ศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ
ศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ ไม่มีการสำรวจสำมะโนครัวประชากรอย่างเป็นทางการและประเทศนี้เป็นประเทศไม่มีศาสนา[2][3] ข้อมูลที่มีมาจากการประมาณการจากสถิติช่วงปลาย ค.ศ. 1990[4] และ ค.ศ. 2000[1][5] ประชากรส่วนใหญ่ไม่มีศาสนา ส่วนประชากรที่นับถือศาสนา โดยมากนับถือศาสนาพื้นเมืองเกาหลีคือลัทธิชินโดและลัทธิช็อนโด มีประชากรจำนวนน้อยที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ ทั้งนี้ลัทธิช็อนโดถือเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลยิ่ง มีพรรคการเมืองเป็นของตนเองคือพรรคดรุณมิตรสวรรคมรรค[6] ทั้งยังได้รับการยกย่องจากรัฐบาลว่าเป็น "ศาสนาประจำชาติ" เกาหลี[7] เพราะได้รับความนิยม[8] และเป็นขบวนการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยม[6]
ประวัติ
[แก้]ก่อน พ.ศ. 2488
[แก้]เดิมชาวเกาหลีนับถือศาสนาพื้นเมืองคือลัทธิมูหรือชินโด ต่อมารัฐโคกูรยอรับศาสนาพุทธจากรัฐฉินเมื่อ พ.ศ. 915 และพัฒนาจนมีรูปแบบเป็นของตนเอง ในช่วงเวลานั้นคาบสมุทรเกาหลีแบ่งออกเป็นสามอาณาจักร คือ โคกูรยอทางเหนือ แพ็กเจทางตะวันตกเฉียงใต้ และชิลลาทางตะวันออกเฉียงใต้ ศาสนาพุทธแพร่หลายไปยังรัฐชิลลาในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และเพียงระยะเวลาไม่นาน ศาสนาพุทธได้รับการยอมรับนับถือเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 1095[9] ศาสนาพุทธเป็นที่นิยมมากในชิลลาและแพร่หลายไปยังรัฐแพ็กเจ (รัฐทั้งสองตั้งอยู่ในเขตประเทศเกาหลีใต้ในปัจจุบัน) ขณะที่รัฐโคกูรยอ (ตั้งอยู่ในเขตประเทศเกาหลีเหนือในปัจจุบัน) ยังนิยมนับถือศาสนาพื้นเมืองอยู่อย่างเหนียวแน่น กระทั่ง พ.ศ. 1461 มีการรวบรวมรัฐทั้งสามก่อตั้งเป็นรัฐโครยอ ศาสนาพุทธก็ยิ่งโดดเด่นและพระสงฆ์เริ่มมีอำนาจทางการเมือง[10]
เมื่อถึงยุคราชวงศ์โชซ็อนเรืองอำนาจช่วงปลายศตวรรษที่ 14 พวกเขานับถือลัทธิขงจื๊อใหม่อย่างเคร่งครัด จึงมีการลดอำนาจและปราบปรามทั้งศาสนาพุทธ[11][12] และลัทธิชินโด[13] อารามในพุทธศาสนาหลายแห่งถูกทำลาย จากที่เคยมีอยู่หลายร้อยแห่ง หลงเหลืออารามเพียงสามสิบหกแห่ง ศาสนาพุทธถูกกำจัดออกจากตัวเมืองอย่างเบ็ดเสร็จ ภิกษุและภิกษุณีล้วนถูกกีดกันและผลักดันไปยังพื้นที่ภูเขาอันห่างไกล[12] นโยบายกีดกันนี้กินเวลาจนถึงศตวรรษที่ 19[14] จากสภาวการณ์ดังกล่าว ศาสนาคริสต์มีการเผยแผ่อย่างรวดเร็วในคริสต์ศตวรรษที่ 18 มิชชันนารีได้รับการสนับสนุนจากปัญญาชนเกาหลีด้วยแนวคิด ซอฮัก และ ซิลฮัก จนกระทั่งปลายศตวรรษต่อมา ศาสนาคริสต์จึงได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์และกลุ่มชนชั้นปัญญาชน ที่ต้องการพัฒนาเกาหลีในช่วงที่รัฐโชซ็อนกำลังล่มสลาย[15] ปลายศตวรรษที่ 19 โชซ็อนมีสถานะทางการเมืองและวัฒนธรรมย่ำแย่[16] กลุ่มปัญญาชนจึงมองหาวิธีแก้ปัญหาเพื่อกอบกู้วิกฤติชาติ[16] ในช่วงเวลานี้พวกเขาได้ติดต่อมิชชันนารีตะวันตกให้ช่วยเสนอวิธีแก้ปัญหาให้ชาวเกาหลี[16] เดิมเกาหลีมีชุมชนชาวคริสต์มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 และ พ.ศ. 2423 รัฐบาลอนุญาตให้มิชชันนารีจำนวนมากเผยแผ่ศาสนาในประเทศอย่างเสรี[17] มิชชันนารีเหล่านี้ก่อตั้งโรงเรียน โรงพยาบาล และโรงพิมพ์[18] เหล่าพระราชวงศ์เองก็ให้การสนับสนุนศาสนาคริสต์เสียด้วย[19]
ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดินแดนแถบตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรเกาหลี โดยเฉพาะที่เมืองเปียงยาง กลายเป็นแหล่งอาศัยของคริสต์ศาสนิกชนขนาดใหญ่[20] เปียงยางจึงมีสมญาว่า "เยรูซาเลมแห่งบูรพาทิศ"[21] ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวเกาหลีส่วนใหญ่นับถือลัทธิชินโด บูชาผีบรรพบุรุษ และประกอบพิธีกรรมของลัทธิขงจื๊อ[22] ขณะที่ศาสนาพุทธใกล้สูญหายเต็มที แม้จะมีประวัติศาสตร์เหนือคาบสมุทรเกาหลีมายาวนาน พระสงฆ์เหลือจำนวนน้อย เพราะถูกรัฐบาลโชซ็อนซึ่งนับถือลัทธิขงจื๊อใหม่ปราบปรามมายาวนานถึง 500 ปี[22] และไม่ได้ทำนุบำรุงศาสนาพื้นเมืองดั้งเดิม[13]
ในยุคเกาหลีตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น มีการเชื่อมโยงระหว่างศาสนาคริสต์กับลัทธิชาตินิยมเกาหลีอย่างเหนียวแน่น[23] หลังรัฐบาลญี่ปุ่นพยายามกลืนลัทธิชินโดรวมเข้ากับชินโตรัฐ รวมทั้งการผนวกศาสนาพุทธแบบเกาหลีเข้ากับศาสนาพุทธแบบญี่ปุ่น ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนปฏิเสธที่จะเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาของชินโต[23] ในเวลาเดียวกันก็เกิดขบวนการศาสนาจำนวนมากตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ซึ่งเกิดจากความพยายามที่จะปฏิรูปศาสนาพื้นเมืองเกาหลี โดยเฉพาะลัทธิช็อนโด[24] ส่วนศาสนาคริสต์เฟื่องฟูมากทางตอนเหนือของคาบสมุทร[19] เช่นเดียวกับลัทธิช็อนโด[24] ที่เกิดขึ้นเพื่อต่อต้านอิทธิพลของศาสนาคริสต์[25]
พ.ศ. 2488—ปัจจุบัน
[แก้]หลังการแบ่งคาบสมุทรเกาหลีออกเป็นสองประเทศ รัฐทางเหนือปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ ส่วนรัฐทางใต้ต่อต้านระบอบคอมมิวนิสต์ คริสต์ศาสนิกชนเกาหลีกว่าครึ่งจากเกาหลีเหนืออพยพลงเกาหลีใต้[26] ประมาณการผู้อพยพลงใต้นี้อาจมากกว่าหนึ่งล้านคน ส่วนผู้ที่นับถือลัทธิช็อนโดยังกระจุกตัวอยู่ในเกาหลีเหนือหลังการแยกดินแดน[24] ช่วงแรกของการแยกประเทศมีศาสนิกชนช็อนโดราว 1.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของประชากรในประเทศเกาหลีเหนือ[27] พวกเขาก่อตั้งพรรคการเมืองชื่อ "ดรุณมิตรสวรรคมรรค" (Young Friends of the Heavenly Way) เมื่อ พ.ศ. 2537 คณะกรรมการกลางของลัทธิช็อนโดในเกาหลีเหนือได้จัดพิธีกรรมอย่างยิ่งใหญ่ที่สุสานของทันกุน (ผู้สร้างชาติเกาหลีในตำนาน) ใกล้เปียงยาง[28] ส่วนชาวแชกาซึง ซึ่งเป็นชาติพันธุ์หนึ่งที่นับถือศาสนาพุทธสายอรัญวาสี มีอัตลักษณ์พิเศษคือนักบวชสามารถมีภรรยาและบุตรสืบตระกูลได้ ถูกรัฐบาลเกาหลีเหนือสั่งปิดอารามเพราะมองว่ามีแนวคิดขัดกับหลักสังคมนิยม[29] ปัจจุบันชาวแชกาซึงถูกกลืนเข้ากับชาวเกาหลีทั่วไปจนสิ้นอัตลักษณ์เดิม[30]
จากการประมาณการประชากรเกาหลีเหนือ ใน พ.ศ. 2548 มีชาวเกาหลีนับถือลัทธิชินโดราว 3,846,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 16, ลัทธิช็อนโดราว 3,245,000 หรือคิดเป็นร้อยละ 13.5, ศาสนาพุทธราว 1,082,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 4.5 และศาสนาคริสต์ราว 406,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 1.7[1][4][5]
ใน พ.ศ. 2550 มีศาสนสถานของลัทธิช็อนโดประมาณ 800 แห่งทั่วประเทศ และมีโบสถ์กลางอยู่ที่เปียงยาง วัดพุทธ 60 แห่ง (ถูกรักษาไว้ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่าใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา) โบสถ์คริสต์ 5 แห่ง (แบ่งเป็นโบสถ์โปรเตสแตนต์ 3 แห่ง, โรมันคาทอลิกและรัสเซียออร์ทอดอกซ์อย่างละแห่ง) โดยโบสถ์คริสต์ทั้งหมดตั้งอยู่ในเปียงยาง[31] ต่อมาใน พ.ศ. 2556 มีการก่อสร้างมัสยิดอัรเราะฮ์มานของนิกายชีอะฮ์ในเปียงยาง เมื่อ พ.ศ. 2556[32]
ศาสนาหลัก
[แก้]ลัทธิช็อนโด
[แก้]ลัทธิช็อนโด (천도교, 天道教 แปลว่า "วิถีแห่งสวรรค์") เป็นลัทธิที่มีพื้นฐานมาจากลัทธิขงจื๊อกับลัทธิชินอันเป็นศาสนาพื้นเมืองเดิมของเกาหลีด้วยแนวคิดแบบ ทงฮัก (동학, 東學 แปลว่า "การเรียนรู้อย่างตะวันออก") เพื่อให้ต่างจาก ซอฮัก ของคาทอลิก[33] ก่อตั้งโดยชเว เจ-อู (최제우, 崔濟愚) ชนชั้นสูง[34] เมื่อ พ.ศ. 2403 เพื่อต่อต้านศาสนาของพวกต่างด้าว ซึ่งหมายรวมไปถึงศาสนาพุทธและคริสต์[35] โดยชเว เจ-อูอ้างว่าตนหายจากอาการเจ็บป่วยก็ด้วยอำนาจของ ซังเจ หรือ ฮานึลลิม เทพเจ้าสวรรค์ตามความเชื่อลัทธิพื้นบ้านเกาหลี[35] จนลัทธินี้มีอิทธิพลแพร่หลายไปทั่ว แต่กระนั้นช็อนโดยังดัดแปลงองค์ประกอบทางประเพณีของลัทธิเต๋าและพุทธมาปรับใช้เป็นของตนด้วย[36] สุดท้ายชเวถูกรัฐบาลโชซ็อนประหารชีวิตใน พ.ศ. 2407[35]
