แม่น้ำแทดง
แม่น้ำแทดง | |
---|---|
แผนที่เส้นทางแม่น้ำแทดงในประเทศเกาหลีเหนือ | |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | เกาหลีเหนือ |
ลักษณะทางกายภาพ | |
ต้นน้ำ | ภูเขาแรงกริม, จังหวัดฮัมกย็องใต้ |
ปากน้ำ | อ่าวเกาหลีตะวันตก |
ความยาว | 439 กิโลเมตร[1] |
พื้นที่ลุ่มน้ำ | 20,344 ตารางกิโลเมตร |
แม่น้ำแทดง | |
โชซ็อนกึล | |
---|---|
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Daedong-gang |
เอ็มอาร์ | Taedong-gang |
แม่น้ำแทดง (เกาหลี: 대동강; ฮันจา: 大同江; อาร์อาร์: Taedong-gang) เป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศเกาหลีเหนือ ไหลจากภูเขารังนิมทางตอนเหนือทางประเทศ ลงสู่อ่าวเกาหลีที่ นัมโพ[2] นอกจากนี้ ยังไหลผ่านกรุงเปียงยาง เมืองหลวงของประเทศอีกด้วย
แม่น้ำนี้มีความยาว 439 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับที่ 50 ของคาบสมุทรเกาหลี และเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศเกาหลีเหนือ เมืองสำคัญที่ไหลผ่านได้แก่ เปียงยาง, ซุนช็อน, แทฮัง และซ็องนิม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นน้ำที่ใช้ขนส่งทางน้ำและเป็นแม่น้ำแหล่งประปาขนาดใหญ่ของเกาหลีเหนืออีกด้วย
ประวัติ
[แก้]โคกูรยอ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงเปียงยาง ที่ถูกก่อตั้งขึ้นบนชายฝั่ง และมีแหล่งโบราณคดีมากมายอยู่ริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังมีพระธาตุและซากปรักหักพัง ซึ่งคาดว่าเป็นของอาณาจักรนังนังของจีน ซึ่งอาณาจักรนี้ถูกครอบครองโดยอาณาจักรโคกูรยอในเวลาต่อมา และยังมีสุสานนักรัง ที่ถูกขุดโดยชาวญี่ปุ่น ในขณะที่ครอบครองเกาหลี และแม่น้ำแทดงได้ขึ้นชื่อว่าเป็นแม่น้ำอารยธรรมแห่งเกาหลีเหนือ
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1592 ในระหว่างการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น ขณะที่กองทหารเกาหลีถอนกำลัง ทัพญี่ปุ่นของโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ (豊臣 秀吉) นำโดย โคนิชิ ยูกินางะ (小西 行長) ได้นำกองทัพเรือญี่ปุ่นไปถึงลุ่มแม่น้ำใกล้กับเปียงยาง[3]
ในสมัยที่เกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น แม่น้ำนี้รู้จักกันในชื่อ ไดโด (大同; Daidō)[4] และมีรู้จักในอีกชื่อหนึ่งคือ แม่น้ำแพ (패수; 浿水; P’aesu )[5]
เขื่อน สะพาน และสิ่งก่อสร้าง
[แก้]ในปี ค.ศ. 1986 รัฐบาลสร้าง เขื่อนนัมโพ ยาว 8 กิโลเมตรได้สำเร็จ ประกอบด้วยเครื่องกันน้ำและประตูน้ำรวม 39 เครื่องด้วยกัน บริเวณใกล้ปากน้ำของแม่น้ำแทดงที่นัมโพ[2] เขื่อนจะทำการป้องกันน้ำท่วม และทดแทนน้ำจากอ่าวเกาหลี[2] สำหรับเขื่อนอื่น ๆ จะมีการส่งพลังงานน้ำเพื่อผลิดกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอกับคนในประเทศ เช่น โรงงานไฟฟ้านังว็อน[6] เป็นต้น
ในกรุงเปียงยาง มีทั้งหมด 6 สะพานที่ข้ามผ่านแม่น้ำแทดง รวมทั้ง สะพานโอกริว, สะพานรังกรา และสะพานแทดง[7]
สมุดภาพ
[แก้]-
ภาพมุมกว้างของแม่น้ำแทดงในเปียงยาง
-
แม่น้ำแทดงใน ค.ศ. 1889
-
แนวโค้งของแม่น้ำแทดง
-
แนวโค้งของแม่น้ำแทดง
-
คนปั่นจักรยานเลียบแม่น้ำแทดง (ด้านหลังคือห้องสมุดประชาชนเปียงยาง)
-
เรือ อูเอสเอส พัวโบล (เอจีอีอาร์-2) จอดอยู่บนแม่น้ำแทดง
-
แม่น้ำแทดงในนัมโพ
-
แม่น้ำแทดงในนัมโพ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Taedong River". Encyclopædia Britannica Online.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Suh, Dae-Sook (1987). "North Korea in 1986: Strengthening the Soviet Connection". Asian Survey. 27 (1): 56–63. doi:10.2307/2644599. ISSN 0004-4687.
- ↑ 豊田泰 (2007-07-15). 日本の対外戦争 古代・中世 白村江の戦い・元寇・秀吉の朝鮮侵攻. 文芸社 (ภาษาญี่ปุ่น). p. 304. ISBN 978-4-286-02876-7.
- ↑ McCune, Shannon (1943). "Recent Development of P'yongyang, Korea". Economic Geography. 19 (2): 148–155. doi:10.2307/141366. eISSN 1944-8287.
- ↑ Royal Asiatic Society--Korea Branch (1973). Transactions of the Korea Branch of the Royal Asiatic Society. Vol. 48. p. 59. ISSN 1229-0009.
- ↑ "Mental Power of Nyongwon, Wealth of DPRK". Korean Central News Agency - 조선중앙통신. 2009-06-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-24 – โดยทาง Korea News Service (KNS).
- ↑ "옥류교". Doopedia (ภาษาเกาหลี). Doosan. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แม่น้ำแทดง