ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boyz 1412 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล ทางหลวงในประเทศไทย
| หมายเลข = 7
| ประเภท = ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
| แผนที่ = Map of Thai Motorway Route 7.png
| คำอธิบายแผนที่ =
| ความยาว-กม = 125.865
| เปิดใช้งาน = พ.ศ. 2541
| ประวัติ = สร้าง พ.ศ. 2537
| ทิศทางจุดa = ตะวันตก
| ทิศทางจุดb = ใต้
| ต้นทาง = {{ป้ายทางหลวง|E|ศรีรัช}}{{ป้ายทางหลวง|H|3344}} [[ทางพิเศษศรีรัช]] / [[ถนนศรีนครินทร์|ถ.ศรีนครินทร์]] / [[ถนนพระราม 9|ถ.พระราม 9]] ใน[[เขตสวนหลวง]] [[กรุงเทพมหานคร|กรุงเทพฯ]]
| แยกสำคัญ = {{plainlist|
* [[ไฟล์:Thai Motorway-t9.svg|20px]] [[ถนนกาญจนาภิเษก|กาญจนาภิเษก]] (ตะวันออก) ใน[[เขตสะพานสูง]]-[[เขตประเวศ]] [[กรุงเทพมหานคร|กรุงเทพฯ]]
* [[ไฟล์:Thai Motorway-t7.svg|20px]] ทางแยกไปบรรจบ[[ถนนเทพรัตน]] ใน [[อำเภอบางปะกง|อ.บางปะกง]] [[จังหวัดฉะเชิงเทรา|จ.ฉะเชิงเทรา]]
* [[ไฟล์:Thai Highway-314.svg|20px]] [[ถนนสิริโสธร|ถ.สิริโสธร]] ใน [[อำเภอบางปะกง|อ.บางปะกง]] [[จังหวัดฉะเชิงเทรา|จ.ฉะเชิงเทรา]]
* [[ไฟล์:Thai Highway-315.svg|20px]] [[ถนนศุขประยูร|ถ.ศุขประยูร]] ใน [[อำเภอเมืองชลบุรี|อ.เมือง]] [[จังหวัดชลบุรี|จ. ชลบุรี]]
* [[ไฟล์:Thai Highway-344.svg|20px]] [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344|ทล.344]] ใน [[อำเภอเมืองชลบุรี|อ.เมือง]] [[จังหวัดชลบุรี|จ. ชลบุรี]]
* [[ไฟล์:Thai Highway-361.svg|20px]] [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361|ทล.361]] ใน [[จังหวัดชลบุรี|จ. ชลบุรี]]
* [[ไฟล์:Thai Motorway-t7.svg|20px]][[ไฟล์:Thai Highway-331.svg|20px]] ทางแยกเข้า[[ท่าเรือแหลมฉบัง]] / [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331|ทล.331]] ใน [[อำเภอศรีราชา|อ.ศรีราชา]] [[จังหวัดชลบุรี|จ. ชลบุรี]]
* [[ไฟล์:Thai Highway-36.svg|20px]] [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36|ทล.36]] ใน [[อำเภอบางละมุง|อ.บางละมุง]] [[จังหวัดชลบุรี|จ. ชลบุรี]]
}}
| ปลายทาง = [[ไฟล์:Thai Highway-3.svg|20px]] [[ถนนสุขุมวิท|สุขุมวิท]] ใน[[เมืองพัทยา|พัทยา]] [[อำเภอบางละมุง|อ.บางละมุง]] [[จังหวัดชลบุรี|จ.ชลบุรี]]
| ทางหลวงเอเชีย = <br/>{{AHN-AH|19|T}} (กรุงเทพฯ–ทางแยกต่างระดับหนองขาม)<br/>และ {{AHN-AH|123|T}} (กรุงเทพฯ–ทางแยกต่างระดับพัทยา (โป่ง))
}}

