ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศเกาหลีใต้"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 265: บรรทัด 265:


== ต่างประเทศ ==
== ต่างประเทศ ==
{{โครงส่วน}}
=== ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ===
{{กล่องข้อมูล ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ|เกาหลีใต้ – สหรัฐอเมริกา|เกาหลีใต้|สหรัฐอเมริกา|map=South Korea United States Locator.svg}}
{{โครง-ส่วน}}

=== ความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรไทย ===
{{กล่องข้อมูล ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ|เกาหลีใต้ – ไทย|เกาหลีใต้|ไทย|map=Korea Thailand Locator.png}}
{{โครง-ส่วน}}
=== ความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ===
{{กล่องข้อมูล ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ|จีน – เกาหลีใต้|จีน|เกาหลีใต้|map=China Korea Locator.png}}
{{โครง-ส่วน}}


== กองทัพ ==
== กองทัพ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:53, 5 พฤษภาคม 2558

สาธารณรัฐเกาหลี

ฮันกึล: 대한민국 (เกาหลี)
ฮันจา: 大韓民國 (เกาหลี)
คำขวัญ널리 인간 세계를 이롭게 하라
นำพาประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติอย่างทั่วถึง
(Broadly bring benefit to humanity) (unofficial motto)
เพลงชาติแอกุกกา (애국가/ 愛國歌)
("เพลงรักแผ่นดิน")
ที่ตั้งของเกาหลีใต้
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
โซล
ภาษาราชการภาษาเกาหลี
การปกครองประชาธิปไตยระบอบกึ่งประธานาธิบดี
พัก กึน-ฮเย
ช็อง ฮง-ว็อน
การสถาปนาชาติ
2,333 ปีก่อนคริสตกาล
1 มีนาคม พ.ศ. 2462
15 สิงหาคม พ.ศ. 2488
15 สิงหาคม พ.ศ. 2491
พื้นที่
• รวม
98,480 ตารางกิโลเมตร (38,020 ตารางไมล์) (108)
0.3%
ประชากร
• ก.ค. 2550 ประมาณ
49,024,737 (25)
• สำมะโนประชากร 2543
45,985,289 source
480 ต่อตารางกิโลเมตร (1,243.2 ต่อตารางไมล์) (18)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2551 (ประมาณ)
• รวม
1.07 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (6)
19,100 ดอลลาร์สหรัฐ (34)
เอชดีไอ (2556)0.891
สูงมาก · 15
สกุลเงินวอน (KRW)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานเกาหลี)
รูปแบบวันที่(ปี) 년 (เดือน) 월 (วัน) 일
ปปปป/ดด/วว
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์82
รหัส ISO 3166KR
โดเมนบนสุด.kr

สาธารณรัฐเกาหลี (อังกฤษ: Republic of Korea; เกาหลี: 대한민국 (ฮันกึล); 大韓民國 (ฮันจา)) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เกาหลีใต้ (อังกฤษ: South Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พรมแดนทางเหนือติดกับประเทศเกาหลีเหนือ มีประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้โดยมีทะเลญี่ปุ่นและช่องแคบเกาหลีกั้นไว้

ในภาษาเกาหลีอ่านชื่อประเทศว่า แทฮันมินกุก (대한민국; 大韓民國) โดยเรียกสั้น ๆ ว่า ฮันกุก (한국) ที่หมายถึงเกาหลี และบางครั้งจะใช้ชื่อว่า นัมฮัน (남한) ที่หมายถึง เกาหลีทางใต้ ส่วนชาวเกาหลีเหนือจะเรียกเกาหลีใต้ว่า นัมโชซ็อน (남조선) ที่หมายถึง โชซ็อนใต้

ภูมิศาสตร์

บริเวณภูเขาเบ็คดู ซึ่งมีชื่อเรียกในความหมายโลกสวรรค์

ตั้งอยู่ที่ ละติจูด 33-39 องศาเหนือ ลองจิจูดที่ 125-131 องศาตะวันออก 70% ของประเทศเป็นภูเขา

ประวัติศาสตร์

ยุคโคโชซ็อน

อาณาจักรโชซ็อนโบราณ

อาณาจักรโคโชซ็อน หรือ โชซ็อนโบราณ ตั้งอยู่ตรงบริเวณตอนใต้ของแมนจูเรียและตอนเหนือของคาบสมุทรเกาหลี ก่อตั้งขึ้นโดยกษัตริย์ ทันกุน วังกอม เมื่อ 2333 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีเมืองหลวงคือ วังกอมซอง (เปียงยางในปัจจุบัน) และล่มสลายลงในปี พ.ศ. 435 โดยการเข้ายึดครองโดยกองทัพของราชวงศ์ฮั่นที่ปกครองประเทศจีน ราชวงศ์ฮั่นได้แบ่งอาณาจักรโกโชซ็อนออกเป็น 4 แคว้นคือ แคว้นนังนัง แคว้นเหลียวตง แคว้นเสิ่นตู และแคว้นเซินฟาน

