ข้ามไปเนื้อหา

ข้าวสาลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้าวสาลี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Liliopsida
อันดับ: Poales
วงศ์: Poaceae
สกุล: Triticum
L.
Species

T. aestivum
T. aethiopicum
T. araraticum
T. boeoticum
T. carthlicum
T. compactum
T. dicoccoides
T. dicoccon
T. durum
T. ispahanicum
T. karamyschevii
T. macha
T. militinae
T. monococcum
T. polonicum
T. spelta
T. sphaerococcum
T. timopheevii
T. turanicum
T. turgidum
T. urartu
T. vavilovii
T. zhukovskyi
References:
  ITIS 42236 2002-09-22

ข้าวสาลี (Triticum spp.) [1] เป็นพืชจำพวกธัญพืช ปลูกมากในแถบประเทศตะวันออกกลาง เหนือเส้นศูนย์สูตร หรือในเขตอบอุ่น หรือเขตหนาวบางเขต เมล็ดข้าวสาลีจะมีแป้งเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณ 70% และมีแร่ธาตุอื่น ๆ อีกเป็นองค์ประกอบ 30% ต้นข้าวสาลีประกอบไปด้วยธาตุอาหารมากกว่า 100 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแร่ธาตุหลัก ๆ ที่ร่างกายต้องการทุกตัว แร่ธาตุรองที่ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อย วิตามินในกลุ่มบีคอมเพล็กซ์ครบถ้วน นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในเรื่องของแหล่งโปร – วิตามินเอ ที่สูงที่สุดในบรรดาอาหารต่าง ๆ รวมทั้งมีวิตามินซี อี และเค เป็นจำนวนมาก น้ำต้นข้าวสาลีมีโปรตีนอยู่ 25 % ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงมากกว่าเมื่อเทียบกับเนื้อปลา ไข่ ผลิตภัณฑ์นม หรือถั่วต่าง ๆ มากไปกว่านี้ยังมีสารต้าน เชื้อรา สารต้านพิษจากเชื้อราที่เรียกว่า laetrile อีกด้วย

ข้าวสาลี เป็นธัญพืชอย่างดีที่มีการบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคกระเพาะ สำหรับผู้ป่วยระหว่างพักฟื้น ในทางยาใช้เมล็ดแก่ในขนาด 15-30 g. ต้มกินน้ำเป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยให้นอนหลับ และลดความดันโลหิตสูง[2]

แหล่งผลิตข้าวสาลีรายใหญ่ในประเทศไทย ได้แก่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน[3]

โภชนาการ

[แก้]

แม้ว่าข้าวสาลีจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่ข้าวสาลีก็มีโปรตีนกลูเต็นที่ผู้ป่วยโรคผิดปกติเกี่ยวกับช่องท้อง (Coeliac disease) ไม่สามารถรับโปรตีนชนิดนี้ได้เช่นกัน ซึ่งโปรตีนชนิดนี้สามารถพบได้ใน ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ตและข้าวทริทิเคลี[4]

ข้าวสาลี
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน1,506 กิโลจูล (360 กิโลแคลอรี)
51.8 g
ใยอาหาร13.2 g
9.72 g
23.15 g
วิตามิน
ไทอามีน (บี1)
(164%)
1.882 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(42%)
0.499 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(45%)
6.813 มก.
(1%)
0.05 มก.
วิตามินบี6
(100%)
1.3 มก.
โฟเลต (บี9)
(70%)
281 μg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(4%)
39 มก.
เหล็ก
(48%)
6.26 มก.
แมกนีเซียม
(67%)
239 มก.
ฟอสฟอรัส
(120%)
842 มก.
โพแทสเซียม
(19%)
892 มก.
สังกะสี
(129%)
12.29 มก.

Footnote text here
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

ผลผลิตและการบริโภค

[แก้]

ในปี 2011 การบริโภคข้าวสาลีเฉลี่ย 65 กิโลกรัมต่อคน และพบว่าประเทศอาเซอร์ไบจานมีการบริโภคข้าวสาลีเฉลี่ย 210 กิโลกรัมต่อคน ในปี 1997 มีการข้าวสาลีเฉลี่ยสูงถึง 110 กิโลกรัมต่อคน และประเทศเดนมาร์กบริโภคสูงถึง 623 กิโลกรัมต่อคน แต่ร้อยละ 80 เป็นอาหารสัตว์ ข้าวสาลีเป็นอาหารหลักหลักในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางและได้รับความนิยมในเอเชีย การผลิตข้าวสาลีเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นทั่วโลก โดยประเทศจีนสามารถผลิตข้าวสาลีได้เกือบจะเป็นหนึ่งในหกของโลก

A map of worldwide wheat production.
15 อันดับผู้ผลิตข้าวสาลี
(หน่วยเป็นล้านตัน)
Rank Country 2010 2011 2012 2013
1 ธงของประเทศจีน จีน 115 117 126 122
2 ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย 80 86 95 94
3  สหรัฐ 60 54 62 58
4 ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย 41 56 38 52
5 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 40 38 40 39
6 ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา 23 25 27 38
7 ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 24 22 22 25
8 ธงของประเทศปากีสถาน ปากีสถาน 23 25 24 24
9 ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 22 27 30 23
11 ธงของประเทศยูเครน ยูเครน 16 22 16 23
10 ธงของประเทศตุรกี ตุรกี 19 21 20 22
12 ธงของประเทศอิหร่าน อิหร่าน 13 13 14 14
13 ธงของประเทศคาซัคสถาน คาซัคสถาน 9 22 13 14
14 ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 14 15 13 12
15 ธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์ 9 9 9 9
World 651 704 675 713
Source: UN Food & Agriculture Organization [5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Belderok, Bob & Hans Mesdag & Dingena A. Donner. (2000) Bread-Making Quality of Wheat. Springer. p.3. ISBN 0-7923-6383-3.
  2. คุณประโยชน์จากข้าวสาลี (Wheat)[ลิงก์เสีย]
  3. บ่อเกลือพลิกวิกฤติต่อยอดข้าวสาลี[ลิงก์เสีย]
  4. "จมูกข้าวสาลีสำหรับผิวและผม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-08. สืบค้นเมื่อ 2013-01-17.
  5. "Production of Wheat by countries". UN Food & Agriculture Organization (FAO). 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-13. สืบค้นเมื่อ 26 January 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]