ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิมานลอย (Gone with the Wind; ค.ศ. 1939) ครองสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงที่สุดเป็นเวลายี่สิบห้าปี ถ้าหากปรับตามเงินเฟ้อแล้วจะเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงที่สุดมากกว่าเรื่องใด ๆ

ภาพยนตร์สามารถทำเงินได้จากหลายแหล่ง เช่น การฉายในโรงภาพยนตร์, การขายโฮมวิดีโอ, การขายสิทธิ์ในการออกอากาศผ่านทางโทรทัศน์และการขายสินค้าจากภาพยนตร์ อย่างไรก็ตาม รายได้จากการฉายภาพยนตร์เป็นตัวชี้วัดหลักสำหรับนิตยสารการค้าในการประเมินความสำเร็จของภาพยนตร์ส่วนใหญ่เพราะเป็นข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายของโฮมวิดีโอและราคาของสิทธิ์ในการออกอากาศ อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติต่อ ๆ กันมาตั้งแต่ในอดีต โดยในบทความนี้จะประกอบด้วยตารางของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด (เรียงลำดับทั้งจากจำนวนเงินที่ทำได้และมูลค่าที่แท้จริง), ตารางภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปี, เส้นเวลาการเปลี่ยนแปลงของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดและแฟรนไชส์และภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุด โดยตารางทั้งหมดถูกจัดอันดับโดยตัวเลขจากบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลกเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและแสดงเฉพาะรายได้ที่มาจากการฉายในโรงภาพยนตร์เท่านั้น

ในอดีต ภาพยนตร์แนวสงคราม, เพลงและอิงประวัติศาสตร์ เป็นแนวภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ในช่วงศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ดเป็นต้นมา ภาพยนตร์แฟรนไชส์กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินได้ดีที่สุด โดยเฉพาะภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโร มีภาพยนตร์สิบเอ็ดเรื่องจาก จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล ที่ติดอันดับภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด โดย อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่สองและภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโรที่ทำเงินสูงสุด ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูน อเวนเจอร์ส ทั้งหมดสี่เรื่องนั้นติดอันดับอยู่ในภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดยี่สิบอันดับแรก ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากหนังสือการ์ตูนของมาร์เวลคอมิกส์เรื่องอื่น ๆ ก็ประสบความสำเร็จเช่นกัน ได้แก่ สไปเดอร์-แมน และ X-เม็น ขณะที่ แบทแมน และ ซูเปอร์แมน ของ ดีซีคอมิกส์ ก็ทำเงินได้ดี มีภาพยนตร์จากภาพยนตร์ชุด สตาร์ วอร์ส ติดอันดับห้าเรื่อง ขณะที่ภาพยนตร์จากภาพยนตร์ชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์, จูราสสิค พาร์ค และ ไพเรทส์ออฟเดอะแคริบเบียน ก็ติดอันดับเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นภาพยนตร์ส่วนใหญ่จะเป็นการดัดแปลงจากต้นฉบับเดิมหรือภาพยนตร์ภาคต่อ แต่ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่หนึ่ง อวตาร นั้นเป็นงานต้นฉบับ ภาพยนตร์แอนิเมชันก็ทำเงินได้ดีเช่นกัน โดยเฉพาะภาพยนตร์จากดิสนีย์ ได้แก่ ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ, ผจญภัยปริศนาราชินีหิมะ, นครสัตว์มหาสนุก และ เดอะไลอ้อนคิง (และภาพยนตร์ที่สร้างใหม่ในรูปแบบคอมพิวเตอร์แอนิเมชันก็ยังเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุด) เช่นเดียวกับภาพยนตร์จากพิกซาร์ ได้แก่ มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2, รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก 2, ทอย สตอรี่ 3, ทอย สตอรี่ 4 และ ผจญภัยดอรี่ขี้ลืม นอกเหนือจากดิสนีย์และพิกซาร์แล้ว ยังมีภาพยนตร์แอนิเมชันชุด มิสเตอร์แสบ ร้ายเกินพิกัด, เชร็ค และ ไอซ์ เอจ ที่ประสบความสำเร็จเช่นกัน

ในขณะที่ ภาวะเงินเฟ้อ นั้นได้ทำลายความสำเร็จของภาพยนตร์ส่วนใหญ่ในช่วงทศวรรษ 1950 ถึง 1970 เป็นช่วงที่ภาพยนตร์ชุดเริ่มต้นขึ้นและปัจจุบันยังมีการสร้างอยู่ ได้แก่ สตาร์ วอร์ส, ซูเปอร์แมน, เจมส์ บอนด์ และ ก็อตซิลลา ภาพยนตร์ชุดทั้งสี่ชุดนั้นยังอยู่ในอันดับภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุด ภาพยนตร์เก่าบางเรื่องทำเงินได้น่าพอใจกับมาตรฐานปัจจุบัน แต่ก็ไม่สามารถแข่งขันกับภาพยนตร์ในปัจจุบันที่ราคาของตั๋วสูงขึ้นได้ ถ้าหากปรับอัตราเงินเฟ้อแล้ว ภาพยนตร์เรื่อง วิมานลอย ซึ่งครองสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงที่สุดเป็นเวลายี่สิบห้าปีและเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงที่สุด

ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด

[แก้]
อวตาร ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด เขียนบทและกำกับโดย เจมส์ แคเมรอน

ภาพยนตร์เรื่อง อวตาร ถูกยกให้เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในบ็อกซ์ออฟฟิศ โดยทำเงินทั่วโลกมากกว่า 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเฉพาะจากการฉายในโรงภาพยนตร์เท่านั้น ไม่รวมรายได้จากการขายโฮมวิดีโอและจากการฉายบนโทรทัศน์ ซึ่งอาจเป็นส่วนสำคัญของรายได้ ถ้าเอามารวมกันแล้ว อาจทำให้ไม่แน่ใจว่าภาพยนตร์เรื่องไหนประสบความสำเร็จมากที่สุด ภาพยนตร์เรื่อง ไททานิค ทำเงิน 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการจำหน่ายและการเช่าวิดีโอเทปและดีวีดี[1] ซึ่งอีก 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้มาจากการฉายในโรงภาพยนตร์ ขณะที่ อวตาร ทำเงินจากการจำหน่ายของดีวีดีและบลูเรย์ 345 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในอเมริกาเหนือ[2] และจำหน่ายได้ 30 ล้านหน่วยทั่วโลก[3] เมื่อรวมกันแล้ว ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องทำเงินมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รายได้จากการขายสิทธิ์ในการฉายในโทรทัศน์ มักจะเพิ่มรายได้จากเดิมประมาณ 20–25%[4] ไททานิค ทำเงินได้ 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการขายสิทธิ์ในการฉายในโทรทัศน์ให้กับ เอ็นบีซี และ เอชบีโอ[1] คิดเป็น 9% ของรายได้ในอเมริกาเหนือ

ภาพยนตร์นั้นถูกใช้เป็นอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ เพราะนอกจากจะทำเงินจากการฉายในโรงภาพยนตร์แล้ว ชื่อของภาพยนตร์ยังสามารถนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่าง ๆ[5] เช่น เดอะไลอ้อนคิง (1994) ที่ทำเงินมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากบ็อกซ์ออฟฟิศและโฮมวิดีโอ[1] แต่เทียบไม่ได้กับรายได้จากการแสดงละครเวทีที่ทำเงินได้ 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก[6] และทำเงินมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการขายสินค้าจากภาพยนตร์ดังกล่าว[7] ขณะที่ 4 ล้อซิ่ง...ซ่าท้าโลก ของพิกซาร์ ทำเงินจากการฉายในโรงภาพยนตร์ได้ 462 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ ของพิกซาร์[8] แต่ทำเงินจากการขายสินค้าได้มากกว่า 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 5 ปี หลังภาพยนตร์ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2006[9][10] ทอย สตอรี่ 3 เป็นภาพยนตร์ของพิกซาร์ที่ทำเงินได้ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ขายสินค้าทำเงินได้เกือบ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ[11]

ในตารางนี้ ภาพยนตร์เรียงลำดับตามจำนวนเงินที่ทำได้จากการฉายในโรงภาพยนตร์และอันดับสูงสุดที่เคยทำได้ มีภาพยนตร์จำนวนหกเรื่องที่ทำเงินได้มากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย อวตาร อยู่อันดับสูงสุด ภาพยนตร์ทั้งหมดเคยฉายในโรงภาพยนตร์ (รวมถึงการฉายใหม่) ในศตวรรษที่ 21 และภาพยนตร์ที่ไม่ได้ฉายในช่วงเวลานี้จะไม่ปรากฏในตาราง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของราคาตั๋ว, ขนาดประชากรและแนวโน้มการซื้อตั๋วนั้นไม่ได้นำมาพิจารณา

  † พื้นหลังสีเขียวแสดงถึงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ทั่วโลก
Tยอดทำเงินรวมของ ไททานิค ที่เว็บไซต์ บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ และ เดอะนัมเบอส์ นั้นไม่ถูกต้องทั้งคู่ ก่อนการฉายใหม่ในปี 2023 ยอดทำเงินรวมของทั้งสองเว็บไซต์นั้นสูงเกินกว่าตัวเลขที่แท้จริง
  • เมื่อปี 2019 บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจบันทึกอย่างถูกต้องว่า ไททานิค ทำเงิน 1.843 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการฉายครั้งแรก, 344 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการฉายใหม่ในรูปแบบสามมิติในปี 2012 และอีก 692,000 ดอลลาร์สหรัฐจากการฉายแบบจำกัดในปี 2017 รวมแล้วทำเงิน 2.187 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[13] หลังการฉายแบบจำกัดในปี 2020 บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจได้เพิ่มเงิน 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับยอดทำเงินรวมจากการฉายครั้งแรกอย่างไม่ถูกต้อง[14] ปลายปี 2021 บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจได้แก้ไขยอดทำเงินรวมจากการฉายครั้งแรก แต่เพิ่มตัวเลข 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับยอดรวมจากการฉายใหม่ทั้งในปี 2012 และ 2017 ทำให้ยอดรวมเพิ่มอีก 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 2.202 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอย่างไม่ถูกต้อง[15] ช่วงต้นปี 2023 บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจได้แก้ไขยอดรวมสำหรับการฉายใหม่ในปี 2017 ทำให้ยอดทำเงินรวมลดลงมาที่ 2.195 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ยังคงมีข้อผิดพลาดในยอดเงินจากการฉายใหม่ในปี 2012[16]
  • เดอะนัมเบอส์ยังมีตัวเลขที่ไม่ถูกต้องที่บันทึกไว้สำหรับยอดทำเงินรวม เดอะนัมเบอส์ไม่ได้บันทึกยอดทำเงินจากการฉายในแต่ละครั้ง แต่มียอดทำเงินรวมที่บันทึกเป็น 2.186 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนกันยายน 2014 (ประมาณ 1.843 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการฉายครั้งแรกและ 343.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการฉายใหม่ในรูปแบบสามมิติ)[17] ไม่กี่สัปดาห์ต่อมา เดอะนัมเบอส์นับยอดทำเงินรวมเพิ่มขึ้นเป็น 2.208 พันล้านดอลลาร์สหรัฐโดยไม่มีคำอธิบาย[18]

Fบ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ หยุดอัปเดตรายได้ทั้งหมดของ ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ ไปเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 ในขณะที่ภาพยนตร์กำลังฉายอยู่ ซึ่งจำนวนเงินในตารางได้รวมของประเทศอื่นๆ ที่กำลังฉายอยู่จนถึงปลายปี ค.ศ. 2015 ได้แก่ ญี่ปุ่น, ไนจีเรีย, สเปน, สหราชอาณาจักรและเยอรมนี แต่ไม่รวมของประเทศตุรกี, ไอซ์แลนด์, บราซิลและออสเตรเลีย ที่ทำเงินได้ไม่กี่แสนดอลลาร์สหรัฐ และภาพยนตร์ได้ฉายอีกครั้งที่สหราชอาณาจักรเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2017 พร้อมกับ โอลาฟกับการผจญภัยอันหนาวเหน็บ ซึ่งทำเงินได้ 1,655,398 ดอลลาร์สหรัฐ รวมจำนวนเงินทั้งหมดแล้วปัดเศษไปอีก 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อชดเชยความคลาดเคลื่อนของตัวเลข

F8ในกรณีของ เร็ว...แรงทะลุนรก 8 จำนวนเงินนั้นนำตัวเลขมาจาก บ็อกซ์ออฟฟิส แทนที่จะเป็นแหล่งข้อมูลปกติ ก็คือ บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ หลังจากพบความไม่ปกติในจำนวนตัวเลขจากเว็บดังกล่าว จำนวนเงินที่ทำได้หลังเข้าฉายลดลงอย่างมาก เช่น รายได้จากประเทศอาร์เจนตินาสร้างผลกระทบมากที่สุด ทำให้ยอดทำเงินทั่วโลกลดลง[19]

RKมีการปรับรายได้ของ มหาสงครามชิงพิภพ ในปี ค.ศ. 2019 ทำให้อันดับสูงสุดของ สไปเดอร์-แมน ฟาร์ ฟรอม โฮม, กัปตัน มาร์เวล และ ทรานส์ฟอร์เมอร์ส 3 ลดลงมาหนึ่งอันดับ ตามที่ปรากฏในแหล่งข้อมูล

TS3บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจได้แก้ไขรายได้ภาพยนตร์ของพิกซาร์เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2016 ส่งผลให้รายได้ของ ทอย สตอรี่ 3 เปลี่ยนจาก 1.063 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 1.067 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[20][21] และยังทำให้อันดับสูงสุดที่เคยทำได้จากอันดับที่ 5 เป็นอันดับที่ 4 เหนือกว่า สงครามปีศาจโจรสลัดสยองโลก หลังจากฉายจบแล้ว

ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดหลังคิดเงินเฟ้อแล้ว

[แก้]
อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกแตกต่างกันไป ทำให้การปรับอัตราเงินเฟ้อยุ่งยาก

เพราะผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อที่มีมาอย่างยาวนาน ทำให้ค่าตั๋วเข้าชมภาพยนตร์นั้นเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน รายชื่อของภาพยนตร์ที่ไม่ได้อัตราเงินเฟ้อทำให้ภาพยนตร์ที่ออกฉายภายหลังมีน้ำหนักมากขึ้น[22] รายชื่อของภาพยนตร์ที่ไม่ได้ปรับอัตราเงินเฟ้อมักพบในสื่อทั่วไป ซึ่งไม่มีความหมายที่จะนำมาเปรียบเทียบกับภาพยนตร์ในปัจจุบัน เพราะภาพยนตร์เหล่านั้นไม่เคยปรากฏในรายชื่อของภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดเลย ถึงแม้ว่าในอดีตจะประสบความสำเร็จก็ตาม[23] เพื่อชดเชยการลดค่าเงินของสกุลเงิน จึงได้มีการปรับอัตราเงินเฟ้อบางส่วน แต่การปรับนี้จะไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ทั้งหมด เพราะราคาตั๋วกับอัตราเงินเฟ้อนั้นไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กัน ยกตัวอย่าง ในปี 1970 ราคาตั๋วภาพยนตร์อยู่ที่ 1.55 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 6.68 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2004 หลังคิดเงินเฟ้อ; ในปี 1980 ราคาตั๋วภาพยนตร์เพิ่มขึ้นเป็น 2.69 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ว่าลดลงเหลือ 5.50 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2004 หลังคิดเงินเฟ้อ[24] ราคาตั๋วนั้นเพิ่มขึ้นในอัตราที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศทั่วโลก ทำให้กระบวนการปรับอัตราเงินเฟ้อนั้นยุ่งยากมากขึ้น[22]

อีกหนึ่งความยุ่งยากคือการฉายภาพยนตร์ในหลากหลายรูปแบบทำให้ค่าตั๋วแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นภาพยนตร์เรื่อง อวตาร ที่ฉายในรูปแบบสามมิติและไอแมกซ์ โดยเกือบสองในสามของตั๋วนั้นเป็นของสามมิติด้วยค่าตั๋วเฉลี่ย 10 ดอลลาร์สหรัฐ และหนึ่งในหกนั้นเป็นของไอแมกซ์ด้วยค่าตั๋วเฉลี่ย 14.50 ดอลลาร์สหรัฐ เปรียบเทียบกับค่าตั๋วภาพยนตร์สองมิติในปี 2010 โดยเฉลี่ยเท่ากับ 7.61 ดอลลาร์สหรัฐ[25] ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจเช่นการเปลี่ยนแปลงของประชากร[26]และการเติบโตของตลาดต่างประเทศ[27][28][29] ยังส่งผลต่อจำนวนผู้ซื้อตั๋วโรงภาพยนตร์, กลุ่มผู้ชมที่มีภาพยนตร์บางเรื่องขายตั๋วลดราคาสำหรับเด็ก หรือทำเงินได้มากในเมืองใหญ่เพราะราคาตั๋วนั้นสูงกว่า[23]

ระบบการวัดความสำเร็จของภาพยนตร์นั้นขึ้นอยู่กับรายได้ที่ยังไม่ได้ปรับเงินเฟ้อ เพราะในอดีตเป็นวิธีการทำกันมาโดยตลอดในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ รายรับจากบ็อกซ์ออฟฟิศถูกรวบรวมโดยโรงภาพยนตร์และส่งกลับไปยังผู้จัดจำหน่าย แล้วเผยแพร่ไปยังสื่อ[30] แปลงเป็นระบบตัวแทนที่นับยอดขายตั๋วมากกว่ารายได้ที่เต็มไปด้วยปัญหาเพราะข้อมูลที่มีอยู่สำหรับภาพยนตร์เก่านั้นคือยอดขายทั้งหมด[26] ในขณะที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์มีความมุ่งมั่นอย่างมากในการทำการตลาดให้กับภาพยนตร์ที่พึ่งฉาย รายได้ที่ไม่ได้ปรับเงินเฟ้อถูกนำมาใช้ในแคมเปญการตลาด เพื่อให้ภาพยนตร์เรื่องใหม่ที่ประสบความสำเร็จสามารถทำยอดขายได้เร็วขึ้นและได้รับการยกย่องว่าเป็น "ภาพยนตร์ยอดนิยมตลอดกาล",[24][31]ดังนั้นจึงมีแรงจูงใจน้อยที่จะเปลี่ยนไปใช้การวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการตลาดหรือแม้แต่มุมมองที่น่าเชื่อถือ[30]

แม้จะมีความยากลำบากในการปรับตามอัตราเงินเฟ้อซึ่งมีการพยายามทำอยู่หลายครั้ง การประมาณจำนวนเงินขึ้นอยู่กับดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งใช้ในการปรับยอดเงินทั้งหมด[31] และใช้อัตราแลกเปลี่ยน แปลงระหว่างค่าเงินต่างๆ ซึ่งทั้งคู่อาจมีผลกระทบต่อการจัดอันดับของตารางหลังปรับเงินเฟ้อนี้ ภาพยนตร์เรื่อง วิมานลอย (ฉายครั้งแรกเมื่อปี 1939) โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ซึ่ง บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ได้ประมาณการจำนวนเงินที่ทำได้ทั่วโลกประมาณ 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2014 ซึ่งการประมาณการจำนวนเงินของภาพยนตร์เรื่องนี้มีความแตกต่างกันอย่างมาก เช่น เจ้าของภาพยนตร์, เทิร์นเนอร์เอนเตอร์เทนเมนต์ ได้ประมาณการไว้ 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2007[32] การประมาณการจากแหล่งหนึ่งระบุว่าประมาณการไว้น้อยกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2010,[33] แต่จากอีกแหล่งหนึ่งประมาณการไว้ 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2006[34] ขณะที่ภาพยนตร์คู่แข่งของ วิมานลอย ก็คือ อวตาร ซึ่ง กินเนสส์ ได้จัดอันดับเป็นที่สองด้วยจำนวนเงิน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือ ไททานิค ด้วยจำนวนเงินเกือบ 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการฉายครั้งแรกทั่วโลก ในค่าเงินของปี 2010[33]

ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดหลังคิดเงินเฟ้อแล้วถึงปี 2022[35][Inf]
อันดับ ชื่อ ทำเงินทั่วโลก
(2022 $)
ปี
1 วิมานลอย $4,192,000,000 1939
2 อวตาร A1$3,824,000,000 2009
3 ไททานิค $2,516,000,000T$3,485,000,000 1997
4 สตาร์ วอร์ส $3,443,000,000 1977
5 อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก AE$3,165,000,000 2019
6 มนต์รักเพลงสวรรค์ $2,884,000,000 1965
7 อี.ที. เพื่อนรัก $2,815,000,000 1982
8 บัญญัติ 10 ประการ $2,665,000,000 1956
9 ด็อกเตอร์ชิวาโก้ $2,526,000,000 1965
10 สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง TFA$2,491,000,000 2015

Infการปรับอัตราเงินเฟ้อนั้นใช้ ดัชนีราคาผู้บริโภค สำหรับ ประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งเผยแพร่โดย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ[36] โดยดัชนีนี้นำไปใช้กับจำนวนเงินที่ทำได้ในตารางซึ่งเผยแผร่โดย บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ เมื่อปี 2014 ตัวเลขในตารางข้างต้นคือจำนวนเงินจากการปรับอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในปี 2014 แล้วปรับในทุก ๆ ปีนับจากนั้นเป็นต้นมา

A1การปรับอัตราเงินเฟ้อของ อวตาร รวมรายได้จากการฉายครั้งแรกและการฉายฉบับพิเศษในปี 2010 แต่ไม่ได้รวมรายได้จากการฉายใหม่ในปี 2020 และ 2021[37]

Tการปรับอัตราเงินเฟ้อของ กินเนสส์ สำหรับ ไททานิค นั้นเพิ่มขึ้นแค่ $102,000,000 ระหว่างหนังสือฉบับเมื่อปี 2012 (ตีพิมพ์เมื่อ 2011) กับฉบับเมื่อปี 2015 เพิ่มขึ้น 4.2% จากเงินทั้งหมดที่ปรับเงินเฟ้อแล้วและรายได้จากการฉายใหม่ในรูปแบบสามมิติเมื่อปี 2012 นั้นตกหล่นไป[35][38]ในตารางนี้รวมรายได้จากการฉายใหม่เมื่อปี 2012 โดยทำเงินได้ $343,550,770 และปรับอัตราเงินเฟ้อโดยใช้ดัชนีของปี 2014 ไททานิค กลับมาฉายใหม่เมื่อปี 2017 ในโอกาสครบรอบ 20 ปี ทำเงินได้ $691,642 แต่ไม่ได้รวมในจำนวนเงินที่ปรับเงินเฟ้อแล้ว[39]

TFAการปรับอัตราเงินเฟ้อของ สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง ใช้ดัชนีตั้งแต่ 2016

AEการปรับอัตราเงินเฟ้อของ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก ใช้ดัชนีตั้งแต่ 2020

ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปี

[แก้]
อภิธานศัพท์: Distributor rentals
ตัวเลขในบ็อกซ์ออฟฟิศถูกรายงานในรูปแบบของรายได้ทั้งหมดหรือในรูปแบบ distributor rentals โดยเฉพาะภาพยนตร์เก่าหลายเรื่อง และมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นรายได้จากการขายโฮมวิดีโอ คำว่า rentals (ค่าเช่า) คือเงินส่วนแบ่งที่ให้กับผู้จัดจำหน่ายที่มาจากการฉายภาพยนตร์ นั่นก็คือรายได้จากบ็อกซ์ออฟฟิศแต่จะน้อยกว่าส่วนแบ่งที่ให้กับโรงภาพยนตร์[40][41] ในอดีต ราคาของค่าเช่านั้นเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 30–40% เมื่อผู้จัดจำหน่ายเป็นเจ้าของธุรกิจโรงภาพยนตร์ ประมาณหนึ่งในสามของรายได้จะจ่ายให้กับผู้จัดจำหน่ายของภาพยนตร์[42] ในตลาดยุคปัจจุบัน ค่าเช่ามีความแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แม้ว่าภาพยนตร์จากค่ายใหญ่ค่าเช่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 43%[40]

รสนิยมของผู้ชมนั้นมีความหลากหลายในช่วงศตวรรษที่ 20 ในยุคภาพยนตร์เงียบ ภาพยนตร์แนวสงครามเป็นที่นิยมของผู้ชม เช่น เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน (สงครามกลางเมืองอเมริกา), เดอะโฟร์ฮอร์สเมนออฟดิอะพอคคาลิปส์, เดอะบิกพาเรด และ วิงส์ (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทั้งหมด) ซึ่งประสบความสำเร็จสูงสุดในปีที่ฉายของแต่ละเรี่อง หลังภาพยนตร์เรื่อง แนวรบด้านตะวันตก เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง ฉายในปี ค.ศ. 1930 ความนิยมเริ่มเสื่อมลง พร้อมกับการประดิษฐ์ภาพยนตร์ที่มีเสียงในปี ค.ศ. 1927 ภาพยนตร์ดนตรีกลายเป็นภาพยนตร์ที่นิยมแทน สังเกตได้จากปี ค.ศ. 1928 และ 1929 ที่ภาพยนตร์ดนตรีครองอันดับสูงสุดในปีนั้น แนวภาพยนตร์นี้ได้รับความนิยมไปจนถึงช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 จนกระทั่ง สงครามโลกครั้งที่สอง ได้เริ่มต้นขึ้น ภาพยนตร์แนวสงครามก็กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง เริ่มจาก วิมานลอย (สงครามกลางเมืองอเมริกา) ในปี ค.ศ. 1939 และจบที่ เดอะเบสเยียร์ออฟเอาเออร์ไลฟ์ส (สงครามโลกครั้งที่สอง) ในปี ค.ศ. 1946 จากภาพยนตร์เรื่อง แซมสันแอนด์เดไรลา (ค.ศ. 1949) ได้เห็นจุดเริ่มต้นของแนวโน้มการใช้ทุนในการสร้างฉากอิงประวัติศาสตร์มากขึ้น โดยเป็นฉากยุคโรมโบราณหรือเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล ตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 โรงภาพยนตร์แข่งขันกับโทรทัศน์เพื่อแย่งผู้ชม,[43]ด้วยภาพยนตร์เรื่อง โรมพินาศ, เดอะโรบ, บัญญัติสิบประการ, เบนเฮอร์ และ สปาร์ตาคัส เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในปีที่ฉายของแต่ละเรี่อง ก่อนจะเริ่มหายไปหลังประสบความล้มเหลวจากการใช้ทุนในการสร้างสูง[44] ความสำเร็จของ ไวต์คริสต์มาส และ มนต์รักทะเลใต้ ในคริสต์ทศวรรษ 1950 เห็นสัญญาณของการกลับมาของภาพยนตร์ดนตรีในคริสต์ทศวรรษ 1960 ด้วยภาพยนตร์เรื่อง เวสท์ไซด์สตอรี่, แมรี่ ป๊อปปิ้นส์, บุษบาริมทาง, มนต์รักเพลงสวรรค์ และ บุษบาหน้าเป็น ซึ่งทั้งหมดอยู่รายชื่อภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จในยุคนั้น ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1970 เริ่มเห็นรสนิยมของผู้ชมเปลี่ยนไป โดยนิยมภาพยนตร์ที่มีแนวคิดสูง เช่น ภาพยนตร์หกเรื่องซึ่งสร้างโดยไม่ จอร์จ ลูคัส ก็ สตีเวน สปีลเบิร์ก ติดอันดับสูงสุดในคริสต์ทศวรรษ 1980 ในศตวรรษที่ 21 เริ่มมีการมีพึ่งพาแฟรนไชส์และการดัดแปลงมากขึ้น ทำให้บ๊อกซ์ออฟฟิศถูกครอบงำโดยภาพยนตร์ที่มาจากทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่แล้ว[45]

ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในปีที่ฉายนั้น มีหกเรื่องเป็นภาพยนตร์ที่กำกับโดย สตีเวน สปีลเบิร์ก และมีสามเรื่องเคยเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด

สตีเวน สปีลเบิร์ก เป็นผู้กำกับที่มีภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปีมากที่สุดถึงหกเรื่อง ได้แก่ปี 1975, 1981, 1982, 1984, 1989 และ 1993 อันดับที่สองคือ เซซิล บี. เดอมิลล์ (1932, 1947, 1949, 1952 และ 1956) กำกับภาพยนตร์ห้าเรื่อง อันดับที่สามคือ วิลเลียม ไวเลอร์ (1942, 1946, 1959 และ 1968) กับ เจมส์ แคเมรอน (1991, 1997, 2009 และ 2022) กำกับภาพยนตร์สี่เรื่อง ขณะที่ ดี. ดับเบิลยู. กริฟฟิท (1915, 1916 และ 1920), จอร์จ รอย ฮิลล์ (1966, 1969 และ 1973) และ พี่น้องรุสโซ (2016, 2018 และ 2019) กำกับคนละสามเรื่อง จอร์จ ลูคัส กำกับภาพยนตร์สองเรื่องในปี 1977 และ 1999, แต่ทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการสร้างและผู้เขียนบทของภาพยนตร์ในปี 1980, 1981, 1983, 1984 และ 1989 ด้วย รายชื่อผู้กำกับที่มีภาพยนตร์ติดอันดับสองเรื่อง ได้แก่ แฟรง ลอยด์, คิง วิดอร์, แฟรงก์ คาปรา, ไมเคิล เคอร์ติซ, ลีโอ แม็คคารีย์, อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก, เดวิด ลีน, สแตนลีย์ คูบริก, กาย แฮมิลตัน, ไมค์ นิโคลส์, วิลเลียม ฟรีดคิน, ปีเตอร์ แจ็กสัน, กอร์ เวอร์บินสกี และ ไมเคิล เบย์ ส่วน เมอร์วิน ลีรอย, เคน แอนาคิน และ โรเบิร์ต ไวส์ มีชื่อเป็นผู้กำกับเดี่ยวหนึ่งเรื่องและเป็นผู้กำกับร่วมหนึ่งเรื่อง และ จอห์น ฟอร์ด เป็นผู้กำกับร่วมสองเรื่อง ภาพยนตร์ดีสนีย์มักจะใช้ผู้กำกับร่วมและผู้กำกับหลายคนเป็นทีม ได้แก่ วิลเฟร็ด แจ็กสัน, แฮมิลตัน ลุสกี, ไคลด์ เจโรนิมิ, เดวิด แฮนด์, เบ็น ชาร์ปสตีน, วูฟแกง ไรเทอร์แมน และ บิล โรเบิร์ต ทั้งหมดเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ร่วมอย่างน้อยสองเรื่องในตาราง มีผู้กำกับเจ็ดคนเท่านั้นที่มีภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปีติดต่อกัน ได้แก่ แม็คคารีย์ (1944 และ 1945), นิโคลส์ (1966 และ 1967), สปีลเบิร์ก (1981 และ 1982), แจ็กสัน (2002 และ 2003), เวอร์บินสกี (2006 และ 2007) และ พี่น้องรุสโซ (2018 และ 2019)

