เตียวซี
จักรพรรดินีจาง 張皇后 | |||||
---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดินีจ๊กก๊ก | |||||
ดำรงตำแหน่ง | ค.ศ. 223 – กรกฎาคม หรือ สิงหาคม ค.ศ. 237 | ||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดินีอู่ | ||||
ถัดไป | จักรพรรดินีจาง | ||||
ประสูติ | ไม่ทราบ | ||||
สวรรคต | กรกฎาคม หรือ สิงหาคม ค.ศ. 237[a] เฉิงตู มณฑลเสฉวน | ||||
คู่อภิเษก | เล่าเสี้ยน | ||||
| |||||
พระราชบิดา | เตียวหุย | ||||
พระราชมารดา | ไม่ทราบ[b] |
เตียวซี (สิ้นพระชนม์ กรกฎาคม หรือ สิงหาคม ค.ศ. 237)[a] เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า จักรพรรดินีจิงไอ่ เป็นจักรพรรดินีแห่งรัฐจ๊กก๊ก พระนางเป็นบุตรสาวคนโตของขุนพลแห่งจ๊กก๊ก เตียวหุย และเป็นหลานสาวของขุนพลแห่งวุยก๊ก แฮหัวเอี๋ยน[2] พระนางอภิเษกกับเจ้าชาย เล่าเสี้ยน ในปี ค.ศ. 223 และกลายเป็นเจ้าหญิงรัชทายาทแห่งจ๊กก๊ก ต่อมาในปีเดียวกัน หลังจากพระราชบิดาของเจ้าชายเล่าเสี้ยน พระเจ้าเล่าปี่ เสด็จสวรรคต เจ้าชายเล่าเสี้ยนเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติเป็นจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊ก และพระนางกลายเป็นจักรพรรดินี พระนางสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 237 และพระศพถูกฝังที่หนานหลิง (南陵)[3]
ตามปกติในขณะนั้น จักรพรรดินีจางอภิเษกกับ พระเจ้าเล่าเสี้ยน ด้วยเหตุผลทางการเมืองเท่านั้น พระราชบิดาของพระเจ้าเล่าเสี้ยน พระเจ้าเล่าปี่ ก่อตั้งอาณาจักร จ๊กก๊ก เคียงข้างพี่น้องร่วมสาบานของพระองค์ เตียวหุย นักยุทธศาสตร์ของจ๊กก๊ก จูกัดเหลียง แนะนำให้บุตรสาวของตระกูลเตียวหรือจางอภิเษกกับเจ้าชายของราชสกุลหลิวหรือเล่า เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและผลประโยชน์ทางการเมือง
ดูเพิ่ม
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ชีวประวัติของเล่าเสี้ยนใน จดหมายเหตุสามก๊ก บันทึกว่า จักรพรรดินีจางสิ้นพระชนม์ในเดือน 6 ปีที่ 15 ศักราช Jianxing ในรัชสมัยเล่าเสี้ยน[1] ซึ่งตรงกับวันที่ 11 กรกฎาคมถึง 8 สิงหาคม ค.ศ. 237 ตามปฏิทินกริกอเรียน
- ↑ ไม่มีบันทึกว่าลูกสาวคนใด (คนแรกหรือคนที่สอง) ของเตียวหุยเป็นแม่ของเด็กชายที่เล่าเสี้ยนให้ความเห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับแฮหัวป๋า
อ้างอิง
[แก้]- Chen, Shou (คริสต์ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก.
- Pei, Songzhi (คริสต์ศตวรรษที่ 5). Annotations to Records of the Three Kingdoms (Sanguozhi zhu).
- Robert Joe Cutter and William Gordon Crowell. Empresses and Consorts: Selections from Chen Shou's Records of the Three States with Pei Songzhi's Commentary. Honolulu: University of Hawai'i Press, 1999.