |
![]() |
โมซัมบิก | 233,417 | 2,243 | [198] |
![]() |
ลาว | 218,077 | 671 | [199] |
![]() |
อัฟกานิสถาน | 214,880 | 7,892 | [200] |
![]() |
ไอซ์แลนด์ | 209,191 | 260 | [201] |
![]() |
คีร์กีซสถาน | 206,888 | 2,991 | [202] |
![]() |
เอลซัลวาดอร์ | 201,785 | 4,230 | [203] |
![]() |
ตรินิแดดและโตเบโก | 191,350 | 4,387 | [204][205] |
![]() |
มัลดีฟส์ | 186,435 | 313 | [206][207] |
![]() |
กานา | 171,653 | 1,462 | [208] |
![]() |
นามิเบีย | 171,222 | 4,090 | [209] |
![]() |
ยูกันดา | 170,602 | 3,632 | [210][211] |
![]() |
จาเมกา | 154,786 | 3,536 | [212][213] |
![]() |
กัมพูชา | 138,733 | 3,056 | [214] |
![]() |
รวันดา | 133,194 | 1,468 | [215][216] |
![]() |
แคเมอรูน | 124,983 | 1,971 | [217][218] |
![]() |
มอลตา | 118,524 | 835 | [219] |
![]() |
บาร์เบโดส | 107,466 | 588 | [220] |
![]() |
แองโกลา | 105,384 | 1,934 | [221] |
![]() |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก | 96,212 | 1,464 | [222] |
![]() |
เซเนกัล | 88,997 | 1,971 | [223] |
![]() |
มาลาวี | 88,638 | 2,686 | [224] |
![]() |
โกตดิวัวร์ | 88,325 | 834 | [225] |
![]() |
ซูรินาม | 82,495 | 1,404 | [226] |
![]() |
นิวแคลิโดเนีย | 80,058 | 314 | [227] |
![]() |
เฟรนช์พอลินีเชีย | 78,488 | 649 | [228] |
![]() |
เอสวาตีนี | 74,627 | 1,425 | [229] |
![]() |
กายอานา | 73,162 | 1,298 | [230] |
![]() |
เบลีซ | 70,782 | 688 | [231] |
![]() |
ฟีจี | 68,918 | 883 | [232][233] |
![]() |
มาดากัสการ์ | 68,236 | 1,424 | [234] |
![]() |
เจอร์ซีย์[AZ] | 66,391 | 161 | [235] |
![]() |
ซูดาน | 63,993 | 5,046 | [236][237] |
![]() |
มอริเตเนีย | 63,617 | 997 | [238][239] |
![]() |
กาบูเวร์ดี | 63,473 | 413 | [240] |
![]() |
ภูฏาน | 62,666 | 21 | [241] |
![]() |
ซีเรีย[BA] | 57,423 | 3,163 | [242] |
![]() |
บุรุนดี | 53,740 | 15 | [243] |
![]() |
กวม | 51,179 | 413 | [34][244] |
![]() |
เซเชลส์ | 50,937 | 172 | [245] |
![]() |
ทรานส์นีสเตรีย[BB] | 49,186 | 1,192 | [246] |
![]() |
กาบอง | 48,981 | 306 | [247] |
![]() |
อันดอร์รา | 47,974 | 159 | [248] |
![]() |
ปาปัวนิวกินี | 46,842 | 670 | [249] |
![]() |
กือราเซา | 45,798 | 301 | [250] |
![]() |
อารูบา | 44,114 | 287 | [251] |
![]() |
แทนซาเนีย | 42,973 | 846 | [252][253] |
![]() |
โตโก | 39,487 | 290 | [254] |
![]() |
สาธารณรัฐประชาชนโดเนตสค์[BC] | 38,851 | 2,927 | [255] |
![]() |
กินี | 38,462 | 467 | [256][257] |
![]() |
บาฮามาส | 38,084 | 844 | [258][259] |
![]() |
ไอล์ออฟแมน[AZ] | 38,008 | 116 | [260] |
![]() |
เกิร์นซีย์[AZ] | 35,326 | 67 | [261] |
![]() |
หมู่เกาะแฟโร | 34,658 | 28 | [262][101] |
![]() |
เลโซโท | 34,490 | 706 | [263] |
![]() |
เฮติ | 34,228 | 860 | [264] |
![]() |
มาลี | 33,144 | 743 | [265] |
![]() |
หมู่เกาะเคย์แมน | 31,472 | 37 | [266] |
![]() |
เซนต์ลูเชีย | 30,052 | 409 | [267][268] |
![]() |
เบนิน | 28,014 | 163 | [269] |
![]() |
โซมาเลีย[BD] | 27,334 | 1,361 | [270] |
![]() |
สหพันธรัฐไมโครนีเซีย | 26,080 | 64 | [271] |
![]() |
สาธารณรัฐคองโก | 25,192 | 389 | [272][273] |
![]() |
หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ | 24,919 | 130 | [274] |
![]() |
หมู่เกาะโซโลมอน | 24,575 | 153 | [275][276] |
![]() |
ซานมารีโน | 24,132 | 125 | [277] |
![]() |
ติมอร์-เลสเต | 23,428 | 138 | [278] |
![]() |
บูร์กินาฟาโซ | 22,056 | 396 | [279][280] |
![]() |
ลิกเตนสไตน์ | 21,464 | 87 | [281] |
![]() |
ยิบรอลตาร์ | 20,550 | 113 | [282] |
![]() |
เกรเนดา | 19,693 | 238 | [283][284] |
![]() |
เบอร์มิวดา | 18,860 | 165 | [285] |
![]() |
ซูดานใต้ | 18,368 | 138 | [286][287] |
![]() |
ทาจิกิสถาน | 17,786 | 125 | [288][289] |
![]() |
อิเควทอเรียลกินี | 17,130 | 183 | [290] |
![]() |
ตองงา | 16,814 | 12 | [291] |
![]() |
โมนาโก | 16,749 | 67 | [292] |
![]() |
ซามัว | 16,737 | 31 | [293] |
![]() |
สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ | 16,081 | 17 | [294][295] |
![]() |
โดมินิกา | 15,760 | 74 | [296] |
![]() |
นิการากัว | 15,697 | 245 | [35][297] |
![]() |
จิบูตี | 15,690 | 189 | [298] |
![]() |
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง | 15,367 | 113 | [299] |
![]() |
อับคาเซีย | 15,292 | 230 | [300] |
![]() |
หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา | 13,839 | 41 | [301] |
![]() |
แกมเบีย | 12,626 | 372 | [302] |
![]() |
วานูอาตู | 12,016 | 14 | [303] |
![]() |
กรีนแลนด์ | 11,971 | 21 | [304][101] |
![]() |
เยเมน | 11,945 | 2,159 | [305] |
![]() |
ซินต์มาร์เติน | 11,030 | 92 | [306] |
![]() |
เอริเทรีย | 10,189 | 103 | [307] |
![]() |
เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ | 9,611 | 124 | [308] |
![]() |
ไนเจอร์ | 9,513 | 315 | [309] |
![]() |
กินี-บิสเซา | 9,350 | 176 | [310] |
![]() |
คอโมโรส | 9,109 | 160 | [311] |
![]() |
แอนติกาและบาร์บูดา | 9,106 | 146 | [312] |
![]() |
อเมริกันซามัว | 8,329 | 34 | [313] |
![]() |
ไลบีเรีย | 8,090 | 294 | [314] |
![]() |
ชาด | 7,820 | 194 | [315] |
![]() |
เซียร์ราลีโอน | 7,762 | 125 | [316][317] |
![]() |
หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน | 7,305 | 64 | [318] |
![]() |
นอร์เทิร์นไซปรัส | 7,139 | 33 | [319] |
![]() |
หมู่เกาะคุก | 7,062 | 2 | [320][321] |
![]() |
เซนต์คิตส์และเนวิส | 6,598 | 46 | [322] |
![]() |
หมู่เกาะเติกส์และเคคอส | 6,565 | 38 | [323][324] |
![]() |
เซาตูเมและปรินซีปี | 6,562 | 80 | [325] |
![]() |
ปาเลา | 5,999 | 9 | [326] |
![]() |
นาอูรู | 5,393 | 1 | |
![]() |
คิริบาส | 5,025 | 24 | [327][328] |
![]() |
สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสค์[BC] | 4,723 | 437 | [329] |
![]() |
โซมาลีแลนด์ | 4,608 | 311 | [330][331] |
![]() |
แองกวิลลา | 3,904 | 12 | [332] |
![]() |
มาเก๊า | 3,514 | 121 | [333] |
![]() |
วาลิสและฟูตูนา | 3,427 | 7 | [334][335] |
![]() |
แซงปีแยร์และมีเกอลง | 3,426 | 2 | [336] |
![]() |
เซาท์ออสซีเชีย[BE] | 3,339 | 60+ | [300] |
![]() |
ตูวาลู | 2,779 | – | |
![]() |
สาธารณรัฐอาร์ทซัค | 2,751 | 31 | [300] |
![]() |
เซนต์เฮเลนา อัสเซนชัน และตริสตันดากูนยา | 2,166 | – | [337][338] |
![]() |
หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ | 1,923 | – | [339] |
![]() |
โบแนเรอ | 1,586 | 17 | [340] |
![]() |
มอนต์เซอร์รัต | 1,403 | 8 | [341] |
![]() |
นีอูเอ | 747 | – | |
![]() |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี[BF] | 732 | 42 | [342] |
![]() |
แอนตาร์กติกา | 58 | 0 | [343] |
![]() |
นครรัฐวาติกัน | 26 | 0 | [344] |
![]() |
ซินต์เอิสตาซียึส | 20 | 0 | [345] |
![]() |
ซาบา | 7 | 0 | [346] |
![]() |
บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี | 5 | 0 | [347][348] |
![]() |
โตเกเลา | 5 | 0 | |
![]() |
หมู่เกาะพิตแคร์น | 4 | – | |
![]() |
อ่าวกวนตานาโม | 2 | 0 | [349] |
พาหนะระหว่างประเทศ | ||||
![]() |
เรือยูเอสเอส ทีโอดอร์รูสเวลต์[BG] | 1,102 | 1 | [350][351] |
![]() |
เรือชาร์ลเดอโกล[BH] | 1,081 | 0 | [352] |
![]() |
เรือไดมอนด์พรินเซส[BI] | 712 | 14 | [353][354] |
![]() |
เรือคอสตาแอตแลนติกา | 148 | 0 | [355][356] |
![]() |
เรือเกร็กมอร์ติเมอร์[BJ] | 128 | 1 | [357][358] |
![]() |
เรือเอ็มเอส ซานดัม[BK] | 13 | 4 | [360][361] |
![]() |
เรือคอรัลพรินเซส[BL] | 12 | 3 | [362] |
![]() |
เรือซีดรีมวัน[BM] | 9 | 0 | [363][364] |
![]() |
เรือฮาเอ็นเอลเอ็มเอส ดลแฟง[BN] | 8 | 0 | [365][366] |
ณ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 | ||||
หมายเหตุ
|
ในปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยที่ผู้ติดเชื้อกลุ่มแรกจำนวนมากมีความเชื่อมโยงกับตลาดค้าอาหารทะเลหฺวาหนานมาก่อน ชี้ให้เห็นว่าไวรัสดังกล่าว "น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากสัตว์"[367] ไวรัสที่ก่อให้เกิดการระบาดนั้นรู้จักกันในชื่อ SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นไวรัสใหม่ที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับไวรัสโคโรนาในค้างคาว[368] ไวรัสโคโรนาในลิ่น[369] และไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง[370] โดยเชื่อว่าไวรัสอาจมีต้นกำเนิดมาจากค้างคาวในสกุลค้างคาวมงกุฎ[371]
อาการแรกสุดมีรายงานในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ในบุคคลที่ไม่ได้มีการสัมผัสกับตลาดค้าอาหารทะเลหฺวาหนานหรืออีก 40 คนที่เหลือของกลุ่มผู้มีอาการครั้งแรกจากไวรัส[372][373] ขณะที่ 2 ใน 3 ของกลุ่มแรกนี้พบว่ามีความเชื่อมโยงกับตลาดสดซึ่งค้าสัตว์มีชีวิตแห่งนี้[372][374][375][376]
องค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 30 มกราคม[5] โดยเทดรอส อัดเฮนอม ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ยังคงกล่าวชื่นชมการตอบสนองของประเทศจีนต่อไวรัส เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ว่า "เป็นการหลีกเลี่ยงการมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย" แม้ว่าโรคจะมีศักยภาพในการแพร่ภายในท้องถิ่นในบริเวณอื่น ๆ ของโลกด้วยก็ตาม[377]
