ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา | |
---|---|
ชื่อเกิด | ภิญโญ เสนีย์วงศ์ |
เกิด | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2494 อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ประเทศไทย |
คู่ครอง | สรพงศ์ ชาตรี (เลิกรา) |
บุตร | พิมพ์อัปสร เทียมเศวต |
อาชีพ |
|
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2515–ปัจจุบัน |
ผลงานเด่น | ช่อเอื้อง – แม่อายสะอื้น (2515) อรอนงค์ - ประสาท (2518) ชวาลัย -อีสาวอันตราย (2519) ดำ -ข้าวนอกนา (2523) ปั้น – ทองเนื้อเก้า (2556) ซิ่วเอ็ง – เลือดมังกร ตอน สิงห์ (2558) ละออง – เหมือนคนละฟากฟ้า (2560) นมน้อย – แม่อายสะอื้น (2561) เฟิน – มาตาลดา (2566) |
รางวัล | |
พระสุรัสวดี | นักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม – ประสาท (2519) |
นาฏราช | นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม – มาตาลดา (2566) |
ภิญโญ เสนีวงศ์ หรือ ยศวดี เสนีวงศ์ เป็นที่รู้จักในชื่อ ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา หรือ ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ (เกิด 10 ตุลาคม พ.ศ. 2494) ชื่อเล่น โย เป็นนักแสดง ผู้จัดละคร และ แอ็คติ้งโค้ช เข้าสู่วงการบันเทิงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2515 จากหนังใหญ่เรื่องแรก แม่อายสะอื้น รับบท ช่อเอื้อง[1] ได้รับฉายาว่านางเอก ลูกเป็ดขี้เหร่ คนแรกของวงการบันเทิงไทย เคยจัดละครให้กับช่อง 3 ร่วมกับ อรสา พรหมประทาน ในนามบริษัททีวาย โปรดักชั่น
ประวัติ
[แก้]ทัศน์วรรณ เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2494[ต้องการอ้างอิง] (ตามบัตรประชาชนเกิดเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2494) เพราะแจ้งเกิดช้าจึงสับสนวันเกิดทัศน์วรรณพบสมุดบันทึกของพ่อจึงรู้ว่าวันเกิดที่แท้จริงคือ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2494 มารดาชื่อประยงค์ ชุ่มฤทธิ์[ต้องการอ้างอิง] ในครอบครัวที่มีพี่น้องแปดคนในอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เมื่อทัศน์วรรณเข้าสู่วัยสาว ชุติมา สุวรรณรัตน์ ผู้กำกับและผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ซึ่งเป็นสามีของชุดา สุวรรณรัตน์ พี่สาวของเธอ ชักชวนให้ทัศน์วรรณเข้าสู่วงการภาพยนตร์[2] เธอมีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่อง แม่อายสะอื้น (2515) จนกลายเป็นนักแสดงดาวรุ่ง หลังจากนั้นทัศน์วรรณมีผลงานการแสดงภาพยนตร์ที่มีชุติมาเป็นผู้กำกับเรื่อยมา เช่น ทับนางรอ (2516) นี่หรือชีวิต (2516) วังน้ำค้าง (2517) วิมานดารา (2517) และ สตรีที่โลกลืม (2518) เป็นต้น จนได้รับฉายาว่า "นางเอกเจ้าน้ำตา"[2] หลังจากนั้นเธอมีโอกาสได้ร่วมงานกับเปี๊ยก โปสเตอร์ ซึ่งเป็นผู้กำกับที่มีชื่อเสียงอีกคน ในภาพยนตร์เรื่อง ประสาท (2518) ซึ่งรับบทบาทเป็นผู้หญิงกลางคืน อันส่งผลให้เธอรับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขานักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยมมาครอง[2]
จากความสำเร็จด้านการแสดง เธอได้ร่วมงานแสดงภาพยนตร์กับผู้กำกับอีกหลายคน เช่น วิจิตร คุณาวุฒิ เชิด ทรงศรี และชนะ คราประยูร มีผลงานภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง เช่น ป่ากามเทพ (2519) พ่อไก่แจ้ (2519) อีสาวอันตราย (2519) รถไฟ เรือเมล์ ยี่เก ตำรวจ (2520) 15 หยก ๆ 16 ไม่หย่อน (2521) และ เจ้าสาวคืนเดียว (2521) หลังจากนั้นทัศน์วรรณเริ่มหันเหสู่วงการละครโทรทัศน์เรื่อยมา และรับงานแสดงภาพยนตร์น้อยลง[2]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ทัศน์วรรณเคยคบหากับสรพงศ์ ชาตรี ศิลปินแห่งชาติและเป็นพระนางแสดงภาพยนตร์คู่กันอยู่หลายเรื่อง โดยทั้งคู่สมรสกันส่วนตัวที่บ้านของ กรุง ศรีวิไล มีบุตรสาวคนหนึ่ง คือ พิมพ์อัปสร เทียมเศวต แต่หลังจากนั้นทัศน์วรรณได้เลิกรากับสรพงศ์ และดำเนินชีวิตเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว[3]
ผลงาน
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]- แม่อายสะอื้น (2515)
- ทับนางรอ (2516)
