อาณาจักรพูยอ
พูยอ 부여(夫餘) | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล–พ.ศ. 637 | |||||||||||
เมืองหลวง | พูยอ | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาพูยอ | ||||||||||
ศาสนา | พุทธ, ลัทธิเชมันแบบเกาหลี | ||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||||
อ๋อง | |||||||||||
• ? - 60 BC | พระเจ้าแฮบูรู | ||||||||||
• 60 BC - 20 BC | พระเจ้ากึมวา | ||||||||||
• ? - ค.ศ. 494 | พระเจ้าแทโซ | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | โบราณ | ||||||||||
• ก่อตั้ง | ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล | ||||||||||
• สิ้นสุด | พ.ศ. 637 | ||||||||||
|
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
---|
ประวัติศาสตร์เกาหลี |
เส้นเวลา |
สถานีย่อยประเทศเกาหลี |
อาณาจักรพูยอ (เกาหลี: 부여; ฮันจา: 夫餘; อาร์อาร์: Buyeo; เอ็มอาร์: Puyŏ, ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 494) เป็นอาณาจักรโบราณของเกาหลี ซึ่งอาณาจักรพูยอนี้อาจจะรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า "พูยอตะวันออก" ซึ่งได้แยกตัวออกมาจากอาณาจักรพูยอตะวันตก (หรืออาณาจักรโชบุน) อาณาจักรพูยอได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนเทียบเท่ากับอาณาจักรโคกูรยออีกด้วย อาณาจักรพูยอนี้ได้รับการสถาปนาก่อตั้งโดยพระเจ้าแฮบูรูที่ทรงย้ายมาจากเมืองทางทะเล[1]
การล่มสลาย
[แก้]หลังจากพระเจ้ากึมวาเสด็จสวรรคตลง ราชสมบัติก็ตกเป็นของพระเจ้าแทโซ ภายหลังต่อมาพระเจ้าแทโซได้พัฒนาทางการทหารจนเข้มแข็งยิ่งกว่าอาณาจักรโคกูรยอ และพระเจ้าแทโซยังทรงก่อสงครามกับอาณาจักรข้างเคียงตลอดรัชสมัยของพระองค์ โดยเหลือเพียง 4 อาณาจักรที่พระเจ้าแทโซทรงพิชิตไม่สำเร็จ คือ อาณาจักรโคกูรยอ อาณาจักรแพ็กเจ อาณาจักรนังนัง และอาณาจักรชิลลา
อาณาจักรพูยอได้ล่มสลายลงเมื่อพระเจ้าแทโซเสด็จสวรรคต หลังจากการถูกพระเจ้าแดมูซิน (พระราชาองค์ที่ 3 แห่งอาณาจักรโคกูรยอ) สังหารในสงครามระหว่างอาณาจักรพูยอกับอาณาจักรโคกูรยอ ภายหลังต่อมา พระเจ้าแดมูซินไม่ทรงต้องการลบล้างแคว้นพูยอ จึงได้ให้เจ้ายองโพพระอนุชาของพระเจ้าแทโซเสด็จขึ้นครองราชย์ปกครองแคว้นพูยอต่อในฐานะเจ้าประเทศราชของอาณาจักรโคกูรยอ แต่หลังจากเจ้ายองโพสวรรคตไปก็ไม่มีรัชทายาท ทำให้อาณาจักรพูยอล่มสลายและถูกผนวกกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโคกูรยอ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Byington, Mark E. (2016). The Ancient State of Puyŏ in Northeast Asia: Archaeology and Historical Memory. Cambridge (Massachusetts) and London: Harvard University Asia Center. pp. 11, 13. ISBN 978-0-674-73719-8.