ในช่วงเริ่มแรก จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุก ๆ เจ็ดวันครึ่ง[378] ในช่วงต้นและกลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ไวรัสเกิดการแพร่กระจายไปยังมณฑลอื่น ๆ ของประเทศจีน ผ่านการโยกย้ายของประชากรในช่วงตรุษจีน และเนื่องจากนครอู่ฮั่นเป็นศูนย์กลางการขนส่งในประเทศจีน ผู้ติดเชื้อจึงเดินทางไปได้อย่างรวดเร็วทั่วประเทศ[379]
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 องค์การอนามัยโลกรายงานว่า จากการที่ผู้ป่วยรายใหม่ในประเทศจีนลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศอิตาลี ประเทศอิหร่าน และประเทศเกาหลีใต้ ทำให้จำนวนผู้ป่วยรายใหม่นอกประเทศจีนเพิ่มสูงกว่าจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ในประเทศจีนเป็นครั้งแรก[380] นอกจากนี้ยังมีรายงานการพบในเด็ก ซึ่งพบได้ "น้อยมาก" ด้วย[10] จากรายงานขององค์การอนามัยโลกระบุว่า มีผู้ป่วยที่อายุ 19 ปี และต่ำกว่าเพียงร้อยละ 2.4 จากจำนวนผู้ป่วยทั่วโลก[381]
การวิเคราะห์วิทยาการระบาดของการระบาดทั่ว ทำให้องค์การอนามัยโลกและหลายรัฐบาลยอมรับว่าเหตุนี้เป็นการระบาดทั่วครั้งแรก ที่สามารถควบคุมได้อย่างน้อยในหลายภูมิภาคของโลก[382]
ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งตรงกับวันสิ้นปี รายงานจำนวนผู้เสียชีวิต ทั่วโลก ตั้งแต่ เวลามาตรฐานกรีนิช 23:59 น. รายงานผู้เสียชีวิตที่ 1,824,074 ราย
ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งตรงกับวันสิ้นปี รายงานจำนวนผู้เสียชีวิต ทั่วโลก รายงานผู้เสียชีวิตที่ 5,453,867 ราย[383]
การเสียชีวิต[แก้]
ผู้ที่เสียชีวิตจากโรค มีระยะเวลาตั้งแต่การพัฒนาอาการของโรคโควิด-19 ไปจนถึงแก่ชีวิตนั้นมีช่วงอยู่ระหว่าง 6 ถึง 41 วัน โดยมีมัธยฐานอยู่ที่ 14 วัน[10]
ณ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563 มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 7,900 คน จากโควิด-19[1] จากข้อมูลของ NHC ประเทศจีนพบว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ประมาณร้อยละ 80 ของผู้เสียชีวิตพบว่าเป็นผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และร้อยละ 75 มีภาวะทางสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว เช่น เบาหวาน และโรคหัวใจหลอดเลือด[384]
มีการยืนยันผู้เสียชีวิตรายแรกในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2563 ในนครอู่ฮั่น[385] ส่วนผู้เสียชีวิตนอกประเทศจีนรายแรกเกิดขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์[386][387][388][389] และผู้ป่วยนอกเอเชียรายแรกเกิดขึ้นในกรุงปารีส[390] วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ผู้เสียชีวิตมากกว่าสิบสองรายนอกประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เกิดขึ้นในประเทศอิหร่าน ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศอิตาลี[391][392][393] วันที่ 13 มีนาคม มีรายงานผู้เสียชีวิตมากกว่า 40 ประเทศและดินแดน ในทุกทวีป (ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา)[394]
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 รายงานผู้เสียชีวิต ทั่วโลก เวลามาตรฐานกรีนิช 08:37 น. จำนวน 5,949,015 ราย นอกจากนั้นมีจำนวน 16 ประเทศที่มีผู้เสียมากกว่า 100000 ราย โดยประเทศยูเครน ซึ่งอยู่ระหว่างวิกฤตการณ์รัสเซีย–ยูเครน (พ.ศ. 2564–2565) เป็นอันดับที่ 16 จำนวนผู้เสียชีวิตรวม 105,505 ราย
แผนภาพ[แก้]
-
แผนภูมิเส้นแสดงจำนวนผู้ติดเชื้อ
-
ผู้ติดเชื้อในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติม)
-
ผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีน
-
เซมิล็อกพล็อตของอุบัติการณ์สะสมของผู้ติดเชื้อยืนยันและผู้เสียชีวิตในประเทศจีน และที่อื่น ๆ ในโลก (ROW)[395][396]
-
อัตราการเสียชีวิตตามอายุในประเทศจีน ข้อมูลจนถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[397]
-
ความรุนแรงของการวินิจฉัยโควิด-19 ในประเทศจีน[398]
อาการและอาการแสดง[แก้]
อาการ[379] | % |
---|---|
ไข้ | 87.9% |
ไอแห้ง | 67.7% |
ล้า | 38.1% |
มีเสมหะ | 33.4% |
หายใจลำบาก | 18.6% |
ปวดกล้ามเนื้อหรือปวดในข้อ | 14.8% |
เจ็บคอ | 13.9% |
ปวดศีรษะ | 13.6% |
หนาวสะท้าน | 11.4% |
คลื่นไส้หรืออาเจียน | 5.0% |
คัดจมูก | 4.8% |
อาการท้องร่วง | 3.7% |
ไอเป็นเลือด | 0.9% |
การคั่งในเยื่อตา | 0.8% |


อาการของโรคโควิด-19 นั้นไม่เจาะจงและผู้ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการหรือมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ได้ เช่น ไข้ ไอ ล้า หายใจลำบาก หรือปวดกล้ามเนื้อ โดยอาการทั่วไปและความชุกแสดงไว้ดังตาราง[379]
การพัฒนาต่อไปของโรคอาจนำไปสู่การปอดบวม กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ช็อกเหตุพิษติดเชื้อ และเสียชีวิตได้ ผู้ติดเชื้อบางรายอาจไม่มีการแสดงอาการ ซึ่งให้ผลการทดสอบที่ยืนยันว่าติดเชื้อแต่ไม่มีอาการแสดง ดังนั้น นักวิจัยจึงได้ออกคำแนะนำว่าบุคคลที่มีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อแล้ว ควรมีการติดตามและทดสอบการติดเชื้ออย่างใกล้ชิด[399][400][401][372]
ระยะฟักตามปกติ (เวลาระหว่างที่ได้รับเชื้อและมีอาการเกิดขึ้น) มีช่วงตั้งแต่ 1 ถึง 14 วัน โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 5 วัน[402][403] อย่างไรก็ตาม มีการรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อรายหนึ่งที่มีระยะฟักถึง 27 วัน[404]
สาเหตุ[แก้]
การแพร่เชื้อ[แก้]
การแพร่เชื้อหลักนั้นเป็นการแพร่ผ่านละอองเสมหะ (droplets) ที่บุคคลขับออกมา เช่น เมื่อไอหรือจาม[405][406][7] ละอองเสมหะจะค้างอยู่ในอากาศเป็นช่วงสั้น ๆ เท่านั้น แต่อาจคงอยู่ต่อได้บนพื้นผิวที่เป็นโลหะ แก้ว หรือพลาสติก[407] รายละเอียดของไวรัสโควิด-19 นั้นไม่มีเพิ่มเติมตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และมีการสันนิษฐานว่ามันนั้นคล้ายไวรัสโคโรนาอื่น ซึ่งสามารถอยู่รอดได้นานถึงเก้าวันที่อุณหภูมิห้อง[408] สารฆ่าเชื้อที่ใช้บนพื้นผิวอาจใช้สาร เช่น เอทานอล 62–71% บนพื้นผิวเป็นเวลาหนึ่งนาที[408]
องค์การอนามัยโลกระบุว่าความเสี่ยงของการแพร่จากบุคคลที่ไม่มีอาการนั้น "ต่ำมาก" และการส่งผ่านอุจจาระนั้นก็ "ต่ำ"[409] แต่การวิเคราะห์การติดเชื้อในประเทศสิงคโปร์และเมืองเทียนจิน ประเทศจีน ได้เปิดเผยว่าการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในหลายคนอาจแพร่ผ่านคนที่เพิ่งติดเชื้อไวรัส และยังไม่ได้เริ่มแสดงอาการ การค้นพบนี้หมายความว่า การแยกกักบุคคลเมื่อเริ่มต้นรู้สึกป่วยนั้นมีประสิทธิภาพน้อยกว่าที่คาดไว้[410]
ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน (จำนวนเฉลี่ยของบุคคลที่บุคคลที่ติดเชื้อมีแนวโน้มจะแพร่ใส่) สำหรับการแพร่เชื้อระหว่างมนุษย์สู่มนุษย์ของไวรัสอยู่ที่ประมาณ 2.13[411] ถึง 4.82[412][413] ซึ่งคล้ายกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV)[414]
วิทยาไวรัส[แก้]
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (SARS-CoV-2) เป็นไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงสายพันธุ์ใหม่ ผู้ป่วยสายรายแรกที่ถูกแยกมีอาการปอดบวมที่เชื่อมกับกลุ่มของผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจในอู่ฮั่น เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)[370]
SARS-CoV-2 มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ SARS-CoV แรกเริ่ม[415] โดยมีแนวคิดว่ามีต้นกำเนิดมาจากสัตว์ (zoonotic) การวิเคราะห์ทางพันธุกรรม เปิดเผยว่ากลุ่มพันธุกรรมของไวรัสโคโรนากับสกุลเบตาไวรัสโคโรนา ในสกุลย่อยซาร์เบโคไวรัส (เชื้อสาย B) ร่วมกับไวรัสโคโรนาสองสายพันธุ์ที่ได้จากค้างคาว พบว่ามีความเหมือนกันในระดับจีโนมทั้งหมดร้อยละ 96 กับไวรัสโคโรนาตัวอย่างอื่น (BatCov RaTG13)[416][379] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 นักวิจัยชาวจีนพบว่า มีความแตกต่างของกรดอะมิโนเพียงตัวเดียวในลำดับจีโนมบางอย่าง ระหว่างไวรัสที่พบในตัวลิ่นและจากมนุษย์ ซึ่งหมายความว่า ตัวลิ่น อาจเป็นพาหะขั้นกลางของไวรัส[417]
-
ภาพทางจุลทรรศนศาสตร์แสดง SARS-CoV-2 โดยมี spikes บนขอบด้านนอกของอนุภาคไวรัสที่มีลักษณะคล้ายมงกุฎ อันเป็นที่มาของชื่อในภาษาอังกฤษ
-
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดแสดง SARS-CoV-2 (สีเหลือง) ปรากฏออกมาจากพื้นผิวของเซลล์ (สีน้ำเงิน/สีชมพู) จากการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ
-
แบบจำลองโปรตีน spike ของ SARS-CoV-2 โดยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
การวินิจฉัย[แก้]
การติดเชื้อไวรัสนั้นสามารถวินิจฉัยเป็นการชั่วคราวบนพื้นฐานของอาการ โดยการยืนยันการติดเชื้อในท้ายที่สุดแล้วจะใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ (rRT-PCR) จากสิ่งคัดหลั่งที่ติดเชื้อ (ความไวร้อยละ 71) และการใช้การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (CT scan) (ความไวร้อยละ 98)[418]
การทดสอบไวรัส[แก้]
องค์การอนามัยโลกเผยแพร่เกณฑ์วิธีการทดสอบอาร์เอ็นเอสำหรับ SARS-CoV-2 มาหลายฉบับ โดยฉบับแรกเมื่อวันที่ 17 มกราคม[419][420][421][422] ซึ่งใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับแบบตามเวลาจริง[423] การทดสอบสามารถทำได้โดยใช้ตัวอย่างจากระบบหายใจหรือเลือด[424] และโดยทั่วไป ผลจะพร้อมใช้ได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงจนถึงเป็นวัน[425][426]