ยุคหกอาณาจักร

ในยุคนี้บนคาบสมุทรเกาหลีและในแมนจูเรียมีอาณาจักรต่าง ๆ ก่อตัวขึ้นจำนวนหกอาณาจักร คือ

ยุคสามอาณาจักรแรก

ภาพเขียนสีสมัยอาณาจักรโคกูรยอ

ในยุคนี้คาบสมุทรเกาหลีถูกปกครองโดยสามอาณาจักรที่รุ่งเรืองนับพันปีบนคาบสมุทรเกาหลี คือ

ยุคอาณาจักรเหนือใต้

พระราชวังสมัยโบราณในเกาหลี

เมื่ออาณาจักรชิลลาสามารถรวบรวมอาณาจักรแพ็กเจและอาณาจักรโคกูรยอเข้าด้วยกันได้ในปี ค.ศ. 668 แต่โดยที่จริงแล้วอาณาจักรชิลลาไม่ได้ครอบครองดินแดนทั้งหมดไว้เพียงแต่ครองครองดินแดนทางใต้เท่านั้น โดยเฉพาะดินแดนของอาณาจักรโคกูรยอชิลลาครอบครองเพียงบางส่วนเท่านั้น อาณาจักรชิลลาได้ยกดินแดนบนคาบสมุทรเหลียวตงให้แก่ราชวงศ์ถังของประเทศจีนหลังสิ้นสุดสงครามชิลลา-ถัง แต่ดินแดนทางเหนือจรดไปถึงแมนจูเรียตกอยู่ในการควบคุมของอาณาจักรเกิดใหม่อีกอาณาจักรหนึ่ง ชื่อว่า อาณาจักรพัลแฮ หรือเรียกว่า ป๋อไห่ ในชื่อเรียกตามภาษาจีน ในยุคสมัยนี้ นักประวัติศาสตร์บางท่านจึงจัดว่าเป็นยุคอาณาจักรเหนือใต้ของเกาหลี ประกอบด้วยสองอาณาจักรคือ

ยุคสามอาณาจักรหลัง

ยุคนี้ได้เกิดสามอาณาจักรขึ้นมาอีกครั้งบนคาบสมุทรเกาหลีและภายหลังได้รวมกันได้อีกครั้ง ประกอบด้วย 3 อาณาจักร คือ

การเมืองการปกครอง

The National Assembly ของเกาหลีใต้
ไฟล์:Central Government Complex of Korea.JPG
หน่วยงานรัฐบาลกลางแห่งเกาหลีใต้
เมืองพิเศษในประเทศเกาหลีใต้

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2491 คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งเป็นสองส่วนโดยเส้นละติจูดที่ 38 องศาเหนือ (มักเรียกว่าเส้นขนาน 38) โดยสหภาพโซเวียตดูแลเกาหลีเหนือมีการปกครองระบอบสังคมนิยม ส่วนสหรัฐอเมริกาดูแลเกาหลีใต้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย

สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประมุขของประเทศคือประธานาธิบดี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา รัฐสภาเป็นองค์กรนิติบัญญัติ และศาลทำหน้าที่ทางตุลาการ ทั้งนี้ เกาหลีใต้มีการแบ่งเขตการปกครองเป็น 9 จังหวัด และ 6 เขตการปกครอง (โซล ปูซาน อินชอน แตกู ควังจู แตชอน)

รัฐธรรมนูญ

เกาหลีใต้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดอีก 9 ครั้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดมีขึ้นในปี พ.ศ. 2530 เมื่อรัฐบาลประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน ต้องประสบกับภาวะกดดันทางการเมืองจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ซึ่งเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง และในที่สุด ประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน ก็ยินยอมให้มีการลงประชามติ แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง โดยอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว (5 ปี) และให้มีการจัดระบบการปกครองท้องถิ่นอิสระเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญที่ได้รับการแก้ไข ยังได้ยกเลิกอำนาจการยุบสภาของประธานาธิบดี และให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดูแลและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งระบุว่ากองทัพต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง

ฝ่ายนิติบัญญัติ

รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐสภา (National Assembly) เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งรัฐสภาของเกาหลีใต้เป็นรูปแบบสภาเดียวประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 299 คน โดยสมาชิกจำนวน 2 ใน 3 มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ที่เหลือมาจากการแต่งตั้งโดยจัดสรรตามสัดส่วนของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง สมาชิกรัฐสภาแห่งชาติอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี (ล่าสุดเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2547) สภาจะเลือกประธาน (Speaker) และรองประธาน (Vice-Speaker) จำนวน 2 คน

อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า สามารถถอดถอนนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีได้ หากสมาชิกรัฐสภา 1 ใน 3 เสนอขอและสมาชิกสภาข้างมากเห็นชอบตามเสนอ ซึ่งในกรณีการถอดถอนประธานาธิบดีนั้น ต้องเสนอโดยเสียงข้างมากและสมาชิกสภา 2 ใน 3 ให้ความเห็นชอบ

ฝ่ายบริหาร

  • ประธานาธิบดี เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากผู้มีสิทธิออกเสียง โดยมีวาระ 5 ปี และไม่สามารถลงสมัครแข่งขันเป็นครั้งที่ 2 ได้ เพื่อเป็นการป้องกันการขยายอำนาจ ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ และผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย รวมทั้งเป็นผู้มีอำนาจประกาศกฎอัยการศึก และมาตรการจำเป็นในยามฉุกเฉิน นอกจากนี้ประธานาธิบดีสามารถเสนอร่างกฎหมายให้รัฐสภาพิจารณาได้ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจยุบสภา

ฝ่ายตุลาการ

ประกอบด้วยศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา โดยประธานาธิบดีแต่งตั้งประธานศาลฎีกาด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา การพิจารณาของศาลกำหนดให้เปิดเผยแก่สาธารณชนทั่วไปได้ ยกเว้นในกรณีที่เห็นว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ หรือเป็นเรื่องที่จะสร้างปัญหาในด้านความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อขวัญของประชาชน คำพิพากษาจำเป็นต้องปิดเป็นความลับ นอกจากนี้ ยังมีศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และมีอำนาจในการพิจารณาว่ากฎหมายฉบับใดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญให้ถือเป็นโมฆะ (โดยมีขั้นตอนการดำเนินการเริ่มจากศาลรัฐธรรมนูญได้รับการร้องขอจากศาลชั้นต้นหรือจากกลุ่มบุคคลที่ข้อร้องเรียนได้รับการพิจารณาจากศาลชั้นต้น ให้พิจารณากฎหมายดังกล่าว) อนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญยังเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ตัดสินความถูกต้องทางกฎหมายของกระบวนการถอดถอนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ ได้แก่ ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และผู้พิพากษา รวมทั้งมีอำนาจสั่งยุบพรรคการเมืองตามข้อเสนอของฝ่ายบริหาร หากพบว่าพรรคการเมืองดังกล่าวดำเนินกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย

พรรคการเมือง

เมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2538 เกิดการรวมตัวของ 3 พรรคใหญ่ คือ

  1. พรรค Democratic Justice Party-DJP
  2. พรรค Reunification Democratic Party-RDP และ
  3. พรรค New Democratic Republican Party-NDRP และตั้งชื่อว่าพรรค New Korean Party-NKP

ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อ ธ.ค. 2540 ได้เกิดพรรคใหม่คือ

  1. พรรค Grand National Party -GNP (ซึ่งเป็นการรวมตัวของพรรค NKP กับพรรค New Party by the People)
  2. พรรค Millennium Democratic Party-MDP ซึ่งมีนาย คิม แด จุง เป็นหัวหน้าพรรค และ
  3. พรรค United Liberal Democrats-ULD ซึ่งมีนาย คิม จอง พิล เป็นหัวหน้าพรรค

โดยพรรค MDP กับพรรค ULD ได้ร่วมกันส่งนายคิม แด จุง เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี และได้รับชัยชนะ โดยนาย คิม จอง พิล ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ต่อมาพรรค ULD ได้ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล ปัจจุบันมีพรรคฝ่ายค้าน (Grand National Party-GNP) และพรรครัฐบาล (Millennium Democratic Party-MDP) และพรรคฝ่ายค้านเสียงส่วนน้อย (United Liberal Democrats-ULD) ทั้งนี้ พรรคฝ่ายค้าน GNP สามารถคุมเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภารวม 139 ที่นั่ง ทั้งนี้เมื่อ 15 เม.ย. 2547 มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเกาหลีใต้สมัยที่ 17 โดยเป็นการเลือกสมาชิกรัฐสภาทั้งสิ้น 299 ที่นั่งประกอบด้วยการเลือกตั้งโดยตรง 243 ที่นั่ง และจากสัดส่วนพรรค (party list) 56 ที่นั่ง ผลการนับคะแนนอย่างเป็นทางการพรรค Uri ได้คะแนนเสียงข้างมากส่งผลให้พรรค Uri กลายเป็นฝ่ายครองเสียงข้างมากในรัฐสภาเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม พรรค Uri ได้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งซ่อม 6 ครั้งในเดือนเมษายน 2548 ทำให้พรรค Uri ไม่ได้ครองเสียงข้างมากในสภาอีกต่อไป นอกจากนี้ ยังได้แพ้ในการเลือกตั้งซ่อมในเดือนตุลาคม 2548 อีก ทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลมีปัญหามากขึ้น