'''ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร−บ้านฉาง''' เป็น[[ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในประเทศไทย|ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง]]สายแรกของประเทศไทย มีระยะทางยาว 125.865 กิโลเมตร ทางสายนี้เป็นโครงข่ายทางหลวงที่มีความสำคัญในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งกับพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล[[ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)|ภาคตะวันออก]]<ref>[http://www.intercity-motorway.com/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=9&Itemid=12 ประวัติความเป็นมาของสายทาง]</ref> แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดคับคั่งใน[[ถนนสุขุมวิท]] และ[[ถนนเทพรัตน]] และเป็นทางเชื่อมเข้าสู่ท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ คือ [[ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] ถนนสายนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของ[[ทางหลวงเอเชียสาย 19]] และ[[ทางหลวงเอเชียสาย 123]] ในปัจจุบัน ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ได้ใช้การเก็บค่าผ่านทางระบบปิด โดยจะมีการเก็บค่าผ่านทางตามจำนวนกิโลเมตรที่ผู้ใช้ทางพิเศษใช้

ปัจจุบันทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มีเส้นทางตั้งแต่[[กรุงเทพมหานคร]]ไปถึงแค่เพียง[[เมืองพัทยา]]เท่านั้น ซึ่งเส้นทางไปยัง[[อำเภอบ้านฉาง]]อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง นอกจากนี้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในปัจจุบัน ยังถูกกำหนดในเส้นทางอื่นอีก ได้แก่ ทางแยกไปบรรจบถนนเทพรัตน, ทางแยกเข้าชลบุรี, ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง และทางแยกเข้าพัทยา รวมถึงทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (บ้านอำเภอ) ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

== รายละเอียดของเส้นทาง ==
== รายละเอียดของเส้นทาง ==
[[ไฟล์:Thai Motorway Route 7.png|200px|thumbnail|left|แนวทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางแยกต่างระดับ]]
[[ไฟล์:Thai Motorway Route 7.png|200px|thumbnail|left|แนวทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางแยกต่างระดับ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:56, 22 กุมภาพันธ์ 2562

รายละเอียดของเส้นทาง

แนวทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางแยกต่างระดับ
ไฟล์:ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์.jpg
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ขาเข้ากรุงเทพมหานคร บริเวณทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ ในแขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ฝั่งมุ่งหน้าไปเมืองพัทยา บริเวณทางแยกต่างระดับชลบุรี ในตำบลหนองรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

เส้นทางหลัก

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในช่วงแรกมีชื่อเรียกว่า ถนนกรุงเทพ–ชลบุรี หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ถนนกรุงเทพ–ชลบุรีสายใหม่ เป็นถนนขนาด 8 ช่องจราจร เริ่มต้นที่ปลายทางพิเศษศรีรัช ส่วน D และถนนพระราม 9 บริเวณจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ ที่ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร มีแนวทางตัดไปทางทิศตะวันออก[1] ผ่านเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตสะพานสูงกับเขตประเวศ ผ่านเขตลาดกระบัง จากนั้นเข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ ผ่านอำเภอบางเสาธง และอำเภอบางบ่อ แล้วผ่านอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ข้ามแม่น้ำบางปะกง จากนั้นเข้าสู่จังหวัดชลบุรี ผ่านอำเภอพานทอง เข้าสู่อำเภอเมืองชลบุรี และสิ้นสุดช่วงแรกที่ทางแยกต่างระดับคีรีนคร โดยมีเส้นทางตัดแยกออกไปยังเขตเทศบาลเมืองชลบุรี

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในช่วงที่สอง ซึ่งเรียกถนนในช่วงนี้ว่า ถนนชลบุรี–พัทยา เข้าสู่อำเภอศรีราชา มีเส้นทางตัดแยกไปยังท่าเรือแหลมฉบัง ที่ทางแยกต่างระดับหนองขาม โดยตั้งแต่กรุงเทพมหานครถึงบริเวณนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 19 จากนั้นถนนมีช่องจราจรลดลงเหลือ 6 ช่อง และเข้าสู่อำเภอบางละมุง ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 ที่ทางแยกต่างระดับพัทยา (โป่ง) โดยตั้งแต่กรุงเทพมหานครถึงบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของ ทางหลวงเอเชียสาย 123 และสิ้นสุดที่ถนนสุขุมวิท ในเมืองพัทยา

นอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างทางบริการชุมชน มีลักษณะเป็นถนนคู่ขนานทั้งสองข้างของทางหลวงพิเศษในบางช่วง อยู่นอกเขตและไม่เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษ สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกับถนนอื่นที่ถูกตัดขาดออกจากกัน โดยได้รับการกำหนดเป็นทางหลวงแผ่นดิน[2] ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701 และ 3702 ซึ่งเป็นทางบริการด้านซ้ายและด้านขวาของทางหลวงพิเศษตามลำดับ

ทางเชื่อมต่อ

นอกจากสายหลัก ยังมีสายแยกที่เชื่อมต่อทางหลวงพิเศษสายหลักกับเมืองหรือเขตเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึงเชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินที่มีแนวเส้นทางขนานกับทางหลวงพิเศษสายหลัก เช่น ถนนสุขุมวิท สายแยกดังกล่าวนี้ มีเส้นทางมุ่งสู่ชายทะเล และออกแบบเป็นทางหลวงพิเศษที่มีลักษณะกึ่งควบคุมการเข้า-ออก ทางเชื่อมต่อดังกล่าวมีดังนี้

  • สายทางแยกไปบรรจบถนนเทพรัตน เริ่มต้นจากทางแยกต่างระดับบางควาย บริเวณประมาณกิโลเมตรที่ 40 ของสายหลัก ผ่านตำบลบางวัว และตำบลบางสมัคร อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และสิ้นสุดที่ถนนเทพรัตน ที่ทางแยกต่างระดับบางวัว
  • สายทางแยกเข้าชลบุรี เริ่มต้นจากทางแยกต่างระดับคีรีนคร บริเวณประมาณกิโลเมตรที่ 79 ของถนนสายหลัก มีเส้นทางอยู่ในตำบลหนองข้างคอก อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี และสิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 (ทางเลี่ยงเมืองชลบุรี) ที่ทางแยกต่างระดับหนองข้างคอก
  • สายทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง เริ่มต้นจากทางแยกต่างระดับหนองขาม ผ่านตำบลหนองขาม ตำบลสุรศักดิ์ ตัดกับถนนสุขุมวิท และสิ้นสุดที่ท่าเรือแหลมฉบัง ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ประวัติ

การก่อสร้างในช่วงแรก

ไฟล์:Motorway chonburi.jpg
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงกรุงเทพฯ–ชลบุรี สมัยเป็นถนน 4 ช่องจราจร บริเวณทางแยกต่างระดับคีรีนคร

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ออกแบบและก่อสร้างเป็นทางหลวงพิเศษไม่มีทางเชื่อมควบคุมการเข้า-ออก เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2537 ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดการจราจรตลอดสายเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2541[3] ก่อสร้างเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ต่อมา ได้มีการรวมแนวเส้นทางเก่าของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 มาเป็นส่วนหนึ่งในช่วงชลบุรี–พัทยา[4] และก่อสร้างเพิ่มเติมจากเดิมสิ้นสุดบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 เป็นสิ้นสุดที่ถนนสุขุมวิท บริเวณพัทยากลาง เปิดการจราจรเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2553 ซึ่งเป็นการเปิดการจราจรตลอดสาย

ต่อมา กรมทางหลวงได้ขยายช่องจราจรหลักเพิ่มเติมบนถนนกรุงเทพฯ–ชลบุรี ช่วงถนนศรีนครินทร์–ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็น 8 ช่องจราจร ขยายเข้าหาศูนย์กลางบริเวณร่องน้ำ โครงการนี้มีแนวทางไปทางทิศตะวันออกมุ่งสู่ชลบุรี ลอดผ่านสะพานเข้า-ออกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และทางเข้า-ออกสถานีขนส่งสินค้าร่มเกล้าผ่านข้ามทางรถไฟของสถานีขนส่งสินค้า ซึ่งปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว

ด่านเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางถาวร

กรมทางหลวงได้มีการปรับปรุงทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงชลบุรี–พัทยาให้เป็นทางหลวงพิเศษควบคุมการเข้าออกเต็มรูปแบบ[5][6] ในช่วงสะพานข้ามทางรถไฟ–ทางแยกต่างระดับบางพระ หรือแยกวังตะโก มีเขตทาง 80 เมตร มีขนาด 4-8 ช่องจราจร ระยะทาง 4 กิโลเมตร จะมีการปรับปรุงเป็นทางรวมและกระจายการจราจร ปิดช่องกลับรถกลางถนน แล้วก่อสร้างจุดกลับรถในรูปแบบของทางลอด หรือสะพานกลับรถเกือกม้า มีจุดกลับรถ 1 จุด คือบริเวณสะพานข้ามทางรถไฟ

นอกจากนี้ ยังมีปรับปรุงทางแยกต่างระดับคีรีนคร จากเดิมทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงกรุงเทพฯ–ชลบุรีจะมาสิ้นสุดที่แยกนี้ จะเปลี่ยนแนวทางของสะพาน ให้สายทางแยกเข้าชลบุรีมาสิ้นสุดที่แยกนี้ และให้ถนนกรุงเทพฯ–ชลบุรีมีเส้นทางตรงลงพัทยาได้โดยไม่ต้องเลี้ยวซ้าย ซึ่งปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว รวมทั้งก่อสร้างด่านเก็บค่าผ่านทาง 1 จุด ได้แก่ ด่านบางพระ บริเวณทางแยกต่างระดับบางพระ

ช่วงทางแยกต่างระดับบางพระหรือแยกวังตะโก ถึงทางแยกต่างระดับหนองขาม มีเขตทาง 80 เมตร มีขนาด 8 ช่องจราจร และทางบริการ 2 ช่องจราจร ในบางส่วน ระยะทาง 21 กิโลเมตร และช่วงทางแยกต่างระดับหนองขามทางแยกต่างระดับพัทยา (โป่ง) มีเขตทาง 80 เมตร มีขนาด 6 ช่องจราจร และทางบริการ 2 ช่องจราจร ในบางส่วน ระยะทาง 17 กิโลเมตร จะมีการปรับปรุงให้เป็นทางหลวงพิเศษที่ควบคุมการเข้า-ออก ก่อสร้างด่านเก็บค่าผ่านทาง 2 จุด ได้แก่ ด่านหนองขาม และด่านพัทยา ในช่วงที่ 1 จะมีจุดกลับรถ 5 จุด และในช่วงที่ 2 จะมีจุดกลับรถ 9 จุด เป็นแบบทางลอดทั้งหมด มีรั้วกั้นระหว่างทางหลักกับทางบริการ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ป้ายจราจร ไฟฟ้าส่องสว่าง มีสถานที่บริการทางหลวง 1 จุด บริเวณเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี กิโลเมตรที่ 98-99 และปรับปรุงทางแยกต่างระดับหนองขามให้มีทางเลี้ยวเพิ่มเติม[7]

ในช่วงทางแยกต่างระดับหนองขาม–ทางแยกต่างระดับแหลมฉบัง มีเขตทาง 80 เมตร มีขนาด 4 ช่องจราจร และทางบริการ 2 ช่องจราจร ระยะทาง 8 กิโลเมตร โดยจะปรับปรุงให้เป็นทางรวมและกระจายการจราจรในลักษณะกึ่งควบคุม เพื่อแยกรถบรรทุกสินค้า และรถในท้องถิ่นออกจากกัน รวมทั้งจะกำหนดจุดเข้า-ออกทางสายหลักในตำแหน่งที่เหมาะสมอีกด้วย[8][9]

ช่วงจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณจุดบรรจบทางหลวงหมายเลข 3–ทางแยกต่างระดับพัทยา มีเขตทาง 70-170 เมตร มีขนาด 6 ช่องจราจร และทางบริการ 2 ช่องจราจร เฉพาะเชื่อมต่อการเดินทางท้องถิ่น ระยะทาง 8 กิโลเมตร มีจุดกลับรถ 1 จุด จะมีการก่อสร้างสะพานข้าม และทางลอดทางหลวงในบริเวณจุดตัดถนนเดิมสำหรับการสัญจรในท้องถิ่น เพื่อเน้นการให้บริการประชาชนในท้องถิ่น และก่อสร้างด่านเก็บค่าผ่านทาง 1 จุด ได้แก่ ด่านพัทยา บริเวณถัดจากทางแยกต่างระดับมาบประชันที่จะมีแผนก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายพัทยา–มาบตาพุดอีกด้วย

โครงการที่กำลังก่อสร้าง

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงพัทยา–มาบตาพุด

โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ–บ้านฉาง ช่วงพัทยา –มาบตาพุด[10] เริ่มต้นจากถนนชลบุรี–พัทยา บริเวณกิโลเมตรที่ 124 เป็นแนวตรงจากทางแยกต่างระดับพัทยาไปยังนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และเทศบาลเมืองมาบตาพุด โดยมีเขตทาง 70 เมตร มีขนาด 4 ช่องจราจร ในช่วงที่มีการสร้างทางบริการจะมีเขตทาง 110 เมตร มีขนาด 4 ช่องจราจร และทางบริการ 2 ช่องจราจร ระยะทาง 32 กิโลเมตร และถนนรวมและกระจายการจราจร สายห้วยใหญ่–บ้านอำเภอจะมีเขตทาง 50 เมตร มีขนาด 4 ช่องจราจร ระยะทาง 7.856 กิโลเมตร

ทางแยกต่างระดับของโครงการมีทั้งหมด 4 จุด ได้แก่ ทางแยกต่างระดับมาบประชัน บริเวณจุดเริ่มต้น ทางแยกต่างระดับห้วยใหญ่ บริเวณแยกของถนนสายห้วยใหญ่–บ้านอำเภอ ทางแยกต่างระดับเขาชีโอน บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 และทางแยกต่างระดับอู่ตะเภา บริเวณจุดสิ้นสุด มีสถานที่บริการทางหลวง 1 จุด บริเวณตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ตลอดเส้นทางมีด่านเก็บค่าผ่านทาง 4 จุด ได้แก่ ด่านมาบประชัน, ด่านห้วยใหญ่, ด่านเขาชีโอน และด่านมาบตาพุด ตั้งอยู่บริเวณทางแยกต่างระดับทุกจุดของโครงการ มีด่านชั่งน้ำหนักสำหรับรถบรรทุก 3 จุด สำหรับการเชื่อมต่อชุมชนสองข้างทางจะออกแบบเป็นทางลอด ทางข้าม และสะพานข้ามถนนท้องถิ่นเช่นเดียวกับช่วงกรุงเทพฯ–ชลบุรี และชลบุรี–พัทยา

ทางแยกที่สำคัญ

รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ทิศทาง: กรุงเทพมหานคร−พัทยา
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
กรุงเทพมหานคร−ชลบุรี
กรุงเทพมหานคร 0.000 ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ (หัวหมาก) เชื่อมต่อจาก: ทางพิเศษศรีรัชและถนนพระราม 9
ถนนศรีนครินทร์ ไป บางกะปิ ถนนศรีนครินทร์ ไป พัฒนาการ
6.000 ทางแยกต่างระดับทับช้าง ถนนกาญจนาภิเษก ไป บางปะอิน ถนนกาญจนาภิเษก ไป บางนา
11.000 ทางแยกต่างระดับร่มเกล้า ถนนร่มเกล้า ไป มีนบุรี ถนนร่มเกล้า ไป ลาดกระบัง, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
12.500 ไม่มี ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
20.500 ทางแยกต่างระดับลาดกระบัง ถนนลาดกระบัง ไป ฉะเชิงเทรา ถนนลาดกระบัง ไป ลาดกระบัง
ฉะเชิงเทรา 40.000 ทางแยกต่างระดับบางควาย ไม่มี ทล.พ.7 ไป บางวัว, บางบ่อ, บรรจบถนนเทพรัตน
46.500 ทางแยกต่างระดับบางปะกง ถนนสิริโสธร ไป ฉะเชิงเทรา ถนนสิริโสธร ไป บางปะกง, บรรจบถนนเทพรัตน
สะพาน ข้ามแม่น้ำบางปะกง
ชลบุรี 65.000 ทางแยกต่างระดับพานทอง ถนนศุขประยูร ไป อ.พนัสนิคม ถนนศุขประยูร ไป เข้าเมืองชลบุรี
72.500 ทางแยกต่างระดับชลบุรี ทล.344 ไป อ.บ้านบึง, อ.แกลง ทล.344 ไป เข้าเมืองชลบุรี
78.500 ทางแยกต่างระดับคีรีนคร ไม่มี ถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี ไป เข้าเมืองชลบุรี, บรรจบถนนสุขุมวิท
ชลบุรี−พัทยา
ชลบุรี 86.000 ทางแยกเข้าน้ำตกชันตาเถร ทล.3576 ไป น้ำตกชันตาเถร ทล.3576 ไป เทศบาลเมืองแสนสุข บางพระ
89.375 ทางแยกเขาเขียว ชบ.4036 ทางหลวงชนบท ชบ.4036 ไป สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ทล.3144 ไป เทศบาลเมืองแสนสุข, บางพระ
95.700 ทางแยกสวนเสือศรีราชา ทล.3241 ไป สวนเสือศรีราชา ทล.3241 ไป อ.ศรีราชา
99.500 ทางแยกต่างระดับหนองขาม ทล.331 ไป บ.มาบเอียง, อ.พนมสารคาม ทล.พ.7 ไป อ.ศรีราชา, ท่าเรือแหลมฉบัง
116.500 ทางแยกต่างระดับพัทยา (โป่ง) ทล.36 ไป อ.แกลง, ระยอง ทล.36 ไป อ.บางละมุง
119.000 ทางแยกต่างระดับมาบประชัน ทล.พ.7 ไป มาบตาพุด, ระยอง ไม่มี
125.865 ทางแยกต่างระดับสุขุมวิท-พัทยา (แยกมอเตอร์เวย์) ถนนสุขุมวิท ไป พัทยากลาง, พัทยาใต้, อ.สัตหีบ ถนนสุขุมวิท ไป พัทยาเหนือ, อ.บางละมุง
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

อ้างอิง

  1. แผนที่สายทาง กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง
  2. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปลี่ยนประเภทและกำหนดให้ทางบริการในเขตทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร−บ้านฉาง และในเขตทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร เป็นทางหลวงแผ่นดิน
  3. ข้อมูลสาระน่ารู้ วารสารทางหลวง ปีที่ 42 ฉบับที่ 1
  4. ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองชลบุรี–พัทยา
  5. โครงการก่อสร้างด่านเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางถาวรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงชลบุรี–พัทยา
  6. กรมทางหลวง เตรียมจัดเก็บค่าผ่านทาง ถนนหลวงหมายเลข 7 สายชลบุรี-พัทยา
  7. โครงการก่อสร้างปรับปรุงทางแยกต่างระดับหนองขาม (แหลมฉบัง)
  8. โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สาย กรุงเทพมหานคร - บ้านฉาง ตอนแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง ระหว่าง กม.6+250+000 - กม.8+500.000 (ตอน 3)
  9. สรุปรูปแบบการปรับปรุงทางหลวงพิเศษหมายเลข 7
  10. เปิดแนวใหม่มอเตอร์เวย์"พัทยา-มาบตาพุด"เวนคืน2พันไร่ทุ่ม1.6หมื่นล.เสริมโลจิสติกส์"ชลบุรี-ระยอง" ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

แหล่งข้อมูลอื่น