บุคคลที่ถือว่ามีความเสี่ยง หากมีการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดภายใน 14 วันก่อนหน้า หรือมีการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ จะมีตัวชี้วัดที่สำคัญ ได้แก่ มีไข้ ไอ หายใจลำบาก ส่วนตัวชี้วัดอื่น ๆ ได้แก่ ล้า อาการปวดกล้ามเนื้อ ภาวะเบื่ออาหาร มีเสมหะ และเจ็บคอ[427]
การถ่ายภาพ[แก้]
สมบัติการถ่ายภาพแบบการถ่ายภาพรังสีและการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ได้รับการอธิบายในผู้คิดเชื้อจำนวนจำกัด[428] สมาคมรังสีวิทยาอิตาลีกำลังรวบรวมข้อมูลออนไลน์ระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการถ่ายภาพที่นำไปสู่การค้นพบผู้ติดเชื้อยืนยัน[429] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการทับซ้อนกับการติดเชื้ออื่น เช่น Adenoviridae การถ่ายภาพโดยไม่มีการยืนยันโดยวิธี PCR จึงถูกใช้ยืนยันการป่วยโรคโควิด-19 อย่างจำกัด[428]
การป้องกัน[แก้]

คำแนะนำในการป้องกัน ได้แก่ การรักษาสุขอนามัยที่ดี เช่น ล้างมือเมื่อเหมาะสม หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา จมูก หรือปากด้วยมือที่ไม่ได้ล้าง ไอและจามใส่กระดาษชำระและทิ้งกระดาษชำระนั้นลงถังขยะโดยตรง และ (สำหรับผู้ที่ติดเชื้อแล้ว) สวมหน้ากากในที่สาธารณะ[430][431][432] มาตรการการทิ้งระยะทางสังคมก็เป็นหนึ่งในวิธีการที่แนะนำเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดด้วย[433][434]
รัฐบาลหลายแห่งแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางที่ไม่จำเป็น ไปยังประเทศและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด[435] ในประเทศจีนมีการห้ามการค้าและการบริโภคสัตว์ป่าด้วย[436]
สำหรับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพที่ต้องดูแลบุคคลอื่น อาจดำเนินการตามข้อระวังมาตรฐานการติดเชื้อ (infected standard precautions) ข้อระวังการสัมผัส (contact precautions) และข้อระวังทางอากาศ (airborne precautions) โดยแนะนำให้ป้องกันดวงตา[437]
ผู้สัมผัสโรค (contact tracing) เป็นวิธีการที่สำคัญสำหรับหน่วยงานสาธารณสุข ในการกำหนดแหล่งของการติดเชื้อ และป้องกันการแพร่ต่อของเชื้อ[438]
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีการป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ นั้นกำลังถูกเผยแพร่ไป เช่น การล้างจมูก การบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก และการกินกระเทียม ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสแต่อย่างใด[439]
การล้างมือ[แก้]
มีการแนะนำให้ล้างมือ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค โดยศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐ (CDC) แนะนำให้ล้างมือด้วยสบู่และน้ำให้บ่อยครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลาอย่างน้อย 20 วินาที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากเข้าห้องน้ำหรือเมื่อมือสกปรกอย่างเห็นได้ชัด ก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากไอหรือจาม นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำเพิ่มเติมให้ใช้สารล้างมือที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์อย่างน้อยร้อยละ 60 โดยปริมาตร เมื่อไม่สามารถใช้สบู่และน้ำได้[430] องค์การอนามัยโลกยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา จมูก หรือปากเมื่อไม่ได้ล้างมือด้วย[431][440]
การเว้นระยะทางสังคม[แก้]
การเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) รวมถึงการควบคุมการติดเชื้อ มีจุดมุ่งหมายในการชะลอการแพร่ระบาดของโรค ด้วยการลดการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างบุคคลให้น้อยลง วิธีการนี้ประกอบด้วย การกักด่าน การจำกัดการเดินทาง และการปิดสถานศึกษา สถานที่ทำงาน สนามกีฬา โรงภาพยนตร์ หรือศูนย์การค้า โดยบุคคลอาจใช้การทิ้งระยะทางสังคม โดยการอยู่แต่บ้าน จำกัดการเดินทาง หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด ไม่สัมผัสมือผู้อื่น และทิ้งระยะทางกายจากผู้อื่น[441][442][443] ขณะนี้หลายรัฐบาลกำลังสั่งการหรือแนะนำให้มีการทิ้งระยะทางสังคมในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด[444][445][446]
ผู้สูงอายุที่ป่วยโรคเรื้อรังรุนแรงจะมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการป่วยรุนแรงและภาวะแทรกซ้อน โดย CDC ของสหรัฐแนะนำให้คนกลุ่มนี้หลีกเลี่ยงฝูงชนและอยู่แต่บ้านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในพื้นที่ที่เกิดการระบาดในระดับชุมชน[447]
อนามัยทางเดินหายใจ[แก้]

องค์การด้านอนามัยแนะนำให้ปิดปากและจมูกโดยการงอศอกเข้ามาปิด หรือใช้กระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม (ซึ่งกระดาษชำระนั้นควรกำจัดทิ่งในทันที)[431][448]
มีการแนะนำให้ใช้ผ้าปิดจมูกในผู้ที่อาจติดเชื้อ[449][450][451] เนื่องจากสามารถจำกัดปริมาณและระยะในการเดินทางของละอองเสมหะลงได้ เมื่อพูดตุย จาม และไอ[452] โดยองค์การอนามัยโลกได้ออกคำแนะนำเกี่ยวกับเมื่อใดที่ควรใช้ผ้าปิดจมูกและควรใช้อย่างไร[453]
นอกจากนี้ยังมีการใช้ผ้าปิดจมูกสำหรับผู้ที่ดูแลบุคคลที่อาจเป็นโรคด้วย[451] นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพยังได้รับคำแนะนำให้สวมหน้ากากที่มีการป้องกันอย่างน้อยในระดับ N95 (ตามมาตรฐาน NIOSH), FFP2 (มาตรฐานสหภาพยุโรป) หรือเทียบเท่า นอกเหนือจากอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลอื่น ๆ[451][ต้องการอ้างอิง]
แต่หน้ากากนั้นไม่ได้มีการแนะนำสำหรับคนส่วนใหญ่ โดยมีหลักฐานอย่างจำกัดว่า การสวมผ้าปิดจมูกในบุคคลที่ไม่ติดเชื้อนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ[451] แม้ว่าอาจช่วยให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าได้ ผ้าปิดปาก (Surgical masks) นั้นมีระดับการป้องกันต่ำที่สุด และได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันผู้อื่นจากผู้สวมใส่เป็นหลัก หน้ากากที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันผู้สวมใส่เป็นทางเทคนิคเรียกว่า "เครื่องช่วยหายใจ" (respirators) แต่โดยทั่วไปแล้วจะเรียกว่า "หน้ากาก" (masks) โดยมีเพียงประเทศจีนเท่านั้น ที่มีการแนะนำให้ใช้หน้ากากในสาธารณชนที่มีสุขภาพดี[395][452][454] อย่างไรก็ตาม การใช้หน้ากากอย่างกว้างขวางก็ถูกใช้โดยคนที่มีสุขภาพดีในฮ่องกง[455] ประเทศญี่ปุ่น[456] ประเทศมาเลเซีย[457] และประเทศสิงคโปร์[458][459]
การกักตัว[แก้]
การกักตนเอง (self-isolation) ที่บ้านนั้นเป็นที่แนะนำสำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด-19 และผู้ต้องสงสัยว่าอาจติดเชื้อ[460]
เป็นที่เชื่อกันว่าไวรัสได้ไปถึงจุดที่มีการระบาดในชุมชนในส่วนใหญ่ของโลก ซึ่งหมายความว่า ไวรัสจะแพร่กระจายในชุมชนที่สมาชิกที่ไม่ได้เดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวาง หน่วยงานด้านสุขภาพแนะนำให้บุคคลมีการกักตนเอง หากบุคคลเหล่านั้นมีอาการไออย่างต่อเนื่อง หรือมีไข้สูง โดยระยะเวลาการกักตนเองควรใช้เวลาอย่างน้อย 14 วัน แต่ควรนานกว่านั้น[461] นอกจากนี้ บุคคลที่เพิ่งเดินทางไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวาง หรือผู้ที่มีการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยโรคโควิด-19 ก็จะถูกเรียกร้องจากหน้วยงานให้ทำการกักตนเอง หรือทิ้งระยะทางสังคมเป็นระยะเวลา 14 วัน นับตั้งแต่เวลาที่ได้สัมผัสที่เป็นไปได้ล่าสุด[8][9][462]
บริการอนามัยแห่งชาติสหราชอาณาจักร (National Health Services) ได้แนะนำให้ผู้ที่กักตนเองที่บ้าน อยู่ให้ห่างจากผู้อื่นในบ้านเป็นระยะสองเมตร บุคคลที่กำลังกักตนเองควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ที่กำลังกักตนเองควรล้างมือเป็นประจำเพื่อไม่ให้เป็นแพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่นในบ้าน หรือบนพื้นผิวที่ผู้อื่นอาจจะสัมผัสได้ และตราบใดที่อาการไม่ได้แย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ควรติดต่อกับบริการด้านสุขภาพ[460]
การวิจัยวัคซีน[แก้]
ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563 ยังไม่มีวัคซีนต้านโควิด-19 ได้ บริษัทเอกชนและสถาบันวิจัยหลายแห่งกำลังพัฒนาวัคซีนขึ้น โดยโครงการวิจัยระดับนานาชาติ ซึ่งมีการประสานงานโดยพันธมิตรเพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือโรคระบาด ได้ให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนแก่ผู้สมัครที่เป็นไปได้จำนวนสามราย อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะไม่มีการทดลองทางคลินิกก่อนปี พ.ศ. 2564[463][464]
การจัดการ[แก้]
การระบาด[แก้]

กลยุทธ์พื้นฐานสองข้อในการควบคุมการระบาด คือ การยับยั้ง (containment) และ การบรรเทา (mitigation) การยังยั้งจะกระทำในระยะแรกของการระบาด และมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการติดตามและแยกผู้ติดเชื้อออก เพื่อหยุดโรคมิให้แพร่กระจายไปยังประชากรส่วนที่เหลือ เมื่อไม่สามารถยับยั้งการแพร่ของโรคได้อีกต่อไป จะมีการเปลี่ยนความพยายามไปเป็นการบรรเทาแทน โดยมาตรการจะถูกนำมาใช้เพื่อลดการแพร่และบรรเทาผลกระทบจากการระบาดต่อระบบสาธารณสุขและสังคม การรวมกันของทั้งมาตรการการยับยั้งและการบรรเทาอาจถูกนำมาใช้ไปพร้อมกัน[467]
ส่วนหนึ่งของการจัดการโรคระบาดติดเชื้อ คือการพยายามที่ลดลงจุดสูงสุดของการระบาด (epidemic peak) ลง เรียกว่า การทำให้เส้นโค้งการระบาดแบนลง (flattening the epidemic curve)[465] โดยสิ่งนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของการบริการด้านสาธารณสุขที่กำลังจะพ่ายแพ้ และให้มีเวลาที่มากขึ้นในการพัฒนาวัคซีนและยารักษา[465]
