ยุทธการที่ฮันต๋ง
ยุทธการที่ฮันต๋ง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น | |||||||
ภาพวาดโจโฉจากซานไฉถูฮุ่ย | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
เล่าปี่ | โจโฉ | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
เล่าปี่ |
† แฮหัวเอี๋ยนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 219 โจโฉตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 219 |
ยุทธการที่ฮันต๋ง | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 漢中之戰 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 汉中之战 | ||||||
|
ยุทธการที่ฮันต๋ง (จีน: 漢中之戰) เป็นการรบที่เริ่มโดยขุนศึกเล่าปี่เพื่อยึดครองเมืองฮันต๋ง (漢中 ฮั่นจง) จากโจโฉที่เป็นคู่อริ การรบเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 217 ถึง 219 ในช่วงก่อนเข้าสู่ยุคสามก๊ก แม้ว่าทัพของโจโฉได้ตั้งมั่นในเมืองฮันต๋งเมื่อสองปีก่อนหลังยุทธการที่เองเปงก๋วน แต่ทัพโจโฉก็อ่อนกำลังลงด้วยกลยุทธ์ฟาเบียนที่ใช้โดยทัพของเล่าปี่ ซึ่งใช้การโจมตีแบบกำหนดเป้าหมายเพื่อยึดจุดยุทธศาสตร์จากข้าศึก การโจมตีครั้งหนึ่งทำให้แฮหัวเอี๋ยนขุนพลระดับสูงคนหนึ่งของโจโฉเสียชีวิต และได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อขวัญกำลังใจของทัพโจโฉ ในที่สุดโจโฉก็จำต้องทิ้งเมืองฮันต๋งเนื่องจากปัญหาด้านการขนส่งเสบียงและปัญหาอื่น ๆ และสั่งให้ล่าถอยในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 219[1] เล่าปี่ได้รับชัยชนะในการรบและยึดครองเมืองฮันต๋งได้ จากนั้นจึงประกาศตั้งตัวเป็นอ๋องแห่งฮันต๋งในเดือนสิงหาคมของปีนั้น[1]
การรบครั้งนี้ถือเป็นการศึกครั้งสุดท้ายที่โจโฉเข้าร่วมก่อนที่โจโฉจะเสียชีวิตในเดือนมีนาคม ค.ศ. 220
ภูมิหลัง
[แก้]ในเดือนเมษายน ค.ศ. 215[2] โจโฉโจมตีขุนศึกเตียวฬ่อในเมืองฮันต๋ง เอาชนะเตียวฬ่อได้ในยุทธการที่เองเปงก๋วน ต่อมาในเดือนธันวาคม[2] เตียวฬ่อยอมจำนนและโจโฉยึดฮันต๋งได้[3] หลังจากนั้น โจโฉจึงแต่งตั้งให้ผู่ หู (朴胡), ตู้ ฮั่ว (杜濩) และยฺเหวียน เยฺว (袁約) เป็นเจ้าเมืองปาสามเมือง แต่ทั้งสามถูกอุยก๋วนโจมตีแตกพ่าย จากนั้นอุยก๋วนจึงเข้ายึดเมืองปาตง (巴東), ปาเส (巴西 ปาซี) และปากุ๋น (巴郡 ปาจฺวิ้น)[4][5][6]
ทางด้านของเล่าปี่นั้น เล่าปี่เพิ่งเข้ายึดมณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) จากเล่าเจี้ยงในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 214[7] และเข้าพัวพันในกรณีพิพาทกับซุนกวนที่เป็นพันธมิตรในเรื่องมณฑลเกงจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลหูเป่ย์และมณฑลหูหนานในปัจจุบัน) ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 215[2] เล่าปี่รู้สึกถูกคุกคามเมื่อได้รับข่าวเมืองฮันต๋งตกเป็นของโจโฉ เพราะฮันต๋งเป็น "ปากทาง" ด้านเหนือของมณฑลเอ๊กจิ๋ว และเวลานี้เล่าปี่เสี่ยงต่อการเสียมณฑลเอ๊กจิ๋วให้โจโฉ ดังนั้นเล่าปี่จึงทำข้อตกลงเรื่องชายแดนกับซุนกวนซึ่งยึดได้เมืองเตียงสา (長沙 ฉางชา), ฮุยเอี๋ยง (桂陽 กุ้ยหยาง) และเลงเหลง (零陵 หลิงหลิง) ในมณฑลเกงจิ๋วตอนใต้จากเล่าปี่ เล่าปี่ขอเมืองเลงเหลงคืน แลกกับการที่ซุนกวนได้เมืองเตียงสา, กังแฮ (江夏 เจียงเซี่ย) และฮุยเอี๋ยง[8]
