สถานีดอนเมือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สถานีรถไฟดอนเมือง)

สถานีดอนเมือง เป็นสถานีรถไฟและสถานีรถไฟฟ้าที่ตั้งอยู่ด้านหน้าและเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมือง ในพื้นที่แขวงดอนเมืองและแขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทาง รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา, รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน ส่วนต่อขยายพญาไท-ดอนเมือง, รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ รถไฟความเร็วสูงสายอีสาน และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และยังเป็นสถานีในเส้นทางรถไฟทางไกล ในเส้นทางรถไฟสายเหนือ และทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ

สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง และสถานีรถไฟทางไกล สถานีดอนเมือง[แก้]

ดอนเมือง
Don Mueang
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg
Don Mueang Station 03.jpg
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ให้บริการบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (ชั่วคราว)
สาย สายธานีรัถยา 
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง
ถนนกำแพงเพชร 6
เขต/อำเภอเขตดอนเมือง
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
รูปแบบชานชาลาเกาะกลางแบบแยก (island platform)
จำนวนชานชาลา8
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีSRT RN08.svg
ทางออก7
บันไดเลื่อน24
ลิฟต์7
เวลาให้บริการ06.00 - 24.00น.
ประวัติ
เปิดให้บริการ2 สิงหาคม พ.ศ. 2564
ที่ตั้ง
Map
เว็บไซต์รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.
หมายเหตุ
SRT RN08 Traditional station sign.svg

สถานีดอนเมือง (อังกฤษ: Don Mueang Station; รหัสสถานี: RN08) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา และยังเป็นสถานีของรถไฟทางไกลในเส้นทางทางรถไฟสายเหนือ และทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ยกระดับเหนือถนนกำแพงเพชร 6 เปิดให้บริการเฉพาะส่วนสถานีรถไฟฟ้าเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564 โดยในส่วนของสถานีรถไฟทางไกลเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566

ที่ตั้ง[แก้]

ถนนกำแพงเพชร 6 บริเวณด้านหน้าท่าอากาศยานดอนเมือง ในพื้นที่แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

สถานีดอนเมืองเดิมสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2441 โดยตั้งอยู่ฝั่งเดียวกับท่าอากาศยานกรุงเทพ แต่ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนวิภาวดีรังสิตและการก่อสร้างทางยกระดับดอนเมืองโทลเวย์ เมื่อ พ.ศ. 2508 จึงต้องสร้างสถานีขึ้นใหม่ฝั่งเดียวกับวัดดอนเมืองแทน และในคราวก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง จึงมีการปรับตำแหน่งสถานีจากเดิมที่อยู่ด้านหน้าโรงแรมอมารีดอนเมือง มายังบริเวณด้านหน้าตลาดใหม่ดอนเมืองแทน ทั้งนี้สถานีดอนเมืองเดิมยกเลิกการรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางรถไฟสายเหนือ และทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากที่มีการย้ายรถไฟทางไกลขึ้นทางยกระดับร่วมกับทางรถไฟฟ้าสายสีแดงตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566[1]

แผนผังสถานี[แก้]

U4
ชั้นชานชาลาบน
(รถไฟฟ้าชานเมือง)
ชานชาลา 1  สายธานีรัถยา  มุ่งหน้า สถานีรังสิต
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย/ขวา
ชานชาลา 2  สายธานีรัถยา  มุ่งหน้า สถานีรังสิต
ชานชาลา 3  สายธานีรัถยา  มุ่งหน้า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย/ขวา
ชานชาลา 4  สายธานีรัถยา  มุ่งหน้า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
U3
ชั้นชานชาลาล่าง
(รถไฟทางไกล)
ชานชาลา 5  รฟท. เหนือ   รฟท. ตะวันออกเฉียงเหนือ  มุ่งหน้า สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 6  รฟท. เหนือ   รฟท. ตะวันออกเฉียงเหนือ  มุ่งหน้า สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี
ชานชาลา 7  รฟท. เหนือ   รฟท. ตะวันออกเฉียงเหนือ  มุ่งหน้า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 8  รฟท. เหนือ   รฟท. ตะวันออกเฉียงเหนือ  มุ่งหน้า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
ทางเดินเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง
G
ระดับถนน
- ถนนกำแพงเพชร 6, ท่าอากาศยานดอนเมือง (อาคารผู้โดยสารในประเทศ), ตลาดใหม่ดอนเมือง,

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นแบบชานชาลาเกาะกลางแบบแยก (island platform station) ขนาดมาตรฐานยาว 230 เมตร ระดับชานชาลาสูงจากพื้นดิน 18-20 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา ชั้นชานชาลารถไฟทางไกลออกแบบให้มีการติดตั้งพัดลมดูดควัน สำหรับใช้ระบายควันจากรถจักรดีเซลออกสู่ปลายสถานีทั้งสองฝั่งอย่างรวดเร็ว