การแทรกแซงที่ไม่ใช่ทางเภสัชภัณฑ์ที่อาจจัดการการระบาดได้ ประกอบด้วย มาตรการการป้องกันส่วนบุคคล เช่น การรักษาสุขอนามัยของมือ การสวมหน้ากากอนามัย และการกักตนเอง มาตรการทางชุมชนที่มุ่งเน้นไปที่การทิ้งระยะทางสังคม เช่น การปิดสถานศึกษา และการยกเลิกกิจกรรมที่ทำให้เกิดการรวมกันของฝูงชน การทำข้อตกลงของชุมชนเพื่อให้มีการส่งเสริมยอมรับ และมีส่วนร่วมในการแทรกแซงดังกล่าว รวมไปถึงมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัส[468]
การกระทำเหล่านี้รุนแรงมากขึ้นในประเทศจีน เมื่อความรุนแรงของการระบาดชัดเจนขึ้น เช่น มีการกักด่านเมืองทั้งเมือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากร 60 ล้านคนในมณฑลหูเป่ย์ และการห้ามการท่องเที่ยวอย่างเข้มงวด[469] ขณะที่ประเทศอื่นก็มีการใช้มาตรการที่หลากหลาย เพื่อกำจัดการแพร่ของไวรัส ตัวอย่างเช่น เกาหลีใต้มีการนำการตรวจคัดกรองมวลชน การกักด่านในท้องถิ่น และใช้การแจ้งเตือนเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของบุคคลที่ได้รับผลกระทบมาใช้ สิงคโปร์ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ติดเชื้อที่ทำการกักตนเอง ในทางกลับกันก็มีการตั้งค่าปรับจำนวนมากสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามเช่นกัน ไต้หวันเพิ่มการผลิตหน้ากาก และมีแนวทางการลงโทษสำหรับการกักตุนเวชภัณฑ์[470] ส่วนบางประเทศได้มีการกำหนดให้พลเมืองต้องรายงานอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ต่อแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเพิ่งมีการเดินทางไปยังจีนมา[471]
การป่วย[แก้]
ยังไม่มียาต้านไวรัสเฉพาะกับไวรัสนี้ แต่อยู่ในระหว่างการพยายามพัฒนา ความพยายามในการบรรเทาอาการจึงอาจประกอบด้วย การรับประทานยาแก้ไข้ตามปกติ (ยาที่สามารถซื้อขายกันได้โดยตรงโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์)[472] การดื่มน้ำ และพักผ่อน[430] อาจต้องใช้การรักษาด้วยออกซิเจน การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ และการช่วยหายใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ[473] ส่วนการใช้สเตียรอยด์อาจทำให้ผลลัพธ์ออกมาแย่ลง[474] และยังมีการตรวจสอบสารประกอบหลายชนิด ที่ซึ่งได้รับการอนุมัติให้ใช้สำหรับการรักษาไวรัสตัวอื่น เช่น ฟาวิพิราเวียร์, ไรบาวิริน, เรมเดซิเวียร์,[475] และกาลิเดซิเวียร์[476][477]
ประวัติ[แก้]

มีหลายทฤษฎีว่าผู้ป่วยรายแรก (First case) หรือผู้ป่วยต้นปัญหา (Index Case) อาจเกิดที่ใด[478] กรณีที่เป็นที่ทราบกันครั้งแรกของผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ถูกตรวจสอบย้อนกลับไปในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ในนครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน[479] การกล่าวอ้างที่ไม่ยืนยันในภายหลังได้อ้างถึงเอกสารรัฐบาลจีนที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยกรณีแรกเป็นชายอายุ 55 ปีที่ป่วยเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562[480]
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม กลุ่มแพทย์จากโรงพยาบาลกลางอู่ฮั่นนำโดย พญ. อ้าย เฟิน (艾芬) ได้เริ่มเผยแพร่การแจ้งเตือนเรื่อง "ไวรัสโคโรนา-คล้ายโรคซาร์ส" แพทย์ชาวจีนแปดคนถูกรัฐบาล จับกุมตัวในข้อหาแพร่ข่าวลือที่เป็นเท็จ รวมถึงนายแพทย์ หลี่ เหวินเลี่ยง (李文亮) ในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร เหรินวู่ (人物) อ้าย เฟิน กล่าวว่าเธอถูกตำหนิหลังจากแจ้งผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานของเธอเกี่ยวกับการพบกรณี ไวรัส-คล้ายโรคซาร์ส ในผู้ป่วยในเดือนธันวาคม[481]
ภายในเดือนถัดมา จำนวนผู้ป่วยกรณีไวรัสโคโรนาในมณฑลหูเป่ย์ ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นสองร้อยคนก่อนที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 มีการรายงานผู้ป่วยโรคปอดบวมที่ไม่ทราบสาเหตุจำนวนหนึ่งต่อหน่วยงานด้านสุขภาพในนครอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์[482] ซึ่งทำให้เกิดการเริ่มต้นสอบสวนโรค[483] กรณีเหล่านี้ส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับตลาดขายส่งอาหารทะเลหวฺหนาน ซึ่งขายสัตว์มีชีวิตด้วย ดังนั้นจึงเชื่อว่าโรคจากไวรัสนี้เป็นโรครับจากสัตว์[484]
ในช่วงแรกของการระบาดจำนวนผู้ป่วยเพิ่มเป็นสองเท่าทุก 712 วัน[378] ในช่วงต้นและกลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ไวรัสแพร่กระจายไปยังมณฑลอื่น ๆ ของจีน โดยอาจเกิดจากช่วงเวลาชุน-ยฺวิ่น หรือการเดินทางในช่วงเทศกาลตรุษจีน[379] เมื่อวันที่ 20 มกราคม จีนได้รายงานผู้ป่วยรายใหม่เกือบ 140 กรณีในหนึ่งวัน รวมถึงสองรายในนครปักกิ่ง และอีกหนึ่งรายในเชินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง[485] ข้อมูลอย่างเป็นทางการในภายหลังได้แสดงว่ามี 6,174 คนที่มีอาการป่วยแล้วภายในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563[486]
เมื่อวันที่ 10 มกราคมจากรายงานของทางการจีน องค์การอนามัยโลกได้ออกคำแนะนำการเดินทางเพื่อขอให้นักท่องเที่ยวปฏิบัติตามแนวทาง "เพื่อลดความเสี่ยงโดยทั่วไปของการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน ขณะเดินทางในหรือจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ (นครอู่ฮั่น)"[487] ในขณะที่ข้อสังเกตรูปแบบของการแพร่กระจายของไวรัสนั้นไม่ชัดเจน แต่ก็ไม่แนะนำให้ใช้ "การใช้การ จำกัดการเดินทางหรือการค้ากับจีน" เมื่อวันที่ 12 มกราคม ตามข้อมูลเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีน ทาง WHO ระบุว่า "ในขั้นตอนนี้ไม่มีการติดเชื้อในหมู่คนทำงานด้านการดูแลสุขภาพ และไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามนุษย์มีการถ่ายทอดสู่มนุษย์"[488]
ในวันที่ 13 มกราคม กรณีผู้ติดเชื้อไวรัสที่ทราบกันเป็นครั้งแรกนอกประเทศจีนได้รับการยืนยันในประเทศไทย โดยเป็นกรณีนักเดินทางชาวจีน องค์การอนามัยโลกระบุว่าคาดว่าจะมีกรณีเช่นนี้และเรียกร้องให้ "มีการติดตามและเตรียมความพร้อมในประเทศอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง"[489] เมื่อวันที่ 20 มกราคมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีนยืนยันว่า การติดเชื้อโรค COVID-19 จากมนุษย์สู่มนุษย์ได้ปรากฏขึ้นแล้ว[490] เมื่อวันที่ 24 มกราคม องค์การอนามัยโลก ได้ปรับปรุงคำแนะนำการเดินทาง โดยแนะนำการคัดกรองการผ่านเข้าออกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ในขณะที่ยังคงให้คำแนะนำต่อการจำกัดการเดินทาง[491] เมื่อวันที่ 27 มกราคม WHO ประเมินความเสี่ยงของโรค COVID-19 ว่า "สูงในระดับโลก"[492]
เมื่อวันที่ 30 มกราคม องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศว่าการแพร่ระบาดของโรคเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ โดยเตือนว่า "ทุกประเทศควรเตรียมพร้อมสำหรับการกักกันโรค รวมถึงการเฝ้าระวังอย่างแข็งขัน การตรวจหาเชื้อแต่เนิ่น ๆ การแยกผู้ป่วยและการจัดการรายกรณี การติดตามการติดต่อของผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย และการป้องกันการเพิ่มการแพร่กระจายโรค[5][493]
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก เทดรอส อัดเฮนอม เตือนว่าไวรัสอาจกลายเป็น "โรคระบาดทั่ว (Pandemic)" เนื่องจากมีผู้ป่วยนอกประเทศจีนเพิ่มขึ้นจำนวนมาก[377] เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ WHO ได้เพิ่มการประเมินความเสี่ยงของการแพร่ระบาดไปทั่วโลกว่า "สูงมาก"[494]
ในวันที่ 11 มีนาคม องค์การอนามัยโลกได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า การระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น "โรคระบาดทั่ว" หลังจากมีการติดต่อเชื้อในระดับชุมชนอย่างต่อเนื่องช่วงเวลาหนึ่งในหลายภูมิภาคของโลก[382] ในวันที่ 13 มีนาคม WHO ได้ประกาศให้ยุโรปเป็นศูนย์กลางของการระบาดใหญ่ครั้งใหม่ หลังจากที่อัตราผู้ป่วยรายใหม่ในยุโรปสูงกว่าภูมิภาคอื่นของโลกนอกเหนือจากจีน[495] เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 จำนวนกรณีผู้ป่วยทั่วโลกที่อยู่นอกประเทศจีนมีจำนวนมากกว่าในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่[496] ในวันที่ 19 มีนาคม 2563 ประเทศจีนรายงานว่าไม่มีกรณีผู้ป่วยในประเทศกรณีใหม่ (ยกเว้นกรณีผู้ป่วยเดินทางมาจากต่างประเทศ) เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดการระบาด ในขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดในอิตาลีมากกว่าในประเทศจีน[497]
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563 นักวิทยาศาสตร์จีนได้รายงานว่า มากถึง 10% ของผู้ที่รักษาหายจากโรคติดเชื้อ COVID-19 และมีผลทดสอบการติดเชื้อเป็นลบ สามารถมีผลทดสอบการติดเชื้อเป็นบวกอีกครั้ง[498]
การตอบสนองระหว่างประเทศ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
[377]การวิจัยการรักษา[แก้]
หลายองค์กรทั่วโลกกำลังพัฒนาวัคซีน หรือทำการทดสอบยาต้านไวรัส โดยองค์กรที่กำลังพยายามอยู่ประกอบด้วย:
- สถาบันอนามัยแห่งชาติสหรัฐ (NIH) คาดว่าจะมีการทดลองวัคซีนในมนุษย์ภายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563[499][500]
- ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งจีน (CCDC) ได้เริ่มพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และกำลังทดสอบประสิทธิภาพของยาที่มีอยู่กับโรคปอดบวม[501][502]
- ศูนย์ร่วมนวัตกรรมการเตรียมพร้อมโรคระบาด (CEPI) กำลังระดมทุนสำหรับวัคซีนรวมสามโครงการ[503] และหวังว่าจะมีวัคซีนทดลองใช้ภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 และอนุมัติพร้อมใช้ภายในปีนี้ โดยมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ได้รับเงินทุนจำนวน 10.6 ล้านดอลลาร์จาก CEPI เพื่อพัฒนา "molecular clamp"[504] vaccine platform.[505][506]
