ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดมหาสารคาม"

พิกัด: 16°11′N 103°17′E / 16.18°N 103.29°E / 16.18; 103.29
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ggkonkaen (คุย | ส่วนร่วม)
ประวัติศาสตร์
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Ggkonkaen (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติศาสตร์: ประวัติศาสตร์
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 70: บรรทัด 70:
ต่อมาฝ่ายพระยาเมืองแสนเห็นว่า เจ้าราชครูหลวงมีผู้ติดตามเเละเคารพนับถือเป็นจำนวนมาก คิดเกรงกลัวไปเองว่าท่านจะนำศิษย์ซ่องสุมที่จะแย่งชิงอำนาจไปจากตน จึงคิดที่จะกำจัดทิ้ง แต่ทางเจ้าราชครูหลวงโพนเสม็ดรู้ตัวเสียก่อน จึงนำลูกศิษย์ลูกหาเเละผู้ศรัทธากว่า 3000 ชีวิต ลี้ภัยหนีลงใต้ ระหว่างทางก็มีผู้คนมาสมัครขอเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก เมื่อเดินไปถึงเขตเเดนเมืองบันทายเพชร์ ซึ่งเป็นดินแดนของอาณาจักร์เขมร เมื่อข่าวไปถึงหูกษัตริย์เขมร กษัตริย์เขมรจึงมีการสั่งให้กลุ่มเจ้าราชครูหลวงจ่ายค่าทำเนียม ครัวละ 2 ตำลึง จึงจะสามารถไปตั้งถิ่นฐานที่นั้นได้ เจ้าราชครูหลวงจึงเห็นว่า เป็นการเดือดร้อนเเก่ผู้ติดตาม อีกทั้งยังเป็นการขูดเลือดขูดเนื้อมากจนเกินไป ท่านจึงสั่งอพยพขึ้นไปตอนเหนือ จนถึงบริเวณเมืองเก่าทางตอนใต้ของอาณาจักร์ล้านช้าง ซึ่งเคยรุ่งเรืองถึงขีดสุดจนถึงขั้นเคยเป็นศูนย์กลางของเขมรโบราณในช่วงยุคเจนละมาก่อน นามว่า “เมืองเศรษฐปุระ” จนผ่านหลายยุคหลายสมัย จนมีนามเมืองว่า “เมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี” ในการเดินทางอพยพลี้ภัยลงมายังดินเเดนลาวใต้จนถึงถิ่นเมืองเก่าเเห่งนี้นี้เอง เจ้าราชครูหลวงโพนเสม็กมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยศิษย์เอก อย่าง เจ้าแก้วมงคล เป็นแม่กองใหญ่ และจารย์หวด เป็น รองแม่กอง คอยควบคุมดูแลบริวารเเละไพร่พลของท่านมาตลอดทาง
ต่อมาฝ่ายพระยาเมืองแสนเห็นว่า เจ้าราชครูหลวงมีผู้ติดตามเเละเคารพนับถือเป็นจำนวนมาก คิดเกรงกลัวไปเองว่าท่านจะนำศิษย์ซ่องสุมที่จะแย่งชิงอำนาจไปจากตน จึงคิดที่จะกำจัดทิ้ง แต่ทางเจ้าราชครูหลวงโพนเสม็ดรู้ตัวเสียก่อน จึงนำลูกศิษย์ลูกหาเเละผู้ศรัทธากว่า 3000 ชีวิต ลี้ภัยหนีลงใต้ ระหว่างทางก็มีผู้คนมาสมัครขอเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก เมื่อเดินไปถึงเขตเเดนเมืองบันทายเพชร์ ซึ่งเป็นดินแดนของอาณาจักร์เขมร เมื่อข่าวไปถึงหูกษัตริย์เขมร กษัตริย์เขมรจึงมีการสั่งให้กลุ่มเจ้าราชครูหลวงจ่ายค่าทำเนียม ครัวละ 2 ตำลึง จึงจะสามารถไปตั้งถิ่นฐานที่นั้นได้ เจ้าราชครูหลวงจึงเห็นว่า เป็นการเดือดร้อนเเก่ผู้ติดตาม อีกทั้งยังเป็นการขูดเลือดขูดเนื้อมากจนเกินไป