การฟื้นฟูสถาบันจักรพรรดิ

ไฟล์:20061002132057 qkraldus85.jpg
เจ้าหญิงเฮวอนและสมาชิกแห่งราชวงศ์โชซ็อน

ในปัจจุบัน แม้ว่าสาธารณรัฐเกาหลีจะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐซึ่งมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ แต่ก็ยังมีผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ในตำแหน่งสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเกาหลีที่ถูกล้มล้างไปโดยจักรวรรดิญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1910

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 เจ้าชายวอน รัชทายาทแห่งเกาหลี ได้ทรงสถาปนาพระองค์เองขึ้นดำรงพระยศเป็นประมุขแห่งราชตระกูลจักรพรรดิเกาหลี (ราชวงศ์โชซ็อน) แต่กระนั้น เจ้าหญิงแฮวอนแห่งเกาหลี ก็ทรงได้รับการสนับสนุนจากคณะราชนิกูลที่เห็นว่าพระนางมีพระอาวุโสสูงสุดในราชวงศ์ จึงจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเสวยราชย์ดำรงพระยศเป็นประมุขแห่งราชตระกูลจักรพรรดิเกาหลีเช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 พร้อมทั้งทรงประกาศฟื้นฟูสถาบันจักรพรรดิในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างเป็นทางการและอ้างสิทธิในราชบัลลังก์จักรพรรดิแห่งเกาหลี โดยเรียกพระองค์เองว่า จักรพรรดินีแห่งเกาหลี (Empress of Korea) อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มราชนิกุลบางส่วนสนับสนุนให้เจ้าชายชังขึ้นเสวยราชย์และอ้างสิทธิเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ เพราะมีคุณสมบัติที่ครบถ้วนแต่พระองค์กลับปฏิเสธ

ทั้งนี้ ประชาชนเกาหลีมีสถาบันจักรพรรดิเป็นศูนย์รวมจิตใจมาตั้งแต่ช่วงที่เกาหลีเป็นประเทศในอารักขาของจักรวรรดิญี่ปุ่น จนกระทั่งการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายโฮอุนแห่งเกาหลี ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของเกาหลีพระองค์ก่อนเมื่อปี ค.ศ. 2005 แต่เนื่องจากไม่มีผู้สืบราชสันตติวงศ์ส่งผลให้บัลลังก์ของราชวงศ์โชซ็อนว่างเว้นจากตำแหน่งสมเด็จพระจักรพรรดิช่วงหนึ่งในปี ค.ศ. 2005

อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดการณ์ว่าสาธารณรัฐเกาหลีจะมีการฟื้นฟูสถาบันจักรพรรดิอย่างเป็นทางการในอนาคต หากมีการรวมชาติระหว่าง 2 เกาหลี โดยเชื่อว่าสถาบันจักรพรรดินั้นคือศูนย์รวมประวัติศาสตร์ของทั้ง 2 ประเทศในอดีต โดยสำนักโพลในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไป พบว่า ร้อยละ 54.4 สนับสนุนให้มีการฟื้นฟูสถาบันจักรพรรดิในสาธารณรัฐเกาหลีโดยให้เป็นสัญลักษณ์ของรัฐและมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร[ต้องการอ้างอิง]

กระทรวง

สาธารณรัฐเกาหลีมีกระทรวง 17 กระทรวง โดยแต่ละกระทรวงจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า โดยได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี และต้องรายงานงานต่างๆให้กับนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
ในบางกระทรวงอาจมีหน่วยงานเทียบเท่าในสังกัด ซึ่งจะทำงานขึ้นตรงต่อทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้นๆและนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐเกาหลีด้วย

