แม่อายสะอื้น
แม่อายสะอื้น | |
---|---|
ประเภท | ละครโทรทัศน์ |
สร้างโดย | พ.ศ. 2547 :เป่า จิน จง พ.ศ. 2561 :มีเดียสตูดิโอ |
เขียนโดย | บทประพันธ์ :ชุติมา สุวรรณรัต บทโทรทัศน์ :สาวิตา |
กำกับโดย | พ.ศ. 2547:นพพล โกมารชุน พ.ศ. 2561:ปัญญา ชุ่มฤทธิ์ |
แสดงนำ | อรรคพันธ์ นะมาตร์ ฝนทิพย์ วัชรตระกูล |
ผู้ประพันธ์เพลงธีม | พ.ศ. 2561 เพลง เสียงสะอื้นในใจ ภาษาเหนือ - แก้วกาญจน์ ชื่นเป็นนิจ เพลง ความรักไม่เคยไปไหน - ชลาทิศ ตันติวุฒิ |
ธีมเปิด | พ.ศ. 2547 เสียงสะอื้น - รพีพร ประทุมอานนท์ |
ธีมปิด | พ.ศ. 2547 คนที่รักเธอ - เดชา สุวรรณสุโข เพราะรัก - ณัชชา ติยะวรบุญ |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
จำนวนตอน | พ.ศ. 2547 : 15 ตอน พ.ศ. 2561: 16 ตอน |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | พ.ศ. 2547 ช่อง 7 พ.ศ. 2561 ช่อง 7 |
สถานที่ถ่ายทำ | ไทย |
ความยาวตอน | พ.ศ. 2547 : 120 นาที พ.ศ. 2561 : 130 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2561) |
ออกอากาศครั้งแรก | 14 มกราคม พ.ศ. 2547 3 มีนาคม พ.ศ. 2547 |
ออกอากาศ | 22 มกราคม พ.ศ. 2561-13 มีนาคม พ.ศ. 2561 |
แม่อายสะอื้น เป็นละครโทรทัศน์ไทยที่ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 และครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2561 บทประพันธ์ของอนัญจนา (ชุติมา สุวรรณรัตน์) ครั้งแรกสร้างโดยค่าย เป่า จิน จง และครั้งที่สองสร้างโดยค่าย มีเดียสตูดิโอ โดยจะออกอากาศตอนแรกวันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561 ต่อจากละครหงส์เหนือมังกร
โดยก่อนหน้านี้เคยเป็นภาพยนตร์จอเงินขนาด 35 มิลลิเมตร ออกฉายในปี พ.ศ. 2515 และกลับมาฉายอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2523 นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, เนาวรัตน์ วัชรา, ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์, กำธร สุวรรณปิยะศิริ, สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์, นงลักษณ์ โรจนพรรณ, เมตตา รุ่งรัตน์, นฤพนธ์ ดุริยพันธ์, จำรูญ หนวดจิ๋ม, มาลี เวชประเสริฐ[1]
เรื่องย่อ[แก้]
เรื่องราวของดาวนิล หญิงสาวที่สวยที่สุดของหมู่บ้านหนึ่งในอำเภอแม่อาย ที่มีฝีมือในการรำดาบเป็นอย่างมาก เธอเป็นลูกสาวของคำปัน ครูสอนศิลปะการแสดงล้านนา ที่เลี้ยงชีพด้วยการแสดงของคณะละคร จนกระทั่ง ถูกหนานเมืองเจ้าของคณะละครคู่แข่งกลั่นแกล้งทุกวิถีทาง ทำให้คณะละครของคำปันย่ำแย่ จนในท้ายที่สุด ดาวนิลจึงต้องตัดสินใจเดินทางมาหาเงินในกรุงเทพฯ แต่แท้ที่จริงแล้วเธอโดนหลอกให้ไปขายตัว แทนที่จะเป็นงานแสดงศิลปะล้านนาที่เธอถนัด
เหตุการณ์ผ่านไป เธอกลายเป็นดาราที่มือชื่อเสียงขึ้นมา แต่เธอต้องแลกด้วยการลืมอดีตของเธอ นั่นหมายถึง พ่อ น้อง และลูกของเธอไว้ที่แม่อาย และนี่เอง ที่กลายเป็นปมที่กดดันเธอ ให้ทำสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด [2]