- นี่หรือชีวิต (2516)
- วังน้ำค้าง (2517) รับบท รัตติกาล
- วิมานดารา (2517) รับบท ชบา
- สตรีที่โลกลืม (2518)
- รักด้วยน้ำตา (2518)
- ทางโค้ง (2518)
- ถนนนี้ชั่ว (2518)
- ประสาท (2518) รับบท อรอนงค์
- ป่ากามเทพ (2519) รับบท เคลีย
- คมกุหลาบ (2519)
- เสาร์ ๕ (2519)
- หมัดไทย (2519)
- พ่อไก่แจ้ (2519) รับบท มัทนี
- วีรบุรุษจอมโหด (2519)
- 8 เหลี่ยม 12 คม (2519)
- แม่ดอกรักเร่ (2519)
- วีรบุรุษกองขยะ (2519)
- ชุมเสือ (2519)
- คมเฉือนคม (2519)
- สาวแก่ (2519) รับบท ยอดนาง
- อีสาวอันตราย (2519)
- รถไฟ เรือเมล์ ยี่เก ตำรวจ (2520)
- นักเลงพลาญชัย (2520)
- ลืมตัว (2520)
- เพลิงทะเล (2520)
- เพื่อนรัก (2520)
- รุกฆาต (2520)
- ตามฆ่า 2 หมื่นไมล์ (2520)
- ล่าเพชฌฆาต (2520)
- ผู้ยิ่งใหญ่ชายแดน (2520)
- หนักแผ่นดิน (2520)
- ทางชีวิต (2520)
- ถล่มมาเฟีย (2520) รับบท ปัทมา
- เหยียบหัวสิงห์ (2520)
- ขยี้มือปืน (2520)
- คู่ทรหด (2520)
- ห้าแฉก (2520)
- เอ็ม 16 (2521)
- 15 หยกๆ 16 ไม่หย่อน (2521)
- ถล่มดงนักเลง (2521)
- หมัดปืนไว (2521)
- กาม (2521)
- มือปืนนักบุญ (2521)
- วัยแตกเปลี่ยว (2521)
- สายัณห์พิศวาส (2521)
- ขุนกระทิง (2521)
- เจ้าสาวคืนเดียว (2521)
- รักระเบิด (2521)
- มือปืนเลือดเดือด (2521)
- ดวงเพชฌฆาต (2521)
- หมอตีนเปล่า (2521)
- นักล่าผาทอง (2521)
- ถล่มจอมอิทธิพล (2522)
- ตลุมบอน (2522)
- จากครูด้วยดวงใจ (2523)
- พ่อปลาไหล (2524) รับเชิญ
- วัลลี (2528) รับบท ครูยุพิน
- สามเณรใจสิงห์ (2528)
- ลูกรักของแม่ (2529)
- พระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออก (2530)
- เพราะฉะนั้น นั่นน่ะซี (2535)
- อำแดงเหมือนกับนายริด (2537)
- เสียดาย (2537)
- ขอเก็บหัวใจเธอไว้คนเดียว (2538)
- กู๊ดบายซัมเมอร์ เอ้อเหอเทอมเดียว (2539)
- เป็นชู้กับผี (2549) รับบท สมจิตต์
- ความรัก ศรัทธา ปาฏิหาริย์ (2554)
- ความรัก ศรัทธา ปาฏิหาริย์ ซีซั่น 2 (2555)
ละครโทรทัศน์
[แก้]ซิทคอม
[แก้]- 3 หนุ่ม 3 มุม ปี 1 ตอน มุกก็มีหัวใจ
- ระเบิดเถิดเทิง (นักแสดงรับเชิญ)
- บางรักซอย 9 (นักแสดงรับเชิญ) รับบท คุณหญิงจันทร์ (พี่สาวน้าเยาว์)
- เป็นต่อ (นักแสดงรับเชิญ) รับบท แม่ของกอล์ฟ
- ลูกพี่ลูกน้อง (นักแสดงรับเชิญ) รับบท คุณยาย
- บ้านนี้มีรัก (นักแสดงรับเชิญ) รับบท ป้าสา (เพื่อนเก่าของแม่น้อย)
- ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) (นักแสดงรับเชิญ) รับบท คุณย่า (คุณย่าของตุ่น)
- บางรักซอย 9/1 รับบท คุณหญิงจันทร์ (พี่สาวน้าเยาว์) คู่กับ สมเจต พยัฆโส
ละครฟื้นฟูศีลธรรมโลก
[แก้]- 2551 เรื่อง แสงแห่งศรัทธา
- 2552 เรื่อง 24
- 2557 เรื่อง ก่อนเปิดเทอม
รางวัล
[แก้]- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) สาขานักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง ประสาท
- เข้าชิงรางวัลผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากละคร ทองเนื้อเก้า จากงาน คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 11
- รางวัลกินรีทอง มหาชน ครั้งที่ 8 นักแสดงส่งเสริมสร้างสรรค์ดีเด่น จากละครเรื่อง อุ้มรักปาฎิหาริย์ (2566)
- รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 15 สาขา นักแสดงสบทบหญิงยอดเยี่ยม จากละคร มาตาลดา (2566)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา Fan Forum!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-10-28.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา". หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อาโย ทัศน์วรรณ เล่าเรื่องรักแรกและรักสุดท้าย พร้อมเผยเหตุเลิก สรพงษ์ ชาตรี". ไทยรัฐออนไลน์. 25 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ราชสกุลเสนีวงศ์
- บุคคลจากอำเภอแก่งคอย
- นักแสดงชาวไทย
- นักแสดงหญิงชาวไทย
- นักแสดงภาพยนตร์หญิงชาวไทย
- นักแสดงละครโทรทัศน์หญิงชาวไทย
- นักแสดงหญิงชาวไทยในศตวรรษที่ 20
- นักแสดงหญิงชาวไทยในศตวรรษที่ 21
- ศิลปินที่เป็นแนวร่วมกปปส.
- ผู้ชนะรางวัลนักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยมพระสุรัสวดี