ข้ามไปเนื้อหา

ฮันบก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮันบก
ชื่อเกาหลีเหนือ
โชซ็อนกึล
ฮันจา
ชื่อเกาหลีใต้
ฮันกึล
ฮันจา

ฮันบก (เกาหลี한복; ฮันจา韓服; อาร์อาร์hanbok; แปล เครื่องแต่งกายเกาหลี; ศัพท์ที่ใช้ในเกาหลีใต้) หรือ โชซ็อน-อต (เกาหลี조선옷; ฮันจา朝鮮옷; อาร์อาร์Joseon-ot) เป็นเครื่องแต่งกายพื้นเมืองเกาหลี โดยไม่เพียงแค่ชาวเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือเท่านั้นที่สวมใส่เครื่องแต่งกายนี้ แต่ยังมีโชซ็อน-จก (เกาหลี-จีน) ชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน ที่สวมใส่ด้วย[1][2] ศัพท์ ฮันบก มีความหมายตรงตัวว่า “เครื่องแต่งกายเกาหลี”[3] มีรายละเอียดชุดฮันบกบนฝาผนังสมัยโคกูรยอในเกาหลี[4] เนื่องจากความโดดเดี่ยวระหว่างกันประมาณ 50 ปี ทำให้รูปแบบฮันบกในเกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ และโชซ็อน-จก ที่กลุ่มชนเกาหลีจากทั้งสามประเทศสวมใส่ ได้รับการพัฒนาแตกต่างกัน[5]: 246 [6] นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 ชุดแบบเกาหลีใต้กับแบบเกาหลีเหนือดูคล้ายคลึงกันมากขึ้น[7] เช่นเดียวกันกับชุดในประเทศจีน นับตั้งแต่การปฏิรูปเศรษฐกิจจีน มีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างทั้งสองเกาหลีมากขึ้น นำไปสู่ทั้งการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงโชซ็อน-อตแบบโชซ็อน-จกในประเทศจีน[8] โชซ็อน-อตแบบโชซ็อน-จกบางรูปแบบได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจจากแบบฮันบกทั้งเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ[5]: 246 

ภาพฮันบกยุคแรกสุดสามารถสืบได้ถึงสมัยสามราชอาณาจักรเกาหลี (57 ปีก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ. 668) โดยมีต้นตอจากกลุ่มชนเกาหลีดั้งเดิมในบริเวณที่ปัจจุบันคือเกาหลีตอนเหนือและแมนจูเรีย ชุดนี้ยังพบในงานศิลปะที่ภาพจิตรกรรมฝาผนังสุสานอาณาจักรโคกูรยอในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ถึง 6[4] โดยที่โครงสร้างพื้นฐานของฮันบกจักตั้งขึ้นตั้งแต่ช่วงเวลานี้เป็นต้นไปเป็นอย่างน้อย ฮันบกสมัยโบราณประกอบด้วย ชอโกรี (เสื้อ), พาจิ (กางเกง), ชิมา (กระโปรง) และ po (เสื้อคลุม) โครงสร้างหลักของฮันบกได้รับการออกแบบให้มีความสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย และผสมผสานหลายแม่ลายของลัทธิมู[9] คุณสมบัติโครงสร้างพื้นฐานฮันบกเหล่านี้ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ฮันบกที่มีการสวมใส่ในปัจจุบัน มีลวดลายจากฮันบกในสมัยราชวงศ์โชซ็อน[9] โดยเฉพาะชุดที่ชนชั้นสูงและเชื้อพระวงศ์สวมใส่[10]: 104 [11] อย่างไรก็ตาม ในอดีต สามัญชน (seomin) ไม่ได้รับอนุญาตให้สวมสิ่งที่ปัจจุบันรู้จักกันในฐานะฮันบก และสวมได้เฉพาะมินบก (เครื่องแต่งกายสามัญชน) ซึ่งโดยทั่วไปจะมีสีขาวหรือสีขาวนวล สามัญชนสามารถสวมชุดฮันบกได้เฉพาะในวันแต่งงานและในโอกาสพิเศษต่าง ๆ[10]: 104 [11][12] การใช้เสื้อผ้าสีขาวอย่างกว้างขวางในหมู่คนทั่วไปทำให้เกาหลีได้รับการกล่าวขานเป็น "คนนุ่งห่มขาว"[12] ปัจจุบัน ชาวเกาหลีสมัยใหม่สวมฮันบกในโอกาสและเหตุการณ์ที่เป็นทางการหรือกึ่งทางการ เช่น งานแต่งงาน เทศกาล งานเฉลิมฉลอง และงานพิธีต่าง ๆ ใน ค.ศ. 1996 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวของเกาหลีใต้ จัดตั้ง "วันฮันบก" ขึ่้น เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองเกาหลีใต้สวมฮันบก[13]