ทางเข้า-ออก[แก้]

ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ ได้แก่

  • 1, 3 ถนนเชิดวุฒากาศ, ตลาดใหม่ดอนเมือง
  • 2, 4 ถนนกำแพงเพชร 6, ถนนเชิดวุฒากาศ, ตลาดใหม่ดอนเมือง, ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนเชิดวุฒากาศ
  • 5 ถนนวิภาวดี-รังสิต ขาออก (มุ่งหน้าถนนพหลโยธิน)
  • 6 ถนนวิภาวดี-รังสิต ขาออก (มุ่งหน้าถนนพหลโยธิน),
  • 7 ท่าอากาศยานดอนเมือง อาคารผู้โดยสารในประเทศ (สะพานเชื่อม)

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายธานีรัถยา
ชานชาลาที่ 1 และ 2
SRT RN10.svg รังสิต จันทร์ - อาทิตย์ 05:46 00:16
ชานชาลาที่ 3 และ 4
SRT RN01-RS01.svg กรุงเทพอภิวัฒน์ จันทร์ - อาทิตย์ 05:37 00:07

สถานีใกล้เคียง[แก้]

สถานีก่อนหน้า ขบวนรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีการเคหะ
มุ่งหน้า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
   สายธานีรัถยา    สถานีหลักหก (มหาวิทยาลัยรังสิต)
มุ่งหน้า สถานีรังสิต
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
สถานีปลายทาง
   รฟท. เหนือ    สถานีรังสิต
มุ่งหน้า สถานีเชียงใหม่
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
สถานีปลายทาง
   รฟท. ตะวันออกเฉียงเหนือ    สถานีรังสิต
มุ่งหน้า สถานีหนองคาย และ สถานีอุบลราชธานี

สถานีรถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน สถานีท่าอากาศยานดอนเมือง[แก้]

ดอนเมือง
Don Mueang
ARLbangkok.svg
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการบริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด (ARL/EHSR)
ไชน่า เรลเวยส์ (NEHSR)
ยังไม่สรุป (NHSR)
สาย สายซิตี้ 
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง
รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม
ถนนถนนวิภาวดี-รังสิต
เขต/อำเภอเขตดอนเมือง
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
รูปแบบชานชาลาด้านข้าง
จำนวนชานชาลา4
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีA10 / HE01 (ARL/EHSR)
HN02 / HNE02 (NHSR/NEHSR)
ทางออก-
ลิฟต์-
ที่ตั้ง
Map

สถานีดอนเมือง (อังกฤษ: Don Mueang Station, รหัส HN02, HNE02) และสถานีท่าอากาศยานดอนเมือง (อังกฤษ: Don Mueang Airport Station, รหัส A10, HE01) เป็นสถานีรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิส่วนต่อขยาย ยกระดับเหนือทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการเตรียมการก่อสร้าง

ที่ตั้ง[แก้]

เลียบทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

แผนผังสถานี[แก้]

U4
ชานชาลารถไฟความเร็วสูง
สายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 11 HSR สายเหนือ และสายอีสาน มุ่งหน้า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
ชานชาลา 12 HSR สายเหนือ มุ่งหน้า สถานีเชียงใหม่ และ HSR สายอีสาน มุ่งหน้า สถานีหนองคาย
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U3
ชานชาลารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์
และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 9  HSR เชื่อม 3 สนามบิน  มุ่งหน้า สถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภา และ  แอร์พอร์ต เรล ลิงก์  มุ่งหน้า สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ชานชาลา 10  HSR เชื่อม 3 สนามบิน  มุ่งหน้า สถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภา และ  แอร์พอร์ต เรล ลิงก์  มุ่งหน้า สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
ทางเดินไปสถานี  สายธานีรัถยา  และ  รฟท. ตะวันออกเฉียงเหนือ 
ทางเดินเข้าท่าอากาศยานดอนเมือง
G
ระดับถนน
- ถนนกำแพงเพชร 6, ถนนวิภาวดีรังสิต

สถานีใกล้เคียง[แก้]

สถานีก่อนหน้า ขบวนรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
มุ่งหน้า สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
   สายซิตี้    สถานีปลายทาง
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
มุ่งหน้า สถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภา
   HSR เชื่อม 3 สนามบิน    สถานีปลายทาง
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
สถานีปลายทาง
  HSR สายอีสาน   สถานีอยุธยา
มุ่งหน้า สถานีนครราชสีมา
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
สถานีปลายทาง
  HSR สายเหนือ   สถานีอยุธยา
มุ่งหน้า สถานีเชียงใหม่

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ดีเดย์ 'ศักดิ์สยาม' นำทีมเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์สถานีกลางฯ-มธ.รังสิต". ไทยโพสต์. 2023-01-19. สืบค้นเมื่อ 2023-01-19.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)