- บริษัทโมเดอร์นา กำลังพัฒนาวัคซีน mRNA ขึ้นด้วยเงินทุนจาก CEPI[507][508] ขณะที่ Inovio Pharmaceuticals ก็ได้รับเงินอุดหนุนจาก CEPI เช่นกัน และได้ออกแบบวัคซีนภายในสองชั่วโมงหลังจากได้รับลำดับยีน[509] โดยวัคซีนที่กำลังผลิตนั้น สามารถนำไปใช้ทดลองกับสัตว์ได้เป็นครั้งแรก[509]
- Yuen Kwok-yung นักวิจัยชาวฮ่องกงและทีมในมหาวิทยาลัยฮ่องกง ประกาศว่าได้พัฒนาวัคซีนขึ้นใหม่แล้ว แต่จำเป็นต้องนำไปทดลองกับสัตว์เสียก่อน ก่อนที่จะนำมาทดสอบทางคลินิกกับมนุษย์[510]
ผลกระทบ[แก้]
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ-สังคม[แก้]

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นเหตุให้เกิดการขาดแคลนอุปทานสินค้าในหลายภาคส่วนอันเนื่องมาจาก การใช้อุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกเพื่อต่อสู้กับการระบาด, การซื้อจากความตื่นตระหนกและการหยุดชะงักของโรงงานและห่วงโซ่อุปทาน องค์การอาหารและยาของสหรัฐได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับการขาดแคลนยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เนื่องจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น และการหยุดชะงักของผู้ผลิตและจัดหาสินค้า[511] หลายท้องที่เช่นสหรัฐ[512], อิตาลี[513] และฮ่องกง[514] มีปรากฏการณ์การซื้อจากความตื่นตระหนกที่นำไปสู่ชั้นวางสินค้าอุปโภคจำเป็นในร้านขายของชำที่ว่างเปล่า เช่น อาหาร, กระดาษชำระ และน้ำดื่มบรรจุขวด ซึ่งทำให้เกิดการขาดแคลนอุปทานสินค้าตามมา[515] อุตสาหกรรมเทคโนโลยีได้รับคำเตือนโดยเฉพาะ เกี่ยวกับความล่าช้าในการจัดส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์[516] คุณ Tedros Adhanom ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกระบุว่า ความต้องการอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 100 เท่า และความต้องการนี้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของราคาสูงถึงยี่สิบเท่าของราคาปกติ และทำให้เกิดความล่าช้าในการจัดหาเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ประมาณสี่ถึงหกเดือน[517][518]
ผู้บริหารระดับจังหวัดจำนวนมากของพรรคคอมมิวนิสต์จีนถูกให้ออกตำแหน่ง จากปัญหาการจัดการการกักกันโรคในภาคกลางของจีน ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงความไม่พอใจต่อหน่วยงานทางการเมืองในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคในภูมิภาคนั้น[519] นักวิจารณ์บางคนเสนอว่าการกล่าวร้องออกมาดัง ๆ ในเรื่องโรคอาจเป็นการประท้วงที่เกิดขึ้นไม่บ่อยต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน[520] นอกจากนี้การประท้วงในเขตการปกครองพิเศษของฮ่องกง มีความเข้มข้นเนื่องจากความกลัวการอพยพจากจีนแผ่นดินใหญ่[521] ไต้หวันก็แถลงแสดงความกังวลเกี่ยวกับการถูกรวมอยู่ในการห้ามการเดินทางใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเนื่องจาก "นโยบายจีนเดียว" และสถานะทางการเมืองที่ขัดแย้งกัน[522]
เนื่องจากจีนแผ่นดินใหญ่เป็นระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่และเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้า การระบาดของไวรัสจึงเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลก Agathe Demarais จากหน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ (EIU) ได้คาดการณ์ว่าตลาดจะยังคงมีความผันผวนจนกว่าภาพที่ชัดเจนจะปรากฏในผลของเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่า อัตราการล่มสลายทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโรคในครั้งนี้ ที่มีต่อการเจริญเติบโตของโลกอาจเกินกว่าครั้งการระบาดของโรคซาร์สได้[523] ดร. Panos Kouvelis ผู้อำนวยการ "ศูนย์โบอิง" ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตันในนครเซนต์หลุยส์ คาดการณ์ผลกระทบมากกว่า 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐในระบบห่วงโซ่อุปทานของโลก ที่อาจกินเวลานานถึงสองปี[524] องค์การของประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียม (โอเปก) รายงานว่า "มีการโต้เถียงกัน" หลังจากราคาน้ำมันปรับตัวลงอย่างหนักเนื่องจากความต้องการที่ลดลงจากจีน[525] ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกร่วงลงเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เนื่องจากจำนวนผู้ป่วย COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนอกจีนแผ่นดินใหญ่[526][527] เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ดัชนีหุ้นของสหรัฐ หลายดัชนีรวมถึง แนสแด็ก-100, ดัชนี เอสแอนด์พี 500 และดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมของดาวน์โจนส์ ติดลบมากที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2551 โดยดัชนีดาวโจนส์ร่วงลง 1,191 จุด ซึ่งมากที่สุดในการลดลงในหนึ่งวันนับตั้งแต่การเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินใน พ.ศ. 2550-2551[528] ดัชนีทั้งสามลดลงกว่าร้อยละ 10 เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์[529] เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์บริษัทจัดอันดับเครดิต สโคปเรตติง (Scope Ratings) จากเยอรมัน ยืนยันการจัดอันดับเครดิตของจีน แต่ยังคงมุมมองเชิงลบ[530] หุ้นตกต่ำอีกครั้งตามความวิตกเรื่องไวรัสโคโรนา ซึ่งการร่วงของราคาที่มากที่สุดเกิดขึ้นในวันที่ 16 มีนาคม 2563.[531] ทำให้มีหลายความคิดเห็นคาดว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย[532][533][534]

การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในภาคที่ได้รับผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดเนื่องจากการห้ามเดินทาง การปิดสถานที่สาธารณะ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยว และการให้คำแนะนำของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับการระมัดระวังการท่องเที่ยวใด ๆ ทั่วโลก เป็นผลให้สายการบินจำนวนมากยกเลิกเที่ยวบินเนื่องจากความต้องการลดลงรวมถึงบริติชแอร์เวย์, ไชน่าอีสเทิร์น และควอนตัส ในขณะที่สายการบินภูมิภาคของอังกฤษ ฟลายบี (Flybe) ต้องปิดกิจการ[535] สถานีรถไฟและท่าเรือเฟอร์รีหลายแห่งก็ปิดตัวลงเช่นกัน[536] การแพร่ระบาดของโรคใกล้เคียงกับ ชุน-ยฺวิ่น หรือ ฤดูเดินทางแห่งเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ ที่เกี่ยวข้องกับวันหยุดปีใหม่ของจีน เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับฝูงชนจำนวนมาก ถูกยกเลิกโดยรัฐบาลระดับชาติและระดับภูมิภาครวมถึงงานเทศกาลปีใหม่ บริษัทเอกชนต่างก็ปิดร้านค้าและแหล่งท่องเที่ยวเช่น ดิสนีย์แลนด์ฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้ดิสนีย์แลนด์พาร์ก[537][538] กิจกรรมวันตรุษจีนและสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งถูกปิด เพื่อป้องกันไม่ให้มีการรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก รวมถึงนครต้องห้ามในปักกิ่ง และงานประเพณีในวัดแบบดั้งเดิม[539] ใน 24 จาก 31 มณฑล, เขตเทศบาล และภูมิภาคของจีน เจ้าหน้าที่ได้ขยายวันหยุดปีใหม่จนถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ โดยสั่งให้สถานที่ทำงานส่วนใหญ่ไม่เปิดทำการใหม่จนกระทั่งถึงวันนั้น[540][541] ภูมิภาคเหล่านี้คิดเป็น 80% ของจีดีพีของประเทศและ 90% ของการส่งออก[541] ฮ่องกงยกระดับการตอบสนองต่อโรคติดเชื้อให้อยู่ในระดับสูงสุด และประกาศภาวะฉุกเฉิน สั่งปิดโรงเรียนจนถึงเดือนมีนาคม และยกเลิกการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีน[542][543]
แม้จะมีความชุกของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสูงในภาคเหนือของอิตาลี และพื้นที่บริเวณนครอู่ฮั่น และความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารที่สูงขึ้นในทั้งสองพื้นที่ทำให้เกิดผลกระทบจากการขาดแคลนอาหารเฉียบพลัน มาตรการที่มีประสิทธิภาพโดยจีนและอิตาลีต่อการกักตุนและการค้าผลิตภัณฑ์ที่สำคัญนั้นประสบความสำเร็จ โดยหลีกเลี่ยงการขาดแคลนอาหารเฉียบพลันที่มีการคาดว่าจะเกิดขึ้นในยุโรปและรวมทั้งในอเมริกาเหนือ ภาคเหนือของอิตาลีซึ่งมีการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญไม่ได้มีผลผลิตลดลงมาก แต่ราคาอาจเพิ่มขึ้นจากการค้าของผู้แทนจำหน่าย ชั้นวางอาหารเปล่าพบเพียงชั่วคราวแม้กระทั่งในนครอู่ฮั่น ในขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนได้ปล่อยโควตาสำรองเนื้อสุกร เพื่อให้มั่นใจว่าประชากรมีอาหารบริโภคที่เพียงพอ มีกฎหมายที่คล้ายกันในอิตาลีที่กำหนดให้ผู้ผลิตอาหารต้องเก็บสำรองในกรณีฉุกเฉิน[544][545]
ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโลกนั้นปรากฏขึ้นในประเทศจีน ตามรายงานของสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ว่าเศรษฐกิจในประเทศจีนได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรกของ พ.ศ. 2563 อันเนื่องมาจากมาตรการของรัฐบาลในการกำจัดการระบาดของไวรัส โดยตัวเลขยอดขายปลีกลดลงถึง 20.5%[546]
ดูเพิ่ม[แก้]
- การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
- โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง
- โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
- โรคติดเชื้ออุบัติใหม่
- โรเซตตัส แบท ไวรัสโคโรนา เอชเคยู 9
- การทดลองซอลิแดริตี
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWOM
- ↑ 2.0 2.1 "Coronavirus COVID-19 Global Cases by the Center for Systems Science and Engineering (CSSE) at Johns Hopkins University (JHU)". ArcGIS. Johns Hopkins CSSE. สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
- ↑ "Coronavirus disease (COVID-19) outbreak". who.int. สืบค้นเมื่อ 8 March 2020.