รายชื่อกระทรวง

ลำดับที่ ชื่อกระทรวงภาษาไทย ชื่อกระทรวงภาษาอังกฤษ ชื่อกระทรวงภาษาเกาหลี อักษรย่อ
1 กระทรวงยุทธศาสตร์ และการคลัง Ministry of Strategy and Finance 기획재정부 MOSF
2 กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการวางแผนอนาคต Ministry of Science, ICT and Future Planning 미래창조과학부 MSIP
3 กระทรวงศึกษาธิการ Ministry of Education 교육부 MOE
4 กระทรวงการต่างประเทศ Ministry of Foreign Affairs 외교부 MOFA
5 กระทรวงรวมชาติ Ministry of Unification 통일부 MOU
6 กระทรวงยุติธรรม Ministry of Justice 법무부 MOJ
7 กระทรวงกลาโหม Ministry of National Defense 국방부 MND
8 กระทรวงความปลอดภัย และการบริการสาธารณะ Ministry of Security and Public Administration 안전행정부 MOSPA
9 กระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว Ministry of Culture, Sports and Tourism 문화체육관광부 MCST
10 กระทรวงการเกษตร อาหาร และกิจการชนบท Ministry of Agriculture, Food and Rural Affairs 농림축산식품부 MAFRA
11 กระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรม และพลังงาน Ministry of Trade, Industry and Energy 산업통상자원부 MOTIE
12 กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ Ministry of Health and Welfare 보건복지부 MOHW
13 กระทรวงสิ่งแวดล้อม Ministry of Environment 환경부 ME
14 กระทรวงการจ้างงาน และแรงงาน Ministry of Employment and Labor 고용노동부 MOEL
15 กระทรวงความเสมอภาพทางเพศ และครอบครัว Ministry of Gender Equality and Family 여성가족부 MOGEF
16 กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และคมนาคม Ministry of Land, Infrastructure and Transport 국토교통부 MOLIT
17 กระทรวงมหาสมุทรและประมง Ministry of Oceans and Fisheries 해양수산부 MOF

การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศเกาหลีใต้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 จังหวัด (เกาหลี: ) 1 จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ (เกาหลี: 특별자치도) 6 มหานคร (เกาหลี: 광역시) 1 นครพิเศษ (เกาหลี: 특별시) และ 1 นครปกครองตนเองพิเศษ

แผนที่ รายชื่อ ฮันกึล ฮันจา ประชากร
นครพิเศษ
โซล (ซออุล) 서울특별시 서울特別市 9,794,304
นครปกครองตนเองพิเศษ
เซจง 세종특별자치시 世宗特別自治市 96,000
มหานคร
ปูซาน (พูซัน) 부산광역시 釜山廣域市 3,635,389
แทกู 대구광역시 大邱廣域市 2,512,604
อินช็อน 인천광역시 仁川廣域市 2,628,000
แทจ็อน 대전광역시 大田廣域市 1,442,857
ควังจู 광주광역시 光州廣域市 1,456,308
อุลซัน 울산광역시 蔚山廣域市 1,087,958
จังหวัด
คย็องกี 경기도 京畿道 10,415,399
คังว็อน 강원도 江原道 1,592,000
ชุงช็องเหนือ 충청북도 忠淸北道 1,462,621
ชุงช็องใต้ 충청남도 忠淸南道 1,840,410
ช็อลลาเหนือ 전라북도 全羅北道 1,890,669
ช็อลลาใต้ 전라남도 全羅南道 1,994,287
คย็องซังเหนือ 경상북도 慶尙北道 2,775,890
คย็องซังใต้ 경상남도 慶尙南道 2,970,929
จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ
เชจู 제주특별자치도 濟州特別自治道 560,000

เมืองใหญ่สุด 20 อันดับแรก

ต่างประเทศ

กองทัพ

กองกำลังกึ่งทหาร

เศรษฐกิจ

เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด เป็นประเทศพัฒนาแล้ว

การท่องเที่ยว

ประชากรศาสตร์

เชื้อชาติ

ประชากร ใน พ.ศ. 2555 ประชากรประมาณ 49,979,000 คน มีเชื้อสายมาจากเกาหลี จีน ฟิลิปปินส์ และเชื้อสายอื่นๆอีก

ศาสนา

ดูเพิ่มได้ใน พุทธศาสนาในเกาหลีใต้

ศาสนาในเกาหลีใต้
ศาสนา ร้อยละ
อศาสนา
  
46.5%
ศาสนาพุทธ
  
22.8%
โปรเตสแตนต์
  
18.3%
โรมันคาทอลิก
  
10.9%
อื่น ๆ
  
1.7%

ประเทศเกาหลีใต้ไม่มีศาสนาประจำชาติ และประชาชนมีอิสระในการนับถือศาสนา[1] ในปี ค.ศ. 2005 ประชากรเกาหลีใต้เกือบครึ่งหนึ่งเป็นอศาสนา ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธหรือคริสต์ ต่อมาในปี ค.ศ. 2007 ได้มีการสำรวจสำมะโนประชากร พบว่าร้อยละ 29.2 นับถือศาสนาคริสต์ (ในจำนวนนี้เป็นโปรเตสแตนต์ร้อยละ 18.3 และคาทอลิกร้อยละ 10.9) รองลงมาคือร้อยละ 22.8 นับถือศาสนาพุทธ [2][3]

