เทศกาลอารีรัง
เทศกาลอารีรัง 아리랑 축제 | |
---|---|
เทศกาลการแสดงและร่ายรำอันยิ่งใหญ่ใน กรุงเปียงยาง เกาหลีเหนือ | |
สถานะ | ปกติจัดทุกปี แต่ไม่แน่นอน |
ประเภท | เทศกาลการแสดงและร่ายรำ |
ความถี่ | เทศกาลประจำปี |
สถานที่ | สนามกีฬารึงนาโด 1 พฤษภาคม |
ที่ตั้ง | กรุงเปียงยาง เกาหลีเหนือ |
ประเทศ | ประเทศเกาหลีเหนือ |
ช่วงปี | พ.ศ. 2545—2556; 2561—2563[1] |
เทศกาลอารีรัง | |
โชซ็อนกึล | |
---|---|
ฮันจา | 아리랑 祝祭 |
อาร์อาร์ | Arirang chukje |
เอ็มอาร์ | Arirang ch'ukche |
เทศกาลการแสดงและร่ายรำอันยิ่งใหญ่[2] (เกาหลี: 아리랑 축제) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อารีรังแมสส์เกมส์[3] หรือ เทศกาลอารีรัง[4] เป็นการแสดงยิมนาสติกและการร่ายรำ ซึ่งจะจำขึ้นเป็นประจำในสนามกีฬารึงนาโด 1 พฤษภาคม กรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ โดยการแสดงนี้จะเริ่มแสดงในช่วงต้นเดือนสิงหาคมและปิดงานลงในวันที่ 10 กันยายนของทุกปี
โดยสำนักข่าวรัสเซีย "ตัสส์" (TASS) ได้เปิดเผยว่าเทศกาลอารีรังเป็นเทศกาลการแสดงและยิมนาสติกซึ่งเป็นการบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศเกาหลี ประเทศทางตะวันออกที่มีความสงบเสงี่ยมในตอนเช้า และเรื่องราวประวัติศาสตร์แห่งความเศร้าและต้องสู้จนกลับมายื่นหยัดได้ด้วยเพลงอารีรัง ซึ่งการแสดงนี้ยิ่งใหญ่จนถึงขั้นได้รับขนานนามจากบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ว่าเป็นการแสดงกายกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก[5]
ประวัติ
[แก้]ชื่อของเทศกาลนั้นเอามาจาก "อารีรัง" ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านเกาหลีที่เกี่ยวกับการจากลาจากคนรัก หรือสงคราม
เทศกาลนี้จัดขึ้นทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ถึง 2556 ยกเว้นปี 2548 เทศกาลนี้ไม่ได้จัดใน พ.ศ. 2557 ถึง 2560[6] อีกทั้งในช่วงหลังนี้ทางการเกาหลีเหนือได้เริ่มมีการอนุญาตให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติสามารถเข้ารับชมเทศกาลนี้ได้[7]
เทศกาลนี้ถูกกลับมาหลังจากหายไปใน 5 ปี ที่เกิดขึ้นจากวันที่ 9 กันยายน ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 ปัจจุบันนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเทศกาลว่า ปิตุภูมิรุ่งโรจน์ (빛나는 조국) พ.ศ. 2561 และ ประเทศของประชาชน (인민의 나라) พ.ศ. 2562[8]
ใน พ.ศ. 2564 ไม่มีการจัดเทศกาลนี้[9]
ผู้มีส่วนร่วมในการแสดง
[แก้]ผู้แสดงนั้นจะเริ่มมีการคัดเลือกเด็กตั้งแต่อายุ 5 ขวบขึ้นไปโดยเลือกจากระดับทักษะการแสดง เมื่อถูกเลือกให้เป็นผู้แสดงแล้วเด็กๆเหล่านั้นก็จะได้ทำหน้าที่นี้ไปจนกว่าจะเกษียณอายุหรือโดนปลดออก[10] โดยเด็กเหล่านั้นจะถูกเลือกจากโรงเรียน 8 แห่งในกรุงเปียงยางซึ่งแต่ละโรงเรียนจะมีสีเป็นสัญลักษณ์ดังนี้[ต้องการอ้างอิง]
- 서성 Seoseong (สีแดงและสีเหลือง)
- 평천 Pyeongcheon (สีเขียวและสีขาว)
- 대동강 Daedonggang (สีฟ้าและสีเหลือง)
- 모란봉 Moranbong (สีแดงและสีขาว)
- 보통강 Botonggang (สีฟ้าและสีขาว)
- 만경대 Mangyeongdae (สีแดงและสีขาว)
- 대성 Daeseong (สีฟ้าและสีขาว)
- 락랑 Rakrang (สีแดงและสีเหลือง)
สถิติโลก
[แก้]ในเดือนสิงหาคม 2550 เทศกาลอารีรังนั้นได้รับการบันทึกสถิติจากบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ว่าเป็นการแสดงกายกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีผู้ร่วมแสดงทั้งหมด 100,090 คน[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ abc News (บ.ก.). "North Korea to hold 'Mass Games' after 5-year hiatus". สืบค้นเมื่อ 29 January 2021.