นักแสดง[แก้]
ปี | พ.ศ. 2515 | พ.ศ. 2547 | พ.ศ. 2561 |
---|---|---|---|
ทรงพล ทรงอักษร | สมบัติ เมทะนี | วีรภาพ สุภาพไพบูลย์ | อรรคพันธ์ นะมาตร์ |
หนุ่มนักธุรกิจวัย 27 ปี ลูกชายคนกลางของตระกูลที่ร่ำรวย เป็นนักธุรกิจที่เก่งบุคลิกดี และฉลาด คบหากับจิดาภาสาวไฮโซแต่มีเหตุให้ต้องเลิกรากัน ได้ดาวนิลมาช่วยดูแลหัวใจหวังจะคู่ชีวิตแต่พอรู้ความจริงเกี่ยวกับคนรักก็รับไม่ได้ | |||
ดาวนิล ปวงคำ / ดาวนิล ศรีเมือง (2515) ดาวนิล ประดับเดือนเด่น (2547) ดาวนิล ภัทรเดชาไชย (2561) |
เนาวรัตน์ วัชรา | วรนุช ภิรมย์ภักดี | ฝนทิพย์ วัชรตระกูล |
สาวสวยวัย 21 ปี ลูกสาวคนโตของคำปัน พ่อครูศิลปินพื้นบ้าน เพียบพร้อมในความสามารถฟ้อนดาบโชว์จนเป็นที่เลื่องลือ ดาวนิลสวยอ่อนหวานแต่แฝงความเข้มแข็งและอดทนฉายชัด ยอมเสียสละทุกอย่างเพื่อความสุขของพ่อและน้อง เพื่อหาเงินมาให้ครอบครัวและรักษาตาของพ่อ แต่โชคร้ายโดนหลอกมาขายตัว ต่อมาได้เป็นดาราใหญ่และได้รักกับทรงพล นักธุรกิจหนุ่มชายในฝัน ด้วยความกลัวเขาจะรู้ประวัติแล้วจะรังเกียจจึงพยายามปิดบังทุกอย่าง ในที่สุดก็ถูกจับได้ว่าประวัติเดิมของเธอเป็นอย่างไร จึงเป็นเหตุให้เธอกลับแม่อาย แต่กลับมาเจอเรื่องร้ายๆอีกเพราะพ่อเธอเสียชีวิต และเธอได้นำศิลปะรำดาบที่พ่อเธอสอน มารำโชว์ในงานศพของพ่อเธอ และปาดคอตัวเองเสียชีวิตจากไปโดยไม่มีคำร่ำลา | |||
ช่อเอื้อง ปวงคำ | ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ | สุฐิตา ปัญญายงค์ | พรชดา เครือคช |
สาวน้อยวัย 17 ปี น้องสาวของดาวนิล ปากไว ซุกซนเหมือนเด็ก รักแรงเกลียดแรง ไม่ยอมคน รักพ่อกับพี่มากจนมีเรื่องกับรินคำที่มารังแกพี่สาวบ่อยๆ รักและบูชาพี่สาวจนทำใจไม่ได้เมื่อรู้ว่าโดนพี่หลอกและทอดทิ้ง พยายามทำทุกทางให้พี่สาวยอมรับความจริงเรื่องที่มาของตัวเอง | |||
หมอทรงเกียรติ (2515) หมอเทวัญ ทรงอักษร (2547/2561) | กำธร สุวรรณปิยะศิริ | พลวัฒน์ มนูประเสริฐ | พีรวัศ กุลนันท์วัฒน์ |
พี่ชายคนโตของครอบครัวอายุ 35 ปี เป็นหมอที่มีอุดมการณ์ สุขุม เงียบขรึม รักและหวังดีกับดาวนิลอย่างจริงใจมาตลอด แม้จะเป็นรักข้างเดียวก็ตาม เป็นคนที่รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับดาวนิลแต่ไม่เคยปริปากบอกใคร | |||
ครูคำปัน ปวงคำ | จำรูญ หนวดจิ๋ม | สุประวัติ ปัทมสูต | สรพงศ์ ชาตรี |
พ่อครูศิลปินพื้นบ้านวัย 65 ปี มีชีวิตอุทิศเพื่อศิลปะ พ่อของดาวนิลและช่อเอื้อง เป็นที่นับหน้าถือตาของชาวบ้าน คำปันเป็นเจ้าของคณะรำที่มีชื่อเสียงเลื่องลือของหมู่บ้าน แต่ภายหลังคณะรำเริ่มไม่มีงาน และคำปันเริ่มมีปัญหาเรื่องสายตา จนตอนหลังตาบอดในที่สุด ต่อมาได้ตรอมใจตายเพราะดาวนิลไม่กลับมาหา | |||
สาวน้อย (2547) คุณนมน้อย (2561) | จุรี โอศิริ | ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ | |
แม่บ้านประจำตระกูลของทรงพลอายุ 63 ปี คอยเป็นหูเป็นตาดูแลชายหนุ่มทั้งสามแทนพ่อแม่ที่เสียชีวิตไปเพราะอุบัติเหตุ กิจวัตรหลักคือจับจ้องตรวจความประพฤติของผู้หญิงทุกคนที่จะมาเป็นสะใภ้ มีลูกมือคือ กล้วย และ อ้อย สองสาวใช้ร่างอ้วนผอมจอมแสบ | |||
หนานเมือง ปรีชามาศ | ถนอม นวลอนันต์ | สมชาย ศักดิกุล | |
หัวหน้าคณะคู่อริกับคำปันอายุ 60 ปี เจ้าเล่ห์เพทุบาย รำไม่สวย ไม่ค่อยมีงานเข้าคณะจึงผูกใจเจ็บและอิจฉาคณะคำปัน หาทางกลั่นแกล้งแข่งงานตลอดเวลา และภายหลังได้ผูกมิตรกับครูคำปัน จนอยู่ในคณะเดียวกัน | |||
ป้าแม้น (2515) ป้าบัว อาชาพร (2547/2561) | มาลี เวชประเสริฐ | เปียทิพย์ คุ้มวงศ์ | ราตรี วิทวัส |
แม่ของวิไล อายุ 55 ปี มีเงินจากน้ำพักน้ำแรงของลูก ที่ล่อลวงสาวๆไปขายตัวปากหวานพูดจาดีแต่งก เก็บดอกเงินกู้ไม่ขาดสักสตางค์แดงเดียว | |||
ทอน จินดา | ปิติพน พรตรีสัตย์ | ||
ลูกชายผู้ใหญ่บ้านเป็นเพื่อนของดาวนิลที่หมู่บ้าน อายุ 22 ปี เป็นคนใจดี แอบชอบดาวนิล แต่ดาวนิลมองเขาเป็นแค่เพื่อน ทอนจะคอยช่วยเหลือบ้านดาวนิลและช่อเอื้องเสมอ ต่อมาสืบรู้ว่าดาวนิลไปขายบริการจึงผิดหวังและเสียใจมาก | |||
ทรงยุทธ์ (2515) ทรงวุฒิ ทรงอักษร (2547/2561) | นฤพนธ์ ดุริยพันธ์ | กฤษฎี พวงประยงค์ | ฌาน์รัชต์ มณฑากูล |
หนุ่มน้อยวัย 18 ปี น้องชายคนเล็กของบ้าน เจ้าชู้ เสน่ห์แรงกะล่อนตามประสาวัยรุ่น แต่จิตใจดี รักครอบครัว เชื่อฟังพี่บางเวลา ชอบและตามจีบช่อเอื้อง แต่ช่อเอื้องไม่สนใจ เลยกลายเป็นเพื่อนกับช่อเอื้องแทน | |||
เยาวภา(2515) จิดาภา รัตนภักดี (2547/2561) | นงลักษณ์ โรจนพรรณ | มณีนุช ธนโชติ | ขวัญกวินท์ ธำรงรัฐเศรษฐ์ |
สาวไฮโซวัย 23 ปี ไม่มีอาชีพอะไรเพราะเกิดมาสบายตั้งแต่เด็ก รักทรงพลเพราะความโก้หรูและร่ำรวยทัดเทียมกัน อิจฉาตาร้อนหากใครสวยกว่าดีกว่า จิดาภาเป็นคู่ปรับของสาวน้อย และเป็นคนเปิดโปงอดีตของดาวนิลโดยร่วมมือกับคุณนายติ๊ด | |||
วิไล อาชาพร | กนกอร เจริญลาภวิชโย | กัญญารัตน์ พงศ์กัมปนาท | |
คนหมู่บ้านเดียวกันกับดาวนิล อายุ 22 ปี งกเงินและหลงผิด รักความสบาย ทำได้ทุกอย่างเพื่อเงิน แม้กระทั่งหลอกสาวๆในหมู่บ้านไปขาย เป็นผู้ทำให้ชีวิตดาวนิลพลิกผัน เพราะหลอกให้ดาวนิลเข้ากรุงเทพฯไปขายบริการ | |||
รินคำ ปรีชามาศ | มารยาท ถายะเดช | ธนพร บางชะวงษ์ | |
ลูกสาวหนานเมืองอายุ 20 ปี ไม่ชอบรำ เอาแต่แต่งตัวสวยเพราะอยากชนะดาวนิลแต่ไม่เคยสำเร็จ ปากร้ายหาเรื่องแขวะกัด ทะเลาะกับดาวนิลตลอดเวลา | |||
วรรณา ธรรมรงค์ | เมตตา รุ่งรัตน์ | อรวิน เงินยวง | ปริตา ไชยรักษ์ |
บุคลิกเป็นผู้หญิงห้าว วรรณาช่วยเหลือช่อเอื้องไว้ ตอนช่อเอื้องเข้ามาตามหาดาวนิลที่กรุงเทพ เป็นคนใจดีและคอยช่วยเหลือสืบข่าวมาบอกช่อเอื้อง | |||
หลิวหลิว แซ่เหวิน | ศาศวัต เสนตา | ธีระพล หอมจม | |
สไตลิสต์เสื้อผ้า เป็นเกย์อายุ 27 ปี มีอาชีพแมวมองที่ความสวยของดาวนิลเตะตาเข้า จนชักจูงเข้าสู่วงการ ปากร้าย ลื่นไปตามสถานการณ์ เป็นคนคอยช่วยดาวนิลจากปัญหาต่างๆ และปั้นเรื่องประวัติของดาวนิลขึ้นมาใหม่ | |||