การฉายของภาพยนตร์นั้น โดยเฉพาะภาพยนตร์ที่ฉายช่วงปลายปี และการฉายในประเทศต่างๆ ที่แตกต่างกันทั่วโลก ภาพยนตร์หลายเรื่องนั้นสามารถทำเงินได้มากกว่าสองปีหรือมากกว่านั้น ดังนั้นจำนวนเงินที่ภาพยนตร์ทำได้นั้นไม่ได้จำกัดแค่ปีที่ฉายเท่านั้น อีกทั้งก็ไม่ได้จำกัดจำนวนเงินที่ทำได้ก็จากฉายครั้งแรกเช่นกัน ภาพยนตร์เก่าหลายเรื่องมีการฉายใหม่ โดยถ้าทราบจำนวนเงินที่ทำได้จากการฉายครั้งแรกของภาพยนตร์ จำนวนเงินดังกล่าวจะระบุอยู่ในวงเล็บ เพราะข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่แน่ใจว่าภาพยนตร์เรื่องนั้นทำเงินได้เท่าไหร่กันแน่ โดยปกติแล้วในตารางจะเรียงลำดับภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปี ในกรณีเกิดความขัดแย้งกันในการประมาณการจำนวนเงินของภาพยนตร์สองเรื่อง จำนวนเงินของภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนั้นจะเก็บไว้ และในกรณีที่ภาพยนตร์บางเรื่องได้รับการฉายใหม่ ภาพยนตร์ที่เคยทำเงินสูงสุดในปีนั้นก็จะเก็บไว้เช่นกัน

 พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์
ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปีที่ฉาย[46][47][48]
ปี ชื่อ ทำเงินทั่วโลก ทุนสร้าง อ้างอิง
1915 เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน $50,000,000100,000,000
$20,000,000+R ($5,200,000)R
$110,000 [# 83][# 84][# 85]
1916 อินทอลเลอเรินซ์ $1,000,000*R IN $489,653 [# 86][# 87]
1917 คลีโอพัตรา $500,000*R $300,000 [# 86]
1918 มิกกี $8,000,000 $250,000 [# 88]
1919 เดอะมิราเคิลแมน $3,000,000R $120,000 [# 89]
1920 เวย์ดาวน์อีส $5,000,000R ($4,000,000)R $800,000 [# 90][# 91]
1921 เดอะโฟร์ฮอร์สเมนออฟดิอะพอคคาลิปส์ $5,000,000R ($4,000,000)R $600,000800,000 [# 92]
1922 ดักลาสแฟร์แบงส์อินโรบินฮูด $2,500,000R $930,042.78 [# 93][# 94]
1923 เดอะคัฟเวิร์ดแวกเกิน $5,000,000R $800,000 [# 95][# 96]
1924 เดอะซีฮอค $3,000,000R $700,000 [# 95]
1925 เดอะบิกพาเรด $18,000,00022,000,000R
($6,131,000)R
$382,000 [# 97][# 98][# 99]
เบน-เฮอร์ $10,738,000R ($9,386,000)R $3,967,000 [# 100][# 101]
1926 ฟอร์เฮฟเวินส์เสค $2,600,000R FH $150,000 [# 90][# 102]
1927 วิงส์ $3,600,000R $2,000,000 [# 90][# 103][# 104]
1928 เดอะซิงงิงฟูล $5,900,000R $388,000 [# 104][# 105]
1929 เดอะบรอดเวย์เมโลดี $4,400,0004,800,000R $379,000 [# 106][# 107]
ซันนีไซด์อัพ $3,500,000*R SS $600,000 [# 108][# 109]
1930 แนวรบตะวันตก เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง $3,000,000R $1,250,000 [# 90][# 110][# 111][# 112]
1931 แฟรงเกนสไตน์ $12,000,000R ($1,400,000)R $250,000 [# 113][# 114]
ซิตีไลท์ส $5,000,000R $1,607,351 [# 115]
1932 เดอะไซน์ออฟเดอะครอสส์ $2,738,993R $694,065 [# 96][# 116][# 117][# 118]
1933 คิงคอง $5,347,000R ($1,856,000)R $672,255.75 [# 119]
แอมโนแองเจิล $3,250,000+R $200,000 [# 120][# 121]
คาวัลเคด $3,000,0004,000,000R $1,116,000 [# 91][# 111]
ชีดันฮิมรอง $3,000,000+R $274,076 [# 122][# 123][# 124]
1934 เดอะเมอร์รีวิโดว์ $2,608,000R $1,605,000 [# 125][# 117]
อิทแฮปเปนด์วันไนต์ $1,000,000R ON $325,000 [# 126][# 127]
1935 มิวตินีออนเดอะบาวน์ตี $4,460,000R $1,905,000 [# 117]
1936 ซานฟรานซิสโก $6,044,000+R ($5,273,000)R $1,300,000 [# 125][# 117]
1937 สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด $418,000,000+S7 ($8,500,000)R $1,488,423 [# 128][# 129]
1938 ยูคานท์เทคอิทวิธยู $5,000,000R $1,200,000 [# 130][# 131]
1939 วิมานลอย $390,525,192402,352,579
($32,000,000)R GW
$3,900,0004,250,000 [# 132][# 133][# 134][# 135][# 136]
1940 พินอคคิโอ $87,000,862* ($3,500,000)R $2,600,000 [# 137][# 129][# 138]
บูมทาวน์ $4,600,000*R $2,100,000 [# 139][# 140]
1941 เซอร์เจนต์ยอร์ค $7,800,000R $1,600,000 [# 141][# 142]
1942 กวางน้อย...แบมบี้ $267,997,843 ($3,449,353)R $1,700,0002,000,000 [# 143][# 144][# 145]
น.ส. มินิเวอร์ $8,878,000R $1,344,000 [# 146][# 147]
1943 ฟอร์ฮูมเดอะเบลล์โทล์ลส $11,000,000R $2,681,298 [# 148][# 149][# 150]
ดิสอีสดิอาร์มี $9,555,586.44*R $1,400,000 [# 151][# 152][# 150]
1944 โกอิงมายเวย์ $6,500,000*R $1,000,000 [# 153][# 154][# 155]
1945 มัมแอนด์แดด $80,000,000MD/$22,000,000R $65,000 [# 156]
เดอะเบลล์สออฟเซนต์แมรีส์ $11,200,000R $1,600,000 [# 157]
1946 ซองออฟเดอะเซาธ์ $65,000,000* ($3,300,000)R $2,125,000 [# 158][# 159][# 160]
เดอะเบสเยียร์ออฟเอาเออร์ไลฟ์ส $14,750,000R $2,100,000 [# 161][# 162]
ดูลอินเดอะซัน $10,000,000*R $5,255,000 [# 153][# 163]
1947 ฟอร์เอเวอร์เอมเบอร์ $8,000,000R $6,375,000 [# 108][# 163]
อันคองเคอร์ด $7,500,000R UN $4,200,000 [# 164][# 165]
1948 อีสเตอร์พาเหรด $5,918,134R $2,500,000 [# 155][# 166]
เดอะเรดชูส์ $5,000,000*R &0000000002000000000000£505,581 (~$2,000,000) [# 153][# 167][# 168]
เดอะสเนคพิต $4,100,000*R $3,800,000 [# 169][# 170]
1949 แซมสันแอนด์เดไรลา $14,209,250R $3,097,563 [# 171][# 96]
1950 ซินเดอเรลล่า $263,591,415
($20,000,000/$7,800,000R)
$2,200,000 [# 172][# 173][# 174]
ขุมทรัพย์โซโลมอน $10,050,000R $2,258,000 [# 175]
1951 โรมพินาศ $21,037,00026,700,000R $7,623,000 [# 171][# 176][# 177]
1952 ดิสอีสซีนีรามา $50,000,000CI $1,000,000 [# 178][# 179]
ละครสัตว์บันลือโลก $18,350,000R GS $3,873,946 [# 180][# 181][# 96]
1953 ปีเตอร์ แพน $145,000,000 ($7,000,000)*R $3,000,0004,000,000 [# 182][# 183]
เดอะโรบ $25,000,00026,100,000R $4,100,000 [# 184][# 185][# 177]
1954 หน้าต่างชีวิต $24,500,000* ($5,300,000)*R $1,000,000 [# 186][# 176]
ไวต์คริสต์มาส $26,000,050* ($12,000,000)*R $3,800,000 [# 187][# 188][# 189]
ใต้ทะเล 20000 โยชน์ $25,000,134*
($6,800,0008,000,000)*R
$4,500,0009,000,000 [# 190][# 191][# 153][# 192]
1955 ทรามวัยกับไอ้ตูบ $187,000,000 ($6,500,000)*R $4,000,000 [# 193][# 153][# 194]
ซีนีรามาฮอลิเดย์ $21,000,000CI $2,000,000 [# 195][# 196]
มิสเตอร์โรเบิร์ต $9,900,000R $2,400,000 [# 197]
1956 บัญญัติ 10 ประการ $90,066,230R
($122,700,000/$55,200,000R)
$13,270,000 [# 96][# 198][# 199]
1957 สะพานข้ามแม่น้ำแคว $30,600,000R $2,840,000 [# 199]
1958 มนต์รักทะเลใต้ $30,000,000R $5,610,000 [# 200]
1959 เบนเฮอร์ $90,000,000R
($146,900,000/$66,100,000R)
$15,900,000 [# 201][# 202]
1960 ครอบครัวแห่งมหาสมุทร $30,000,000R $4,000,000 [# 203]
สปาร์ตาคัส $60,000,000 ($22,105,225)R $10,284,014 [# 204][# 205]
ไซโค $50,000,000+ ($14,000,000)R $800,000 [# 206]
1961 ทรามวัยกับไอ้ด่าง $303,000,000 $3,600,0004,000,000 [# 193][# 207][# 145]
เวสท์ไซด์สตอรี่ $105,000,000 ($31,800,000)R $7,000,000 [# 208][# 209]
1962 ลอเรนซ์แห่งอาราเบีย $77,324,852 ($69,995,385) $13,800,000 [# 210][# 211]
พิชิตตะวันตก $35,000,000R $14,483,000 [# 212]
วันเผด็จศึก $33,200,000R $8,600,000 [# 209][# 211]
1963 คลีโอพัตรา $40,300,000R $31,115,000 [# 209][# 211]
เพชฌฆาต 007 $78,900,000/$29,400,000R
($12,500,000)R
$2,000,000 [# 213][# 214][# 215]
1964 บุษบาริมทาง $55,000,000R $17,000,000 [# 216]
จอมมฤตยู 007 $124,900,000 ($46,000,000)R $3,000,000 [# 213][# 215]
แมรี่ ป๊อปปิ้นส์ $44,000,000$50,000,000R $5,200,000 [# 217][# 216]
1965 มนต์รักเพลงสวรรค์ $286,214,076 ($114,600,000)R $8,000,000 [# 218][# 209]
1966 เดอะไบเบิล: อินเดอะบีกินนิง $25,325,000R $18,000,000 [# 205][# 219]
ฮาวาย $34,562,222* ($15,600,000)*R $15,000,000 [# 220][# 153]
มารหัวใจ $33,736,689* ($14,500,000)*R $7,613,000 [# 221][# 153][# 222]
1967 เมาคลีลูกหมาป่า $378,000,000 ($23,800,000)R $3,900,0004,000,000 [# 193][# 223][# 224][# 145]
พิษรักแรงสวาท $85,000,000R $3,100,000 [# 225][# 226]
1968 2001 จอมจักรวาล $141,000,000190,000,000
($21,900,000)R
$10,300,000 [# 227][# 209]
บุษบาหน้าเป็น $80,000,000100,000,000 $8,800,000 [# 228][# 229]
1969 สองสิงห์ชาติไอ้เสือ $152,308,525 ($37,100,000)R $6,600,000 [# 230][# 209][# 226]
1970 หากจะรักต้องลืมคำว่า "เสียใจ" $173,400,000 ($80,000,000)R $2,260,000 [# 231][# 232][# 233]
1971 มือปราบเพชรตัดเพชร $75,000,000R $3,300,000 [# 108]
บุษบาหาคู่ $49,400,000R
($100,000,000/$45,100,000R)
$9,000,000 [# 234][# 235]
007 เพชรพยัคฆราช $116,000,000 ($45,700,000)R $7,200,000 [# 213][# 214]
1972 เดอะ ก็อดฟาเธอร์ $246,120,974287,000,000
($127,600,000142,000,000)R
$6,000,0007,200,000 [# 236][# 235][# 237][# 238]
1973 หมอผีเอ็กซอร์ซิสต์ $441,408,815 ($112,300,000)R $10,000,000 [# 239][# 240][# 241][# 242]
สองผู้ยิ่งใหญ่ $115,000,000R $5,500,000 [# 243][# 244]
1974 ตึกนรก $203,336,412 ($104,838,000)R $14,300,000 [# 245][# 246][# 247][# 242][# 248]
1975 จอว์ส $476,512,065 ($193,700,000)R $9,000,000 [# 249][# 250][# 251]
1976 ร็อคกี้ $225,000,000 ($77,100,000)R $1,075,000 [# 252][# 235][# 253]
1977 สตาร์ วอร์ส $775,398,007
($530,000,000SW/$268,500,000R)
$11,293,151 [# 254][# 255][# 235][# 256]
1978 กรีส $396,271,103 ($341,000,000) $6,000,000 [# 257][# 258][# 225]
1979 007 พยัคฆ์ร้ายเหนือเมฆ $210,300,000 $31,000,000 [# 213][# 259]
ร็อคกี้ 2 $200,182,289 $7,000,000 [# 260][# 261][# 259]
1980 สตาร์วอร์ส 2 $547,969,004 ($413,562,607)SW $23,000,00032,000,000 [# 262][# 263]
1981 ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า $389,925,971
($321,866,000353,988,025)
$18,000,00022,800,000 [# 264]
1982 อี.ที. เพื่อนรัก $797,103,542
($619,000,000664,000,000)
$10,500,00012,200,000 [# 265][# 266][# 255][# 267][# 268]
1983 สตาร์วอร์ส 3 ชัยชนะของเจได $482,366,101 ($385,845,197)SW $32,500,00042,700,000 [# 269][# 263]
1984 ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า 2 ตอน ถล่มวิหารเจ้าแม่กาลี $333,107,271 $27,000,00028,200,000 [# 270][# 271][# 272]
1985 เจาะเวลาหาอดีต $389,225,789 ($381,109,762) $19,000,00022,000,000 [# 273][# 274]
1986 ท็อปกัน ฟ้าเหนือฟ้า $356,830,601 ($345,000,000) $14,000,00019,000,000 [# 275][# 276][# 271]
1987 เสน่ห์มรณะ $320,145,905 $14,000,000 [# 277][# 271]
1988 ชายชื่อเรนแมน $354,825,476 $30,000,000 [# 278][# 279]
1989 ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า 3 ตอน ศึกอภินิหารครูเสด $474,171,806494,000,000 $36,000,00055,400,000 [# 280][# 271][# 281]
1990 วิญญาณ ความรัก ความรู้สึก $505,870,681 ($505,702,588) $22,000,000 [# 282][# 271]
1991 ฅนเหล็ก 2029 ภาค 2 $523,774,456 ($519,843,345) $94,000,000 [# 283][# 284]
1992 อะลาดิน $504,050,045 $28,000,000 [# 285][# 145]
1993 จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ $1,037,535,230 ($912,667,947) $63,000,00070,000,000 [# 76]
1994 เดอะไลอ้อนคิง $970,707,763 ($763,455,561) $45,000,00079,300,000 [# 286]
1995 ทอย สตอรี่ $373,554,033 ($364,873,776) $30,000,000 [# 287][# 288]
ดาย ฮาร์ด 3 แค้นได้ก็ตายยาก $366,101,666 $70,000,000 [# 289][# 290]
1996 ไอดี 4 สงครามวันดับโลก $817,400,891 $75,000,000 [# 291]
1997 ไททานิค $2,257,844,554 ($1,843,373,318) $200,000,000 [# 7]
1998 อาร์มาเกดดอน วันโลกาวินาศ $553,709,626 $140,000,000 [# 292][# 293]
1999 สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1 ภัยซ่อนเร้น $1,046,515,409 ($924,317,558) $115,000,000127,500,000 [# 74][# 263]
2000 ฝ่าปฏิบัติการสะท้านโลก 2 $546,388,105 $100,000,000125,000,000 [# 294][# 271]
2001 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ $1,009,046,830HP1 ($974,755,371) $125,000,000 [# 295]
2002 ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ $948,945,489 ($936,689,735) $94,000,000 [# 296]
2003 มหาสงครามชิงพิภพ $1,147,997,407 ($1,140,682,011) $94,000,000 [# 52]
2004 เชร็ค 2 $932,396,221 ($928,965,305) $150,000,000 [# 297]
2005 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี $896,346,413 ($895,921,036) $150,000,000 [# 298]
2006 สงครามปีศาจโจรสลัดสยองโลก $1,066,179,747 $225,000,000 [# 69]
2007 ผจญภัยล่าโจรสลัดสุดขอบโลก $960,996,492 $300,000,000 [# 299]
2008 แบทแมน อัศวินรัตติกาล $1,007,336,937 ($997,039,412) $185,000,000 [# 300]
2009 อวตาร $2,923,706,026 ($2,743,577,587) $237,000,000 [# 1]
2010 ทอย สตอรี่ 3 $1,066,970,811 $200,000,000 [# 67]
2011 แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 $1,342,139,727 ($1,341,511,219) $250,000,000HP8 [# 34]
2012 ดิ อเวนเจอร์ส $1,518,815,515 $220,000,000 [# 19]
2013 ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ $1,290,000,000 ($1,287,000,000) $150,000,000 [# 40]
2014 ทรานส์ฟอร์เมอร์ส 4: มหาวิบัติยุคสูญพันธุ์ $1,104,039,076 $210,000,000 [# 60]
2015 สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง $2,068,223,624 $245,000,000 [# 9]
2016 กัปตันอเมริกา: ศึกฮีโร่ระห่ำโลก $1,153,337,496 ($1,153,296,293) $250,000,000 [# 49]
2017 สตาร์ วอร์ส: ปัจฉิมบทแห่งเจได $1,332,539,889 $200,000,000 [# 36]
2018 อเวนเจอร์ส: มหาสงครามล้างจักรวาล $2,048,359,754 $316,000,000400,000,000 [# 11][# 301]
2019 อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก $2,797,501,328 $356,000,000 [# 3]
2020 ดาบพิฆาตอสูร เดอะมูฟวี่: ศึกรถไฟสู่นิรันดร์ $507,119,058 $15,750,000 [# 302]
2021 สไปเดอร์แมน: โน เวย์ โฮม $1,922,598,800 ($1,912,233,593) $200,000,000 [# 13][# 303]
2022 อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ $2,320,250,281 $350,000,000460,000,000 [# 5][# 304][# 305]
2023 บาร์บี้ $1,445,638,421 $128,000,000145,000,000 [# 27][# 306][# 307]
2024 มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2 $1,690,686,629 $200,000,000 [# 15][# 308]

