สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ
มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร
เจ้าฟ้าชั้นโท
ประสูติ29 เมษายน พ.ศ. 2548 (18 ปี)
โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลมหิดล
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาศรีรัศมิ์ สุวะดี
ศาสนาพุทธเถรวาท
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร (ประสูติ 29 เมษายน พ.ศ. 2548) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี (ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร) ถือเป็นรัชทายาทโดยสันนิษฐานลำดับแรกตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467

พระประวัติ

ประสูติกาล

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ทรงประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2548 เวลา 18.35 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี ขณะยังเป็นพระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์มีพระเชษฐภคินีต่างพระมารดา 2 พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

คณะแพทย์ถวายพระประสูติโดยการผ่าตัด เมื่อแรกประสูติ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติทรงมีน้ำหนัก 2,680 กรัม ความยาวพระองค์ 47 เซนติเมตร รอบพระเศียร 31 เซนติเมตร ลืมพระเนตรเวลา 19.00 น. มีพระพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง พระเนตรโต พระนาสิกโด่ง[1]

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชหัตถเลขาขนานพระนามว่า "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ" เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และพระราชทานเสมาอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ทองคำ ส่วนพระนามของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชตินั้น พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระมหากรุณาธิคุณอธิบายพระนามของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ว่า "ผู้ทำประทีปคือปัญญาให้สว่างกระจ่างแจ้ง, ผู้ทำเกาะคือที่พึ่งให้รุ่งเรืองโชติช่วง"

ต่อมาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เขียนพระนามของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ เป็นภาษาอังกฤษ ว่า His Royal Highness Prince Dipangkorn Rasmijoti[2]

พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ได้มีพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ตามพระราชประเพณีในพระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อพระเจ้าหลานเธอฯ มีพระชนมายุครบ 1 เดือน

นอกจากนี้ ในวาระที่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงเจริญพระชันษาครบ 1 ปี ในวันที่ 29 เมษายน 2549 กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ชนิดราคา 50 บาท ทำด้วยทองแดงผสมนิกเกิล น้ำหนัก 21 กรัม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 36 มิลลิเมตร จำนวนผลิตไม่เกิน 500,000 เหรียญ ลวดลายด้านหน้ากลางเหรียญมีพระรูป พระเจ้าหลานเธอฯ ผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ภายในวงขอบเหรียญด้านขวามีข้อความว่า "พระองค์เจ้า" ด้านซ้ายมีข้อความว่า "ทีปังกรรัศมีโชติ" ด้านหลังกลางเหรียญมีข้อความว่า "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงเจริญพระชันษา 1 ปี 29 เมษายน 2549 50 บาท" ภายในวงขอบเหรียญด้านขวา มีรูปลูกไก่ยืนอยู่บนหัวเม็ดทรงมัณฑ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งสำหรับม้วนเก็บแผ่นจารึก เบื้องล่างมีข้อความว่า "ประเทศไทย"

การศึกษา

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เริ่มต้นการศึกษาที่โรงเรียนจิตรลดาในพระราชวังดุสิต ก่อนจะเสด็จไปทรงศึกษาต่อต่างประเทศที่โรงเรียนนานาชาติบาวาเรีย (BIS) ในบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี

พระกรณียกิจ

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติขณะทรงฝึกทางทหารเบื้องต้นที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ เสด็จไปยังห้องสมุดฝ่ายประถมศึกษาโรงเรียนจิตรลดา เพื่อร่วมกิจกรรมงานสัปดาห์รักการอ่าน[3]

วันที่ 2 ตุลาคม ปีเดียวกันนั้น พระองค์ก็ได้รับเกียรติบัตรพร้อมรางวัล "งานประหยัดน้ำ-ไฟ" ที่จัดขึ้นประจำในโรงเรียนจิตรลดา ด้วยพระองค์ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อพระสหาย[4]

วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ได้เสด็จไปยังสนามกีฬากลาง พื้นที่ควบคุมในพระองค์ 904 เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ในการประทานถ้วยรางวัลพระราชทานและถ้วยรางวัลประทานแก่ทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับประเภทต่าง ๆ ในรายการ "หนูน้อยเจ้าเวหา"[5][6]

ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงร่วมทำกิจกรรมจิตอาสา "เราทำความดี ด้วยหัวใจ" โดยทรงทำความสะอาดภายในสุสานหลวงและวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร รวมทั้งประทานน้ำดื่ม อาหาร และพิมเสนน้ำแก่พสกนิกรที่มาร่วมในพระราชพิธีฯ ณ บริเวณศาลหลักเมืองอีกด้วย[7]

มูลนิธิ/องค์กรในพระอุปถัมภ์

  • สโมสรผู้รักสวนสัตว์แห่งประเทศไทย

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
ธงประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
ลำดับโปเจียม10

พระอิสริยยศ

  • พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ (29 เมษายน พ.ศ. 2548 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร[8] (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

สิ่งอันเนื่องด้วยพระนาม

การศึกษา
การแพทย์ และการสาธารณสุข
ศาสนสถาน
พรรณไม้
  • เฟินรัศมีโชติ ชื่อวิทยาศาสตร์: Blechnum x rasmijoti ‘The Royal Project’ ใน วงศ์: Blechnaceae[10][11][12][13][14][15]
อื่น ๆ

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. "สำนักพระราชวังแถลงหม่อมศรีรัศมิ์มี "พระประสูติกาล" พระโอรสในสมเด็จพระบรมฯ นน. 2,680 กรัม - พสกนิกรปีติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-05-01.
  2. พระองค์ทีฯ ทรงพระสำราญกับกิจกรรมการเรียนรู้
  3. "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงร่วมกิจกรรม งานสัปดาห์รักการอ่าน" (Press release). สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. 20 สิงหาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงรับเกียรติบัตรงานประหยัดน้ำ-ไฟ" (Press release). สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. 2 ตุลาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ประทานถ้วยรางวัลพระราชทานและถ้วยรางวัลประทาน แก่ทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ในรายการ "หนูน้อยเจ้าเวหา" เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร" (Press release). สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. 22 กรกฎาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  6. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ประทานถ้วยรางวัลพระราชทานแก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขันในรายการ "หนูน้อยจ้าวเวหา" เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[ลิงก์เสีย]
  7. พระองค์ทีปังกรฯ ทรงทำกิจกรรมจิตอาสาวัดราชบพิธฯ พสกนิกรปลื้มปีติ ทรงโน้มพระวรกายประทานสิ่งของ
  8. 8.0 8.1 8.2 "ประกาศสถาปนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (15ข): 10. 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-05. สืบค้นเมื่อ 2019-05-05. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๓, ตอน ๓๓ ข, ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙, หน้า ๑
  10. Blechnaceae
  11. "การพัฒนาสายพันธุ์เฟิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-12.
  12. "uniserv". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-07. สืบค้นเมื่อ 2019-05-18.
  13. rasmijoti
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-18. สืบค้นเมื่อ 2019-05-18.
  15. บทความไลฟ์สไตล์

แหล่งข้อมูลอื่น