ความแตกต่างทางยุทธวิธี
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การทัพ
[แก้]การปะทะช่วงแรก
[แก้]ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 217[1] ทัพเล่าปี่รุดหน้าไปยังด่านเองเปงก๋วน (陽平關 หยางผิงกวาน) ในช่วงเวลาเดียวกัน เล่าปี่ก็ส่งเตียวหุย, ม้าเฉียว, งอหลัน (吳蘭 อู๋หลาน), ลุยต๋อง (雷銅 เหลย์ ถง) และงิมเอ๋ง (任夔 เริ่น ขุย) ไปโจมตีเมืองปูเต๋า (武都郡 อู่ตูจฺวิ้น) และให้รักษาการณ์ที่อำเภอแฮเปียน (下辨縣 เซี่ยเปี้ยนเซี่ยน) ในช่วงเวลานั้น เหลย์ติ้ง (雷定) แห่งกลุ่มชาติพันธุ์ตีนำชนเผ่า 7 เผ่ามาเข้าร่วมกับเล่าปี่ ทางฝ่ายโจโฉนั้น แฮหัวเอี๋ยนป้องกันด่านเองเปงก๋วน เตียวคับและซิหลงรักษากว่างฉือ (廣石) และหม่าหมิงเก๋อ (馬鳴閣) ตามลำดับ ส่วนโจหองและโจฮิวนำทัพแยกไปต้านเตียวหุย
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 218[1] ทัพของเตียวหุยและม้าเฉียวตั้งมั่นอยู่ที่กู้ชาน (固山) โดยแพร่ข่าวไปว่าพวกตนจะยกไปสกัดเส้นทางถอยของข้าศึก โจหองต้องการโจมตีงอหลันที่อำเภอแฮเปียน แต่นายทหารคนอื่น ๆ ระแวงความเคลื่อนไหวของเตียวหุย โจฮิวเห็นว่าถ้าเตียวหุยวางแผนจะสกัดเส้นทางถอยของพวกตนจริงก็ควรเก็บแผนไว้เป็นความลับ เวลานี้เตียวหุยเผยเจตนาอย่างโจ่งแจ้ง พวกตนก็ควรจะใช้โอกาสนี้แสร้งล่าถอยแล้วจึงเข้าโจมตีซึ่งหน้า โจหองเห็นด้วยกับยุทธวิธีของโจฮิวและเข้าโจมตี ลุยต๋องและงิมเอ๋งถูกสังหารในที่รบ ส่วนงอหลันหนีไปเข้าร่วมกับเผ่าตี ภายหลังลุยต๋องถูกเฉียงตฺวาน (强端) หัวหน้าชนเผ่าตีสังหาร หลังจากเหล่าผู้ใต้บังคับบัญชาถูกตีแตกพ่าย เตียวหุยและม้าเฉียวจึงล่าถอยไป[9]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สถานการณ์พลิกผัน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ช่วงสุดท้าย
[แก้]ในเดือนเมษายน ค.ศ. 219[1] โจโฉนำทัพจากเตียงอั๋นไปฮันต๋งผ่านหุบเขาเสียดก๊ก (斜谷 เสียกู่) ด้วยตนเอง เล่าปี่ไม่กังวลโดยเห็นว่า "แม้ว่าโจโฉมาก็ทำอะไรไม่ได้ ข้าจะยึดแม่น้ำฮั่นซุยได้เป็นแน่" เล่าปี่จึงรวบรวมกำลังพลและตั้งรับอย่างมั่นคง โดยไม่เข้าปะทะกับทัพของโจโฉในการเผชิญหน้าครั้งใหญ่ เล่าปี่มุ่งเน้นไปที่การทำศึกยืดเยื้อตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป เมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือนที่อยู่ในภาวะคุมเชิงกัน ทหารของโจโฉก็ล้มตายหรือหนีทัพมากขึ้นเรื่อย ๆ[10]