- ↑ "Coronavirus declared global health emergency". BBC News Online. 31 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2020. สืบค้นเมื่อ 13 February 2020.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Statement on the second meeting of the International Health Regulations (2005) Emergency Committee regarding the outbreak of novel coronavirus (2019-nCoV)". World Health Organization. 30 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 30 January 2020.
- ↑ "WHO Director-General's opening remarks at the media briefing on COVID-19 - 11 March 2020". World Health Organization. 11 March 2020. สืบค้นเมื่อ 11 March 2020.
- ↑ 7.0 7.1 "Getting your workplace ready for COVID-19" (PDF). World Health Organization. 27 February 2020.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 "Q&A on coronaviruses". World Health Organization (WHO). 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 24 February 2020.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 "Symptoms of Novel Coronavirus (2019-nCoV) | CDC". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 10 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Rothan HA, Byrareddy SN (February 2020). "The epidemiology and pathogenesis of coronavirus disease (COVID-19) outbreak". Journal of Autoimmunity: 102433. doi:10.1016/j.jaut.2020.102433.
- ↑ "Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)". Centers for Disease Control and Prevention (ภาษาอังกฤษ). 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 9 March 2020.
- ↑ "Coronavirus: Shanghai neighbour Zhejiang imposes draconian quarantine". South China Morning Post. 6 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2020. สืบค้นเมื่อ 8 February 2020.
- ↑ Marsh S (23 February 2020). "Four cruise ship passengers test positive in UK – as it happened". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 23 February 2020.
- ↑ 新型肺炎流行の中国、7億8000万人に「移動制限」 [China's new pneumonia epidemic 'restricted movement' to 780 million people] (ภาษาญี่ปุ่น). CNN.
- ↑ "Coronavirus Update: Masks And Temperature Checks In Hong Kong". Nevada Public Radio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-02. สืบค้นเมื่อ 26 January 2020.
- ↑ "Coronavirus Disease 2019 Information for Travel". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 3 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2020. สืบค้นเมื่อ 6 February 2020.
- ↑ Deerwester J, Gilbertson D. "Coronavirus: US says 'do not travel' to Wuhan, China, as airlines issue waivers, add safeguards". USA Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2020. สืบค้นเมื่อ 26 January 2020.
- ↑ "Coronavirus Live Updates: Europe Prepares for Pandemic as Illness Spreads From Italy". The New York Times. 26 February 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
- ↑ "Coronavirus (COVID-19): latest information and advice". Government of the United Kingdom. สืบค้นเมื่อ 27 February 2020.
- ↑ "Coronavirus impacts education". UNESCO. 4 March 2020. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
- ↑ "Here Comes the Coronavirus Pandemic – Now, after many fire drills, the world may be facing a real fire". The New York Times. 29 February 2020. สืบค้นเมื่อ 1 March 2020.
- ↑ Krugman P (27 February 2020). "When a Pandemic Meets a Personality Cult". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 29 February 2020.
- ↑ Young E (31 January 2020). "'This is racism': Chinese-Australians say they've faced increased hostility since the coronavirus outbreak began". Special Broadcasting Service.
- ↑ Iqbal N (1 February 2020). "Coronavirus fears fuel racism and hostility, say British-Chinese". The Observer. ISSN 0029-7712. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2020. สืบค้นเมื่อ 4 February 2020.
- ↑ "Coronavirus fears trigger anti-China sentiment across the globe". Global News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2020. สืบค้นเมื่อ 4 February 2020.
- ↑ Yeung J. "As the coronavirus spreads, fear is fueling racism and xenophobia". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2020. สืบค้นเมื่อ 4 February 2020.
- ↑ Darrach A (25 February 2020). "The new coronavirus and racist tropes". Columbia Journalism Review.
- ↑ "Fake Facts Are Flying About Coronavirus. Now There's A Plan To Debunk Them". NPR. สืบค้นเมื่อ 23 February 2020.
- ↑ Perper, Rosie (5 March 2020). "As the coronavirus spreads, one study predicts that even the best-case scenario is 15 million dead and a $2.4 trillion hit to global GDP". Business Insider – โดยทาง Yahoo!.
- ↑ Clamp, Rachel (5 March 2020). "Coronavirus and the Black Death: spread of misinformation and xenophobia shows we haven't learned from our past". The Conversation – โดยทาง Yahoo!.
- ↑ Lau, Hien; Khosrawipour, Veria; Kocbach, Piotr; และคณะ (March 2020). "Internationally lost COVID-19 cases". Journal of Microbiology, Immunology, and Infection [Wei Mian Yu Gan Ran Zia Zhi]. 53 (3): 454–458. doi:10.1016/j.jmii.2020.03.013. PMC 7102572. PMID 32205091.
- ↑ • “Situation reports”. WHO. • “Coronavirus COVID-19 Global Cases by Johns Hopkins CSSE”. Johns Hopkins University. • “Coronavirus Update (Live)”. worldometer.info.
- ↑ "Cases in U.S." CDC. 7 May 2020.
- ↑ 34.0 34.1 "COVID-19/Coronavirus Real Time Updates With Credible Sources in US and Canada | 1Point3Acres". coronavirus.1point3acres.com.
- ↑ 35.0 35.1 35.2 35.3 "Coronavirus COVID-19 Global Cases by the Center for Systems Science and Engineering (CSSE) at Johns Hopkins University (JHU)". ArcGIS. Johns Hopkins CSSE. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ 截至9月21日24时新型冠状病毒肺炎疫情最新情况 (ภาษาChinese (China)). National Health Commission. 22 September 2020. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Home – Ministry of Health and Family Welfare – GOI". mohfw.gov.in (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "info coronavirus covid-19". Gouvernement.fr (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "COVID-19 : bilan et chiffres clés en France". www.santepubliquefrance.fr (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Corona-Karte Deutschland: COVID-19 live in allen Landkreisen und Bundesländern". Tagesspiegel (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Wie sich das Coronavirus in Ihrer Region ausbreitet" [How the coronavirus affects your region] (ภาษาเยอรมัน). Zeit Online. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Painel Coronavírus" (ภาษาโปรตุเกส). Ministry of Health (Brazil). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Brasil passa de 137 mil mortes por Covid-19; média móvel é de 748 na última semana". G1 (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ 新型コロナウイルス感染症の現在の状況と厚生労働省の対応について(令和2年9月22日版). Ministry of Health, Labour and Welfare (Japan) (ภาษาญี่ปุ่น). 22 September 2020. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Coronavirus Disease-19, Republic of Korea". ncov.mohw.go.kr (ภาษาอังกฤษ). Ministry of health and welfare. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ 보도자료 [Press releases] (ภาษาเกาหลี). 질병관리본부 (KCDC).
- ↑ "Italy blasts virus panic as it eyes new testing criteria". AP NEWS. February 27, 2020.
- ↑ Perrone, Alessio (March 14, 2020). "How Italy became the ground zero of Europe's coronavirus crisis" – โดยทาง www.wired.co.uk.
- ↑ "COVID-19 ITALIA" [COVID-19 ITALY]. opendatadpc.maps.arcgis.com (ภาษาอิตาลี). Protezione Civile. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Ministero della Salute – Nuovo coronavirus". www.salute.gov.it (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Historic data". Public Health England. สืบค้นเมื่อ 4 April 2020.
- ↑ "Coronavirus (COVID-19) in the UK". coronavirus.data.gov.uk. Public Health England. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "First death from coronavirus registered in Moscow". TASS. 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
- ↑ "О подтвержденных случаях новой коронавирусной инфекции COVID-2019 в России". Rospotrebnadzor. 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
- ↑ "Оперштаб заявил об отсутствии в России летальных исходов от коронавируса". RBC (ภาษารัสเซีย). 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
- ↑ Оперативные данные. По состоянию на 22 сентября 10:30. Стопкоронавирус.рф (ภาษารัสเซีย). 22 September 2020. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "T.C Sağlık Bakanlığı Türkiye Genel Koronavirüs Tablosu". covid19.saglik.gov.tr. 22 September 2020.
- ↑ "La pandemia del coronavirus, en datos, mapas y gráficos". RTVE (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "TRANG TIN VỀ DỊCH BỆNH VIÊM ĐƯỜNG HÔ HẤP CẤP COVID-19" (ภาษาเวียดนาม). BỘ Y TẾ (Ministry of Health). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ McGowan, Mark (2020-05-06). "WA COVID-19 update for Wednesday 6 May 2020". @MarkMcGowanMP (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-06.