นอกจากนี้ยังศาสนิกของศาสนาอิสลาม ซึ่งเข้าสู่เกาหลีครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 7[4] รวมทั้งลัทธิเกิดใหม่อย่าง ลัทธิช็อนโด และลัทธิว็อนบุล ทั้งยังมีการปฏิบัติศาสนกิจในลัทธิเชมัน ลัทธิดั้งเดิมของเกาหลีก่อนรับศาสนาอื่น[5] ซึ่งนับถือเทพเจ้าผู้สร้างคือ ฮวันอิน (คือ พระอินทร์ในพุทธศาสนา) ทั้งได้รับการนับถือในกลุ่มชาวคริสต์ทั้งคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ด้วย[6]

โบสถ์คาทอลิกจ็อนดง

ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีศาสนิกมากที่สุดในเกาหลีใต้ มีศาสนิกชนราว 13.7 ล้านคน[7] โดยประชากรราวสองในสามนิยมเข้าโบสถ์โปรเตสแตนต์ และประชากรร้อยละ 23 นิยมเข้าโบสถ์ของโรมันคาทอลิก อย่างไรก็ตามในช่วงปี ค.ศ. 1980 ศาสนิกชนเข้าโบสถ์โปรเตสแตนต์ลดลง เพราะการขยายตัวของนิกายโรมันคาทอลิก[8] แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเกาหลีใต้ถือเป็นประเทศที่มีการส่งมิชชันนารีออกเผยแผ่ศาสนามากเป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา[9]

ศาสนาพุทธเข้ามามีบทบาทในเกาหลีตั้งแต่ปี ค.ศ. 372[10] จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2005 มีศาสนิกชนราว 10.7 ล้านคน[7][11] ปัจจุบันชาวพุทธส่วนใหญ่ในเกาหลีใต้ร้อยละ 90 นับถือนิกายโจ-กเย ซึ่งศาสนวัตถุของพุทธศาสนาจำนวนมากได้กลายเป็นสมบัติประจำชาติ ซึ่งตกทอดมาจากยุครัฐเหนือใต้ และยุคโครยอที่ศาสนาพุทธมีความเจริญจนถึงขีดสุด และภายหลังศาสนาพุทธได้อ่อนแอลงจากการปราบปรามของราชวงศ์โชซ็อนซึ่งนับถือลัทธิขงจื๊อ[12]

ศาสนาอิสลามเคยเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนเกาหลีตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ในยุครัฐเหนือใต้[4] แต่ผู้สืบเชื้อสายได้หันไปนับถือศาสนาพุทธหรือเชมันแทน เนื่องจากเกาหลีขาดการติดต่อกับโลกอาหรับ[13] ปัจจุบันจากการเผยแผ่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีชาวมุสลิมสัญชาติเกาหลีใต้ราว 30,000-35,000 คน[14] ขณะที่อิสลามิกชนส่วนใหญ่ราว 100,000 คนในเกาหลีใต้เป็นแรงงานชาวต่างชาติ[15] อาทิ บังกลาเทศ และปากีสถาน[16]

ในเกาหลีใต้มีการขัดแย้งทางศาสนาอยู่ ดังกรณีศาสนิกบางส่วนของศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ได้แสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนาพุทธ มีเหตุการณ์วางเพลิงและการกระทำที่ป่าเถื่อนกับศาลเพียงตาของพุทธศาสนารวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ หลายสิบครั้ง รวมทั้งการทำลายวัดขนาดใหญ่หลายแห่งในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา โดยมีเนื้อความระบุว่าผู้กระทำผิดเป็นชาวโปรเตสแตนต์ และมีข้อความหลงเหลืออยู่ซึ่งประณามการบูชา "รูปเคารพ"[17]

ภาษา

วัฒนธรรม

ศิลปะเกาหลีมีลักษณะเด่นหลายประการที่ทำให้เกิดแบบของตัวเอง ศิลปะเกาหลียกย่องธรรมชาติ และการใช้สีอ่อนและเรียบก็ปรากฏอยู่เสมอในภาพเขียนและเครื่องปั้นแบบเกาหลี