( ... ) ขณะที่รายได้ไม่ได้จำกัดแค่การฉายครั้งแรกเท่านั้น จำนวนเงินที่ทำได้จากการฉายครั้งแรกนั้นจะอยู่ในวงเล็บ อยู่หลังจำนวนเงินทั้งหมด

*รายได้เฉพาะสหรัฐและแคนาดาเท่านั้น

RDistributor rentals

TBAรอการตรวจสอบ

INไม่มีแหล่งข้อมูลที่ให้ตัวเลขที่แท้จริงของ 20,000 ลีกส์อันเดอร์เดอะซี เมื่อปี ค.ศ. 1916, ถึงแม้ว่า เดอะนัมเบอร์ส ได้ระบุไว้ 8,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ เฉพาะในอเมริกาเหนือ[49] อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้อาจเป็นตัวเลขของภาพยนตร์ชื่อเดียวกันแต่ทำใหม่เมื่อ ค.ศ. 1954 ซึ่งทำเงินได้ 8,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ เฉพาะในอเมริกาเหนือ เหมือนกัน[50]

FHบางแหล่งข้อมูลเช่น เดอะนัมเบอร์ส ระบุว่า อโลมาออฟเดอะเซาท์ซีส์ เป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดของปี ทำเงินได้ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[51] อย่างไรก็ตาม ไม่มีแหล่งข้อมูลที่ให้ตัวเลขที่แท้จริงของภาพยนตร์ดังกล่าว ซึ่งไม่ชัดเจนว่าจำนวนเงินนี้เกี่ยวข้องกันหรือไม่ เพราะถ้าเป็นจำนวนเงินจริง นั่นอาจทำให้ไม่เพียงแต่เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดของปี แต่ยังเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดของภาพยนตร์ยุคเงียบด้วยและถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นเรื่องผิดปกติสำหรับ อินเทอร์เนชันนัลโมชันพิกเจอร์อัลมาแนก และ วาไรตี จะไม่มีภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ในรายชื่อ

SSไม่แน่ใจว่าตัวเลขของ ซันนีไซด์อัพ นั่นเป็นของอเมริกาเหนือหรือทั่วโลก ซึ่งแหล่งข้อมูลอื่นระบุไว้ว่าทำเงินได้ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[52] ซึ่งอาจบ่งชี้ได้ว่าตัวเลขที่สูงกว่านั้นคือค่าเช่าทั่วโลก เนื่องจากความสับสนเกี่ยวกับตัวเลขระหว่างประเทศในช่วงเวลานั้น[53]

ONตัวเลขของ อิทแฮปเปนด์วันไนต์ ไม่ใช่ตัวแทนของสำเร็จที่แท้จริง เพราะว่าภาพยนตร์ถูกจัดจำหน่ายเป็นชุดพร้อมกับภาพยนตร์อีกสองโหลของโคลัมเบียฟิล์ม ทำให้เงินที่ทำได้นั้นถูกเฉลี่ยออกไป มิเช่นนั้นแล้วเงินที่ทำได้อาจจะมากกว่านี้[54]

S7จำนวนเงิน 418 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากผู้ชมสะสม ของ สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด ไม่รวมรายได้จากนอกอเมริกาเหนือ ตั้งแต่ ค.ศ. 1987 เป็นต้นไป

GWยังไม่ชัดเจนว่า วิมานลอย ทำเงินจากการฉายครั้งแรกได้เท่าไหร่ บัญชีร่วมสมัยมักจะระบุว่าภาพยนตร์ทำเงิน 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการเช่าในอเมริกาเหนือและตารางทำเงินย้อนหลังมักจะการอ้างตัวเลขนี้ อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่านี่คือตัวเลขค่าเช่าจากทั่วโลก วารสารการค้าจะตรวจทานข้อมูลโดยรับจากตัวผู้จัดจำหน่ายเอง ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องการจะส่งเสริมภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จ หรือโดยการสำรวจโรงภาพยนตร์และสร้างการประมาณการ ผู้จัดจำหน่ายมักจะรายงานค่าเช่าจากทั่วโลก เนื่องจากตัวเลขที่สูงขึ้นทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จมากขึ้น ในขณะที่การประมาณการถูกจำกัดเฉพาะการทำเงินในอเมริกาเหนือ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ค่าเช่าจากทั่วโลกและอเมริกาเหนือจะปะปนกัน หลังเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ตลาดต่างประเทศหลายแห่งไม่ได้รับภาพยนตร์จากฮอลลีวูด ดังนั้นจึงกลายเป็นแนวทางปฏิบัติมาตรฐานในการรายงานผลงานบ็อกซ์ออฟฟิศในอเมริกาเหนือ[53] เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางใหม่นี้ ค่าเช่าของ วิมานลอย ในอเมริกาเหนือจึงได้รับการแก้ไขเป็น 21 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 1947 (ต่ำกว่าตัวเลขก่อนหน้านี้ 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[55] หลังการฉายใหม่ในปี ค.ศ. 1947 ณ ปี ค.ศ. 1953 วาไรตี รายงานว่าภาพยนตร์ทำเงิน 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[56] จนถึงปี ค.ศ. 1956 เอ็มจีเอ็มรายงานรายได้สะสมในอเมริกาเหนือที่ 30,015,000 ดอลลาร์สหรัฐ และรายรับจากต่างประเทศ 18,964,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากการฉายสามครั้ง[57] ค่าเช่าทั่วโลก 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการฉายครั้งแรกนั้นสอดคล้องกับตัวเลขที่ได้รับการแก้ไขแล้วและจากรายงานของตัวเลขทั่วโลก: ระบุว่าภาพยนตร์ทำเงินได้ 21 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอเมริกาเหนือ และ 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐในต่างประเทศจากการฉายครั้งแรก และทำเงินเพิ่มอีก 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอเมริกาเหนือ และอีก 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐในต่างประเทศจากการฉายครั้งต่อ ๆ มาจนถึงปี ค.ศ. 1956

MDมันแอนด์แดด ปกติแล้วไม่ปรากฏอยู่ในรายชื่อ ทำเงินสูง เช่นรายชื่อที่เผยแพร่โดย วาไรตี เนื่องจากภาพยนตร์จัดจำหน่ายโดยค่ายอิสระ ยิ่งเป็นแนวเอกซ์พลอยเทชัน (ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงหรือเรื่องเพศ[58]) ถูกทำการตลาดว่าเป็น ภาพยนตร์ส่งเสริมสุขอนามัยทางเพศ (Sex hygiene) เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายเซ็นเซอร์ การมีปัญหากับ หลักการสร้างภาพยนตร์ (Motion Picture Production Code) ทำให้ มันแอนด์แดด ถูกป้องกันไม่ให้มีการจัดจำหน่ายโดยทั่วไป ถูกจำกัดให้ฉายเฉพาะโรงภาพยนตร์อิสระและแบบไดร์ฟอิน ซึ่งก็ประสบความสำเร็จและฉายต่อเนื่องจนถึงช่วงทศวรรษ 1970 ก่อนที่สื่อลามกเข้ามาแทนที่ ภาพยนตร์ทำเงิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปลายปี 1947 ทำเงิน 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 1949 ทำเงิน 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากค่าเช่าในปี 1956 และทำเงินทั่วโลก 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้สามารถติดสิบอันดับแรกภาพยนตร์ที่ทำเงินที่ฉายในช่วงปลายทศวรรษ 1940 และต้นทศววษ 1950 ได้ไม่ยาก จากประมาณการรายได้รวมแล้วคาดว่าสูงถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

UNชอปรา-แกนต์ ได้ระบุตัวเลขของ อันคองเคอร์ด ว่าเป็นรายได้เฉพาะในอเมริกาเหนือ ซึ่งเรื่องปกติในเวลานั้นที่จะสับสนระหว่างรายได้ทั่วโลกกับรายได้เฉพาะอเมริกาเหนือ แหล่งข้อมูลอื่นระบุตัวเลขของ ฟอร์เอเวอร์เอมเบอร์ (8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ Life with Father (6.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[59] ว่าเป็นรายได้จากทั่วโลก ซึ่งเป็นไปได้ว่าตัวเลขของ อันคองเคอร์ นั้นจะเป็นรายได้จากทั่วโลกด้วย

CIตัวเลขของซีนีรามาแสดงถึงรายได้ทั้งหมด เพราะบริษัทซีนีรามาเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์จึงไม่มีค่าเช่าสำหรับภาพยนตร์ ทำให้สตูดิโอได้รับเงินเต็มจำนวนจากบ๊อกซ์ออฟฟิศ ไม่เหมือนในกรณีของภาพยนตร์เรื่องอื่นที่ผู้จัดจำหน่ายจะได้รับเงินน้อยกว่าครึ่งหนึ่งจากรายได้ทั้งหมด วาไรตี ในเวลานั้นจัดอันดับภาพยนตร์โดยใช้ค่าเช่าในสหรัฐ พวกเขาสร้างสมมติฐานขึ้นสำหรับค่าเช่าของภาพยนตร์ซีนีรามา เพื่อใช้พื้นฐานในการเปรียบเทียบกับภาพยนตร์เรื่องอื่น ในกรณี ดิสอีสซีนีรามา ทำเงินทั่วโลก 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แล้วปรับเป็น 12.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับค่าเช่าในสหรัฐ ซึ่งคิดเป็น 25% ของจำนวนรายได้ที่ซีนีรามารายงาน ดังนั้นสูตรของ วาไรตี คือ จำนวนรายได้ทั้งหมดลดลงครึ่งหนึ่งจะได้ส่วนแบ่งในสหรัฐ แล้วลดอีกครึ่งหนึ่งเพื่อจำลองตัวเลขเป็นค่าเช่า ทำให้ตัวเลข 'ค่าเช่า' ของ วาไรตี มักจะซ้ำกัน ซึ่งไม่ได้บ่งบอกว่าความจริงแล้วภาพยนตร์เรื่องนั้นทำเงินได้เท่าไหร่ เพราะเป็นตัวเลขไว้สำหรับวิเคราะห์เท่านั้น[60] ภาพยนตร์ซีนีรามาทั้งห้าเรื่องรวมแล้วทำเงิน 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั่วโลก[61]

GSวาไรตี ได้ระบุค่าเช่าทั่วโลกของ ละครสัตว์บันลือโลก ไว้ที่ประมาณ 18.35 ล้านดอลลาห์สหรัฐ (ด้วย 12.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาจากสหรัฐ[50]) หนึ่งปีหลังฉาย อย่างไรก็ตาม เบอร์เคิด ได้ระบุไว้แค่ 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนถึงปี ค.ศ. 1962 เป็นไปได้ว่า ตัวเลขของ เบอร์เคิด นั้น มาจากค่าเช่าของอเมริกาเหนือและรวมจากการฉายใหม่ในปี ค.ศ. 1954 และ ค.ศ. 1960

SWไม่รวมรายได้จากฉบับพิเศษปี 1997 แต่รวมรายได้จากการฉายใหม่ก่อนหน้านั้น

HP1รายได้จากการฉายใหม่ของ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ที่บันทึกไว้โดยบ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ ได้แก่ บราซิล (2020), อิตาลี (2021), เนเธอร์แลนด์ (2021) และเกาหลีใต้ (2021) ได้ถูกหักออกจากรายได้รวมตลอดการฉาย เนื่องจากบ็อกซ์ออฟฟิศโมโจนับรายได้รวมที่ออกฉายครั้งแรกในประเทศเหล่านั้นซ้ำสองครั้ง

HP8ใช้ทุนสร้างร่วมกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1

เส้นเวลาของภาพยนตร์ทำเงินสูงสุด

[แก้]
เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน เป็นภาพยนตร์ที่ริเริ่มเทคนิคต่างๆ ที่ยังคงใช้อยู่ในภาพยนตร์ยุคปัจจุบัน กลายเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในเวลานั้น

มีภาพยนตร์สิบเอ็ดเรื่องครองสถิติเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุด ตั้งแต่ เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน เมื่อ ค.ศ. 1915 ทั้ง เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน และ วิมานลอย ครองสถิติติดต่อกันเป็นเวลายี่สิบห้าปี ขณะที่ภาพยนตร์ที่กำกับโดย สตีเวน สปีลเบิร์ก เคยเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดถึงสามครั้งและภาพยนตร์ของเจมส์ แคเมรอน สองครั้ง โดย สปีลเบิร์ก เป็นผู้กำกับคนแรกที่ทำลายสถิติตัวเองเมื่อภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ ทำเงินแซง อี.ที. เพื่อนรัก และ แคเมรอน ก็เช่นเดียวกันเมื่อ อวตาร ทำเงินแซง ไททานิค และในปี ค.ศ. 2019 อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก กลายเป็นภาพยนตร์ภาคต่อเรื่องแรกที่ทำเงินสูงสุด หยุดการครองสถิติสามสิบหกปีจากภาพยนตร์ของสปีลเบิร์กและแคเมรอน อวตาร กลับมาครองตำแหน่งเดิมอีกครั้งหลังมีการฉายใหม่ในปี ค.ศ. 2021