ครั้น พ.ศ. 2437 ขบวนการของลัทธินี้เติบโตขึ้นและเกิดการปฏิวัติชาวนาและมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านจักรวรรดิญี่ปุ่น[33] หลังการแบ่งประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ใน พ.ศ. 2488 ศาสนิกชนของช็อนโดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเกาหลีเหนือ[24] ในประเทศเกาหลีใต้ประวัติของขบวนการทงฮักและลัทธิช็อนโดไม่ใคร่เป็นที่ปรากฏนัก[8] ผิดกับเกาหลีเหนือที่มองการก่อกบฏทงฮักในทัศนคติเชิงบวก[8] ลัทธิช็อนโดได้รับความพึงใจจากรัฐบาลเกาหลีเหนือ[37] มีพรรคการเมืองของตนชื่อดรุณมิตรสวรรคมรรค[37] โดยลัทธิช็อนโดได้รับการยกย่องว่าเป็น "ศาสนาประจำชาติเกาหลี"[7]
ลัทธิมูหรือชิน
[แก้]ลัทธิมู (เกาหลี: 무교 แปลว่า "ลัทธิเชมัน")[38] หรือ ลัทธิชิน (신교 แปลว่า "ลัทธิเทพเจ้า") บ้างเรียก ชินโด (신도 แปลว่า "วิถีแห่งเทพ")[39][40] เป็นศาสนาพื้นเมืองดั้งเดิมของชาวเกาหลี[41] ทั้งสองชื่อนี้แม้จะสื่อถึงลัทธิเชมันแบบเกาหลี[41] แต่อี ช็อง-ย็อง อธิบายว่า "ชินโด" เป็นประเพณีของคนทรง และ "มู" เป็นรูปแบบหนึ่งของ "ชินโด"[42] และลัทธิพื้นบ้านนี้ไม่เคยได้รับการยอมรับว่าเป็นศาสนาประจำชาติอย่างลัทธิวูของจีน และลัทธิชินโตของญี่ปุ่น[43]
ความเชื่อหลักคือต้องนับถือ ฮานึลลิม หรือ ฮวันอิน ว่าเป็น "ผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง"[44] และ "ของเทพเจ้าทั้งหมดในธรรมชาติ"[42] มีตำนานมาว่าเหล่ามูดังคือสืบสันดานลงมาจากราชาสวรรค์ พระโอรสของพระชนนี [แห่งราชาสวรรค์] การสืบทอดการเป็นคนทรงจะส่งผ่านทางสายผู้หญิง[45] ส่วนตำนานอื่น ๆ มักเชื่อมโยงความเชื่อดั้งเดิมเข้ากับเรื่องทันกุน พระโอรสของราชาสวรรค์ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งชาติเกาหลี[46] นอกจากนี้ยังเชื่อว่ามีจิตวิญญาณสิงสถิตอยู่ในสิ่งที่เคลื่อนไหวได้และเคลื่อนไหวไม่ได้ แต่หลังการเข้ามาของศาสนาที่มีความซับซ้อนกว่า เช่น ลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื๊อ และศาสนาพุทธ ศาสนาพื้นบ้านนี้ก็ไม่ได้จางหายไปไหน หากแต่ผสมกลมกลืนไปกับศาสนานั้น ๆ เกิดเป็นองค์ประกอบความเชื่อที่หลากหลาย[47]
ชาวเกาหลีเรียกคนทรงเพศหญิงว่า "มู" (무, 巫) หรือ "มูดัง" (무당, 巫堂) หากเป็นคนทรงเพศชายจะเรียกว่า "พักซู" หรือจะเรียกชื่ออื่นก็ได้ เช่น "ดันก็อล" (당골)[41] โดยคนทรงในภาษาเกาหลีหรือเรียกว่า "มู" นั้น ตรงกับคำจีนว่า "วู" (จีน: 巫; พินอิน: wū) ใช้เรียกคนทรงได้ไม่จำแนกเพศ[42] โดยมูดังทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างวิญญาณ, เทพเจ้า และมนุษย์ ผ่านพิธีกรรมที่เรียกว่า "กุต" (เกาหลี: 굿) เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์[48]
ยุคปลายราชวงศ์โชซ็อน มิชชันนารีโปรเตสแตนต์มีอิทธิพลสูงมาก และเริ่มทำลายล้างศาสนาพื้นบ้านด้วยการรณรงค์ผ่านสื่อต่าง ๆ[49] เนื้อหาบ่งถึงความพยายามในการถอนรากถอนโคนความเชื่อพื้นเมืองให้สิ้น[49] แต่ความเชื่อในลัทธิพื้นเมืองนี้ยังคงแทรกยาดำและอยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน[50][51] แต่ปัจจุบันไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับลัทธิชินโดร่วมสมัยในเกาหลีเหนือเลย[52] คนทรงจากเกาหลีเหนือหลายคนลี้ภัยไปยังเกาหลีใต้[52] โดยคนทรงของเกาหลีเหนือมีธรรมเนียมปฏิบัติคล้ายคลึงกับคนทรงทางภาคเหนือและภาคกลางของเกาหลีใต้[52]
ศาสนากลุ่มน้อย
[แก้]ศาสนาพุทธ
[แก้]ศาสนาพุทธ (불교, 佛敎) เข้าสู่ดินแดนเกาหลีตั้งแต่ยุคสามอาณาจักร หรือราวคริสต์ศตวรรษที่ 4[9] แพร่หลายจากอินเดียผ่านจีนก่อนเข้าถึงคาบสมุทรเกาหลี เป็นนิกายมหายานซึ่งได้รับอิทธิพลจากความเชื่อพื้นเมืองและระบบเทววิทยาต่าง ๆ เข้าไว้ มีลักษณะพิเศษคือเป็นปรัชญาเพื่อการหลุดพ้น เลี่ยงการเกิดใหม่ในวัฏสงสารเพื่อมุ่งสู่นิพพาน[47] จากการอุปถัมภ์ของกษัตริย์ ศาสนาพุทธมีความรุ่งเรืองมาก มีการส่งพระภิกษุเกาหลีจาริกไปจีนและอินเดียเพื่อศึกษาพระไตรปิฎก[53] ครั้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 มีพระสงฆ์และศิลปินจากเกาหลีอพยพไปเผยแผ่ศาสนาพุทธในญี่ปุ่น[54] ถือเป็นศาสนาที่ทรงอิทธิพลและมีความโดดเด่นมาตั้งแต่ยุครัฐเหนือใต้ และในสมัยรัฐโครยอให้การสนับสนุนศาสนาพุทธเต็มที่ แต่ก็อุปถัมภ์ลัทธิขงจื๊อไปด้วย เพราะพระสงฆ์เข้าเป็นนักการเมืองและขุนนาง และมีจำนวนหนึ่งก่อการฉ้อราษฎร์บังหลวง[54] แม้ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองไปด้วยศาสนสถาน พระพุทธรูป ศิลปะ และจิตรกรรม มีการแกะแม่พิมพ์พระไตรปิฎกด้วยไม้จำนวน 80,000 แผ่น เพื่ออาศัยพุทธานุภาพขับไล่อิทธิพลมองโกลออกไป ปัจจุบันพระไตรปิฎกฉบับเกาหลีนี้ประดิษฐานไว้ ณ วัดแฮอินซา ในประเทศเกาหลีใต้[55] แต่ศาสนาพุทธก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ประเทศเสื่อมโทรม เพราะพระสงฆ์มีอำนาจราชศักดิ์มากเกินไป ทำให้เกิดความขัดแย้งหลายฝ่าย ทั้งระหว่างขุนนางฝ่ายนักรบกับขุนนางฝ่ายนักปราชญ์ และระหว่างขุนนางพุทธกับขุนนางขงจื๊อ ทำให้อาณาจักรอ่อนแอลงมาก จนถูกมองโกลรุกรานและปกครองเกาหลีอยู่เกือบศตวรรษ[55] ครั้นเข้าสู่ยุครัฐโชซ็อน มีการยกย่องลัทธิขงจื๊อใหม่เป็นศาสนาประจำชาติ เป็นหลักชี้นำของรัฐ และเป็นความถูกต้องแห่งศีลธรรมจรรยาของราชวงศ์[54] มีการริบทรัพย์สินของวัดพุทธที่สั่งสมมาตั้งแต่ยุคโครยอเป็นของรัฐ[56] ศาสนาพุทธถูกปราบปรามนานถึง 500 ปี[11][12] แม้จะมีความพยายามในการฟื้นฟูศาสนาพุทธขึ้นมาอยู่เนือง ๆ แต่ก็ถูกเหล่านักปราชญ์และขุนนางที่นับถือลัทธิขงจื๊อต่อต้านอยู่เสมอ จนถึงยุคปลายของราชวงศ์โชซ็อน[54]
หลังการแยกประเทศ พุทธศาสนิกชนกลายเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศเกาหลีเหนือ ขนบธรรมเนียมและประเพณีถูกพัฒนาด้วยพลวัตทางสังคมผิดจากเกาหลีใต้ ศาสนาพุทธในเกาหลีเหนืออยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของสหพันธ์พุทธศาสน์เกาหลี (조선불교도련맹, 朝鮮佛敎徒聯盟) ซึ่งเป็นองค์กรในกำกับของรัฐบาลเกาหลีเหนือ พระสงฆ์ทั้งหมดต้องพึ่งพาอามิสปัจจัยจากรัฐเพื่อการดำรงอยู่ของวัด รวมทั้งยอมจำนนต่ออำนาจรัฐเพื่อกำกับการปฏิบัติศาสนกิจ[57] สำนักข่าวย็อนฮับรายงานว่า ศาสนาพุทธในเกาหลีเหนือเป็นนิกายโชกเย พระสงฆ์มีจำนวน 300 รูป ทั้งหมดเป็นเจ้าหน้าที่จากพรรคแรงงานที่ผ่านการอบรมด้านศาสนาจากมหาวิทยาลัยคิมอิลซ็อง พระสงฆ์ไม่ต้องโกนศีรษะและไม่จำวัดอย่างพระในเกาหลีใต้ พวกเขามีบ้านมีครอบครัว สวมสูทสีดำไปวัดทุกเช้า เมื่ออยู่ในวัดก็จะห่มจีวรสีแดงคลุมชุดสูท หลายคนแต่งงานมีครอบครัวแล้ว ฝ่ายเกาหลีใต้ไม่เรียกนักบวชเหล่านี้ว่า "พระ" แต่เรียกว่า "ผู้จัดการวัด" เพราะมิได้บำเพ็ญพรตหรือบำเพ็ญตบะ และแทบมิได้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเลย[58] ใน พ.ศ. 2552 ยู ยง-ซุน ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำของสหพันธ์พุทธศาสน์เกาหลี[59]
ปัจจุบันมีพุทธสถานในประเทศทั้งหมดเพียง 60 แห่ง จากเดิมในยุคอาณานิคมของญี่ปุ่น แผ่นดินเกาหลีเหนือเคยมีวัดพุทธมากกว่า 400 แห่ง[58] วัดเหล่านี้ถูกรัฐบาลมองว่าเป็นโบราณสถานหรือโบราณวัตถุยุคโบราณของเกาหลีมากกว่าเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา[31] มีวิทยาลัยอบรมพระสงฆ์หลักสูตรสามปี การฟื้นฟูศาสนาพุทธในเกาหลีเหนือเป็นไปอย่างจำกัดจำเพาะ รวมไปถึงการจัดตั้งสถาบันศาสนาพุทธและตีพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับเกาหลีจำนวน 25 เล่ม ซึ่งทั้งหมดแกะสลักจากไม้จำนวน 80,000 แผ่น ถูกเก็บรักษาไว้ ณ วัดมโยฮยังซัน บริเวณภาคกลางของประเทศเกาหลีเหนือ เมื่อไม่นานมานี้ ผู้นำพุทธศาสนิกชนชาวเกาหลีใต้ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าไปเกาหลีเหนือ เพื่อเข้าร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และให้ทุนสงเคราะห์แก่พลเรือน[60]
แม้ว่ารัฐบาลเกาหลีเหนือจะมีท่าทีไม่เป็นมิตรต่อศาสนาอย่างเป็นทางการ แต่ทั้งศาสนาพุทธและลัทธิขงจื๊อยังคงทรงอิทธิพลเหนือชาวเกาหลีเหนือ เพราะเป็นศาสนาดั้งเดิมของชาวเกาหลี[61][62] และองค์กรพุทธในเกาหลีเหนือถือว่าเป็นองค์กรที่กระตือรือร้นและทรงอำนาจที่สุด เพราะไม่ถูกมองว่าเป็นศาสนาของคนนอก ผิดกับศาสนาพุทธในเกาหลีใต้ที่ต้องแย่งชิงศาสนิกกับศาสนาคริสต์[63] วันประสูติของพระพุทธเจ้าไม่เป็นวันหยุดราชการในเกาหลีเหนือ ทำให้มีพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมพิธีบางตาเมื่อเทียบกับเกาหลีใต้[58] กระนั้นพระชง บย็อก แห่งวัดโพฮย็อนซา อ้างว่ามีพุทธศาสนิกชนมาประกอบศาสนกิจราวราว 2,000 คน เพื่อมาอธิษฐานในวัดสำคัญทางพุทธศาสนา หรือมาทำบุญเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญของตนเอง[64][65]
ศาสนาคริสต์
[แก้]ศาสนาคริสต์ (그리스도교) เข้าถึงดินแดนเกาหลีครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2334 หรือสิบปีหลังการกลับมาของอี ซึง-ฮุน ชาวเกาหลีคนแรกที่ผ่านการบัพติศมาที่ปักกิ่ง ประเทศจีน[66] งานเขียนของมัตเตโอ ริชชี มิชชันนารีเยสุอิตซึ่งอาศัยอยู่ในราชสำนักปักกิ่งถูกนำไปสู่เกาหลีตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 แล้ว นักวิชาการขงจื๊อที่เรียกว่า ซิลฮัก (실학, 實學 แปลว่า "การเรียนรู้เชิงปฏิบัติ") สนใจในหลักคำสอนคาทอลิก และเป็นผู้เผยแผ่ความเชื่ออย่างคาทอลิกอย่างแพร่หลายในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18[67] ปัจจุบันมีการเผยแผ่หลากหลายนิกายมาก เช่น โรมันคาทอลิก (천주교, 天主敎), เพรสไบทีเรียน (장로교), เมทอดิสต์ (감리교), แบปทิสต์ (침례교) และนิกายย่อยอีกจำนวนมาก[68]
แนวคิดอย่างตะวันตกและศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกในเกาหลีถูกนำเสนอในชื่อ ซอฮัก (서학, 西學 แปลว่า "การเรียนรู้อย่างตะวันตก") จากการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2344 พบว่าครึ่งหนึ่งของครอบครัวที่เปลี่ยนไปเข้ารีตนิกายคาทอลิกมีความเชื่อมโยงกับซอฮัก[69] ผู้เข้ารีตส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะร่วมพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษของลัทธิขงจื๊อ จากนั้นรัฐบาลโชซ็อนจึงประกาศห้ามเผยแผ่ศาสนาคริสต์ คริสต์ศตวรรษที่ 19 คริสต์ศาสนิกชนจำนวนมากถูกประหาร แต่กฎหมายนี้ไม่ได้บังคับใช้อย่างเข้มงวดนัก คริสต์ศาสนิกชนเกาหลีส่วนใหญ่จึงกระจุกตัวอยู่ทางตอนเหนือของคาบสมุทร ซึ่งอิทธิพลของลัทธิขงจื๊อไม่เข้มข้นเท่าภาคใต้[70] โดยนิกายโรมันคาทอลิกเคยรุ่งเรืองมากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ถึง 1980[71] หลังจากนั้นนิกายโปรเตสแตนต์ที่ได้เข้ามามีบทบาทตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังบาทหลวงคาทอลิกสามารถทำให้ชาวเกาหลีกลับใจไปนับถือศาสนาคริสต์ได้จำนวนมาก มิชชันนารีโปรเตสแตนต์ได้รับการสนับสนุนจากราชวงศ์เกาหลีที่กำลังอ่อนแอ[19] ในช่วงเวลานั้นเกาหลีไม่มีศาสนาประจำชาติอย่างจีนและญี่ปุ่น จึงเป็นช่องทางให้มีการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ได้อย่างอิสระ[43] มิชชันนารีเมทอดิสต์และเพรสไบทีเรียนประสบความสำเร็จในการเผยแผ่ศาสนาอย่างงดงาม พวกเขาก่อตั้งโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการรังสรรค์ความเจริญให้กับเกาหลี[18]
ก่อน พ.ศ. 2491 เปียงยางถือเป็นศูนย์กลางของชาวคริสต์ หนึ่งในหกของประชากรราว 300,000 คน คือผู้เข้ารีตศาสนาคริสต์[26] จนได้รับสมญาว่า "เยรูซาเลมแห่งบูรพาทิศ"[72] จากความเสื่อมโทรมของศาสนาพุทธที่ถูกปราบปรามถึง 500 ปี ศาสนาคริสต์ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีการศึกษา สมาชิกของคริสตจักรมีผู้บทบาทเรียกร้องการปกครองตนเองในช่วงอาณานิคม และการเชื่อมโยงศาสนาคริสต์กับลัทธิชาตินิยมเกาหลี[19] ชาวคอมมิวนิสต์ในเกาหลีเหนือส่วนใหญ่มีปูมหลังเป็นคริสต์ศาสนิกชนมาก่อน ดังเช่น คัง พัน-ซ็อก มัคนายิกาในโบสถ์ ผู้มารดาของคิม อิล-ซ็อง[73] หลังการก่อตั้งรัฐคอมมิวนิสต์ทางตอนบนของคาบสมุทรเกาหลี คริสต์ศาสนิกชนจำนวนมากอพยพไปยังดินแดนทางใต้เพื่อหลบหนีการกดขี่ทางศาสนา[26] เพราะรัฐบาลเกาหลีเหนือมองว่าคริสต์ศาสนิกชนมีความเกี่ยวข้องกับสหรัฐ[74]
ปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 เกาหลีเหนือตีพิมพ์พระคัมภีร์ไบเบิลเป็นของตนเอง ซึ่งมิชชันนารีจากทางใต้ต้องใช้พระคัมภีร์ฉบับนี้ในการเผยแผ่ในดินแดนทางเหนือ[75][76] ปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 คริสต์ศาสนิกชนทำงานให้กับชนชั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล[74] ในช่วงนั้นมีการก่อสร้างโบสถ์โปรเตสแตนต์สองแห่ง และคาทอลิกหนึ่งแห่ง ทั้งหมดตั้งอยู่ในเปียงยาง
มีการส่งสัญญาณอันแสดงออกถึงทัศนคติที่เปลี่ยนไปของรัฐบาลต่อศาสนาคริสต์ คือ "การจัดสัมมนาคริสต์ศาสนิกชนเหนือและใต้ เพื่อสันติภาพและการรวมชาติเกาหลี" (International Seminar of Christians of the North and South for the Peace and Reunification of Korea) ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2531 มีการอนุญาตให้ผู้แทนของสมเด็จพระสันตะปาปาเข้าร่วมพิธีเปิดอาสนวิหารชังชุงในปีเดียวกัน และส่งโนวิซสองรูปไปศึกษาที่กรุงโรม และสำนักเซมินาร์ในเปียงยางได้อบรมสั่งสอนผู้นำในอนาคตของเกาหลีเหนือ[77] ศิษยาภิบาลเกาหลีเหนือรายงานในการประชุมสภาคริสตจักรแห่งชาติในวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อ พ.ศ. 2532 ระบุว่าในเกาหลีเหนือมีชาวโปรเตสแตนต์จำนวน 10,000 คน โรมันคาทอลิก 1,000 คน และมีศาสนิกชนประกอบพิธีกรรมภายในบ้านจำนวน 500 ครอบครัว มีคริสต์ศาสนิกชนไม่เกิน 12,000–15,000 คน[78] ใน พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2537 บิลลี เกรแฮม ผู้ประกาศข่าวประเสริฐชาวอเมริกันเดินทางไปยังเกาหลีเหนือ เขามีโอกาสได้พบกับคิม อิล-ซ็อง และมอบไบเบิลแก่เขาสองเล่ม ทั้งยังได้ไปเทศนาที่มหาวิทยาลัยคิมอิลซ็อง และหลังจากนั้นใน พ.ศ. 2561 แฟรงคลิน เกรแฮม บุตรชายของบิลลีได้เยือนเกาหลีเหนือเช่นกัน[79][73] พ.ศ. 2534 รัฐบาลเกาหลีเหนือเคยเชิญสมเด็จพระสันตะปาปามาเยือน[80] และ พ.ศ. 2561 รัฐบาลเกาหลีเหนือเชิญสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเยือนเกาหลีเหนือด้วย[81]
สหพันธ์คริสต์ศาสนิกชนเกาหลี เป็นผู้แทนของคริสต์ศาสนิกชนเกาหลีเหนือ ซึ่งเป็นองค์กรในกำกับของรัฐบาลเกาหลีเหนือ ทำหน้าที่รับผิดชอบในการติดต่อกับคริสตจักรและรัฐบาลต่างประเทศ มีโบสถ์ห้าหลังในเปียงยาง และมีโบสถ์ล่าสุดคือโบสถ์พระตรีเอกภาพให้ชีวิต เป็นของนิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2549[82] และมีความพยายามอย่างยิ่งยวดของมิชชันนารีเกาหลีใต้ที่เข้าไปเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในเกาหลีเหนือปรากฏให้เห็นบ่อยครั้ง[63]
มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปียงยาง เปิดดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2553 มีระบบการดำเนินงานด้วยแนวคิดแบบคริสต์[83] มีองค์กรสงเคราะห์ของคริสต์หลายแห่งที่ทำการในการเกาหลีเหนือ เช่น คณะกรรมการบริการเพื่อนชาวอเมริกัน (American Friends Service Committee), คณะกรรมการกลางเมนโนไนท์ (Mennonite Central Committee) และศุภนิมิต (World Vision) ได้รับการอนุญาตให้ดำเนินการในประเทศได้ แต่ห้ามเปลี่ยนศาสนาของผู้คน[84][85][86] ต่อมา พ.ศ. 2559 มีการเฉลิมฉลองคริสต์มาส แต่ถูกบังคับให้ลดเสียงพิธีกรรมทางศาสนา[87] และ พ.ศ. 2561 สภานักศาสนาเกาหลีเหนือ (North Korean Council of Religionists) ส่งข้อความอวยพรวันคริสต์มาสให้เกาหลีใต้ โดยเนื้อหาเขียนไว้ว่า "จับมือกันเพื่อสันติภาพและสามัคคี เต็มเปี่ยมด้วยพระพรแห่งพระเยซูเจ้า"[88]
ขณะที่รายงานขององค์กรโอเพนดอส์ (Open Doors) ระบุว่าประเทศเกาหลีเหนือเป็นดินแดนที่ข่มเหงคริสต์ศาสนิกชนมากที่สุด[89]
ศาสนาอิสลาม
[แก้]สำนักวิจัยพิว รายงานว่าใน พ.ศ. 2553 ประเทศเกาหลีเหนือมีอิสลามิกชนอาศัยอยู่ 3,000 คน เพิ่มจากเดิมคือ พ.ศ. 2533 มีอิสลามิกชนเพียง 1,000 คน[90] มีมัสยิดเพียงแห่งเดียวในประเทศคือมัสยิดอัรเราะฮ์มาน ตั้งอยู่ภายในสถานทูตอิหร่านในกรุงเปียงยาง สำหรับรองรับเจ้าหน้าที่สถานทูต และอาจรองรับชาวต่างชาติอื่น ๆ ที่นับถือศาสนาอิสลามด้วย[91]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Alton, 2013. p. 79. As of 2005 the agency "Religious Intelligence UK" estimated 3,846,000 believers of Korean shamanism, 3,245,000 Chondoists, 1,082,888 Buddhists, 406,000 Christians, and the rest non-believers.