- ↑ "Coronavirus (COVID-19) current situation and case numbers". Australian Government Department of Health. 15 August 2020. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Información epidemiológica" (ภาษาสเปน). Ministerio de Salud. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "REPORTE DIARIO MATUTINO NRO 371 SITUACIÓN DE COVID-19 EN ARGENTINA" (PDF) (ภาษาสเปน). Ministerio de Salud. 16 September 2020. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
- ↑ "首頁-衛生福利部疾病管制署" (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). Taiwan Centres for Disease Control. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
- ↑ "Coronavirus in the Netherlands: the questions you want answered". Dutch News. 2020-03-12.
- ↑ "Actuele informatie over het nieuwe coronavirus (COVID-19)" (ภาษาดัตช์). RIVM. 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Statistieken over het Coronavirus en COVID-19". allecijfers.nl. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "اخبار کرونا ویروس" [Corona virus news]. Ministry of Health and Medical Education.
- ↑ "COVID-19 kills 178 more Iranians over past 24 hours". IRNA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Covid-19 Mexico" (ภาษาสเปน). Instituciones del Gobierno de México. 18 September 2020. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ "Peta Sebaran" (ภาษาอินโดนีเซีย). COVID-19 Response Acceleration Task Force. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
- ↑ Ministerstwo Zdrowia [@MZ_GOV_PL] (22 September 2020). "W ciągu doby wykonano ponad 22,5 tys. testów na #koronawirus" (ทวีต) (ภาษาโปแลนด์) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "CORONAVIRUS (COVID-19)". covid19.minsalud.gov.co. 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Bundesministerium für Inneres: Aktuelle Zahlen zum Corona-Virus" (ภาษาเยอรมัน). Innenministerium. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "covid19 Ελλάδα". Υπουργείο Υγείας (ภาษากรีก). 11 August 2020.
- ↑ "Ponto de Situação Atual em Portugal" (ภาษาโปรตุเกส). Direção-Geral da Saúde. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Já se encontra disponível o relatório de situação de hoje, 22 de setembro" (ภาษาโปรตุเกส). Direção-Geral da Saúde. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Оперативна інформація про поширення коронавірусної інфекції 2019-nCoV" [Operational information on the spread of coronavirus infection 2019-nCoV] (ภาษายูเครน). Ministry of Healthcare (Ukraine). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "МОЗ повідомляє". Ministry of Healthcare (Ukraine). 19 September 2020. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020 – โดยทาง Facebook.
- ↑ "Casos confirmados COVID-19". Gobierno de Chile (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Covid-19 (Latest Updates)". Ministry of Health of Malaysia. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "נגיף הקורונה בישראל - תמונת מצב כללית" [Corona virus in Israel]. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Coronavirus COVID-19". info-coronavirus.be (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "COVID-19 - Epidemiologische situatie". Sciensano (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)". ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
- ↑ "COVID-19 Outbreak". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Tracking every case of COVID-19 in Canada". CTV News. 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Maladie à coronavirus (COVID-19) : Mise à jour sur l'éclosion" (ภาษาฝรั่งเศส - แคนาดา). Gouvernement du Canada. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "COVID-19 | Onemocnění aktuálně od MZČR" (ภาษาเช็ก). en:Ministry of Health (Czech Republic). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ Ministry of Health (Peru) (21 September 2020). "Sala Situactional COVID-19 Perú" (ภาษาสเปน).
- ↑ "Minsa: Casos confirmados por coronavirus Covid-19 ascienden a 772 896 en el Perú (Comunicado N°247)". gob.pe (ภาษาสเปน - ละตินอเมริกา). 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Current situation in Switzerland". Federal Office of Public Health. สืบค้นเมื่อ 23 September 2020.
- ↑ "Cas d'infection au Sars-CoV-2 en Suisse". Tribune de Genève (ภาษาฝรั่งเศส - สวิส). สืบค้นเมื่อ 23 September 2020.
- ↑ 전국적인 전염병전파 및 치료상황 통보 [Nationwide spread of infectious diseases and notification of treatment status]. kcna.kp. 9 June 2022.
- ↑ "COVID-19 CASE BULLETIN". Department of Health (Philippines). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "COVID-19 Tracker". Department of Health (Philippines). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "COVID-19 Statistics in South Africa". sacoronavirus.co.za (ภาษาอังกฤษ). 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ Dr Zweli Mkhize [@DrZweliMkhize] (16 September 2020). "As of today, the total number of confirmed #COVID19 cases is 653 444, the total number of deaths is 15 705 and the total number of recoveries is 584 195" (ทวีต) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 September 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ name. "Epidemiologiske overvågningsrapporter om COVID-19". www.ssi.dk (ภาษาเดนมาร์ก). สืบค้นเมื่อ 2020-03-21.
- ↑ "Tal og overvågning af COVID-19" (ภาษาเดนมาร์ก). Sundhedsstyrelsen (Danish Health Authority). 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ 101.0 101.1 101.2 "Overvågning af COVID-19" (ภาษาเดนมาร์ก). Statens Serum Institut (State Serum Institute). 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Comunicate de presă". Ministry of Internal Affairs (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Comunicate de presă". Ministry of Health (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Coronavirus Disease (COVID-19) in HK". Hong Kong: Department of Health. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Antal fall av covid-19 i Sverige - data uppdateras 11:30 och siffrorna är tillgängliga 14:00". Public Health Agency of Sweden – Official statistics at arcgis (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 18 September 2020.
Data updated daily at 11:30 [CEST]
- ↑ "COVID-19". covid19.rs. Ministry of Health (Serbia). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ "The daily epidemiological situation of registered infections of the emerging coronavirus in Iraq" (ภาษาอังกฤษ). Ministry of Health of Iraq. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020 – โดยทาง Facebook.
- ↑ "Updates on COVID-19 (Coronavirus Disease 2019) Local Situation". Ministry of Health (Singapore). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "COVID-19 (Coronavirus Disease 2019)". Ministry of Health (Singapore). 21 September 2020.
- ↑ "COVID-19 – current cases". Ministry of Health (New Zealand). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "Tájékoztató oldal a koronavírusról Aktualis". koronavirus.gov.hu. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "করোনা ভাইরাস ইনফো ২০১৯". corona.gov.bd. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "কোভিড-১৯ ট্র্যাকার | বাংলাদেশ কম্পিউটার কাউন্সিল (বিসিসি)" [COVID-19 Tracker]. covid19tracker.gov.bd. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Coronavirus in Slovakia". korona.gov.sk (ภาษาอังกฤษ). National Health Information Center. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ კორონავირუსის საქართველოში გავრცელების პრევენცია [Prevention of Coronavirus spread in Georgia] (ภาษาจอร์เจีย). Government of Georgia. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "فيروس كورونا المستجد (كوفيد-١٩)". corona.moh.gov.jo. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "Latest updates on COVID-19 (Coronavirus)". Department of Health (Ireland). 15 August 2020.
- ↑ "200 more cases of Covid-19 'deeply concerning', says Glynn". RTÉ News and Current Affairs. 15 August 2020.
- ↑ "COVID-19 Health Advisory Platform by Ministry of National Health Services Regulations and Coordination". covid.gov.pk. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ Ситуация с коронавирусом официально. coronavirus2020.kz (ภาษารัสเซีย). Kazinform. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Қазақстан Республикасы Денсаулық сақтау министрлігі" (ภาษาคาซัค). Kazakhstan Ministry of Healthcare. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Total COVID-19 tests performed per million people". Our World in Data.
- ↑ Nilsen AS, Skjetne OL, Sfrintzeris Y, Røset HH, Hunshamar C, Fraser S, Løkkevik O. "Live: Corona-viruset sprer seg i Norge og verden". VG Nett. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Åland Islands confirms first coronavirus cases, recommends quarantine for visitors from Finland". Yle. 22 March 2020. สืบค้นเมื่อ 22 March 2020.
- ↑ Särkkä H (2020-04-01). "HUS:n ylilääkäri: Suomessa satoja koronasta parantuneita – vanhimmat yli 80-vuotiaita". Ilta-Sanomat (ภาษาฟินแลนด์). สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
- ↑ "Varmistetut koronatapaukset Suomessa (COVID-19)". experience.arcgis.com (ภาษาฟินแลนด์). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "Statistični pregled koronavirusa v Sloveniji". www.rtvslo.si. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "Coronavirus disease COVID-19". Ministry of Health. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "Relevant information about Coronavirus (COVID-19)". Government of the Republic of Lithuania. 15 August 2020. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "14069 са общо доказаните у нас случаи на COVID-19 според Националната информационна система" (ภาษาบัลแกเรีย). Ministry of Health (Bulgaria). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ "COVID-19 in Bulgaria". สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
- ↑ "Covid-19: 3,426 Recoveries in 24 Hours, A Record [ⴰⴼⵉⵔⵓⵙ "ⴽⵓⵕⵓⵏⴰ" : ⵜⵜⵓⵣⵎⵎⴻⵎⵏ 1.376 ⵓⵎⴷⵢⴰ ⴰⵎⴰⵢⵏⵓ ⴳ 24 ⵜⵙⵔⴰⴳⵜ ⵉⵣⵔⵉⵏ, ⴷ 3.426 ⵓⵎⴷⵢⴰ ⵏ ⵜⵊⵊⵉⵜ]". Maghreb Arabe Press. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Službena stranica Vlade". Croatian Institute of Public Health. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Coronavirus" (ภาษาสเปน). Ministerio de Salud Pública (Guatemala). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "الجمهورية اللبنانية – وزارة اﻹعلام – الموقع الرسمي لمتابعة أخبار فيروس الكورونا في لبنان" (ภาษาอาหรับ). Lebanese Ministry of Information. สืบค้นเมื่อ 12 August 2020.
- ↑ "Situacion Nacional Covid-19" (ภาษาสเปน). Ministerio de Salud (Costa Rica). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Datos Oficiales". Bolivia Segura (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Ministère de la santé وزارة الصحة" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 – โดยทาง Facebook.
- ↑ "RESULTADO DE PRUEBAS PARA COVID-19 EN PUERTO RICO" (ภาษาสเปน). Departamento de Salud de Puerto Rico. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
- ↑ "Puerto Rico COVID-19" (ภาษาสเปน). Departamento de Salud. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Infecciones por coronavirus – COVID-19". temas.sld.cu (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "UAE CORONAVIRUS (COVID-19) UPDATES". UAE's national emergency crisis and disaster management authority. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Las cifras del COVID-19 en Ecuador" (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Actualización de casos de coronavirus en Ecuador". Ministerio de Salud Pública. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Visualizador de casos coronavirus COVID-19 en Uruguay". Sistema Nacional de Emergencias (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ Ministerio de Salud de Panama [@MINSAPma] (21 September 2020). "Compartimos la actualización de datos sobre #COVID19 en nuestro país" (ทวีต) (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Casos de Coronavirus COVID-19 en Panamá". Ministerio de Salud de la República de Panamá (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ А.Амбасэлмаа: Дөрвөн хүний шинжилгээнд коронавирус илэрч, нийт батлагдсан тохиолдол 297 боллоо. ikon.mn (ภาษามองโกเลีย). 13 August 2020. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
- ↑ "COVID-19 Dashboard" (ภาษาอังกฤษ). Ministry of Health and Population (Nepal). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "नेपाल कोभिड-१९ ड्यासबोर्ड [Nepal COVID19 Monitor]". สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ В Беларуси 224 новых случая коронавируса в сутки и пять смертей. tut.by (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "У Беларусі — 76 104 выпадкі захворвання на COVID-19. Выздаравелі 73 386 чалавек" [There are 76,104 cases of COVID-19 in Belarus. 73,386 people recovered]. Звязда (ภาษาเบลารุส). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Sākumlapa | Covid-19". covid19.gov.lv (ภาษาลัตเวีย). 11 August 2020.