บางแหล่งข้อมูลอ้างว่า เดอะบิกพาเหรด ถูกแทนที่ด้วย เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน แล้วกลายเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุด จากนั้นก็ถูกแทนที่ด้วย สโนไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด แล้วก็ถูก วิมานลอย ชิงตำแหน่งไปอย่างรวดเร็ว[62] เหตุเพราะไม่ทราบจำนวนเงินที่แน่นอนของ เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน แต่จากบันทึกในช่วงเวลานั้น ระบุว่าทำเงินทั่วโลก 5.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี ค.ศ. 1919[63] การฉายระหว่างประเทศถูกเลื่อนออกไปเพราะสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงช่วงปี ค.ศ. 1920 พร้อมกับการฉายใหม่ในสหรัฐ ทำเงินเพิ่มอีก 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการรายงานของ วาไรตี เมื่อปี ค.ศ. 1932 ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนเงินก่อนหน้านี้[64] แสดงว่า วาไรตี ยังคงมีสถิติของ เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน ซึ่งทำเงินมากกว่า เดอะบิกพาเหรด ($6,400,000) ในรูปแบบดิสทริบิวเตอร์ เรนเทลส์ (distributor rentals) ถ้าประมาณการถูกต้อง สโนไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด ($8,500,000)[65] คงทำเงินไม่เพียงพอที่จะทำสถิติจากการฉายครั้งแรก[66] แม้ว่าจะเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดที่มีเสียงพูด[67]แทนที่ เดอะซิงงิงฟูล ($5,900,000)[68] ถึงแม้ว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่ เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน จะถูกแทนที่ด้วยภาพยนตร์ยุคเงียบ[69] ถ้าเป็นอย่างนั้นสถิติก็จะตกไปที่ภาพยนตร์เรื่อง เบน-เฮอร์ ($9,386,000) ของปี ค.ศ. 1925 ถ้า เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน ทำเงินน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญที่ประมาณการไว้เบื้องต้น[70] นอกเหนือจากรายได้จากการฉายทั่วไปแล้ว เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน มีการฉายในโรงภาพยนตร์ส่วนตัว, สโมสรและเฉพาะในองค์กรเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่มีข้อมูลของตัวเลข[71] ภาพยนตร์เป็นที่นิยมอย่างมากหลังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการรับสมัครของ คูคลักซ์แคลน[72] และมีอยู่จุดหนึ่งที่ วาไรตี ประมาณการรายได้ไว้ที่ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[73] แม้ภายหลังจะมีการถอนการอ้างสิทธิ์ แต่ก็ยังได้รับการรายงานอย่างกว้างขวางแม้ว่าจะไม่ได้รับการยืนยัน[63] ในขณะที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า วิมานลอย ยึดสถิติภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในการเปิดตัวครั้งแรก—ซึ่งเป็นเรื่องจริงในแง่ของการฉายทั่วไป—แต่ว่าไม่ได้ทำเงินแซง เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน ในทันที แต่ก็ยังรายงานว่าเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดจนถึงทศวรรษที่ 1960[71] วิมานลอย อาจถูกภาพยนตร์เรื่อง บัญญัติ 10 ประการ (ค.ศ. 1956) ทำเงินแซงในช่วงปลายทศวรรษ 1960 ด้วยจำนวนค่าเช่าทั่วโลก 58–60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[74][75] เทียบกับ 59 ล้านดอลลาร์สหรัฐของ วิมานลอย[76] ถ้ามีการอ้างสิทธิ์ว่าทำเงินสูงสุดจริง ก็เป็นแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพราะ วิมานลอย นั้นมีการฉายซ้ำในปีถัดมาและทำเงินถึง 67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพยนตร์เรื่อง เบนเฮอร์ (ค.ศ. 1959) อาจจะยึดสถิติจาก วิมานลอย ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1961 ซึ่งทำเงิน 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก ถ้าการประมาณนั้นแม่นยำ[77] และภายในปี ค.ศ. 1963 เบนเฮอร์ ตามหลัง วิมานลอย แค่ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยรายได้จากการฉายทั่วโลก 65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[78] รวมแล้วทำเงิน 66 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการฉายครั้งแรก[79]

ภาพยนตร์ลามกปี ค.ศ. 1972 เรื่อง ดีพโทรต มีรายงานว่าทำเงินได้มากถึง 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอาจเป็นตัวเลขที่มาจากการฟอกเงินของพวกอันธพาล

ภาพยนตร์เรื่องอื่นที่อ้างว่าทำเงินสูงสุดคือ ดีพโทรต ภาพยนตร์ลามกเมื่อปี ค.ศ. 1972 ลินดา เลิฟเลซ เป็นพยานต่อคณะอนุกรรมการตุลาการวุฒิสภาแห่งสหรัฐในเรื่องความยุติธรรมของเยาวชนว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำเงิน 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 1984[80] ตัวเลขนี้กลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงอย่างมาก เพราะถ้ามันถูกต้อง ภาพยนตร์เรื่องนี้จะทำเงินได้มากกว่า สตาร์ วอร์ส และกลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในทศวรรษ 1970 ข้อโต้แย้งหลักของการต่อต้านตัวเลขนี้คือ ภาพยนตร์ไม่ได้การฉายในวงกว้างมากพอที่จะทำเงินไปจนถึงจำนวนเงินที่กล่าวอ้าง[81] ไม่มีใครทราบถึงจำนวนเงินที่แท้จริง แต่จากคำให้การในการพิจารณาคดีของรัฐบาลกลางในปี ค.ศ. 1976 (หลังภาพยนตร์ฉายสี่ปี) ระบุว่าภาพยนตร์ทำเงิน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[82] โรเจอร์ อีเบิร์ต ให้เหตุผลว่าที่ภาพยนตร์อาจทำเงินได้มากถึง 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในรูปแบบของธนบัตร เนื่องจากพวกมาเฟียเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์สำหรับผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ในช่วงเวลานี้ โดยจะฟอกรายได้จากยาเสพติดและการค้าประเวณีผ่านพวกเขา ดังนั้นอาจทำให้รายรับจากบ็อกซ์ออฟฟิศจากภาพยนตร์เรื่องนี้สูงเกินจริง[83]

เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน, วิมานลอย, เดอะ ก็อดฟาเธอร์, จอว์ส, สตาร์ วอร์ส, อี.ที. เพื่อนรัก และ อวตาร ภาพยนตร์ดังกล่าวทำเงินเพิ่มขึ้นหลังจากมีการฉายใหม่ ตัวเลขที่บันทึกไว้ได้รวมรายได้จากการฉายครั้งแรกและรายได้จากการฉายใหม่แล้วจนถึงจุดที่ภาพยนตร์นั้นเสียตำแหน่งไป ดังนั้นรายได้ทั้งหมดของ เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน รวมรายได้จากการฉายใหม่จนถึงปี ค.ศ. 1940, รายได้ทั้งหมดของ สตาร์ วอร์ส รวมรายได้จากการฉายใหม่ในช่วงปลายทศวรรษ ค.ศ. 1970 และต้นทศวรรษ ค.ศ. 1980 แต่ไม่รวมรายได้ของฉบับพิเศษเมื่อปี ค.ศ. 1997, รายได้ทั้งหมดของ อี.ที. เพื่อนรัก ได้รวมรายได้จากการฉายใหม่เมื่อปี ค.ศ. 1985 แต่ไม่รวมของปี ค.ศ. 2002, รายได้ทั้งหมดของ อวตาร รวมรายได้ของฉบับพิเศษเมื่อปี ค.ศ. 2010 ทั้งหมด วิมานลอย ติดอันดับสองครั้ง โดยสถิติในปี ค.ศ. 1940 มาจากการทำเงินจากการฉายตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939–1942 (โรดโชว์/การฉายทั่วไป/การฉายในโรงภาพยนตร์ลดราคา)[84] พร้อมกับรายได้ทั้งหมดจนถึงการฉายใหม่จนถึงปี ค.ศ. 1961 ก่อนที่จะเสียตำแหน่งให้กับ มนต์รักเพลงสวรรค์ ในปี ค.ศ. 1966 ส่วนสถิติในปี ค.ศ. 1971 หลังจากได้ตำแหน่งคืนแล้ว รวมรายได้จากฉายใหม่ในปี ค.ศ. 1967 และ 1971 แต่ได้รวมรายได้หลังจากนี้ เดอะ ก็อดฟาเธอร์ ฉายใหม่ในปี ค.ศ. 1973 หลังประสบความสำเร็จที่ งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 45 และ จอว์ส ฉายใหม่ในปี ค.ศ. 1976 และรายได้ของภาพยนตร์ดังกล่าวน่าจะรวมจากการฉายนั้น มนต์รักเพลงสวรรค์, เดอะ ก็อดฟาเธอร์, จอว์ส, จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ และ ไททานิค ทำเงินเพิ่มขึ้นจากการฉายใหม่ในปี ค.ศ. 1973, 1997, 1979, 2012 และ 2013 ตามลำดับ แต่ไม่ได้รวมอยู่ในตารางนี้เพราะว่าภาพยนตร์ดังกล่าวเสียตำแหน่งทำเงินสูงสุดไปแล้วก่อนการฉายใหม่

เส้นเวลาของภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุด
ปีที่เริ่ม ชื่อ จำนวนเงินสูงสุดที่บันทึกไว้ อ้างอิง
1915[62] เดอะเบิร์ทออฟอะเนชัน $5,200,000R [# 84]
1940 $15,000,000R [# 309]
1940[32] วิมานลอย $32,000,000R [# 134]
1963 $67,000,000R [# 310]
1966[62] มนต์รักเพลงสวรรค์ $114,600,000R [# 209]
1971[62] วิมานลอย $116,000,000R [# 311]
1972[62] เดอะ ก็อดฟาเธอร์ $127,600,000–142,000,000R [# 235][# 312]
1976[85][86] จอว์ส $193,700,000R [# 250]
1978[87][88] สตาร์ วอร์ส $410,000,000/$268,500,000R [# 313][# 235]
1982 $530,000,000 [# 255]
1983[89] อี.ที. เพื่อนรัก $619,000,000–664,000,000 [# 255][# 267]
1993 $701,000,000 [# 314]
1993[62] จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ $914,691,118 [# 76]
1998[90] ไททานิค $1,843,201,268 [# 7]
2010[91][92] อวตาร $2,743,577,587 [# 1]
$2,788,416,135
2019[93][94] อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก $2,797,501,328 [# 3]
2021[95] อวตาร $2,847,397,339 [# 1]
2022 $2,923,706,026

RDistributor rentals

Includes re-releasesรวมจำนวนเงินจากการฉายใหม่ ถ้าภาพยนตร์เรื่องใดทำเงินเพิ่มขึ้นขณะที่ภาพยนตร์นั้นถือครองสถิติอยู่ ปีที่ทำเงินสูงสุดนั้นจะเป็นตัวเอียง

แฟรนไชส์และภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุด

[แก้]

ก่อน ค.ศ. 2000 นั้นมีภาพยนตร์ชุด 7 ชุดเท่านั้นที่ทำเงินได้มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในบ็อกซ์ออฟฟิศ ได้แก่ เจมส์ บอนด์,[96] สตาร์ วอร์ส,[97] อินเดียนา โจนส์,[98] ร็อคกี้,[99][100][101] แบทแมน,[102] จูราสสิค พาร์ค[103] และ สตาร์ เทรค[104] ตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนศตวรรษเป็นต้นมา จำนวนของภาพยนตร์ชุดก็เพิ่มมากขึ้น โดยมีมากกว่าเก้าสิบภาพยนตร์ชุด[105] ส่วนหนึ่งมาจากอัตราเงินเฟ้อและการขยายของตลาดที่เปิดกว้างมากขึ้น แต่ยังรวมถึงการที่ฮอลลีวู้ดสร้างรูปแบบของภาพยนตร์ชุดใหม่ เช่น การสร้างภาพยนตร์ที่มาจากนวนิยายชื่อดังหรือการสร้างตัวละครให้เป็นที่จดจำ ซึ่งวิธีการนี้มีแนวคิดที่ว่า ภาพยนตร์ที่สร้างจากสิ่งผู้ชมมีความคุ้นเคยอยู่แล้ว ทำให้สามารถขายให้กับผู้ชมเหล่านั้นได้ เรียกว่าเป็นการ "พรี-โซลด์" ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์[106]

โดยทั่วไป แฟรนไชส์จะถูกนิยามว่าให้มีผลงานอย่างน้อยสองชิ้นที่มาจากทรัพย์สินทางปัญญาทั่วไป รูปแบบแฟรนไชส์ในปัจจุบันมีแนวคิดของการข้ามฝั่งหรือการครอสโอเวอร์ หมายถึง "เป็นการนำสิ่งต่างๆ ในเรื่องแต่ง เช่นตัวละคร สถานที่ หรือจักรวาลของเรื่องแต่งสองเรื่องเป็นอย่างน้อยที่แตกต่างกันมารวมอยู่ในบริบทของเรื่องแต่งเรี่องเดียว"[107] ผลที่ตามมาของการครอสโอเวอร์คือทรัพย์สินทางปัญญาอาจถูกใช้โดยแฟรนไชส์มากกว่าหนึ่งแฟรนไชส์ ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์เรื่อง แบทแมน ปะทะ ซูเปอร์แมน แสงอรุณแห่งยุติธรรม ไม่เพียงแค่อยู่ในแฟรนไชส์ แบทแมน และ ซูเปอร์แมน เท่านั้น แต่อยู่ใน จักรวาลขยายดีซี ด้วย ซึ่งเป็น "จักรวาลร่วม"[108] จักรวาลร่วมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในสื่อภาพยนตร์คือ จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล เป็นการข้ามฝั่งระหว่างฮีโรหลายคนของ มาร์เวลคอมิกส์ ซึ่งทำเงิน 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ภาพยนตร์ชุด สไปเดอร์-แมน เป็นภาพยนตร์ชุดที่สร้างจากทรัพย์สินชิ้นเดียวที่ทำเงินสูงสุด โดยทำเงินมากกว่า 1.06 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ถึงแม้ว่าภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ของอีออน ซึ่งหากปรับตามอัตราเงินเฟ้อแล้ว จะทำเงินมากกว่า 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ)[110] จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล มีภาพยนตร์ที่ทำเงินมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวนสิบเรื่อง ภาพยนตร์ชุด อเวนเจอร์ส, โฟรเซน และ อวตาร เป็นแฟรนไชส์ที่ภาพยนตร์ทุกเรื่องทำเงินมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่า ภาพยนตร์ชุด จูราสสิค พาร์ค และ แบล็ค แพนเธอร์ ทำเงินเฉลี่ยมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อภาพยนตร์

 ยังมีภาพยนตร์อย่างน้อยหนึ่งเรื่องในภาพยนตร์ชุดนั้นกำลังฉายอยู่
ภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุด[§] (ดูรายละเอียดภาพยนตร์ในแต่ละภาพยนตร์ชุดได้โดยการกด "ขยาย")
อันดับ ชื่อภาพยนตร์ชุด ทำเงินรวมทั่วโลก จำนวน ทำเงินเฉลี่ย ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด

Sภาพยนตร์ชุดที่ดำเนินเรื่องอยู่ในจักรวาลเดียวกัน ซึ่งบางภาพยนตร์ก็มีภาพยนตร์ชุดเป็นของตัวเอง

*รายได้เฉพาะในสหรัฐและแคนาดา

RDistributor rental.

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Pincus-Roth, Zachary (January 8, 2006). "Movies aren't the only B.O. monsters". Variety. สืบค้นเมื่อ February 2, 2014.
  2. "Avatar – Video Sales". The Numbers. Nash Information Services, LLC. สืบค้นเมื่อ November 12, 2013.
  3. "Unkind unwind". The Economist. March 17, 2011. สืบค้นเมื่อ April 6, 2022.
  4. Vogel, Harold L. (2010). Entertainment Industry Economics: A Guide for Financial Analysis. Cambridge University Press. p. 224. ISBN 978-1-107-00309-5. Most pictures would likely receive 20% to 25% of theatrical box office gross for two prime-time network runs.
  5. Clark, Emma (November 12, 2001). "How films make money". BBC News. สืบค้นเมื่อ April 12, 2012.
  6. Seymour, Lee (December 18, 2017). "Over The Last 20 Years, Broadway's 'Lion King' Has Made More Money For Disney Than 'Star Wars'". Forbes. สืบค้นเมื่อ July 28, 2019.
  7. "The Entertainment Glut". Bloomberg. February 15, 1998. สืบค้นเมื่อ April 6, 2022.
  8. "Pixar – Worldwide (Unadjusted)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ April 12, 2012.
  9. Szalai, Georg (February 14, 2011). "Disney: 'Cars' Has Crossed $8 Billion in Global Retail Sales". The Hollywood Reporter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 19, 2011. สืบค้นเมื่อ April 6, 2022.
  10. Chmielewski, Dawn C.; Keegan, Rebecca (June 21, 2011). "Merchandise sales drive Pixar's 'Cars' franchise". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ April 12, 2012.
  11. Palmeri, Christopher; Sakoui, Anousha (November 7, 2014). "More Disney Fun and Games With 'Toy Story 4' in 2017". Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ June 30, 2015.
  12. "All Time Worldwide Box Office Grosses". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 29, 2020. สืบค้นเมื่อ April 6, 2022.
  13. "Titanic (1997)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ October 27, 2019.
  14. "Titanic (1997)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ October 30, 2020.
  15. "Titanic (1997)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ October 26, 2021.
  16. "Titanic (1997)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ February 5, 2023.
  17. "Titanic". The Numbers. สืบค้นเมื่อ September 2, 2014.
  18. "Titanic". The Numbers. สืบค้นเมื่อ September 13, 2014.
  19. "The Fate of the Furious (2017) – International Box Office Results: Argentina". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ January 11, 2018.
  20. "Pixar Movies at the Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 16, 2016.
  21. "Pixar Movies at the Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 20, 2016.
  22. 22.0 22.1 Bialik, Carl (January 29, 2010). "How Hollywood Box-Office Records Are Made". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ August 9, 2011.
  23. 23.0 23.1 Pincus-Roth, Zachary (July 6, 2009). "Best Weekend Never". Slate. สืบค้นเมื่อ April 6, 2022.
  24. 24.0 24.1 Anderson, S. Eric; Albertson, Stewart; Shavlick, David (March 2004). How the motion picture industry miscalculates box office receipts. Proceedings of the Midwest Business Economics Association. Loma Linda University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (DOC)เมื่อ October 29, 2013. สืบค้นเมื่อ April 8, 2013.
  25. Gray, Brandon. "'Avatar' Claims Highest Gross of All Time". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ April 6, 2022.
  26. 26.0 26.1 Bialik, Carl (January 30, 2010). "What It Takes for a Movie to Be No. 1". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ August 9, 2011.
  27. Kolesnikov-Jessop, Sonia (May 22, 2011). "Hollywood Presses Its Global Agenda". The New York Times. สืบค้นเมื่อ January 4, 2012.
  28. Hoad, Phil (August 11, 2011). "The rise of the international box office". The Guardian. สืบค้นเมื่อ January 4, 2012.
  29. Frankel, Daniel (May 1, 2011). "Why the Foreign Box Office Leads: 'Fast Five,' 'Thor' Open Overseas First". The Wrap. สืบค้นเมื่อ April 6, 2022.
  30. 30.0 30.1 Bialik, Carl (December 17, 2007). "Box-Office Records Are the Stuff of 'Legend'". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ August 10, 2011.
  31. 31.0 31.1 Leonhardt, David (March 1, 2010). "Why 'Avatar' Is Not the Top-Grossing Film". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 7, 2013.
  32. 32.0 32.1 Miller, Frank; Stafford, Jeff (January 5, 2007). "Gone With the Wind (1939) – Articles". Turner Classic Movies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 26, 2013.
  33. 33.0 33.1 Shone, Tom (February 3, 2010). "Oscars 2010: How James Cameron took on the world". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 10, 2022. สืบค้นเมื่อ March 22, 2012.
  34. Hill, George F. (June 25, 2006). "Gone With The Wind, Indeed". The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 27, 2018.
  35. 35.0 35.1 Records, Guinness World (2014). Guinness World Records. Vol. 60 (2015 ed.). pp. 160–161. ISBN 978-1-908843-70-8.
  36. "World Economic Outlook: Inflation rate, end of period consumer prices". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ February 4, 2023.
  37. "Avatar (2009)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ November 8, 2022. 2020 Re-release: $1,281,204; 2021 Re-release: $57,700,000; 2022 Re-release: $75,520,575
  38. Glenday, Craig, บ.ก. (2011). Гиннесс. Мировые рекорды [Guinness World Records] (ภาษารัสเซีย). แปลโดย Andrianov, P.I.; Palova, I.V. (2012 ed.). Moscow: Astrel. p. 211. ISBN 978-5-271-36423-5.
  39. "Titanic 3D (2012) – International Box Office results". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2019. สืบค้นเมื่อ November 25, 2012. North America: $57,884,114; Overseas: $285,666,656
  40. 40.0 40.1 Cones, John W. (1997). The feature film distribution deal: a critical analysis of the single most important film industry agreement. Southern Illinois University Press. p. 41. ISBN 978-0-8093-2082-0. Distributor rentals: It is also important to know and recognize the difference between the distributor's gross receipts and the gross rentals. The term "rentals" refers to the aggregate amount of the film distributor's share of monies paid at theatre box offices computed on the basis of negotiated agreements between the distributor and the exhibitor. Note that gross receipts refers to amounts actually received and from all markets and media, whereas gross rentals refers to amounts earned from theatrical exhibition only, regardless of whether received by the distributor. Thus, gross receipts is the much broader term and includes distributor rentals. The issue of film rentals (i.e., what percentage of a film's box office gross comes back to the distributor) is of key importance...More current numbers suggest that distributor rentals for the major studio/distributor released films average in the neighborhood of 43% of box office gross. Again, however, such an average is based on widely divergent distributor rental ratios on individual films.
  41. Marich, Robert (2009) [1st. pub. Focal Press:2005]. Marketing to moviegoers: a handbook of strategies used by major studios and independents (2 ed.). Southern Illinois University Press. p. 252. ISBN 978-0-8093-2884-0. Rentals are the distributors' share of the box office gross and typically set by a complex, two-part contract.
  42. Balio, Tino (2005). The American film industry. University of Wisconsin Press. p. 296. ISBN 978-0-299-09874-2. Film Rentals as Percent of Volume of Business (1939): 36.4
  43. Balio, Tino (1987). United Artists: the Company that Changed the Film Industry. University of Wisconsin Press. p. 124–125. ISBN 978-0-299-11440-4. To rekindle interest in the movies, Hollywood not only had to compete with television but also with other leisure-time activities...Movies made a comeback by 1955, but audiences had changed. Moviegoing became a special event for most people, creating the phenomenon of the big picture.
  44. Hall & Neale 2010, p. 179. "Later epics proved far more disastrous for the backers. Samuel Bronston's The Fall of the Roman Empire, filmed in Spain, cost $17,816,876 and grossed only $1.9 million in America. George Stevens's long-gestating life of Christ, The Greatest Story Ever Told (1965), which had been in planning since 1954 and in production since 1962, earned domestic rentals of $6,962,715 on a $21,481,745 negative cost, the largest amount yet spent on a production made entirely within the United States. The Bible—in the Beginning... (1966) was financed by the Italian producer Dino De Laurentiis from private investors and Swiss banks. He then sold distribution rights outside Italy jointly to Fox and Seven Arts for $15 million (70 percent of which came from Fox), thereby recouping the bulk of his $18 million investment. Although The Bible returned a respectable world rental of $25.3 million, Fox was still left with a net loss of just over $1.5 million. It was the last biblical epic to be released by any major Hollywood studio for nearly twenty years."
  45. Williams, Trey (September 25, 2015). "Ridley Scott's latest 'Alien' announcement drives Hollywood's sequel problem". MarketWatch. สืบค้นเมื่อ May 12, 2016.
  46. "Yearly Box Office". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ January 6, 2012.
  47. "Movie Index By Year". The Numbers. Nash Information Services. LLC. สืบค้นเมื่อ January 6, 2012.
  48. Dirks, Tim. "All-Time Box-Office Hits By Decade and Year". Filmsite.org. American Movie Classics. สืบค้นเมื่อ January 5, 2012.
  49. "20,000 Leagues Under the Sea". The Numbers. Nash Information Services, LLC. สืบค้นเมื่อ January 5, 2012.
  50. 50.0 50.1 Finler 2003, p. 358
  51. Milwaukee Magazine. Vol. 32. 2007. The year's top–grossing movie, Aloma made $3 million in the first three months and brought Gray back to Milwaukee for its opening at the Wisconsin Theatre.
  52. Parkinson, David (2007). The Rough Guide to Film Musicals. Dorling Kindersley. p. 28. ISBN 978-1-84353-650-5. But they had previously succeeded in showing how musicals could centre on ordinary people with Sunny Side Up (1929), which had grossed $2 million at the box office and demonstrated a new maturity and ingenuity in the staging of story and dance.
  53. 53.0 53.1 Hall & Neale 2010, pp. 67. "For similar reasons of accountability, Variety has typically used figures for domestic (U.S. and Canadian) rather than worldwide revenue. This became its standard policy in 1940, when the advent of war in Europe persuaded the American film industry (temporarily, as it turned out) that it should be wholly reliant on the home market for profitability. Where specific rentals data are reported in Variety before this (which tended to be only sporadically) they were often for worldwide rather domestic performance. This was also the case with other trade sources, such as Quigley's annual Motion Picture Almanac, which published its own all-time hits lists from the early 1930s onward. The subsequent confusion of domestic and worldwide figures, and of rental and box-office figures, has plagued many published accounts of Hollywood history (sometimes including those in Variety itself), and we have attempted to be diligant in clarifying the differences between them."
  54. McBride, Joseph (2011). Frank Capra: The Catastrophe of Success. University Press of Mississippi. p. 309. ISBN 978-1-60473-838-4. According to the studio's books It Happened One Night brought in $1 million in film rentals during its initial release, but as Joe Walker pointed out, the figure would have been much larger if the film had not been sold to theaters on a block-booking basis in a package with more than two dozen lesser Columbia films, and the total rentals of the package spread among them all, as was customary in that era, since it minimized the risk and allowed the major studios to dominate the marketplace.
  55. Shearer, Lloyd (October 26, 1947). "GWTW: Supercolossal Saga of an Epic". The New York Times. สืบค้นเมื่อ July 14, 2012.
  56. "Cinema: The Big Grossers". Time. February 2, 1953. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2008. สืบค้นเมื่อ September 15, 2012.
  57. Block & Wilson 2010, p. 129. "Domestic Rentals: $30,015,000 (61%); Foreign Rentals: $18,964,000 (39%)...Gone with the Wind includes initial release plus four rereleases (1941,1942,1947 and 1954) since foreign rental revenues were available only cumulative through 1956."
  58. "ข่มขืนต้องแก้แค้น! ที่ทางของหนัง rape-revenge กับปัญหาของความสาแก่ใจ". themomentum.co. The Momentum. สืบค้นเมื่อ May 7, 2019.
  59. McDermott, Christine (2010), Life with Father, p. 307, No matter what the billing, the movie became a worldwide hit with $6.5 million in worldwide rentals, from Pappa och vi in Sweden to Vita col padre in Italy, although it booked a net loss of $350,000. In: Block & Wilson 2010.
  60. Mulligan, Hugh A. (September 23, 1956). "Cinerama Pushing Ahead As Biggest Money-Maker". The Register-Guard. Eugene, Oregon. p. 7B.
  61. Hall & Neale 2010, p. 145. "The commercial success of the five Cinerama travelogues, which earned an aggregate worldwide box-office gross of $120 million by 1962 (including $82 million in the United States and Canada), nevertheless demonstrated to the mainstream industry the market value of special screen formats."
  62. 62.0 62.1 62.2 62.3 62.4 62.5 Dirks, Tim. "Top Films of All-Time: Part 1 – Box-Office Blockbusters". Filmsite.org. สืบค้นเมื่อ August 11, 2010.
  63. 63.0 63.1 Wasko, Janet (1986). "D.W. Griffiths and the banks: a case study in film financing". ใน Kerr, Paul (บ.ก.). The Hollywood Film Industry: A Reader. Routledge. p. 34. ISBN 9780710097309. Various accounts have cited $15 to $18 million profits during the first few years of release, while in a letter to a potential investor in the proposed sound version, Aitken noted that a $15 to $18 million box-office gross was a 'conservative estimate'. For years Variety has listed The Birth of a Nation's total rental at $50 million. (This reflects the total amount paid to the distributor, not box-office gross.) This 'trade legend' has finally been acknowledged by Variety as a 'whopper myth', and the amount has been revised to $5 million. That figure seems far more feasible, as reports of earnings in the Griffith collection list gross receipts for 1915–1919 at slightly more than $5.2 million (including foreign distribution) and total earnings after deducting general office expenses, but not royalties, at about $2 million.
  64. "Biggest Money Pictures". Variety. June 21, 1932. p. 1. Cited in "Biggest Money Pictures". Cinemaweb. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 5, 2011. สืบค้นเมื่อ June 25, 2015.
  65. "'Peter Pan' flies again". Daily Record. Ellensburg, Washington. United Press International. July 21, 1989. p. 16.
  66. Block & Wilson 2010, p. 237. "By the end of 1938, it had grossed more than $8 million in worldwide rentals and was ranked at the time as the second-highest-grossing film after the 1925 epic Ben-Hur".
  67. Finler 2003, p. 47. "Walt Disney took a big risk when he decided to invest $1.5 million in his first feature-length animated film, Snow White and the Seven Dwarfs. It became the biggest hit of the sound era and the largest-grossing movie since The Birth of a Nation – until the release of independent producer David O. Selznick's Gone with the Wind just two years later."
  68. Barrios, Richard (1995). A Song in the Dark: The Birth of the Musical Film. Oxford University Press. p. 49. ISBN 978-0-19-508811-3. Since it's rarely seen today, The Singing Fool is frequently confused with The Jazz Singer; although besides Jolson and a pervasively maudlin air the two have little in common. In the earlier film Jolson was inordinately attached to his mother and sang "Mammy"; here the fixation was on his young son, and "Sonny Boy" became an enormous hit. So did the film, which amassed a stunning world-wide gross of $5.9 million...Some sources give it as the highest gross of any film in its initial release prior to Gone with the Wind. This is probably overstating it—MGM's records show that Ben-Hur and The Big Parade grossed more, and no one knows just how much The Birth of a Nation brought in. Still, by the standards of the time it's an amazing amount.
  69. Everson, William K. (1998) [First published 1978]. American silent film. Da Capo Press. p. 374. ISBN 978-0-306-80876-0. Putting The Birth of a Nation in fifth place is open to question, since it is generally conceded to be the top-grossing film of all time. However, it has always been difficult to obtain reliable box-office figures for this film, and it may have been even more difficult in the mid-1930s. After listing it until the mid-1970s as the top-grosser, though finding it impossible to quote exact figures, Variety, the trade journal, suddenly repudiated the claim but without giving specific details or reasons. On the basis of the number of paid admissions, and continuous exhibition, its number one position seems justified.
  70. Hall & Neale 2010, p. 163. "MGM's silent Ben-Hur, which opened at the end of 1925, had out-grossed all the other pictures released by the company in 1926 combined. With worldwide rentals of $9,386,000 on first release it was, with the sole possible exception of The Birth of a Nation, the highest-earning film of the entire silent era."
  71. 71.0 71.1 du Brow, Rick (September 22, 1965). "Documentary On The Klan Made Quite An Impact On Du Brow". The Columbus Dispatch. p. 12.
  72. Hodgkinson, Will (April 12, 2004). "Culture quake: The Birth of a Nation". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ January 31, 2012.
  73. Thomas, Bob (January 18, 1963). "'West Side Story' Earned $19 Million Last Year". Reading Eagle. Associated Press. p. 20.
  74. Klopsch, Louis; Sandison, George Henry; Talmage, Thomas De Witt (1965). "Christian Herald". 88: 68. Yet "The Ten Commandments" has earned 58 million dollars in film rentals and is expected to bring in 10 to 15 million each year it is reissued. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  75. Hall & Neale 2010, pp. 160–161. "General release began at normal prices in 1959 and continued until the end of the following year, when the film was temporarily withdrawn (the first of several reissues came in 1966). The worldwide rental by this time was around $60 million. In the domestic market it dislodged Gone with the Wind from the number one position on Variety's list of All-Time Rentals Champs. GWTW had hitherto maintained its lead through several reissues (and was soon to regain it through another in 1961)."
  76. Oviatt, Ray (April 16, 1961). "The Memory Isn't Gone With The Wind". Toledo Blade. p. 67–68.
  77. "Ben-Hur (1959) – Notes". Turner Classic Movies. สืบค้นเมื่อ November 17, 2012.
  78. Thomas, Bob (August 1, 1963). "Movie Finances Are No Longer Hidden From Scrutiny". The Robesonian. Associated Press. p. 10.
  79. Block & Wilson 2010, p. 324. "Worldwide rentals: $66.1 million (initial release)"
  80. Washington (AP) (September 13, 1984). "'Deep Throat' star against pornography". The Free Lance–Star. p. 12.
  81. Hiltzik, Michael (February 24, 2005). "'Deep Throat' Numbers Just Don't Add Up". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ February 2, 2012.
  82. Memphis (UPI) (May 1, 1976). "'Deep Throat' Defendant Found Guilty of Conspiring". The Palm Beach Post. p. A2.
  83. Ebert, Roger (February 11, 2005). "Inside Deep Throat". rogerebert.com. Chicago Sun-Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 6, 2011. สืบค้นเมื่อ February 2, 2012.
  84. Bartel, Pauline (1989). The Complete Gone with the Wind Trivia Book: The Movie and More. Taylor Trade Publishing. p. 127. ISBN 978-0-87833-619-7. At the end of the 1941 general release, MGM decided to withdraw GWTW again. The prints were battered, but the studio believed one final fling for GWTW was possible. The film returned to movie theaters for the third time in the spring of 1942 and stayed in release until late 1943 ... When MGM finally pulled the film from exhibition, all worn-out prints were destroyed, and GWTW was at last declared out of circulation. MGM, which by then had sole ownership of the film, announced that GWTW had grossed over $32 million.
  85. Dick, Bernard F. (1997). City of Dreams: The Making and Remaking of Universal Pictures. University Press of Kentucky. p. 168. ISBN 978-0-8131-2016-4. Jaws (1975) saved the day, grossing $104 million domestically and $132 million worldwide by January 1976.
  86. Kilday, Gregg (July 5, 1977). "Director of 'Jaws II' Abandons His 'Ship'". The Victoria Advocate. p. 6B.
  87. New York (AP) (May 26, 1978). "Scariness of Jaws 2 unknown quantity". The StarPhoenix. p. 21.
  88. Fenner, Pat C. (January 16, 1978). "Independent Action". Evening Independent. p. 11-A.
  89. Cook, David A. (2002). Lost Illusions: American Cinema in the Shadow of Watergate and Vietnam, 1970–1979. Vol. Volume 9 of History of the American Cinema, Charles Harpole. University of California Press. p. 50. ISBN 978-0-520-23265-5. The industry was stunned when Star Wars earned nearly $3 million in its first week and by the end of August had grossed $100 million; it played continuously throughout 1977–1978, and was officially re-released in 1978 and 1979, by the end of which it had earned $262 million in rentals worldwide to become the top- grossing film of all time – a position it would maintain until surpassed by Universal's E.T.: The Extra-Terrestrial in January 1983. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)
  90. "Titanic sinks competitors without a trace". BBC News. BBC. February 25, 1998. สืบค้นเมื่อ August 13, 2010.
  91. Cieply, Michael (January 26, 2010). "He Doth Surpass Himself: 'Avatar' Outperforms 'Titanic'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ January 27, 2010.
  92. Segers, Frank (January 25, 2010). "'Avatar' breaks 'Titanic' worldwide record". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ December 4, 2010.
  93. Whitten, Sarah (July 21, 2019). "'Avengers: Endgame' is now the highest-grossing film of all time, dethroning 'Avatar'". CNBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 21, 2019. สืบค้นเมื่อ July 21, 2019.
  94. Robbins, Shawn (July 20, 2019). "Avengers: Endgame Surpasses Avatar As #1 Global Release of All Time on Saturday". BoxOffice. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2019. สืบค้นเมื่อ July 24, 2019.
  95. Tartaglione, Nancy (March 13, 2021). "'Avatar' Overtakes 'Avengers: Endgame' As All-Time Highest-Grossing Film At Global Box Office; China Reissue Growing". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ March 13, 2021.
  96. "Box Office History for James Bond Movies". The Numbers. Nash Information Services. สืบค้นเมื่อ January 4, 2012.
  97. "Box Office History for Star Wars Movies". The Numbers. Nash Information Services. สืบค้นเมื่อ January 4, 2012.
  98. "Indiana Jones – Worldwide (Unadjusted)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ January 6, 2012.
  99. Anderson, Dave (November 16, 2003). "Bayonne Bleeder Throws a Punch at the Italian Stallion". The New York Times. สืบค้นเมื่อ January 4, 2012.
  100. Schneiderman, R. M. (August 10, 2006). "Stallone Settles With The 'Real' Rocky". Forbes. สืบค้นเมื่อ January 4, 2012.
  101. Poller, Kenneth G. (November 12, 2003). "Charles Wepner v. Sylvester Stallone" (PDF). Mango & Iacoviello. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 29, 2013. สืบค้นเมื่อ January 4, 2012.
  102. "Batman – Worldwide (Unadjusted) & Batman: Mask of the Phantasm". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ January 6, 2012.
  103. "Jurassic Park – Worldwide (Unadjusted)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ January 6, 2012.
  104. "Box Office History for Star Trek Movies". The Numbers. Nash Information Services. สืบค้นเมื่อ January 4, 2012.
  105. "Movie Franchises". The Numbers. Nash Information Services. สืบค้นเมื่อ April 5, 2024.
  106. The Economist online (July 11, 2011). "Pottering on, and on". The Economist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 11, 2011.
  107. Nevins, Jess (August 23, 2011). "A Brief History of the Crossover". io9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ July 19, 2018.
  108. Nevins, Jess (September 9, 2011). "The First Shared Universes". io9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ July 19, 2018.
  109. "How 'Spectre' May Stack Up With 'Thunderball' as a James Bond Blockbuster". The New York Times. November 6, 2015. สืบค้นเมื่อ January 7, 2018.
  110. ก่อนฉาย องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย ใน ค.ศ. 2015 ภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ทำเงินประมาณ 1.77 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ ค่าเงินเมื่อ ค.ศ. 2015;[109] เมื่อรวมรายได้ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการฉาย องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย และ 007 พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ ภาพยนตร์ชุดทำเงินอย่างน้อย 1.93 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังปรับตามอัตราเงินเฟ้อแล้ว