ต่อมาเมื่อทัพโจโฉขนส่งเสบียงผ่านเขาปักสัน (北山 เป่ย์ชาน) ฮองตงนำทัพไปปล้นเสบียงของข้าศึก แต่ยังไม่กลับไปให้ทันเวลา เตียวจูล่งจึงนำทหารม้าสิบนายออกจากค่ายเพื่อตามหาฮองตงและเผชิญหน้ากับทัพของโจโฉ เตียวจูล่งและทหารถูกล้อมแต่เตียวจูล่งตีฝ่าออกไปแล้วถอนกลับไปค่ายโดยมีข้าศึกยกไล่ตามมา เมื่อมาถึงค่าย เตียวจูล่งสั่งให้เปิดประตู ลดธงลง และหยุดตีกลองรบ ทหารของโจโฉกลัวว่าจะมีการวางกำลังดักซุ่มภายในค่ายจึงหันหลังกลับ ทันใดนั้นเตียวจูล่งก็สั่งให้ทหารตีกลองเสียงดังและให้ทหารมือเกาทัณฑ์ยิงเกาทัณฑ์ใส่ข้าศึก ทหารของโจโฉสับสนอลหม่านและเหยียบย่ำกันเองขณะพยายามหลบหนี ในขณะที่หลายคนจมน้ำตายขณะพยายามหนีข้ามแม่น้ำฮั่นซุย[11]
ขณะที่ทัพของโจโฉเผชิญหน้ากับทัพเล่าปี่ด้วยภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกมาหลายเดือนและประสบปัญหาด้านการขนส่งเสบียงอย่างมาก ในที่สุดโจโฉก็ออกคำสั่ง "ซี่โครงไก่" (雞肋 จีเล่ย์) ไม่มีผู้ใดเข้าใจว่าโจโฉหมายถึงอะไรเมื่อพูดถึง "ซี่โครงไก่" ยกเว้นนายทะเบียนเอียวสิ้ว เอียวสิ้วอธิบายว่า เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ต้องทิ้งซี่โครงไก่ไปแม้ว่ามีเนื้อเหลือติดอยู่ไม่มากนัก นี่เป็นการอุปมาถึงสถานการณ์ที่โจโฉเผชิญอยู่ โจโฉรู้ว่าตนมีโอกาสเอาชนะเล่าปี่ได้น้อยมาก แต่ก็รู้สึกเสียดายที่ต้องทิ้งเมืองฮันต๋ง โจโฉไม่พอใจกับคำอธิบายของเอียวสิ้ว ภายหลังจึงสั่งให้ประหารชีวิตเอียวสิ้ว ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 219[1] โจโฉล่าถอยกลับไปที่เตียงอั๋นและทิ้งเมืองฮันต๋งให้กับเล่าปี่[12]
ผลสืบเนื่อง
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 219 หนึ่งเดือนหลังยึดฮันต๋ง เล่าปี่ส่งเบ้งตัดไปโจมตีเมืองห้องเหลง (房陵郡 ฝางหลิงจฺวิ้น) ผ่านอำเภอจีกุ๋ย (秭歸縣 จื่อกุยเซี่ยน) เบ้งตัดเอาชนะและสังหารไขว่ ฉี (蒯祺) เจ้าเมืองห้องเหลงและเข้ายึดเมืองห้องเหลง ภายหลังเล่าปี่ส่งเล่าฮองบุตรบุญธรรมไปโจมตีเมืองเซียงหยง (上庸郡 ช่างยงจฺวิ้น) ผ่านแม่น้ำไกซุย (沔水 เหมียนฉุ่ย) เจ้าเมืองเซียงหยงยอมจำนนต่อเล่าฮอง ประมาณเดือนสิงหาคม ค.ศ. 219 เล่าปี่ประกาศตนเป็น "อ๋องแห่งฮันต๋ง" (漢中王 ฮั่นจงหวาง)[13]
อีกด้านหนึ่ง หลังโจโฉล่าถอย โจโฉกังวลว่าเล่าปี่อาจโจมตีเมืองปูเต๋า จึงสั่งเตียวกี๋ ข้าหลวงมณฑล (刺史 ชื่อฉื่อ) มณฑลยงจิ๋ว (雍州 ยงโจว) ให้ย้ายชาวตี๋ 50,000 คนจากเมืองปูเต๋าไปยังเมืองฝูเฟิง (扶風) และเทียนซุย (天水 เทียนฉุ่ย)[14]
ในที่สุดข่าวชัยชนะของเล่าปี่ที่เมืองฮันต๋งก็ไปถึงกวนอูผู้ประจำการอยู่ที่มณฑลเกงจิ๋วตอนใต้ในเวลานั้น กวนอูใช้โอกาสจากความสำเร็จในยุทธการที่ฮันต๋งในการนำทัพของตนเข้าโจมตีฐานที่มั่นของโจโฉในมณฑลเกงจิ๋วตอนเหนือ นำไปสู่ยุทธการที่อ้วนเสียในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 219
บุคคลในยุทธการ
[แก้]
ทัพเล่าปี่[แก้]
|
ทัพโจโฉ[แก้]
|
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ไขว่ ฉีคนนี้เป็นหลานชายของเก๊งอวด (蒯越 ไขว่ เยว่) และเก๊งเหลียง (蒯良 ไขว่ เหลียง) และก่อนหน้านี้สมรสกับพี่สาวของจูกัดเหลียง[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Sima (1084), vol. 68.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Sima (1084), vol. 67.
