สถิตย์ สิริสิงห

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดร.สถิตย์ สิริสิงห

เกิด9 มกราคม พ.ศ. 2480 (87 ปี)
กรุงเทพมหานคร
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทันตแพทย์ สถิตย์ สิริสิงห เป็นนักวิทยาศาสตร์​ชาวไทย​ เกิดเมื่อ​วันที่​ 9 มกราคม 2480 เป็นนักวิจัยผู้บุกเบิกสาขาอิมมิวโนวิทยาของประเทศไทยในยุคเริ่มแรก นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา และ เจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นสาขาจุลชีววิทยา ประจำปี พ.ศ. 2531 ด้วยผลงาน "ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องอันเนื่องมาจากการขาดสารอาหาร" ศ.ดร.สถิตย์ เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนโตของ ศาสตราจารย์พันโท ทันตแพทย์ สี สิริสิงห ทันตแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และคุณหญิงอัมพร สิริสิงห สมรสกับ พญ. วลัยรัตน์ สิริสิงห มีบุตรธิดา 3 คน คือ พญ. ธิติยา รศ.ดร. ชาคริต และ นส. วิทิดา สิริสิงห

ประวัติ[แก้]

การศึกษา[แก้]

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทันตแพทย์ สถิตย์ สิริสิงห สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และเตรียมอุดมศึกษา จากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ตามลำดับ เมื่อปี พ.ศ. 2496 สอบเข้าจุฬาฯ ตั้งใจจะเรียนแพทย์ แต่เรียนได้ 2 เดือน ก็เปลี่ยนความตั้งใจไปศึกษาต่อยังสหรัฐอเมริกา เมื่ออายุเพียง 15 ปี โดยมีชื่อเรียกขานแบบอเมริกันระหว่างที่พำนักอยู่กับครอบครัว Volker ว่า "Steve Sirisinha" สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี พร้อมกัน 2 ปริญญา คือ วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) และอักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากแจ็คสันวิลล์คอลเลจ เมื่อปี พ.ศ.สวัดี ต่อจากนั้น ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยอลาบามา และได้รับปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจุลชีววิทยา และปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) ในปี พ.ศ. 2504 และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ จนได้รับปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาจุลชีววิทยา (อิมมิวโนวิทยา) ในปี พ.ศ. 2508

  • พ.ศ. 2496-2500 - ปริญญาตรี B.A. (Honors), Jacksonville State University, USA
  • พ.ศ. 2496-2500 - ปริญญาตรี B.S. (Honors), Jacksonville State University, USA
  • พ.ศ. 2500-2504 - ปริญญาโท M.S., University of Alabama, USA
  • พ.ศ. 2500-2504 - ปริญญาเอก D.M.D. (Honors), University of Alabama, USA
  • พ.ศ. 2504-2508 - ปริญญาเอก Ph.D., University of Rochestor, USA
  • พ.ศ. 2513 - Post-doctoral, Washington University, USA


ประวัติการทำงาน[แก้]

เมื่อสำเร็จการศึกษา ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จนถึงปี พ.ศ. 2510 จึงโอนมารับราชการที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตามคำชักชวนของ ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข และในปี พ.ศ. 2513 ได้ไปปฏิบัติงานวิจัยหลังปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้น ได้กลับมารับราชการที่มหาวิทยาลัยมหิดลต่อ ตนได้รับตำแหน่งทางวิชาการสูงขึ้นเป็นลำดับ และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ เมื่อปี พ.ศ. 2522

ตำแหน่งวิชาการ


ตำแหน่งบริหาร


ตำแหน่งพิเศษอื่นๆ ที่สำคัญ

  • พ.ศ. 2510-ปัจจุบัน - อาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันโรคผิวหนัง
  • พ.ศ. 2519-2526 - อนุกรรมการคัดเลือกนักวิจัยโครงการแลกเปลี่ยน NIH Forgaty คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2522-2526 - ประธาน/กรรมการวิชาการมหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2523-2526 - กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2530-2534 - กรรมการบริหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2531 - คณะผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติ เรื่อง “โรคพยาธิใบไม้ตับ” กระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ. 2531-2537 - กรรมการ/เลขานุการ คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พ.ศ. 2535-2538 - ประธานกรรมการแผนกทันตแพทย์ศาสตร์ มูลนิธิอานันทมหิดล
  • พ.ศ. 2536-2543 - กรรมการจัดตั้งและรองประธาน “Federation of Immunological Societies of Asia-Oceania” (FIMSA)
  • พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน - กรรมการประจำ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2549 - กรรมการจัดตั้งราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย
  • กรรมการรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล
  • กรรมการบริหารการวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • อนุกรรมการประเมินนักวิจัยที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • อนุกรรมการประเมินผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ที่เสนอขอรับรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • อนุกรรมการประเมินผลงานวิจัยที่เสนอขอรับรางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อ.ก.ม. วิสามัญเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ สาขาวิชาจุลชีววิทยาและอิมมิวโนโลยี ของทบวงมหาวิทยาลัย
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการผู้บริหารองค์กรผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานทางวิชาการให้สถาบันต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และองค์กรต่าง ๆ เช่น สกว. สวทช. กรรมการวิจัยแห่งชาติ


ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรระดับนานาชาติ

  • WHO Temporary Advisor
  • กรรมการ Technical Adhoc Committee for Bacterial Vaccine
  • พ.ศ. 2521 - WHO Short-term Consultant in Microbiology to Sri Lanka
  • พ.ศ. 2524 - Member of WHO Workshop “The Immunity of Mucosal Membrane”
  • พ.ศ. 2526-ปัจจุบัน - WHO Expert Advisory Panel on Immunology
  • พ.ศ. 2541-2547 - กรรมการผู้บริหาร (Councilor) ของ “International Union of Immunological Societies (IUIS)
  • พ.ศ. 2543-2547 - President of Federation of Immunological Societies of Asia-Oceaniae


บรรณาธิการ/คณะบรรณาธิการ/ที่ปรึกษาวารสารวิชาการ

  • Asian-Pacific Journal of Allergy and Immunology
  • Medical Progress
  • Journal of Science Society of Thailand
  • Journal of Medical Association of Thailand
  • Thai Journal of Oral and Maxillofacial Surgery


สมาชิก/กรรมการบริหารสมาคมวิชาชีพต่างๆ

  • American Society of Microbiologists
  • Soceity for Experimental Biology and Medicine
  • American Society for the Advancement of Science
  • Allergy and Immunology Society of Thailand
  • Dental Association of Thailand
  • Science Society of Thailand
  • Founding Member of “Federation of Immunological Societies of Asia-Oceania” (FIMSA) 1992
  • Vice President and Councilor member of FIMSA
  • Councilor member of “International Union of Immunological societies” (IUIS)
  • Sigma XI
  • สมาคมนักจุลชีววิทยาแห่งประเทศไทย

เกียรติคุณและรางวัล[แก้]

  • พ.ศ. 2500 - ได้รับการคัดเลือกเป็น Who’s Who Among Students in American Universities and Colleges
  • พ.ศ. 2518 - ได้รับพระราชทานรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย
  • พ.ศ. 2504 - สมาชิก Omicron Kappa Upsilon (Honorary Dental Society, USA)
  • พ.ศ. 2531 - รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาจุลชีววิทยา ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พ.ศ. 2541 - ได้รับการคัดเลือกเป็น Who’s who in the World
  • พ.ศ. 2542 - ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยมหิดล

ปริญญากิตติมศักดิ์[แก้]

ผลงานวิชาการ[แก้]

มีผลงานวิจัยและบทความทางวิชาการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ และบทความในตำราต่างๆ รวมประมาณ 193 เรื่อง หลังเกษียณอายุราชการ มีงานตีพิมพ์ประมาณ 50 เรื่อง โดยเป็นผลงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาระบบภูมิต้านทานทั้งในคนและสัตว์ทดลอง ความผิดปรกติของภูมิต้านทานในคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กขาดสารอาหาร การวิจัยเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันเฉพาะแหล่ง และโครงสร้างของอิมมิวโนโกลบูลิน การวิจัยเกี่ยวกับ วิทยาภูมิกันและชีวโมเลกุลของโรคติดเชื้อต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและประเทศแถบเอเซีย เช่นโรคพยาธิบางชนิด ได้แก่ พยาธิใบไม้ในตับ (Opisthorchis vierrini) พยาธิตัวจี๊ด (Gnathostoma spinigerum) และ พยาธิตัวกลม (Angiostrongylus cantonensis) โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่นโรค Melioidosis ที่เกิดจากเชื้อ Burkholderia pseudomallei โรคที่เกิดจากเชื้อรา Penicillium marneffei เป็นต้น ผลงานวิจัยเหล่านี้ ก่อให้เกิดความเข้าใจระบบภูมิต้านทานในคนที่พยาธิสภาพผิดปรกติ อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการป้องกันและวินิจฉัยโรคดังกล่าว

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๓ ง หน้า ๒๒๔๖, ๑๒ มิถุนายน ๒๕๒๒
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๗, ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๐๓, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