- ↑ World and Its Peoples: Eastern and Southern Asia. Marshall Cavendish. สืบค้นเมื่อ 2011-03-05.
North Korea is officially an atheist state in which almost the entire population is nonreligious.
- ↑ The State of Religion Atlas. Simon & Schuster. สืบค้นเมื่อ 2011-03-05.
Atheism continues to be the official position of the governments of China, North Korea and Cuba.
- ↑ 4.0 4.1 Chryssides, Geaves. 2007. p. 110
- ↑ 5.0 5.1 Association of Religion Data Archives: North Korea: Religious Adherents, 2010 เก็บถาวร 2018-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Data from the World Christian Database.
- ↑ 6.0 6.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อBaker, 2008. p. 146
- ↑ 7.0 7.1 KCNA: Chondoism, National Religion. North Korea Economy Watch 5/23/2007.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Lee, 1996. p. 110
- ↑ 9.0 9.1 Asia For Educators: Korea, 300 to 600 CE. Columbia University, 2009.
- ↑ Vermeersch, Sem. (2008). The Power of the Buddhas: the Politics of Buddhism during the Koryŏ Dynasty (918-1392). p. 3
- ↑ 11.0 11.1 Grayson, 2002. pp. 120-138
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Tudor, 2012.
- ↑ 13.0 13.1 Joon-sik Choi, 2006. p. 15
- ↑ Grayson, 2002. p. 137
- ↑ Grayson, 2002. pp. 155–161
- ↑ 16.0 16.1 16.2 Grayson, 2002. p. 155
- ↑ Grayson, 2002. p. 157
- ↑ 18.0 18.1 Grayson, 2002. pp. 157-158
- ↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 Grayson, 2002. p. 158
- ↑ Robinson, Michael E (2007). Korea's Twentieth-Century Odyssey. Honolulu: University of Hawaii Press. p. 113. ISBN 978-0-8248-3174-5.
- ↑ Lankov, Andrei (16 March 2005). "North Korea's missionary position". Asia Times Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2005.
{{cite web}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ 22.0 22.1 Pyong Gap Min, 2014.
- ↑ 23.0 23.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGrayson, 2002. pp. 158-161
- ↑ 24.0 24.1 24.2 24.3 Carl Young. Into the Sunset: Ch’ŏndogyo in North Korea, 1945–1950. On: Journal of Korean Religions, Volume 4, Number 2, October 2013. pp. 51-66 / 10.1353/jkr.2013.0010 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Carl Young 2013. pp. 51-66" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ Lee 1996, p. 105.
- ↑ 26.0 26.1 26.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGrayson, 2002. p. 163
- ↑ Park, 2009. p. 346
- ↑ Corfield, 2013. p. 208
- ↑ Frank Reynolds; Jason A. Carbine (2000). The Life of Buddhism. University of California Press. p. 16. ISBN 978-0-520-21105-6.
- ↑ Kim Hwansoo (2013). "'The Mystery of the Century:' Lay Buddhist Monk Villages (Chaegasŭngch'on) Near Korea's Northernmost Border, 1600s–1960" (PDF). Seoul Journal of Korean Studies. 26 (2): 297–299. สืบค้นเมื่อ April 24, 2016.
- ↑ 31.0 31.1 Baker 2008, pp. 145–146.
- ↑ "Iran Build's Pyongyang's First Mosque | NK News". NK News - North Korea News. January 22, 2013.
- ↑ 33.0 33.1 ความจริงเกี่ยวกับเกาหลี, หน้า 158
- ↑ Lee, 1996. p. 109
- ↑ 35.0 35.1 35.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อLee, 1996. p. 105
- ↑ 韓國 近代宗敎의 三敎融合과 生命·靈性 – 원불교사상연구원 เก็บถาวร 25 ธันวาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 37.0 37.1 Baker 2008, p. 146.
- ↑ Used in: Chang Soo-kyung, Kim Tae-gon. Korean Shamanism – Muism. Jimoondang, 1998.
- ↑ Lee Chi-ran, p. 13
- ↑ Used in: Margaret Stutley. Shamanism: A Concise Introduction. Routledge, 2003.
