การท่องเที่ยวในประเทศเกาหลีใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชวังท็อกซูในกรุงโซล สถานที่น่าสนใจของผู้เข้าชมที่ได้รับความนิยม

การท่องเที่ยวในประเทศเกาหลีใต้ หมายถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในสาธารณรัฐเกาหลี ในปี ค.ศ. 2012 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเยือนประเทศเกาหลีใต้ 11.1 ล้านคน ส่งผลให้เป็นประเทศที่มีผู้มาเยือนมากที่สุดอันดับที่ 20 ของโลก และมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของทวีปเอเชีย[1][2] นักท่องเที่ยวที่ไม่ใช่ชาวเกาหลีส่วนใหญ่มาจากประเทศญี่ปุ่น, ประเทศจีน, ประเทศไต้หวัน และฮ่องกง ความนิยมล่าสุดของวัฒนธรรมเกาหลีใต้ ที่มักจะรู้จักกันใน "กระแสเกาหลี" ได้ทำให้มีการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศต่าง ๆ[ต้องการอ้างอิง] กรุงโซลเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลักสำหรับผู้มาเยือน ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมนอกกรุงโซล ได้แก่ อุทยานแห่งชาติซ็อลอักซัน, เมืองประวัติศาสตร์ของคย็องจู และเกาะเชจูใกล้เขตร้อน[ต้องการอ้างอิง] การเดินทางไปยังประเทศเกาหลีเหนือเป็นไปไม่ได้ตามปกติโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นพิเศษ แต่ในปีที่ผ่านมา ได้มีการอนุญาตจัดกลุ่มทัวร์ของชาวเกาหลีใต้ในการเยี่ยมชมภูเขาคึมกัง

การมาเยือนแบ่งตามประเทศ[แก้]

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมาเกาหลีใต้ในปี ค.ศ. 2015 โดยแบ่งตามสัญชาติ:[3]

อันดับ ประเทศ จำนวน (คน)
1  จีน 4,712,133
2  ญี่ปุ่น 1,742,531
3  สหรัฐ 573,194
4  ฮ่องกง 511,703
5  ไต้หวัน 504,233
6  ไทย 305,953
7  มาเลเซีย 199,705
8  สิงคโปร์ 142,879
9  ฟิลิปปินส์ 138,257
10  รัสเซีย 121,380
นักท่องเที่ยวรวม 10,135,489
ผู้เข้าชมทั้งหมด 13,231,651

ประเทศญี่ปุ่น[แก้]

ตั้งแต่การเยือนลีอังคอร์ทของอี มย็อง-บัก และความต้องการสำหรับการขอโทษแห่งองค์จักรพรรดิในปี ค.ศ. 2012 ภาพสาธารณะของญี่ปุ่นต่อประเทศเกาหลีใต้เสื่อมลงอย่างมีนัยสำคัญ นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นไปยังประเทศเกาหลีใต้ลดลงถึงครึ่งหนึ่งจาก 3.5 ล้านคนในปี ค.ศ. 2012 ไปเป็น 1.8 ล้านคนในปี ค.ศ. 2015 ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจาก 2 ล้านคนในปี ค.ศ. 2012 ไปเป็น 4 ล้านคนในปี ค.ศ. 2015 [4][5][6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. UNTWO (June 2008). "UNTWO World Tourism Barometer, Vol.5 No.2" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2008-10-15.
  2. Kolesnikov-Jessop, Sonia (2010-11-11). "South Korea Sets Its Sights on Foreign Tourists". nytimes.com.
  3. Korea, Monthly Statistics of Tourism
  4. "Aide's memoir tells why S. Korean president demanded apology from emperor". The Asahi Shimbun. January 6, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2016-09-24.
  5. "Foreign visitors to Japan" (PDF). Japan National Tourism Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-01-27. สืบค้นเมื่อ 2016-09-24.
  6. "Press release" (PDF). Japan National Tourism Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-02. สืบค้นเมื่อ 2016-09-24.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Korean Overseas Information Service (2004). Handbook of Korea 4th ed. Seoul: Hollym. ISBN 1-56591-212-8.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]