ศิลปะเกาหลี

พระพุทธรูปในถ้ำซ็อกคูรัม

ศิลปะเกาหลีมีลักษณะเด่นหลายประการที่ทำให้เกิดแบบของตัวเอง ศิลปะเกาหลียกย่องธรรมชาติ และการใช้สีอ่อนและเรียบก็ปรากฏอยู่เสมอในภาพเขียนและเครื่องปั้นแบบเกาหลี วัฒนธรรมงานหัตกรรมพื้นบ้านคือศิลปะที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปี งานไม้และเครื่องเขินของเกาหลีเป็นที่รู้จักกันดี โดยเน้นการออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอยและความเรียบง่าย สิ่งสะดุดตาในงานไม้เกาหลีคือศิลปะการประดับมุก งานหัตกรรมโลหะทำด้วยทอง ทำด้วยสำริด ทางด้านพระพุทธศาสนามีการสร้างพระพุทธรูปสำริด ระฆังวัดที่หล่อด้วยสำริด เอกลักษณ์ของระฆังเกาหลีคือรูปร่างการออกแบบและเสียง ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา เกาหลีเป็นประเทศที่เป็นที่ยอมรับในการพัฒนาศิลปะด้านนี้และเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงคือ ศิลาดล เป็นเครื่องเคลือบที่มีความสดใส ฝีมือประณีต นิยมเคลือบด้วยสีขาวซึ่งพัฒนาให้สวยงามในยุคโกเรียว เพื่อการอนุรักษ์สิ่งดีงามตั้งแต่อตีด ทางการเกาหลีได้จัดตั้งโครงการสมบัติประจำชาติเกาหลีใต้ขึ้น

ศิลปะของนักปราชญ์ เดิมรูปแบบตัวอักษรเกาหลีและญี่ปุ่นเป็นอักษรจีน ซึ่งเป็นตัวเขียนที่ยังใช้อยู่ในเอเชียตะวันออกร่วมพันปี แม้ว่าหลังจากที่เกาหลี ประดิษฐ์อักษรฮันกึล ในปี พ.ศ. 1989 (ค.ศ. 1446) ตัวอักษรจีนยังคงใช้ในภาษาทางการ จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพราะว่าตัวอักษรจีนมีอยู่นับหมื่นตัว แต่ละตัวมีความแตกต่างกัน มีวิธีเขียนหลายแบบ หลายความหมาย การเรียนอ่านและการเขียนตัวอักษรจีนไม่ใชเรื่องง่าย ศิลปะการเขียนอักษรจีนได้เข้ามาในประเทศเกาหลีเมื่อ 1,500 ปีมาแล้ว

การเขียนตัวอักษรด้วยพู่กันเกาหลีเรียกว่า "บุดกึลซี" ต้องอาศัยปัจจัย 4 ของนักปราชญ์ ได้แก่ หมึก แท่งหินฝนหมึก พู่กันและกระดาษ ศิลปินเขียนพู่กันส่วนใหญ่มักเป็นทั้งนักปราชญ์และจิตรกร ศิลปินเหล่านี้อาจใช้พู่กันเล่มเดียวกันเขียนกลอนบรรยายภาพ ภาพวาดเกาหลี เป็นศิลปะที่มีธรรมเนียมนิยมของตนเองอย่างสมบูรณ์ จิตรกรรม ภาพจิตกรรมของเกาหลีมีมานานแล้ว สถาบันภาพวาดก่อตั้งขึ้นในยุคโกกุริวสถาบันแห่งนี้เน้นภาพวาดที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา รูปแบบจิตรกรรมที่หลากหลายได้พัฒนาสืบต่อกันมาจนถึงสมัยโซชอน พร้อมนำรูปแบบศิลปะจีนแบบใหม่รวมทั้งเทคนิคการวาดภาพแบบตะวันตก มีการใช้สีสันสดใสในภาพที่วาดเกี่ยวกับศาสนานี้

เครื่องแต่งกายประจำชาติของเกาหลี

ฮันบก ชุดประจำชาติของเกาหลีใต้

ชาวเกาหลีมีชุดประจำชาติตั้งแต่สมัยโบราณ เรียกว่า ฮันบก (ฮันหมายถึงชาวเกาหลี บกหมายถึงชุด รวมกันหมายถึงชุดของชาวเกาหลี) ฮันบกทั้งของผู้หญิงและผู้ชายมีลักษณะหลวมๆ เพื่อความสะดวกสบายและคล่องแคล่วไม่ใช้กระดุมหรือตะขอ แต่จะใช้ผ้าผูกไว้แทน ชุดของผู้ชาย ข้างล่างประกอบด้วย "ปันซือ" แต่สมัยใหม่เรียกว่า "แพนที" ซึ่งหมายถึงกางเกงใน ชั้นนอกสวม "บาจี" เป็นกางเกงขายาวหลวมๆรวบปลายขาไว้ด้วย "แทมิน" เป็นแถบผ้าใช้มัดขากางเกง"บันโซเม" เป็นเสื้อรัดรูปแขนสั้นไว้ข้างใน เสื้อนอกเรียกว่า "จอโกลี" เป็นเสื้อแขนยาวไม่มีปกไม่มีกระเป๋า

