เขตการปกครองของประเทศเกาหลีใต้
เขตการปกครอง ของประเทศเกาหลีใต้ |
---|
ระดับจังหวัด |
|
ระดับเทศบาล |
|
ระดับย่อยของเทศบาล |
|
ประเทศเกาหลีใต้แบ่งออกเป็น 8 จังหวัด (โท), 1 จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ (ทึกบย็อลจาชี-โด), 6 มหานคร (ควังย็อก-ชี), 1 นครพิเศษ (ทึกบย็อล-ชี) และ 1 นครปกครองตนเองพิเศษ (ทึกบย็อลจาชี-ชี) และยังมีการแบ่งเป็นส่วนย่อยอีกหลายส่วน เช่น เมือง (ชี), อำเภอ (คุน), เขต (คู), ตำบล (อึบ), เขตปกครองท้องถิ่น (มย็อน), แขวง (ทง) และหมู่บ้าน (รี)
หมายเหตุการแปล: ถึงแม้ว่าคำว่านครพิเศษ มหานคร จังหวัด และเมืองนั้นจะเป็นคำแปลเขตการปกครองของเกาหลีใต้ที่คุ้นเคยกันในภาษาไทย แต่คำแปลเช่นอำเภอ เขต ตำบล เขตปกครองท้องถิ่น แขวง และหมู่บ้าน ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในภาษาไทย
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ระดับ | ชื่อ | ประเภท |
---|---|---|
1 | ระดับจังหวัด |
|
2 | ระดับเทศบาล |
|
การแบ่งเขตการปกครองระดับจังหวัด[แก้]
การแบ่งเขตการปกครองระดับจังหวัดเป็นการแบ่งเขตการปกครองขั้นแรกภายในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มคือ จังหวัด จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ มหานคร นครพิเศษ และนครปกครองตนเองพิเศษ
การแบ่งเขตการปกครองระดับเทศบาล[แก้]
ชี (เมือง)[แก้]
ชี (시, 市) เป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งหน่วยทางปกครองของจังหวัด เช่นเดียวกับคุน ระดับเมืองนั้นจะต้องมีประชากรอย่างน้อย 150,000 คน ถ้าประชากรในเมืองชนบทมีถึง 150,000 คนก็จะได้ยกระดับเป็นเมือง (ยกเว้นเมืองกิจางในปูซาน) ส่วนเมืองที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน (เช่น ซูว็อน, ช็องจู และช็อนจู) จะถูกแบ่งออกเป็นคู (เขต) ยกเว้นเมือง คิมแฮ, ฮวาซ็อง และนัมยังจู และคูก็จะแบ่งออกเป็นทง (แขวง) เมืองที่มีประชากรน้อยกว่า 500,000 จะไม่ถูกแบ่งออกเป็นคู แต่เมืองเหล่านี้จะถูกแบ่งโดยตรงเป็นทง
คุน (อำเภอ)[แก้]
คุน (군; 郡) เป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งหน่วยทางปกครองของจังหวัด (เช่นเดียวกับชี) และของมหานครเช่น ปูซาน, แทกู, อินช็อน และอุลซัน (เช่นเดียวกับคู) คุนนั้นมีประชากรน้อยกว่า 150,000 คน (มีน้อยกว่าที่ควรจะเป็นเมือง) คือมีที่ที่ความหนาแน่นของประชากรน้อยกว่าคู และเป็นสถานที่ที่เป็นชนบทที่อยู่นอกเขตของทั้งชีและคู คุนถ้าเทียบกับระบบแบ่งเขตของอังกฤษจะเท่ากับเคาน์ตีหรือเขตที่อยู่นอกตัวเมือง คุนสามารถแบ่งออกได้เป็นอึบ (ตำบล) และมย็อน (เขตปกครองท้องถิ่น)
