เจาจิ๋ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจาจิ๋ว (เฉียว โจว)
譙周
ทหารม้ามหาดเล็ก (散騎常侍 ซานฉีฉางชื่อ)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 263 (263) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮวน
/ สุมาเอี๋ยน
นายกองทหารม้า (騎都尉 ฉีตูเว่ย์)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 263 (263) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮวน
/ สุมาเอี๋ยน
ที่ปรึกษาราชวัง (光祿大夫 กวางลู่ต้าฟู)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 263 (263)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ขุนนางที่ปรึกษารับใช้ (中散大夫 จงซ้านตาฟู)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 199[a]
นครล่างจง มณฑลเสฉวน
เสียชีวิตค.ศ. 270[b]
บุตร
  • เฉียว ซี
  • เฉียว เสียน
  • เฉียว ถง
บุพการี
  • เฉียว ปิน (บิดา)
อาชีพขุนนาง, บัณฑิต
ชื่อรองยฺหวิ่นหนาน (允南)
บรรดาศักดิ์หยางเฉิงถิงโหว
(陽城亭侯)

เจาจิ๋ว[c], เจียวจิ๋ว[d], เจียวจุย[e], ต้าจิ๋ว[f] หรือเตียวเจียว[g] (ป. ค.ศ. 199[a] - 270[b]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เฉียวโจว (จีน: 譙周; พินอิน: Qiáo Zhōu) ชื่อรอง ยฺหวิ่นหนาน (จีน: 允南; พินอิน: Yǔnnán) เป็นขุนนางและบัณฑิตของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน เดิมรับใช้เล่าเจี้ยงเจ้ามณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่มณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกก่อนจะกลายมาเป็นขุนนางของขุนศึกเล่าปี่ผู้ก่อตั้งรัฐจ๊กก๊กในปี ค.ศ. 221 เจาจิ๋วมีชื่อเสียงจากการเป็นอาจารย์ให้กับขุนนางจ๊กก๊กหลายคน เช่น ตันซิ่ว (เฉิน โช่ว), หลัว เซี่ยน, ตู้ เจิ่น, เหวิน ลี่ และหลี่ มี่

ในช่วงชีวิตของเจาจิ๋ว เจาจิ๋วถูกมองว่าขาดความสามารถและไม่ได้รับการเคารพจากเพื่อนขุนนางหลายคน มีเพียงหยาง ซี่ที่ยกย่องเจาจิ๋วอย่างสูง ครั้งหนึ่งหยาง ซี่กล่าวว่า "ทั้งเราและคนรุ่นหลังไม่สามารถเทียบเท่าผู้อาวุโสท่านนี้ได้" หยาง ซี่จึงได้รับการยกย่องจากผู้ที่ยอมรับความสามารถของเจาจิ๋วเช่นกัน[11]

เจาจิ๋วรับราชการในราชสำนักจ๊กก๊กมาตั้งแต่เมื่อเล่าปี่ขึ้นครองราชย์ (ค.ศ. 221) จนถึงการล่มสลายของจ๊กก๊กในปี ค.ศ. 263 เจาจิ๋วเป็นที่จดจำว่าเป็นผู้ทูลโน้มน้าวให้เล่าเสี้ยนจักรพรรดิจ๊กก๊กยอมจำนนต่อวุยก๊กในปี ค.ศ. 263

เจาจิ๋วถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ. 270 ที่ ลกเอี๋ยง ตรงกับปีที่ 5 แห่งรัชสมัย จักรพรรดิจิ้นหวู่ หรือ สุมาเอี๋ยน ปฐมจักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์จิ้นตะวันตก