- ↑ "COVID 19 Dashboard: Saudi Arabia" (ภาษาอาหรับ). وزارة الصحة - مركز القيادة والتحكم لكوفيد ١٩ - مركز العمليات الوطني للطوارئ الصحية [Ministry of Health (Saudi Arabia)]. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Azərbaycanda cari vəziyyət" (ภาษาอาเซอร์ไบจาน). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ "CONTADOR OFICIAL COVID-19 EN PARAGUAY" (ภาษาสเปน). Ministry of Public Health and Social Welfare (Paraguay). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "فايروس كورونا (COVID-19) في فلسطين" [Corona Virus (COVID-19) in Palestine]. corona.ps (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Covid-19 Updates". Ministry of Health (Bahrain). 20 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "COVID-19 National epidemiological report – Sri Lanka". වසංගත රෝග විද්යා ඒකකය,සෞඛ්ය අමාත්යංශය (Epidemiology Unit, Ministry of Health). สืบค้นเมื่อ 12 August 2020.
- ↑ "COVID 19 Updates .::. Home". corona.e.gov.kw. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "COVID-19 Numbers". Dominican Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Publicaciones Oficiales". Ministerio de Salud Pública (Dominican Republic) (ภาษาสเปน). 20 April 2020. สืบค้นเมื่อ 20 September 2020.
- ↑ "Coronavirus: 25 new cases, one death announced on Tuesday". Cyprus Mail (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 11 August 2020. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Surveillance Dashboard (Myanmar)". doph.maps.arcgis.com. ကျန်းမာရေးနှင့်အားကစားဝန်ကြီးဌာန [Ministry of Health and Sports]. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
- ↑ "COVID-19 în Republica Moldova: situaţia la zi". gismoldova.maps.arcgis.com (ภาษามอลโดวา). สืบค้นเมื่อ 24 September 2020.
- ↑ "Information about Coronavirus disease COVID-19". Estonian Health Board. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Estadísticas Venezuela". MPPS COVID Patria (ภาษาสเปน). 20 September 2020. สืบค้นเมื่อ 20 September 2020.
- ↑ وزيرة الصحة تتابع مستجدات فيروس كورونا وتوجه بتذليل أي تحديات لسير العمل بالمستشفيات (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020 – โดยทาง Facebook.
- ↑ "البوابة الجغرافية لمراقبة انتشار فيروس كورونا في ليبيا". ncdc.org.ly (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "الوضع الوبائي المحلي ليوم الجمعة السبت 11 أغسطس 2020م" (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 – โดยทาง Facebook.
- ↑ "Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)". Ministry of Public Health Qatar. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "የኢትዮጵያ የተቀናጀ የኮቪድ-19 መቆጣጠሪያ ስርዓት". covid19.et. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ Secretaría de Salud [@saludhn] (21 September 2020). "COMUNICADO No.197 del Sistema Nacional de Gestión de Riesgos (SINAGER)" (ทวีต) (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "DATOS ESTADÍSTICOS COVID-19" (ภาษาสเปน). Secretaria de Salud de Honduras. 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Հաստատված դեպքերն ըստ օրերի – NCDC Armenia". สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ "COVID-19 in Bosnia and Herzegovina". Ministry of Civil Affairs of Bosnia and Herzegovina. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ "Covid-19 cases in Oman". Ministry of Health. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Последни информации за КОВИД-19 и мерките за спречување на ширењето на Владата" [Latest information on COVID-19 and measures for prevention of spreading issued by the Government] (ภาษามาซิโดเนีย). Ministry of health (North Macedonia). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Real-time Coronavirus condition in North Macedonia". gdi.net (ภาษามาซิโดเนีย). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ @ZMPublicHealth (11 August 2020). "COVID19 update" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Ministry of Health Zambia" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 – โดยทาง Facebook.
- ↑ @MOH_Kenya (14 August 2020). "COVID-19 UPDATE" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Coronavirus Albania | Statistika" (ภาษาแอลเบเนีย). Agjencia Kombëtare e Shoqerisë së Informacionit. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ "COVID 19 CASE REPORT". Botswana Government. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020 – โดยทาง Facebook.
- ↑ "COVID-19 Botswana Dashboard". covid19portal.gov.bw. Botswana Government. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ "Coronavirus: COVID-19". Government of Luxembourg. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "Covid19 | Coronavirus Mauritius". covid19 (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 4 August 2020.
- ↑ "Virus korona COVID 19". Government of Montenegro. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "Ministry of Health – pressreleaseCOVID-19". www.moh.tgov.bn. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
- ↑ "COVID-19 Hub". The Scoop. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
- ↑ "COVID19 - Kosova" (ภาษาแอลเบเนีย). Ministry of Health (Kosovo). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "COVID-19 : Carte épidémiologique" (ภาษาฝรั่งเศส). Ministry of Health, Population, and Hospital Reform (Algeria). สืบค้นเมื่อ 23 September 2020.
- ↑ "Algeria COVID-19 Tracker". dz-covid19.com. สืบค้นเมื่อ 23 September 2020.
- ↑ "NCDC Covid-19 Page". Nigeria Centre for Disease Control. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Zimbabwe COVID-19 Cases". covid19zw.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 August 2020.
- ↑ @MoHCCZim (11 August 2020). "COVID-19 Update: As at 11 August 2020, Zimbabwe had 4 818 confirmed cases, including 1 544 recoveries and 104 deaths" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "инфекцияси (COVID-19) тўғрисида нимани билиш керак" (ภาษาอุซเบก). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Início". COVID 19 - Fica Atento (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ ຄະນະສະເພາະກິດເພື່ອປ້ອງກັນ, ຄວບຄຸມ ແລະ ແກ້ໄຂການລະບາດ: ຂອງພະຍາດອັກເສບປອດ ຈາກເຊື້ອຈຸລະໂລກສາຍພັນໃຫມ່ (COVID-19) (ภาษาลาว). สืบค้นเมื่อ 9 June 2020.
- ↑ "Afghanistan Covid-19 Cases". Ministry of Public Health (Afghanistan). 15 August 2020.
- ↑ "COVID-19 á Íslandi – Tölfræði". www.covid.is (ภาษาไอซ์แลนด์). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ Информации (ภาษารัสเซีย). Ministry of Health (Kyrgyz Republic). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ "SITUACIÓN NACIONAL". Ministry of Health (El Salvador) (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "COVID-19 (Novel Coronavirus)". สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
- ↑ "ArcGIS Dashboards". uwi.maps.arcgis.com. สืบค้นเมื่อ 2020-08-15.
- ↑ "Health Protection Agency Maldives - COVID-19 Statistics Dashboard". สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ "ކޮވިޑް-19 ކަވަރޭޖް. ދިވެހިރާއްޖެ ސިއްހީ ކުއްލި ނުރައްކަލުގެ ހާލަތުގައި" [Covid-19 Outbreak in Maldives]. Avas.
- ↑ "COVID-19 Updates". ghanahealthservice.org. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ "Ministry of Health and Social Services-Namibia" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-08-15 – โดยทาง Facebook.
- ↑ "MoH Uganda: COVID-19 Information Portal". covid19.gou.go.ug. Ministry of Health. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "Ministry of Health Uganda". 11 August 2020. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "COVID-19". Ministry of Health & Wellness, Jamaica. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ Christopher Tufton [@christufton] (14 August 2020). "COVID-19 UPDATE" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ ចំនួនករណីឆ្លងជំងឺកូវីដសរុប [Total number of cases of COVID-19] (ภาษาเขมร). Ministry of Health of Cambodia. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Coronavirus Disease COVID-19". Rwanda Biomedical Centre. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ @RwandaHealth (12 August 2020). "Ministry of Health | Rwanda" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "STATISTIQUES COVID-19". covid19.minsante.cm (ภาษาฝรั่งเศส). 24 July 2020. สืบค้นเมื่อ 7 August 2020.
- ↑ "Point Statistiques Covid 19". Journal du Cameroun (ภาษาฝรั่งเศส). 7 August 2020. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ "COVID-19 Malta - Data Dashboard". deputyprimeminister.gov.mt (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ "COVID-19 Update: One-Year-Old Tests Positive". Barbados GIS. 12 August 2020.
- ↑ "Covid-19: Cinquenta e seis positivos, dois mortos e seis recuperados". angop.ao (ภาษาโปรตุเกสแบบยุโรป). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "Situation Épidémiologique en RDC" (ภาษาฝรั่งเศส). Ministère de la Santé. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Coronavirus : Riposte à l'épidémie : Tableau Récapitulatif des dons"" (ภาษาฝรั่งเศส). Ministry of Health and Social Action (Senegal). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Covid 19 National Information Dashboard". Ministry of Health and Population, Malawi. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "Ministère de la Santé et de l'Hygiène Publique" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020 – โดยทาง Facebook.
- ↑ "COVID-19". COVID SURINAME (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ "Info coronavirus Covid-19". gouv.nc (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 8 August 2020.
- ↑ "Coronavirus Covid-19". service-public.pf. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
- ↑ Eswatini Government [@EswatiniGovern1] (11 August 2020). "Ministerial Statement: Minister of Health Lizzie Nkosi's #COVID19 update" (ทวีต) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Ministry of Public Health – Home". www.health.gov.gy. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ "Office of Director of Health Services" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 – โดยทาง Facebook.
- ↑ "COVID-19 UPDATES". Ministry of Health and Medical Services (Fiji). สืบค้นเมื่อ 31 July 2020.
- ↑ "Fiji records its first COVID-19 related death". Fijian Broadcasting Corporation (ภาษาอังกฤษ). 31 July 2020. สืบค้นเมื่อ 31 July 2020.
- ↑ "Situation Covid-19" (ภาษาอังกฤษ). Ministry of Public Health (Madagascar). 15 August 2020. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Coronavirus (COVID-19) cases" (ภาษาอังกฤษ). States of Jersey. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
- ↑ "وزارة الصحَّة الإتحاديَّة" [Federal Ministry of Health] (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 August 2020 – โดยทาง Facebook.
- ↑ The official page of the Federal Ministry of Health, Sudan [@FMOH_SUDAN] (15 August 2020). "التقرير الوبائي ليوم الخميس 13 أغسطس 2020" (ทวีต) (ภาษาอาหรับ) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Status 11 August 2020" (ภาษาอาหรับ). Ministry of Health. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 – โดยทาง Facebook.