- ↑ 41.0 41.1 41.2 Jung Young Lee, 1981. p. 4
- ↑ 42.0 42.1 42.2 Jung Young Lee, 1981. p. 5
- ↑ 43.0 43.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อOgata, Mamoru Billy 1984 p. 32
- ↑ Jung Young Lee, 1981. p. 18
- ↑ Jung Young Lee, 1981. pp. 5-12
- ↑ Jung Young Lee, 1981. p. 13
- ↑ 47.0 47.1 ความจริงเกี่ยวกับเกาหลี, หน้า 150-151
- ↑ Joon-sik Choi, 2006. p. 21
- ↑ 49.0 49.1 Kendall, 2010. pp. 4-7
- ↑ Joon-sik Choi, 2006. pp. 17-18-19
- ↑ Sang-Hun, Choe (6 July 2007). "In the age of the Internet, Korean shamans regain popularity". The New York Times.
- ↑ 52.0 52.1 52.2 Walter, Fridman. 2004. p. 654
- ↑ ความจริงเกี่ยวกับเกาหลี, หน้า 20
- ↑ 54.0 54.1 54.2 54.3 ความจริงเกี่ยวกับเกาหลี, หน้า 152-153
- ↑ 55.0 55.1 ความจริงเกี่ยวกับเกาหลี, หน้า 22
- ↑ ความจริงเกี่ยวกับเกาหลี, หน้า 23
- ↑ "Another Korea Buddhism in North Korea". Buddhist channel TV. 2007-01-15. สืบค้นเมื่อ 2014-02-21.
- ↑ 58.0 58.1 58.2 "Buddhist Religion in N. Korea". KBS WORLD. 30 เมษายน 2563. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Jeong, Yong-soo (5 January 2009). "Buddhist leader gets North's South policy spot". JoongAng Ilbo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-05-20.
- ↑ "Buddhists from both Koreas hold ceremony on Mt. Kumgang, North Korea". KR: Hani. 2012-10-15. สืบค้นเมื่อ 2014-02-21.
- ↑ "Culture of North Korea – Alternative name, History and ethnic relations". Countries and Their Cultures. Advameg Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2009. สืบค้นเมื่อ 4 July 2009.
- ↑ Bureau of East Asian and Pacific Affairs (February 2009). "Background Note: North Korea". U.S. State Department. สืบค้นเมื่อ 4 July 2009.
- ↑ 63.0 63.1 Bernard Senécal (ตุลาคม 2553). "Buddhists in the Two Koreas: North-South Interactions". JSTOR. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Steve Herman (1 สิงหาคม 2556). "Atheist North Korea Keeps Buddhist Temple in Operation". VOA. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Anne Wisman (10 พฤษภาคม 2561). "North Korean Buddhist Federation Sends Vesak Prayer to South". Buddhist Door. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Choi Suk-woo. Korean Catholicism Yesterday and Today. On: Korean Journal XXIV, 8, August 1984. pp. 5-6
- ↑ Kim Han-sik. The Influence of Christianity. In: Korean Journal XXIII, 12, December 1983. pp. 5-7
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อdenom1
- ↑ Kim Ok-hy. Women in the History of Catholicism in Korea. In: Korean Journal XXIV, 8, August 1984. p. 30
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGrayson, 2002. p. 158, p. 162
- ↑ 가톨릭신문. "[80년대 한국 가톨릭의 결산] 2. 한국교회와 교세". www.catholictimes.org (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2021-03-12.
- ↑ Andrei Lankov (9 September 2013). "North Korea's irreconcilable relationship with Christianity". NK News – North Korea News. สืบค้นเมื่อ 2016-02-29.
- ↑ 73.0 73.1 Richardson, Christopher (23 June 2017). "Revolution and Revival: Ideology and Faith in North Korea". SinoNK.
- ↑ 74.0 74.1 Ryu, Dae Young (2006), "Fresh wineskins for new wine: a new perspective on North Korean Christianity", Journal of Church and State 48 (3).
- ↑ Tertitskiy, Fyodor (6 June 2016). "The good things in North Korea: Taking a moment to recognize good art, good scholarship and good people". NK News.
- ↑ Dillmuth, Timothy (14 May 2014). "Where Did Our North Korean Bible Translation Come From?". Do the Word.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อRyu, Dae Young 2006
- ↑ "Episode 137: Christianity in North Korea". NK News. 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-20. สืบค้นเมื่อ 20 July 2020.
- ↑ Billy Graham Evangelistic Association: Janet Chismar, The Graham Family Legacy in North Korea. July 30, 2008.
- ↑ "Prominent Defector on N.Korea's Relationship with Religion". Chosun Ilbo. 25 May 2018. สืบค้นเมื่อ 26 May 2018.
- ↑ Sherwood, Harriet (19 October 2018). "Pope Francis willing to visit North Korea, Vatican official says". The Guardian.
- ↑ The Church of the Life-Giving Trinity consecrated in Pyongyang. The Russian Orthodox Church delegation on a visit to the KPDR, China: Orthodox Church in China
- ↑ "Pyongyang University of Science and Technology: President's Welcome". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-04.
- ↑ Bagherzadeh, Nazanin (14 March 2017). "True believers: Faith-based NGOs in North Korea". NK News.
- ↑ Zwirko, Colin (21 March 2019). "Mennonite Central Committee granted sanctions exemption to bring metals into DPRK". NK News.
- ↑ Valentino, Andrea (4 September 2019). "Sowing the seeds of improving agriculture: Quakers in North Korea". NK News.
- ↑ Talmadge, Eric (2016). "Christmas in N. Korea: Lights and trees, but void of Jesus". AP.
- ↑ Lee, Wooyoung (26 December 2018). "North Korea sends Christmas greeting in video". UPI.
- ↑ "Nordkorea". Open Doors Germany (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-20. สืบค้นเมื่อ 2017-01-11.
- ↑ "Table: Muslim Population by Country". Pew Research Center. 27 January 2011. สืบค้นเมื่อ 14 March 2017.
- ↑ Chad O'Carroll (22 January 2013). "Iran Build's Pyongyang's First Mosque". NKNews. สืบค้นเมื่อ 29 July 2015.