- ↑ Merkel, Udo. "'The grand mass gymnastics and artistic performance Arirang' (2002–2012): North Korea's socialist–realist response to global sports spectacles." The International Journal of the history of Sport 30.11 (2013): 1247–58.
- ↑ CENTER, NCC. "The Arirang Mass Games of North Korea 朝鮮民主主義人民共和国のアリラン祭 Rüdiger Frank."
- ↑ Jung, Hyang Jin. "Jucheism as an Apotheosis of the Family: The Case of the Arirang Festival." Journal of Korean Religions 4.2 (2013): 93–122.
- ↑ "DPRK prepares for celebration of victory in the 1950–1953 war under rain". Russian News Agency "TASS". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2018. สืบค้นเมื่อ 16 March 2015.
- ↑ Leo Byrne (6 February 2014). "No Arirang Mass Games this year". NK News. สืบค้นเมื่อ 6 February 2014.
- ↑ "North Korea halts showcase mass games due to flood". Reuters. 27 August 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-10. สืบค้นเมื่อ 2017-11-10.
- ↑ "The Mass Games are confirmed". Uri Tours. July 7, 2018.
- ↑ Colin Zwirko (November 13, 2021). "Why North Korea won't hold its 'mass games' spectacle this year". NK News.
- ↑ "human billboard paintings at north korea mass games". Design Boom. 21 October 2011. สืบค้นเมื่อ 9 December 2012.
- ↑ "Largest gymnastic display".
หนังสือ
[แก้]- Burnett, Lisa (2013). "Let Morning Shine over Pyongyang: The Future-Oriented Nationalism of North Korea's Arirang Mass Games". Asian Music. 44 (1): 3–32. doi:10.1353/amu.2013.0010. ISSN 1553-5630. S2CID 191491691.
- "Interview with Song Sok Hwan, Vice Cultural Minister: Re-extended 'Arirang' Performance Is Intended to Give Fresh Impetus to Economic Renovation in DPRK". The People's Korea. 13 July 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2003. สืบค้นเมื่อ 22 October 2018.
- Kim Jong-il (August 15, 2002). The Grand Mass Gymnastics and Artistic Performance Arirang is a World-class Masterpiece Representative of the New Century (PDF). Pyongyang: Foreign Languages Publishing House. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 September 2016. สืบค้นเมื่อ 15 May 2017.
- Song Mo Kim; Song Il Thak; Chol Man Kim (2002). Mass Gymnastics in Korea. Pyongyang: Foreign Languages Publishing House. OCLC 499981837. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-12.
ข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้]- Werner Kranwetvogel with Koryo Tours Massgames Pictures
- DPRK 360 Video and 360 VR of the Mass Games
- Steve Gong Arirang Festival, North Korea 2008
- Arirang Festival 1stopkorea.com
- Mass Gymnastics and Artistic Performance "Arirang" picture album เก็บถาวร 16 กรกฎาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Naenara
- Mass Gymnastics in Korea picture album เก็บถาวร 4 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Naenara
- A slide show about Arirang Festival 2012 (in German)