- ↑ (會魯降,漢中平,) สามก๊กจี่ เล่มที่ 9.
- ↑ (然卒破杜濩、朴胡,) สามก๊กจี่ เล่มที่ 43.
- ↑ (九月,巴七姓夷王朴胡、賨邑侯杜濩舉巴夷、賨民來附,於是分巴郡,以胡為巴東太守,濩為巴西太守,皆封列侯。天子命公承制封拜諸侯守相。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 1.
- ↑ (權破公所署三巴太守杜濩、朴胡、袁約等。) หฺวาหยางกั๋วจื้อ เล่มที่ 6.
- ↑ Sima (1084), vol. 66.
- ↑ (二十年,孫權以先主已得益州,使使報欲得荊州。先主言:「須得涼州,當以荊州相與。」權忿之,乃遣呂蒙襲奪長沙、零陵、桂陽三郡。先主引兵五萬下公安,令關羽入益陽。是歲,曹公定漢中,張魯遁走巴西。先主聞之,與權連和,分荊州、江夏、長沙、桂陽東屬,南郡、零陵、武陵西屬,引軍還江州。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 32.
- ↑ (備遣張飛屯固山,欲斷軍後。衆議狐疑,休曰:「賊實斷道者,當伏兵潛行。今乃先張聲勢,此其不能也。宜及其未集,促擊蘭,蘭破則飛自走矣。」洪從之,進兵擊蘭,大破之,飛果走。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 9.
- ↑ (及曹公至,先主斂眾拒險,終不交鋒,積月不拔,亡者日多。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 32.
- ↑ (夏侯淵敗,曹公爭漢中地,運米北山下,數千萬囊。黃忠以為可取,雲兵隨忠取米。忠過期不還,雲將數十騎輕行出圍,迎視忠等。值曹公揚兵大出,雲為公前鋒所擊,方戰,其大衆至,勢逼,遂前突其陣,且鬬且却。公軍散,已復合,雲陷敵,還趣圍。將張著被創,雲復馳馬還營迎著。公軍追至圍,此時沔陽長張翼在雲圍內,翼欲閉門拒守,而雲入營,更大開門,偃旗息鼓。公軍疑雲有伏兵,引去。雲雷鼓震天,惟以戎弩於後射公軍,公軍驚駭,自相蹂踐,墮漢水中死者甚多。) อรรถาธิบายจากเจ้า-ยฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่เล่มที่ 36.
- ↑ 《九州春秋》:時王欲還,出令曰‘雞肋’,官屬不知所謂。主簿楊修便自嚴裝,人驚問修:‘何以知之?’修曰:‘夫雞肋,棄之如可惜,食之無所得,以比漢中,知王欲還也。
- ↑ (建安二十四年,命達從秭歸北攻房陵,房陵太守蒯祺為達兵所害。達將進攻上庸,先主陰恐達難獨任,乃遣封自漢中乘沔水下統達軍,與達會上庸。上庸太守申耽舉衆降,) สามก๊กจี่ เล่มที่ 40.
- ↑ (太祖將拔漢中守,恐劉備北取武都氐以逼關中,問既。既曰:「可勸使北出就穀以避賊,前至者厚其寵賞,則先者知利,後必慕之。」太祖從其策,乃自到漢中引出諸軍,令既之武都,徙氐五萬餘落出居扶風、天水界。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 15.
- ↑ (钦从祖祺妇, 即诸葛孔明之大姊也。) เซียงหยางจี้
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว. สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- ฉาง ฉฺวี (คริสต์ศตวรรษที่ 4). หฺวาหยางกั๋วจื้อ.
- ฝาง เสฺวียนหลิง. จิ้นชู.
- เผย์ ซงจือ. อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- Sima, Guang (1084), จือจื้อทงเจี้ยน.