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 ชีวประวัติเจาจิ๋วในจดหมายเหตุสามก๊กระบุว่าในศักราชไท่ฉื่อปีที่ 5 ในรัชสมัยของสุมาเอี๋ยน (ค.ศ. 269) เจาจิ๋วกล่าวว่าตนได้ล่วงเข้าอายุ 70 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[1] เมื่อคำนวณแล้ว ปีเกิดของเจาจิ๋วจึงเป็นเป็น ค.ศ. 199
  2. 2.0 2.1 จดหมายเหตุสามก๊กระบุว่าเจาจิ๋วเสียชีวิตในฤดูหนาวของศักราชไท่ฉื่อ (ค.ศ. 265-274) ปีที่ 6 ในรัชสมัยของสุมาเอี๋ยน[2]
  3. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 53[3] และตอนที่ 70[4]
  4. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 63[5] ตอนที่ 77[6] และตอนที่ 86[7]
  5. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 78[8]
  6. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 83[9]
  7. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 84[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. ([泰始]五年,予常为本郡中正,清定事讫,求休还家,往与周别。周语予曰:“昔孔子七十二、刘向、杨雄七十一而没,今吾年过七十,庶慕孔子遗风,可与刘、杨同轨,恐不出后岁,必便长逝,不复相见矣。”) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 42.
  2. ([泰始]六年秋, ... 至冬卒。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 42.
  3. ("เจาจิ๋วที่ปรึกษาจึงว่า ท่านคิดนี้ชอบ อนึ่งข้าพเจ้าเห็นดาวสำหรับเมืองเสฉวนนั้นหายไป มีดาวดวงใหญ่ขึ้นแทนที่รัศมีสว่างดังพระจันทร์ มีดาวน้อยล้อมเปนบริวารอยู่หลายดวง แล้วข้าพเจ้าได้ยินเด็ก ๆ ในเมืองเสฉวนทำเพลงเล่นว่า แม้ผู้ใดจะใคร่กินเข้าใหม่จงคอยให้เจ้าใหม่มาครองเมืองเถิด ก็จะได้กินสมความคิด อุยก๋วนเล่าป๊าได้ฟังดังนั้นก็โกรธ ชักกระบี่ออกจะฆ่าเจาจิ๋วเสีย เล่าเจี้ยงก็เข้าห้ามปรามไว้") "สามก๊ก ตอนที่ ๕๓". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 21, 2023.
  4. ("เจาจิ๋วขุนนางผู้ใหญ่ได้ฟังดังนั้นจึงว่าแก่ขงเบ้งว่า เพลาคืนนี้ข้าพเจ้าพิเคราะห์ดูฤกษ์บน เห็นดาวประจำเมืองฝ่ายเหนือมีรัศมีบริบูรณ์อยู่ มหาอุปราชก็มีสติปัญญาหลักแหลมรู้การทั้งปวง ซึ่งจะยกไปตีเมืองฮูโต๋นั้นเกลือกจะป่วยการเสียเปล่า") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 21, 2023.
  5. ("ขงเบ้งจึงหาเคาเจ้งเจียวจิ๋วแลขุนนางทั้งปวงมาปรึกษาว่า บัดนี้โจผีทำลายล้างพระเจ้าเหี้ยนเต้เสียแล้ว ควรเราจะยกเล่าปี่ขึ้นเปนเจ้าแผ่นดินสืบวงศ์พระเจ้าเหี้ยนเต้ไว้ เจียวจิ๋วจึงว่า ข้าพเจ้าดูขอบขันธเสมาเมืองเสฉวนเห็นอัศจรรย์ประหลาทหลายประการ อนึ่งดวงดาวประจำตัวเล่าปี่ก็มีรัศมีสว่างดังพระจันทร์ ซึ่งจะยกเล่าปี่ให้เปนเจ้าสืบพระวงศ์นั้นควรแล้ว") "สามก๊ก ตอนที่ ๖๓". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 21, 2023.