คู (เขต)[แก้]
คู (구; 區) เทียบกับประเทศไทยแล้วจะเท่ากับอำเภอหรือกิ่งอำเภอ เมืองของเกาหลีใต้ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็นคู แต่มหานครอย่างปูซาน, แทกู, อินช็อน และอุลซันจะประกอบด้วยคุน คูนั้นแบ่งการปกครองออกเป็นทง (แขวง)
อึบ (ตำบล)[แก้]
อึบ (읍; 邑) เป็นหน่วยการปกครองอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับมย็อน อึบนั้นเป็นหนึ่งในการแบ่งหน่วยทางปกครองของคุน (อำเภอ) และชี (เมือง) บางแห่งที่มีประชากรน้อยกว่า 500,000 คน ตำบลหลักในเมืองชนบทหรือตำบลขั้นสองภายในเขตเมืองจะถูกยกให้เป็นอึบ อึบจะมีหน่วยทางปกครองย่อยเป็นรี (หมู่บ้าน) ท้องที่ที่จะจัดตั้งเป็นอึบได้นั้นต้องมีประชากรอย่างน้อย 20,000 คน
มย็อน (เขตปกครองท้องถิ่น)[แก้]
มย็อน (면; 面) เป็นหน่วยการปกครองอย่างหนึ่งของคุน (อำเภอ) และชี (เมือง) บางแห่งที่มีประชากรน้อยกว่า 500,000 คน เช่นเดียวกับอึบ มย็อนนั้นมีประชากรน้อยกว่าในเขตอึบ และมีลักษณะเป็นพื้นที่ชนบทของเมืองและ เมืองชนบท มย็อนมีหน่วยทางปกครองย่อยเป็นรี (หมู่บ้าน) มีประชากรไม่เกิน 6,000 คน
ทง (แขวง)[แก้]
ทง (동; 洞, dong) เป็นหน่วยทางปกครองเบื้องต้นของคู (เขต) รวมทั้งของชี (เมือง) ที่มิได้มีการแบ่งเป็นคูด้วย ทงเป็นหน่วยงานทางปกครองที่เล็กที่สุดในเมืองที่มีสำนักงานและเจ้าหน้าที่เป็นของตัวเอง ในบางกรณี ทงหนึ่งแห่งนั้นสามารถแยกออกได้อีกเป็นหลายทง ซึ่งสามารถแยกความแตกต่างได้โดยใส่ตัวเลขไว้ด้านหลัง เช่น แขวงมย็องจัง 1 และแขวงมย็องจัง 2 เป็นต้น และในบางกรณีทงที่มีหลายทงก็มีสำนักงานและเจ้าหน้าที่ของตัวเอง
การแบ่งหน่วยทางปกครองในขั้นต้นของทง (동; 洞, dong) คือ ทง (통; 統, tong) แต่การแบ่งหน่วยย่อยแบบนี้ไม่ค่อยใช้เท่าไหร่นัก ส่วนทงที่มีประชากรหนาแน่นบางนั้นจะมีการแบ่งออกเป็น คา (가; 街) ซึ่งไม่ใช่การแบ่งแยกการปกครองออกเป็นเอกเทศ แต่มีไว้เพื่อความสะดวกของการส่งไปรษณีย์หรือที่อยู่เท่านั้น ถนนสายหลักส่วนใหญ่ในโซล, ซูว็อน และเมืองอื่น ๆ ก็มีการแบ่งออกเป็นคา
รี (หมู่บ้าน)[แก้]
รี (리; 里) เป็นหน่วยทางปกครองย่อยหน่วยเดียวของอึบและมย็อน โดยรีเป็นหน่วยทางปกครองที่เล็กที่สุดของหน่วยงานทางปกครองที่อยู่ในชนบท โดยการจะเป็นรีได้ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรเป็นหลัก
ประวัติศาสตร์[แก้]
ถึงแม้ว่ารายละเอียดของการปกครองส่วนท้องถิ่นจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งการปกครองขึ้นพื้นฐานระบบหัวเมืองสามชั้นซึ่งมีการนำมาปฏิบัติในสมัยพระเจ้าโกจง ในปี 2438 ซึ่งก็คล้ายกับระบบที่ยังใช้อยู่ในเกาหลีเหนือ