กำจร มนุญปิจุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กำจร มนุญปิจุ
รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ดำรงตำแหน่ง
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521
ก่อนหน้าศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล
ถัดไปศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 มิถุนายน พ.ศ. 2469
จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย
เสียชีวิต22 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (87 ปี)
โรงพยาบาลรามาธิบดี
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสนางวิภาวรรณ มนุญปิจุ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นาวาตรี กำจร มนุญปิจุ ร.น.ราชบัณฑิต เกิดวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2469 ที่ตำบลบางหลวง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของ ขุนกัลยาณวิทย์ (เกิด มนุญปิจุ) อดีตศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี และนางกิม มนุญปิจุ สมรสกับนางวิภาวรรณ มนุญปิจุ มีบุตรชาย 1 คน คือ นายณัฐเสกข์ (กวิช) มนุญปิจุ

ศ.น.ต.กำจร มนุญปิจุ เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาอินทรีย์เคมี เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการให้เกิดความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างประเทศไทยและประเทศออสเตรีย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 และได้รับอิสริยาภรณ์ Den Tiroler Adler-Orden in Gold และ Grosse Goldene Ehrenzeichen Fur Verdienste Um Die Republik Osterreich จากประเทศออสเตรีย [1] ในเวลาเดียวกันก็มีความรอบรู้ และมีความสามารถยิ่งในด้านการบริหารการศึกษา มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบการคัดเลือกผู้เข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นผู้คิดค้นและดำเนินการทำระบบการสอบคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. 2504-2550 โดยจัดการสอบคัดเลือกร่วมครั้งแรก สำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล) และต่อมาได้ขยายใช้กับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ [2] อีกทั้งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ ของสถาบันอุดมศึกษา ทำให้การอุดมศึกษาไทยก้าวทันพัฒนาการในยุคโลกาภิวัตน์ มีมาตรฐานทัดเทียมกับระดับสากล

ประวัติการศึกษา[แก้]

ปริญญากิตติมศักดิ์[แก้]

  • พ.ศ. 2536 - ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2547 - ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2547

ประวัติการทำงาน[แก้]

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.ต.กำจร มนุญปิจุ ร.น.ราชบัณฑิต เริ่มรับราชการ และมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการบริหารและการจัดการศึกษา ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ที่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และต่อมาได้ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลระหว่าง พ.ศ. 2514–2518 และรักษาราชการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่าง พ.ศ. 2519-2521 ระหว่างนี้มีบทบาทสำคัญยิ่ง ในการวางระบบการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ทำให้กระบวนการบริหารจัดการสอบมีขั้นตอนโปร่งใสและมีประสิทธิภาพจวบจนปัจจุบัน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น อ.ก.ม.วิสามัญ เกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการของทบวงมหาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2516-2519 และทั้งยังได้รับคัดเลือกจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร International Organization of Chemical Sciences for Development (IOCD) ภายใต้การสนับสนุนของ UNESCO ให้เป็น Vice President สำหรับภูมิภาคเอเชีย ในปี พ.ศ. 2524

ประวัติการรับราชการ[แก้]

  • พ.ศ. 2489-2494 - ประจำกองวัตถุระเบิด กรมสรรพาวุธทหารเรือ
  • พ.ศ. 2498-2503 - ผู้ช่วยหัวหน้ากองเคมี กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ
  • พ.ศ. 2503-2512 - เลขานุการคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • พ.ศ. 2509-2529 - ศาสตราจารย์วิชาเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2513-2516 - รองคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2514-2529 - หัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2514-2518 - คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2519-2521 - รักษาการในตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ไฟล์:Kamchorn-2.jpg
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในงานมุทิตาจิตเกษียณอายุราชการ 26 ก.ย. 29

หน้าที่การงานในปัจจุบัน[แก้]

เกียรติคุณและรางวัลที่ได้รับ[แก้]

ได้รับพระราชทาน'พระธาตุพนมทองคำ' เครื่องหมายของการประกอบการอันเป็นประโยชน์ยิ่งแก่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในคราวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อปี 2537

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

นายกำจร ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556 สิริรวมอายุ 87 ปี พิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

นาวาตรี กำจร มนุญปิจุ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. หนังสือที่ระลึกในวาระครบเกษียณอายุราชการ ของศาสตราจารย์ ดร.กำจร มนุญปิจุ, 2529.
  2. หนังสือที่ระลึกในวาระ 6 รอบปีนักษัตร ศาสตราจารย์เกียรติคุณ กำจร มนุญปิจุ, 2541.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๗๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