ชุดของผู้หญิง ประกอบด้วย "แพนที" หรือกระโปรงที่อยู่ข้างใน ข้างบนใช้ "ซ็อกชีมา" เป็นแถบผ้าขนาดใหญ่ ใช้มัดทรวงอกไว้แทนเสื้อยกทรง ข้างนอกสวม "ชีมา" เป็นกระโปรงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อ "จอโกรี" เป็นเสื้อนอกแขนยาว ฮันบกเป็นภาพรวมศิลปะของเกาหลีที่สามารถพบเห็นได้ตามท้องถนนของเกาหลี ราวกับถนนสายแฟชั่นของปารีส ฮันบกชุดแต่งกายประจำชาติของเกาหลีทำจากผ้าสีสันสดใส เนื้อผ้าจะขึ้นอยู่กับโอกาสและวัยของผู้ใส่ เด็กหญิงหรือหญิงสาวจะสวมกระโปรงสีแดงเสื้อสีเหลือง จะเปลี่ยนเป็นกระโปรงสีแดง เสื้อสีเขียวเมื่อแต่งงานแล้ว ส่วนหญิงสูงอายุอาจเลือกสีสันต่างๆ ที่สดใส และเลือกใช้เนื้อผ้าได้หลากหลาย

ปัจจุบันชุดแต่งกายวัฒนธรรมเดิมจะใช้เฉพาะโอกาสพิเศษเท่านั้น แต่ตามถนนหนทาง และรถไฟใต้ดินจะยังคงเห็นผู้คนสวมใส่กันอยู่บ้าง โดยเฉพาะผู้สูงอายุยังคงสวมใส่ชุดฮันบกอยู่

ดนตรี

เพลง

อาหาร

อ้างอิง

  1. "Constitution of the Republic of Korea". Constitutional Court of Korea. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2008. สืบค้นเมื่อ June 26, 2009.
  2. "Korea.net: The official website of the Republic of Korea – Religion".[ลิงก์เสีย]
  3. "International Religious Freedom Report 2008 – Korea, Republic of". U.S. Department of State. Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor. January 22, 2009. สืบค้นเมื่อ January 31, 2010.
  4. 4.0 4.1 Grayson, James Huntley (2002). Korea: A Religious History. Routledge. p. 195. ISBN 0-7007-1605-X.
  5. Religion in Korea, Asia Info Organization
  6. Colin Whittaker, Korea Miracle (book), Eastbourne, 1988, p. 63.
  7. 7.0 7.1 Agence France-Presse (January 31, 2009). "S. Korea president faces protests from Buddhists". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ January 31, 2009.
  8. Kim, Andrew Eungi (2000). "Christianity, Shamanism, and Modernization in South Korea". CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 28, 2012. สืบค้นเมื่อ February 13, 2009.
  9. Moll, Rob (March 1, 2009). "Missions Incredible". Christianity Today. Christianity Today International. สืบค้นเมื่อ February 17, 2009.
  10. "Buddhism in Korea". Korean Buddhism Magazine, Seoul. 1997. สืบค้นเมื่อ February 17, 2009.
  11. "International Religious Freedom Report 2008 – Korea, Republic of". United States Department of State. September 19, 2009. สืบค้นเมื่อ February 17, 2009.
  12. "BBC – Korean Zen Buddhism". Bbc.co.uk. October 2, 2002. สืบค้นเมื่อ April 25, 2010.
  13. Islamic Korea - Pravda.Ru
  14. Bae Ji-sook (2007-08-10). "Life is Very Hard for Korean Muslims". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ 2008-12-19. {{cite web}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)[ลิงก์เสีย]
  15. "Islam takes root and blooms". Islamawareness.net. November 22, 2002. สืบค้นเมื่อ April 25, 2010.
  16. "Korea's Muslims Mark Ramadan". The Chosun Ilbo. Seoul. September 11, 2008. สืบค้นเมื่อ March 4, 2012.
  17. ""Buddhism under Siege in Korea" by Dr. Frank Tedesco". สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น