การใช้งานในสมัยใหม่

[แก้]

เกาหลีใต้

[แก้]

เกาหลีเหนือ

[แก้]

ชุดฮันบก ของสตรีในเกาหลีเหนือนั้น ชุดจะเป็นสีเดียวกันทั้งชุด ทั้งท่อนบน และท่อนล่าง ปกเสื้อจะมีขนาดเล็กกว่า คอลึกกว่า ชุดฮันบกในเกาหลีใต้ ส่วนชุดฮันบกของบุรุษนั้นในงานพิธีการต่าง ๆ จะใส่ชุดสูทสากลแทน

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Zang, Yingchun (2007). Zhongguo shao shu min zu fu shi. 臧迎春. (Di 1 ban ed.). Beijing: Wu zhou chuan bo chu ban she. ISBN 978-7-5085-0379-0. OCLC 57675221.
  2. "| Minority Ethnic Clothing : Korean (Chaoxianzu) Clothing". baoku.gmu.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-27. สืบค้นเมื่อ 2022-08-23.
  3. Korean Culture and Information Service, 2018, Ministry of Culture, Sports and Tourism of the Republic of Korea
  4. 4.0 4.1 The Dreams of the Living and the Hopes of the Dead-Goguryeo Tomb Murals, 2007, Ho-Tae Jeon, Seoul National University Press
  5. 5.0 5.1 Women entrepreneurs : inspiring stories from emerging economies and developing countries. Mauro F. Guillén. New York: Routledge. 2014. ISBN 978-1-136-32459-8. OCLC 857463468.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  6. Lin, Huishun (2020). "A study on the Alteration of traditional costume of Korean Chinese (I) - Focused on the daily wear" 중국 조선족 전통복식의 변화연구 (I) - 일상복을 중심으로 -. 한국의상디자인학회지 (ภาษาเกาหลี). 22 (4): 63–78.
  7. Chang, In-Woo (2006). "Change in Hanbok of South and North Korea after the Division and the Interexchange -Focusing on Women's Jeogori-". Journal of the Korean Society of Clothing and Textiles. 30 (1): 106–114. ISSN 1225-1151.
  8. Jin, Wenlian (2020). Chaoxianzu's Traditions of Dress: An Exploration of Identity Within Contemporary Fashion Contexts (วิทยานิพนธ์ Thesis) (ภาษาอังกฤษ). Auckland University of Technology.
  9. 9.0 9.1 Flags, color, and the legal narrative : public memory, identity, and critique. Anne Wagner, Sarah Marusek. Cham, Switzerland: Springer. 2021. p. 125. ISBN 978-3-030-32865-8. OCLC 1253353500.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 Passport to Korean culture. Haeoe Hongbowŏn (2009 ed.). Seoul, Korea: Korean Culture and Information Service. 2009. ISBN 978-89-7375-153-2. OCLC 680802927.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 Gwak, Sung Youn Sonya (2006). Be(com)ing Korean in the United States: Exploring Ethnic Identity Formation Through Cultural Practices. Cambria Press. ISBN 9781621969723.
  12. 12.0 12.1 Lopez Velazquez, Laura (2021). "Hanbok during the Goryeo and Joseon dynasty". www.korea.net. สืบค้นเมื่อ 2022-08-21.
  13. 쿠키뉴스 (2014-09-15). "한복데이, 전국 5개 도시서 펼쳐진다". 쿠키뉴스 (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2022-03-11.

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]