  6. ("เจียวจิ๋วโหรได้ฟังขงเบ้งว่าดังนั้น จึงทูลพระเจ้าเล่าเสี้ยนว่า ข้าพเจ้าดูในตำราแล้วเห็นดาวมหาอุปราชเมืองเรานี้เสร้าหมอง อันดาวประจำเมืองฝ่ายเหนือนั้นรุ่งเรือง อนึ่งชาวเมืองเราเลื่องลือกันว่า เวลากลางคืนได้ยินใบสนธิ์ซึ่งต้องลมนั้น เหมือนเสียงคนร้องไห้อื้ออึงอยู่ ซึ่งมหาอุปราชจะยกไปครั้งนี้ขอให้งดไว้ก่อน พระเจ้าเล่าเสี้ยนยังมิได้ตรัสประการใด") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๗". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 21, 2023.
  7. ("เจียวจิ๋วจึงทูลขัดว่า อันธรรมเนียมโบราณซึ่งจะตั้งตัวเปนเจ้าแผ่นดินนั้น จะได้อาศรัยกำลังผู้อื่นหามิได้ ย่อมเพียรพยายามได้เปนดีด้วยปัญญาความคิดแลกำลังของตัว เมื่อแลต่อด้วยข้าศึกมิได้เข้าไปนบนอบเมืองกังตั๋งนั้น ใช่ว่าเมืองกังตั๋งจะตั้งมั่นเปนเอกโทอยู่ก็หาไม่ ก็จะเสียแก่วุยก๊กเปนมั่นคง นานไปก็ต้องกลับไปคำนับเขา ก็จะมิได้อัปยศเปนสองซ้ำไปหรือจะต้องการอันใด ถ้าเข้าคำนับแก่พระเจ้าวุยก๊กเสียครั้งนี้เห็นจะได้อายแต่ครั้งเดียว ขอให้พระองค์ดำริห์ดูเถิด") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 21, 2023.
  8. ("เจียวจุยจึงทูลว่า เวลาคืนนี้ข้าพเจ้าเห็นดาวสำหรับมหาอุปราชตกลงข้างทิศตวันตกเฉียงเหนือ ข้าพเจ้าเห็นว่าจะมีภัยแก่มหาอุปราช ซึ่งพระองค์ทรงพระสุบินก็เห็นยุติกัน พระเจ้าเล่าเสี้ยนแจ้งดังนั้นก็ยิ่งเสร้าหมองไม่สบายเลย") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๘". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 21, 2023.
  9. ("เกียงอุยได้ฟังดังนั้นก็ดีใจจึงว่า ถ้ากระนั้นเห็นเราจะทำการใหญ่สำเร็จครั้งนี้เปนมั่นคง จึงปรึกษาต้าจิ๋วขุนนางผู้ใหญ่ว่า เราจะทำเรื่องราวขึ้นกราบทูลพระเจ้าเล่าเสี้ยนเปนใจความว่า จะขออาสาไปตีเมืองวุยก๊กถวาย ท่านจะเห็นประการใด ต้าจิ๋วจึงทอดใจใหญ่ว่า บัดนี้พระเจ้าเล่าเสี้ยนก็ไม่ว่ากิจการบ้านเมือง เชื่อฟังแต่คำฮุยโฮขันที ชวนกันเสพย์สุราทุกวันมิได้ขาด อนึ่งตัวท่านแต่ทำการมาก็เสียทีเปนหลายครั้ง แม้เราคิดอ่านรักษาบ้านเมืองไว้ให้มั่นคงจะดีกว่า") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๓". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 21, 2023.
  10. ("เตียวเจียวจึงทูลว่า เวลาคืนนี้ข้าพเจ้าพิเคราะห์ดูเห็นดาวเมืองเราวิปริตฤกษ์บนหาดีไม่ แลซึ่งเกียงอุยจะอาสายกไปนั้นเห็นจะไม่มีชัยชนะ ขอพระองค์จงห้ามไว้ก่อน พระเจ้าเล่าเสี้ยนจึงตอบว่า บัดนี้เขามารับอาสาเราเอง แลซึ่งจะห้ามไว้นั้นไม่ควร จำเราจะให้เขาไป ถ้าภายหลังเห็นเพลี้ยงพลํ้าประการใดแล้วเราจึงจะห้าม เตียวเจียวจึงซ้ำทูลทัดทานถึงสามครั้ง เห็นพระเจ้าเล่าเสี้ยนมิฟังถ้อยคำแล้วก็ลาไป คิดน้อยใจทำอุบายเปนป่วยมิได้มาคิดราชการเลย") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๔". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 21, 2023.
  11. (又時人謂譙周無當世才,少歸敬者,唯戲重之,常稱曰:「吾等後世,終自不如此長兒也。」有識以此貴戲。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.