คุณนายติ๊ด ธิชาภัทร์ รัตนวงศ์วานร | ปิยะ เศวตพิกุล | ศิรินุช เพ็ชรอุไร | |
เจ้าของร้านเสื้อที่เทวัญพาดาวนิลไปฝากไว้ อายุ 45 ปีเป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก ขี้งก ขี้อิจฉา ปากร้าย เห็นแก่ตัว กลั่นแกล้งดาวนิลทุกวิถีทาง ผูกใจเจ็บที่ดาวนิลไปได้ดีเป็นดาราดัง จึงหาทางทำลายโดยร่วมมือกับจิดาภา | |||
อ้ายศักดิ์ สมปอง | สมพร ปรีดามาโนช | ||
นายหน้าหางานอายุ 50 ปี ที่หวังล่วงเกินดาวนิล แต่ดาวนิลไม่เล่นด้วย จึงเจ็บใจจนต่อมาไปรวมหัวกับหนานเมืองแก้แค้นให้คณะของคำปันไม่มีงานแสดง | |||
ผึ้ง พัชรา | ตวงรัตน์ คะชะสะ | ||
ลูกน้องในร้านของ คุณนายติ๊ด อายุ 25 ปี หมั่นไส้ดาวนิล และร่วมมือกับคุณนายติ๊ดผู้เป็นนาย กลั่นแกล้งดาวนิลตลอดเวลา | |||
กลอง ทรงอักษร | ด.ช.บัญชา แก้วพุกุ้ม | ด.ช.อานนท์ แซ่อึ้ง | ด.ช.ปราการ จันรัมย์ |
ลูกชายพิการของดาวนิล อายุประมาณ 6 ขวบ รักตารักน้ามาก ถึงจะเป็นเด็กพิการแต่ความพิการไม่เคยเป็นอุปสรรค กลองมีจิตใจที่บริสุทธิ์และกล้าหาญ เป็นเด็กน่ารัก ร่าเริงสดใส มองโลกในแง่บวก คอยให้กำลังใจตากับน้า ทำให้ทั้งคู่ยิ้มได้ตลอดเวลา |
เพลงประกอบละคร[แก้]
- เสียงสะอื้นในใจ ขับร้อง แก้วกาญจน์ ชื่นเป็นนิจ
- ความรักไม่เคยไปไหน ขับร้อง ชลาทิศ ตันติวุฒิ
รางวัลที่ได้รับ[แก้]
ละครปี 2547 [3]
- รางวัลHamburger Awards นักแสดงชายยอดเยี่ยม (สุประวัติ ปัทมสูต) ปี 2547
- รางวัลHamburger Awards นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม (วรนุช วงษ์สวรรค์) ปี 2547
- รางวัลHamburger Awards นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม (วรนุช วงษ์สวรรค์) ปี 2547
- รางวัล ASIAN TELEVISION AWARDS 2004 ประเทศสิงคโปร์ นักแสดงชายยอดเยี่ยม (สุประวัติ ปัทมสูต) ปี 2547
- รางวัลท็อปอวอร์ด 2004 นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (วรนุช วงษ์สวรรค์) ปี 2547
- รางวัลท็อปอวอร์ด 2004 นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (สุประวัติ ปัทมสูต) ปี 2547
- รางวัลท็อปอวอร์ด 2004 นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (สุฐิตา เรืองรองหิรัญญา) ปี 2547
- รางวัลท็อปอวอร์ด 2004 ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม (นพพล โกมารชุน) ปี 2547
- รางวัลท็อปอวอร์ด 2004 ละครยอดเยี่ยม ปี 2547
- รางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 2 ละครยอดเยี่ยม ปี 2547
- รางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2004 ครั้งที่ 3 ละครยอดเยี่ยม ปี 2547
- รางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2004 ครั้งที่ 3 ผู้เขียนบทยอดเยี่ยม (เพ็ญสิริ เศวตวิหารี) (พัญสร เศวตวิหารี) ปี 2547
- รางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2004 ครั้งที่ 3 นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (วรนุช วงษ์สวรรค์) ปี 2547
- รางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2004 ครั้งที่ 3 นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (สุประวัติ ปัทมสูต) ปี 2547
- รางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2004 ครั้งที่ 3 นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (สุฐิตา เรืองรองหิรัญญา) ปี 2547
- รางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2004 ครั้งที่ 3 ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม (นพพล โกมารชุน) ปี 2547
- รางวัลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (วรนุช วงษ์สวรรค์) ปี 2547
- รางวัลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (สุประวัติ ปัทมสูต) ปี 2547
- รางวัลรางวัลเมขลา ผู้เขียนบทยอดเยี่ยม (เพ็ญสิริ เศวตวิหารี) (พัญสร เศวตวิหารี) ปี 2547
- รางวัลรางวัลเมขลา นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (วรนุช วงษ์สวรรค์) ปี 2547
- รางวัลรางวัลเมขลา นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (สุประวัติ ปัทมสูต) ปี 2547
- รางวัลรางวัลเมขลา ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม (นพพล โกมารชุน) ปี 2547
- รางวัลรางวัลเมขลา ละครชีวิตยอดเยี่ยม ปี 2547
- รางวัลรางวัลเมขลา รางวัล SMS ละครมหาชน (สุฐิตา เรืองรองหิรัญญา) ปี 2547
- รางวัลละครเรทติ้งสูงสุดติดต่อกัน 4 สัปดาห์ จากสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
ละครปี 2561
- รางวัลรางวัล สยามดารา สตาร์ อวอร์ดส นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม สาขาละครโทรทัศน์ (ฝนทิพย์ วัชรตระกูล) ปี 2561
- รางวัล รางวัล สยามดารา สตาร์ อวอร์ดส นักแสดงดาวรุ่งหญิง (พรชดา เครือคช) ปี 2561
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "แม่อายสะอื้น (2515) โดยชุมทางหนังไทยในอดีต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-14.
- ↑ "แม่อายสะอื้น เรื่องย่อ". ออนไลน์ไอดอล. 19 ต.ค. 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ http://www.paujinjong.com/pau/content/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ละครโทรทัศน์ไทย
- รายการโทรทัศน์ช่อง 7
- ละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี
- รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2547
- รายการโทรทัศน์ไทยที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2561
- รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2561
- ละครโทรทัศน์ไทยที่ออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2561
- อำเภอแม่อาย
- จังหวัดเชียงใหม่ในบันเทิงคดี
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ธันวาคม 2022