แหล่งข้อมูลบ็อกซ์ออฟฟิศ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Avatar (2009)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ March 21, 2023. Worldwide: $2,923,706,026; Original Release: $2,743,577,587; 2010 Special Edition: $44,838,548; 2020 Re-release: $1,281,204; 2021 Re-release: $57,995,770; 2022 Re-release: $76,012,917
  2. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 3, 2010.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Avengers: Endgame (2019)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 7, 2023. สืบค้นเมื่อ March 13, 2021.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2019.
  5. 5.0 5.1 "Avatar: The Way of Water (2022)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2022. สืบค้นเมื่อ May 26, 2023.
  6. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 7, 2023.
  7. 7.0 7.1 7.2 Titanic
  8. 8.0 8.1 "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2001.
  9. 9.0 9.1 "Star Wars: The Force Awakens (2015)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 8, 2019. สืบค้นเมื่อ August 15, 2016.
  10. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2016.
  11. 11.0 11.1 "Avengers: Infinity War (2018)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 21, 2020. สืบค้นเมื่อ January 13, 2019.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 1, 2019.
  13. 13.0 13.1 "Spider-Man: No Way Home (2021)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2022. สืบค้นเมื่อ June 28, 2024. All Releases: $1,922,598,800; Original Release: $1,912,233,593
  14. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2022.
  15. 15.0 15.1 "Inside Out 2 (2024)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ October 4, 2024.
  16. "Jurassic World (2015)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 8, 2021. สืบค้นเมื่อ March 7, 2022.
  17. 17.0 17.1 "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 26, 2015.
  18. "The Lion King". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 25, 2020. สืบค้นเมื่อ January 8, 2020.
  19. 19.0 19.1 "The Avengers (2012)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 6, 2023. สืบค้นเมื่อ January 18, 2023.
  20. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2012.
  21. "Furious 7 (2015)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2019. สืบค้นเมื่อ January 9, 2023.
  22. 22.0 22.1 "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 26, 2015.
  23. "Top Gun: Maverick (2022)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2022. สืบค้นเมื่อ June 8, 2023.
  24. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 29, 2022.
  25. "Frozen II". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 12, 2019. สืบค้นเมื่อ March 26, 2020.
  26. 26.0 26.1 26.2 "Top Lifetime Grosses – Worldwide". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2020.
  27. 27.0 27.1 "Barbie (2023)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2023. สืบค้นเมื่อ March 28, 2024.
  28. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 17, 2024.
  29. "Avengers: Age of Ultron (2015)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 18, 2022. สืบค้นเมื่อ January 8, 2022.
  30. "The Super Mario Bros. Movie (2023)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2023. สืบค้นเมื่อ May 17, 2024.
  31. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 29, 2023.
  32. "Black Panther (2018)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 30, 2020. สืบค้นเมื่อ October 29, 2018.
  33. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 1, 2018.
  34. 34.0 34.1 Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 2
  35. 35.0 35.1 "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2011.
  36. 36.0 36.1 "Star Wars: The Last Jedi". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2019. สืบค้นเมื่อ May 21, 2018.
  37. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 27, 2018.
  38. "Deadpool & Wolverine (2024)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ October 4, 2024.
  39. "Jurassic World: Fallen Kingdom (2018)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 21, 2020. สืบค้นเมื่อ January 12, 2019.
  40. 40.0 40.1 Frozen
    Total as of August 3, 2014: $247,650,477
    Total as of August 31, 2014: $249,036,646
    Total as of August 17, 2014: $167,333
    Total as of July 27, 2014: $21,668,593
    Total as of November 2, 2014: $22,492,845
    Total as of June 8, 2014: £39,090,985
    Total as of November 30, 2014: £40,960,083 ($1 = £0.63866)
    Total as of December 7, 2014: £41,087,765 ($1 = £0.64136)
    Total as of December 14, 2014: £41,170,608 ($1 = £0.636)
    Total as of November 26, 2017: £42,840,559 ($1 = £0.7497)
    Total as of December 3, 2017: £42,976,318 ($1 = £0.742)
    Total as of March 30, 2014: €35,098,170
    Total as of October 18, 2015: €42,526,744
    nb. the exact euro to dollar conversion rate is unknown for earnings since April 2014, but the euro never fell below parity with the dollar during 2014 and 2015 (as can be verified by comparing the exchange rate on the individual date entries at the provided reference) so an approximate conversion rate of €1: $1 is used here to give a lower-bound.
  41. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 2, 2014.
  42. "Beauty and the Beast (2017)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 18, 2019. สืบค้นเมื่อ September 5, 2017.
  43. 43.0 43.1 43.2 "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 11, 2017.
  44. "Incredibles 2 (2018)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 21, 2020. สืบค้นเมื่อ March 25, 2019.
  45. "The Fate of the Furious (2017)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2017.
  46. "Iron Man 3 (2013)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 15, 2017. สืบค้นเมื่อ October 28, 2013.
  47. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 21, 2014.
  48. "Minions (2015)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2019. สืบค้นเมื่อ January 18, 2023.
  49. 49.0 49.1 "Captain America: Civil War (2016)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 6, 2023. สืบค้นเมื่อ January 18, 2023.
  50. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2016.
  51. "Aquaman (2018)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2023. สืบค้นเมื่อ January 18, 2023.
  52. 52.0 52.1 "The Lord of the Rings: The Return of the King". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 5, 2023. สืบค้นเมื่อ November 7, 2023.
  53. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 5, 2004.
  54. "Spider-Man: Far From Home". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2019. สืบค้นเมื่อ June 28, 2024.
  55. "Captain Marvel (2019)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 21, 2020. สืบค้นเมื่อ July 21, 2019.
  56. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 23, 2019.
  57. "Transformers: Dark of the Moon (2011)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2019. สืบค้นเมื่อ January 18, 2014.
  58. "Skyfall (2012)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2022. สืบค้นเมื่อ January 18, 2023.
  59. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2013.
  60. 60.0 60.1 "Transformers: Age of Extinction". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2019. สืบค้นเมื่อ May 17, 2015.
  61. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2014.
  62. "The Dark Knight Rises (2012)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 4, 2023. สืบค้นเมื่อ November 7, 2023.
  63. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 3, 2012.
  64. "Joker (2019)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2023. สืบค้นเมื่อ November 30, 2022.
  65. "Star Wars: Episode IX – The Rise of Skywalker". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 30, 2019. สืบค้นเมื่อ March 21, 2020.
  66. "Toy Story 4". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2019. สืบค้นเมื่อ December 7, 2019.
  67. 67.0 67.1 "Toy Story 3 (2010)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 6, 2023. สืบค้นเมื่อ January 18, 2023.
  68. 68.0 68.1 "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 18, 2011.
  69. 69.0 69.1 "Pirates of the Caribbean: Dead Man's Chest (2006)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ January 18, 2023.
  70. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2006.
  71. "Rogue One: A Star Wars Story (2016)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 5, 2019. สืบค้นเมื่อ September 2, 2022.
  72. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 19, 2017.
  73. "Aladdin (2019)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2019. สืบค้นเมื่อ November 2, 2019.
  74. 74.0 74.1 Star Wars Episode I: The Phantom Menace
  75. "Pirates of the Caribbean: On Stranger Tides". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2020. สืบค้นเมื่อ August 22, 2011.
  76. 76.0 76.1 76.2 Jurassic Park
    • Pre-2022 releases: "Jurassic Park (1993)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 26, 2021. สืบค้นเมื่อ March 7, 2022. Worldwide: $1,033,928,303; Original Release: $912,667,947; Production Budget: $63 million
    • 2022 re-release: "Jurassic Park (2022 Re-release)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ July 1, 2022. Mexico: $270,700
    • 2023 re-release: "Jurassic Park (2023 Re-release)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ September 8, 2023. $3,336,227
    • As of 2010: Block & Wilson 2010, pp. 756–757. "Production Cost: $70.0 (Unadjusted $s in Millions of $s) ... Jurassic Park was a smash at the box office, bringing in $920 million in worldwide box office and spawning two sequels."
  77. Krämer, Peter (1999). "Women First: Titanic, Action-Adventure Films, and Hollywood's Female Audience". ใน Sandler, Kevin S.; Studlar, Gaylyn (บ.ก.). Titanic: Anatomy of a Blockbuster. Rutgers University Press. pp. 108130. ISBN 978-0-8135-2669-0. On page 130, the list has Jurassic Park at number one with $913 million, followed by The Lion King...
  78. "Despicable Me 3 (2017)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 17, 2021. สืบค้นเมื่อ January 18, 2023.
  79. "Finding Dory (2016)". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 29, 2022. สืบค้นเมื่อ January 18, 2023.
  80. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 25, 2016.
  81. "Alice in Wonderland (2010)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2019. สืบค้นเมื่อ January 18, 2023.
  82. "All Time Worldwide Box Office". Box Office Mojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 1, 2010.
  83. Monaco, James (2009). How to Read a Film:Movies, Media, and Beyond. Oxford University Press. p. 262. ISBN 978-0-19-975579-0. The Birth of a Nation, costing an unprecedented and, many believed, thoroughly foolhardy $110,000, eventually returned $20 million and more. The actual figure is hard to calculate because the film was distributed on a "states' rights" basis in which licenses to show the film were sold outright. The actual cash generated by The Birth of a Nation may have been as much as $50 million to $100 million, an almost inconceivable amount for such an early film.
  84. 84.0 84.1 Wasko, Janet (1986). "D.W. Griffiths and the banks: a case study in film financing". ใน Kerr, Paul (บ.ก.). The Hollywood Film Industry: A Reader. Routledge. p. 34. ISBN 978-0-7100-9730-9. Various accounts have cited $15 to $18 million profits during the first few years of release, while in a letter to a potential investor in the proposed sound version, Aitken noted that a $15 to $18 million box-office gross was a 'conservative estimate'. For years Variety has listed The Birth of a Nation's total rental at $50 million. (This reflects the total amount paid to the distributor, not box-office gross.) This 'trade legend' has finally been acknowledged by Variety as a 'whopper myth', and the amount has been revised to $5 million. That figure seems far more feasible, as reports of earnings in the Griffith collection list gross receipts for 1915–1919 at slightly more than $5.2 million (including foreign distribution) and total earnings after deducting general office expenses, but not royalties, at about $2 million.
  85. Lang, Robert, บ.ก. (1994). The Birth of a nation: D.W. Griffith, director. Rutgers University Press. p. 30. ISBN 978-0-8135-2027-8. The film eventually cost $110,000 and was twelve reels long.
  86. 86.0 86.1 Block & Wilson 2010, p. 26.
    • Intolerance: "Domestic Rentals: $1.0 (Unadjusted $s in Millions of $s)."
    • Cleopatra: "Domestic Rentals: $0.5; Production Cost: $0.3 (Unadjusted $s in Millions of $s)."
  87. Birchard, Robert S. (2010), Intolerance, p. 45, Intolerance was the most expensive American film made up until that point, costing a total of $489,653, and its performance at the box ... but it did recoup its cost and end with respectable overall numbers. In: Block & Wilson 2010.
  88. Coons, Robin (June 30, 1939). "Hollywood Chatter". The Daytona Beach News-Journal. p. 6.
  89. Shipman, David (1970). The great movie stars: the golden years. Crown Publishing Group. p. 98. It was a low budgeter—$120,000—but it grossed world-wide over $3 million and made stars of Chaney and his fellow-players, Betty Compson and Thomas Meighan.
  90. 90.0 90.1 90.2 90.3 "Biggest Money Pictures". Variety. June 21, 1932. p. 1. Cited in "Biggest Money Pictures". Cinemaweb. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 8, 2011. สืบค้นเมื่อ July 14, 2011.
  91. 91.0 91.1 Solomon, Aubrey (2011). The Fox Film Corporation, 1915–1935: A History and Filmography. McFarland & Company. ISBN 978-0-7864-6286-5.
    • Way Down East: p. 52. "D.W. Griffith's Way Down East (1920) was projected to return rentals of $4,000,000 on an $800,000 negative. This figure was based on the amounts earned from its roadshow run, coupled with its playoff in the rest of the country's theaters. Griffith had originally placed the potential film rental at $3,000,000 but, because of the success of the various roadshows that were running the $4,000,000 total was expected. The film showed a profit of $615,736 after just 23 weeks of release on a gross of $2,179,613."
    • What Price Glory?: p. 112. "What Price Glory hit the jackpot with massive world rentals of $2,429,000, the highest figure in the history of the company. Since it was also the most expensive production of the year at $817,000 the profit was still a healthy $796,000..."
    • Cavalcade: p. 170. "The actual cost of Cavalcade was $1,116,000 and it was most definitely not guaranteed a success. In fact, if its foreign grosses followed the usual 40 percent of domestic returns, the film would have lost money. In a turnaround, the foreign gross was almost double the $1,000,000 domestic take to reach total world rentals of $3,000,000 and Fox's largest profit of the year at $664,000."
    • State Fair: p. 170. "State Fair did turn out to be a substantial hit with the help of Janet Gaynor boosting Will Rogers back to the level of money-making star. Its prestige engagements helped raked in a total $1,208,000 in domestic rentals. Surprisingly, in foreign countries unfamiliar with state fairs, it still earned a respectable $429,000. With its total rentals, the film ended up showing a $398,000 profit."
  92. Hall & Neale 2010, p. 53. "The Four Forsemen of the Apocalypse was to become Metro's most expensive production and one of the decade's biggest box-office hits. Its production costs have been estimated at "something between $600,000 and $800,000." Variety estimated its worldwide gross at $4 million in 1925 and at $5 million in 1944; in 1991, it estimated its cumulative domestic rentals at $3,800,000."
  93. Brownlow, Kevin (1968). The parade's gone by . University of California Press. p. 255. ISBN 978-0-520-03068-8. The negative cost was about $986,000, which did not include Fairbanks' own salary. Once the exploitation and release prints were taken into account, Robin Hood cost about $1,400,000—exceeding both Intolerance ($700,000) and the celebrated "million dollar movie" Foolish Wives. But it earned $2,500,000.
  94. Vance, Jeffrey (2008). Douglas Fairbanks. University of California Press. p. 146. ISBN 978-0-520-25667-5. The film had a production cost of $930,042.78—more than the cost of D.W. Griffith's Intolerance and nearly as much as Erich von Stroheim's Foolish Wives (1922).
  95. 95.0 95.1 "Business: Film Exports". Time. July 6, 1925. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 5, 2010. สืบค้นเมื่อ July 12, 2011.
  96. 96.0 96.1 96.2 96.3 96.4 Birchard, Robert S. (2009). Cecil B. DeMille's Hollywood. University Press of Kentucky. ISBN 978-0-8131-3829-9.
  97. May, Richard P. (Fall 2005), "Restoring The Big Parade", The Moving Image, 5 (2): 140–146, doi:10.1353/mov.2005.0033, ISSN 1532-3978, S2CID 192076406, ...earning somewhere between $18 and $22 million, depending on the figures consulted
  98. Robertson, Patrick (1991). Guinness Book of Movie Facts and Feats (4 ed.). Abbeville Publishing Group. p. 30. ISBN 978-1-55859-236-0. The top grossing silent film was King Vidor's The Big Parade (US 25), with worldwide rentals of $22 million.
  99. Hall & Neale 2010, pp. 58–59. "Even then, at a time when the budget for a feature averaged at around $300,000, no more than $382,000 was spent on production...According to the Eddie Mannix Ledger at MGM, it grossed $4,990,000 domestically and $1,141,000 abroad."
  100. "Ben-Hur (1925) – Notes". Turner Classic Movies. สืบค้นเมื่อ December 19, 2017.
  101. Hall & Neale 2010, p. 163. "MGM's silent Ben-Hur, which opened at the end of 1925, had out-grossed all the other pictures released by the company in 1926 combined. With worldwide rentals of $9,386,000 on first release it was, with the sole possible exception of The Birth of a Nation, the highest-earning film of the entire silent era. (At a negative cost of $3,967,000, it was also the most expensive.)"
  102. Miller, Frank. "For Heaven's Sake (1926) – Articles". Turner Classic Movies. สืบค้นเมื่อ January 15, 2012.
  103. Finler 2003, p. 188. "At a cost of $2 million Wings was the studio's most expensive movie of the decade, and though it did well it was not good enough to earn a profit."
  104. 104.0 104.1 The Jazz Singer and The Singing Fool
    • Block, Hayley Taylor (2010), The Jazz Singer, p. 113, The film brought in $2.6 million in worldwide rentals and made a net profit of $1,196,750. Jolson's follow-up Warner Bros. film, The Singing Fool (1928), brought in over two times as much, with $5.9 in worldwide rentals and a profit of $3,649,000, making them two of the most profitable films in the 1920s. In: Block & Wilson 2010.
  105. Crafton, Donald (1999). The Talkies: American Cinema's Transition to Sound, 1926–1931. University of California Press. pp. 549–552. ISBN 978-0-520-22128-4. The Singing Fool: Negative Cost ($1000s): 388
  106. Birchard, Robert S. (2010), The Broadway Melody, p. 121, It earned $4.4 million in worldwide rentals and was the first movie to spawn sequels (there were several until 1940). In: Block & Wilson 2010.
  107. Bradley, Edwin M. (2004) [1st. pub. 1996]. The First Hollywood Musicals: A Critical Filmography of 171 Features, 1927 Through 1932. McFarland & Company. ISBN 978-0-7864-2029-2.
    • The Singing Fool: p. 12. "Ego aside, Jolson was at the top of his powers in The Singing Fool. The $150,000 Warner Bros. paid him to make it, and the $388,000 it took to produce the film, were drops in the hat next to the film's world gross of $5.9 million. Its $3.8-million gross in this country set a box-office record that would not be surpassed until Walt Disney's Snow White and the Seven Dwarfs (1937)."
    • The Broadway Melody: p. 24. "The Broadway Melody with a negative cost of $379,000, grossed $2.8 million in the United States, $4.8 million worldwide, and made a recorded profit of $1.6 million for MGM."
    • Gold Diggers of Broadway: p. 58. "It grossed an impressive $2.5 million domestically and nearly $4 million worldwide."
  108. 108.0 108.1 108.2 Solomon, Aubrey (2002) [First published 1988]. Twentieth Century-Fox: a corporate and financial history. Filmmakers series. Vol. 20. Rowman & Littlefield. ISBN 978-0-8108-4244-1.
    • Sunny Side Up: p. 10. "Sunny Side Up, a musical starring Janet Gaynor and Charles Farrell, showed domestic rentals of $3.5 million, a record for the company."
    • Forever Amber: p. 66. "On the surface, with world rentals of $8 million, Forever Amber was considered a hit at distribution level."
    • The French Connection
    p. 167. "The Planet of the Apes motion pictures were all moneymakers and Zanuck's record would have immediately improved had he stayed through the release of The French Connection, which took in rentals of approximately $75 million worldwide."
    p. 256. "$3,300,00".
  109. Block & Wilson 2010, p. 46. "Production Cost: $0.6 (Unadjusted $s in Millions of $s)."
  110. Cormack, Mike (1993). Ideology and Cinematography in Hollywood, 1930–1939. Palgrave Macmillan. p. 28. ISBN 978-0-312-10067-4. Although costing $1250000—a huge sum for any studio in 1929—the film was a financial success. Karl Thiede gives the domestic box-office at $1500000, and the same figure for the foreign gross.
  111. 111.0 111.1 Balio, Tino (1996). Grand Design: Hollywood as a Modern Business Enterprise, 1930–1939. Vol. Volume 5 of History of the American Cinema. University of California Press. ISBN 978-0-520-20334-1. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)
    • Cavalcade: p. 182. "Produced by Winfield Sheehan at a cost of $1.25 million, Cavalcade won Academy Awards for best picture, director, art direction and grossed close to $4 million during its first release, much of which came from Great Britain and the Empire."
    • Whoopee: p. 212. "Produced by Sam Goldwyn at a cost of $1 million, the picture was an adaptation of a smash musical comedy built around Eddie Cantor...A personality-centered musical, Whoopee! made little attempt to integrate the comedy routines, songs, and story. Nonetheless, Cantor's feature-film debut grossed over $2.6 million worldwide and started a popular series that included Palmy Days (1931), The Kid from Spain (1932), and Roman Scandals (1933)."
  112. Hell's Angels
    • Balio, Tino (1976). United Artists: The Company Built by the Stars. University of Wisconsin Press. p. 110. Hughes did not have the "Midas touch" the trade press so often attributed to him. Variety, for example, reported that Hell's Angels cost $3.2 million to make, and by July, 1931, eight months after its release, the production cost had nearly been paid off. Keats claimed the picture cost $4 million to make and that it earned twice that much within twenty years. The production cost estimate is probably correct. Hughes worked on the picture for over two years, shooting it first as a silent and then as a talkie. Lewis Milestone said that in between Hughes experimented with shooting it in color as well. But Variety's earnings report must be the fabrication of a delirious publicity agent, and Keats' the working of a myth maker. During the seven years it was in United Artists distribution, Hell's Angels grossed $1.6 million in the domestic market, of which Hughes' share was $1.2 million. Whatever the foreign gross was, it seems unlikely that it was great enough to earn a profit for the picture.
  113. Feaster, Felicia. "Frankenstein (1931)". Turner Classic Movies. สืบค้นเมื่อ July 4, 2011.
  114. Block & Wilson 2010, p. 163. "It drew $1.4 million in worldwide rentals in its first run versus $1.2 million for Dracula, which had opened in February 1931."
  115. Vance, Jeffrey (2003). Chaplin: genius of the cinema. Abrams Books. p. 208. Chaplin's negative cost for City Lights was $1,607,351. The film eventually earned him a worldwide profit of $5 million ($2 million domestically and $3 million in foreign distribution), an enormous sum of money for the time.
  116. Ramsaye, Terry, บ.ก. (1937). "The All-Time Best Sellers – Motion Pictures". International Motion Picture Almanac 1937–38: 942–943. Kid from Spain: $2,621,000 (data supplied by Eddie Cantor)
  117. 117.0 117.1 117.2 117.3 Sedgwick, John (2000). Popular Filmgoing In 1930s Britain: A Choice of Pleasures. University of Exeter Press. pp. 146–148. ISBN 978-0-85989-660-3. Sources: Eddie Mannix Ledger, made available to the author by Mark Glancy...
    • Grand Hotel: Production Cost $000s: 700; Distribution Cost $000s: 947; U.S. box-office $000s: 1,235; Foreign box-office $000s: 1,359; Total box-office $000s: 2,594; Profit $000s: 947.
    • The Merry Widow: Production Cost $000s: 1,605; Distribution Cost $000s: 1,116; U.S. box-office $000s: 861; Foreign box-office $000s: 1,747; Total box-office $000s: 2,608; Profit $000s: -113.
    • Viva Villa: Production Cost $000s: 1,022; Distribution Cost $000s: 766; U.S. box-office $000s: 941; Foreign box-office $000s: 934; Total box-office $000s: 1,875; Profit $000s: 87.
    • Mutiny on the Bounty: Production Cost $000s: 1,905; Distribution Cost $000s: 1,646; U.S. box-office $000s: 2,250; Foreign box-office $000s: 2,210; Total box-office $000s: 4,460; Profit $000s: 909.
    • San Francisco: Production Cost $000s: 1,300; Distribution Cost $000s: 1,736; U.S. box-office $000s: 2,868; Foreign box-office $000s: 2,405; Total box-office $000s: 5,273; Profit $000s: 2,237.
  118. Shanghai Express
    • Block & Wilson 2010, p. 165. "Shanghai Express was Dietrich's biggest hit in America, bringing in $1.5 million in worldwide rentals."
  119. King Kong