ต้มยำกุ้ง
![]() | |
มื้อ | อาหารจานหลัก |
---|---|
แหล่งกำเนิด | ไทย (ภาคกลาง)[1][2] |
ภูมิภาค | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
อุณหภูมิเสิร์ฟ | ร้อน |
ส่วนผสมหลัก | ข่า, ตะไคร้, ใบมะกรูด, พริก, มะนาว, น้ำปลา, กุ้ง |
ต้มยำกุ้ง เป็นอาหารไทยภาคกลางประเภทต้มยำ ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานไปทุกภาคในประเทศไทย เป็นอาหารที่รับประทานกับข้าวและ มีรสเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลักผสมเค็มและหวานเล็กน้อย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ต้มยำน้ำใส และ ต้มยำน้ำข้น
ประวัติ[แก้]
สำหรับประวัติของอาหารชนิดนี้ ไม่มีหลักฐานแน่นชัดที่บอกถึงจุดกำเนิดของอาหารชนิดนี้ แต่อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศได้เขียนถึง ต้มยำกุ้ง ไว้ว่า “เมื่อรับข้าวเจ้าจากอินเดียเข้ามาพร้อมกับการค้าทางทะเลอันดามันและศาสนาพราหมณ์-พุทธทำให้ “กับข้าว”เปลี่ยนไปเริ่มมี “น้ำแกง” เข้ามาหลากหลาย ทั้งแกงน้ำข้นใส่กะทิแบบอินเดียกับแกงน้ำได้แบบจีน“
ใน ปะทานุกรม การทำของคาวหวานอย่างฝรั่งแลสยาม (พ.ศ. 2441) มีสูตร ต้มยำกุ้งทรงเครื่อง ซึ่งดูจะแตกต่างมากจากต้มยำกุ้งในปัจจุบัน ระบุว่า "…เนื้อหมูต้มแล้วฉีกหนักสามบาท ปลาใบไม้เผาแล้วทุบฉีกสองบาท ปลาแห้งเผาแล้วฉีกสองบาท กระเทียมดองปอกเอาแต่เนื้อซอยสามบาท แตงกวาปอกเปลือกแล้วซอยสามบาท มะดันซอยสามบาท พริกชี้ฟ้าหั่นหนึ่งบาท ผักชีเด็ดหนึ่งบาท…" ส่วนวิธีทำระบุว่า "เอากุ้งสดมาต้มกับน้ำท่า ใส่น้ำปลาหนักสองบาท ต้มไปจนเนื้อกุ้งสุก…ตักเอาน้ำต้มกุ้งสามสิบแปดบาทใส่ลงในชาม แล้วเอากุ้งปอกเอาแต่เนื้อฉีกเป็นฝอยหนักสี่บาท น้ำกระเทียมดองหนึ่งบาท น้ำปลาเจ็ดบาท น้ำตาลทรายหกสลึง ใส่ลงในน้ำต้มกุ้ง แล้วเอาของที่ชั่งไว้ใส่ลงด้วย…ถ้าไม่เปรี้ยว เอาน้ำมะนาวเติมอีกก็ได้ เมื่อรศดีแล้วเอาพริกชี้ฟ้ากับผักชีโรย เปนใช้ได้"[3]
ส่วนในหนังสือ ของเสวย (พ.ศ. 2507) ตำรับอาหารจากหม่อมราชวงศ์กิตินัดดา กิติยากร มีลักษณะคล้ายคลึงกับสูตรต้มยำกุ้งที่รู้จักกันอยู่ในปัจจุบัน
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Tom Yum Gai – Suwanee's Kitchen". Chiang Rai Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-04. สืบค้นเมื่อ 18 January 2016.
- ↑ "The homemade hot sour soup that packs a punch". whitsunday coast guardian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-28. สืบค้นเมื่อ 28 September 2017.
- ↑ "อาจารย์เดชา ศิริภัทร เล่าที่มาของ "ต้มยำกุ้ง" มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ". เทคโนโลยีชาวบ้าน.