ท่านจึงสั่งอพยพขึ้นไปตอนเหนือ จนถึงบริเวณเมืองเก่าทางตอนใต้ของอาณาจักร์ล้านช้าง ซึ่งเคยรุ่งเรืองถึงขีดสุดจนถึงขั้นเคยเป็นศูนย์กลางของเขมรโบราณในช่วงยุคเจนละมาก่อน นามว่า “เมืองเศรษฐปุระ” จนผ่านหลายยุคหลายสมัย จนมีนามเมืองว่า “เมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี” ในการเดินทางอพยพลี้ภัยลงมายังดินเเดนลาวใต้จนถึงถิ่นเมืองเก่าเเห่งนี้นี้เอง เจ้าราชครูหลวงโพนเสม็กมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยศิษย์เอก อย่าง เจ้าแก้วมงคล เป็นแม่กองใหญ่ และจารย์หวด เป็น รองแม่กอง คอยควบคุมดูแลบริวารเเละไพร่พลของท่านมาตลอดทาง
ภายหลังการมาถึงของกลุ่มเจ้าราชครูหลวงโพนเสม็ด นางเเพง นางเภา คู่เเม่ลูก ผู้ครองเมืองอยู่ขณะนั้น ก็มีความเลื่อมใสศรัทธาต่อเจ้าราชครูหลวง จึงพากันอาราธนาเจ้าราชครูหลวงให้มาปกครองเมืองเเทนพวกตนโดยให้ท่านได้ใช้หลักธรรมค้ำจุนเหล่าชาวเมือง ต่อมาเมื่อเจ้าองค์หล่อเติบโตขึ้นได้ไปพำนักที่เเดนญวน ภายหลังได้กองกำลังสนับสนุนกลับไปยึดเมืองเวียงจันทน์คืน ได้เป็นผลสำเร็จ ประมาณปีพ.ศ. 2245 เเล้วทรงจับพระยาเมืองแสนสำเร็จโทษ เจ้าองค์หล่อจึงได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักร์ล้านช้างสืบต่อมา
ภายหลังการมาถึงของกลุ่มเจ้าราชครูหลวงโพนเสม็ด นางเเพง นางเภา คู่เเม่ลูก ผู้ครองเมืองอยู่ขณะนั้น ก็มีความเลื่อมใสศรัทธาต่อเจ้าราชครูหลวง จึงพากันอาราธนาเจ้าราชครูหลวงให้มาปกครองเมืองเเทนพวกตนโดยให้ท่านได้ใช้หลักธรรมค้ำจุนเหล่าชาวเมือง ต่อมาเมื่อเจ้าองค์หล่อเติบโตขึ้นได้ไปพำนักที่เเดนญวน ภายหลังได้กองกำลังสนับสนุนกลับไปยึดเมืองเวียงจันทน์คืน ได้เป็นผลสำเร็จ ประมาณปีพ.ศ. 2245 เเล้วทรงจับพระยาเมืองแสนสำเร็จโทษ เจ้าองค์หล่อจึงได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักร์ล้านช้างสืบต่อมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2252 เกิดเหตุวุ่นวายขึ้นที่นครกาละจำบากนาคบุรีศรี เจ้าราชครูหลวงพยายามจัดการปัญหาด้วยวิธีละมุนละม่อมโดยใช้หลักการทางศาสนาเเต่กลับไม่เป็นผล ท่านจึงส่งจารย์จันทร์ให้ไปอัญเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์ซึ่งอยู่ที่ตำบลงิ้วพันลำน้ำโสมสนุก ให้ลงมาปกครองเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี อภิเสกขึ้นเป็นกษัตริย์อย่างเป็นทางการ เจ้าราชครูหลวงถวายพระนามท่านว่า “พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร” และได้เปลี่ยนนามเมือง ว่า “นครจำปาศักดิ์นัคบุรีศรี” เเละให้ชื่ออาณาจักร์คือ “อาณาจักร์ล้านช้างจำปาศักดิ์” เป็นเอกเทศต่างหากจากเวียงจันทน์ มีกษัตริย์เอกราช ปกครองด้วยระบอบการปกครองเช่นกับอาณาจักร์ล้านช้างโบราณ ซึ่งใช้ระบบอาญาสี่ หลังจากท่านได้เป็นกษัตริย์ได้ไม่นานก็สามารถปราบปรามปัญหาความวุ่นวายลงได้อย่างง่ายดาย โดยการช่วยของเจ้าจารย์แก้ว(เจ้าเเก้วมงคล)เป็นกำลังสำคัญในการปราบปรามปัญหาความวุ่นวายภายในอาณาจักร์จนเป็นผลสำเร็จ ภายหลังอาณาจักร์สงบสุขเรียบร้อยเเล้ว เพื่อสร้างความมั่นคงเเละความเข้มเเข็งของอาณาจักร์ พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร จึงขยายอำนาจโดยการส่งเหล่าบรรดาขุนนางเเละพระญาติไปสร้างเมืองขึ้นใหม่เเละปกครองเมืองนั้นๆ โดย ให้จารย์หวดไปสร้างเมือเมืองโขง ให้เจ้าจันทร์สุริยวงศ์ (นับว่าเป็นน้องเจ้าจารย์แก้ว และเป็นบรรพบุรุษของสายเจ้าเมืองมุกดาหาร) ไปรักษาเมืองตะโปน เมืองพิน เมืองนอง ส่วนเจ้าจารย์แก้วหรือเจ้าแก้วมงคลให้ไปสร้างเมืองท่งศรีภูมิ (ปัจจุบันคือสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) โดยให้จารย์แก้วเป็นเจ้าผู้ครองเมืองเสมอกษัตริย์ประเทศราช มีอำนาจสิทธิ์ขาดจัดราชการบริหารบ้านเมืองตามแบบอาญาสี่เช่นเดียวกับนครจำปาศักดิ์ทุกประการและมีการตรากฎหมายหรืออาณาจักร์หลักคำไว้ใช้ในการปกครองบ้านเมืองของตนเอง (พระนามของเจ้าเเก้วมงคลภายหลังมีการได้นำมาใช้เป็นชื่อเจ้าเมือง คือ “รัตนวงษา”) และแต่งตั้งให้เจ้ามืดคำดลเป็นเจ้าอุปราช ต่อมา เจ้าแก้วมงคลผู้ครองเมืองท่งศรีภูมิได้ถึงเเก่พิราลัย ในปีพ.ศ.2268 มีพระโอรสรวม 3 ท่าน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2252 เกิดเหตุวุ่นวายขึ้นที่นครกาละจำบากนาคบุรีศรี เจ้าราชครูหลวงพยายามจัดการปัญหาด้วยวิธีละมุนละม่อมโดยใช้หลักการทางศาสนาเเต่กลับไม่เป็นผล ท่านจึงส่งจารย์จันทร์ให้ไปอัญเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์ซึ่งอยู่ที่ตำบลงิ้วพันลำน้ำโสมสนุก ให้ลงมาปกครองเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี อภิเสกขึ้นเป็นกษัตริย์อย่างเป็นทางการ เจ้าราชครูหลวงถวายพระนามท่านว่า “พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร” และได้เปลี่ยนนามเมือง ว่า “นครจำปาศักดิ์นัคบุรีศรี” เเละให้ชื่ออาณาจักร์คือ “อาณาจักร์ล้านช้างจำปาศักดิ์” เป็นเอกเทศต่างหากจากเวียงจันทน์ มีกษัตริย์เอกราช ปกครองด้วยระบอบการปกครองเช่นกับอาณาจักร์ล้านช้างโบราณ ซึ่งใช้ระบบอาญาสี่ หลังจากท่านได้เป็นกษัตริย์ได้ไม่นานก็สามารถปราบปรามปัญหาความวุ่นวายลงได้อย่างง่ายดาย โดยการช่วยของเจ้าจารย์แก้ว(เจ้าเเก้วมงคล)เป็นกำลังสำคัญในการปราบปรามปัญหาความวุ่นวายภายในอาณาจักร์จนเป็นผลสำเร็จ ภายหลังอาณาจักร์สงบสุขเรียบร้อยเเล้ว เพื่อสร้างความมั่นคงเเละความเข้มเเข็งของอาณาจักร์ พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร จึงขยายอำนาจโดยการส่งเหล่าบรรดาขุนนางเเละพระญาติไปสร้างเมืองขึ้นใหม่เเละปกครองเมืองนั้นๆ โดย ให้จารย์หวดไปสร้างเมือเมืองโขง ให้เจ้าจันทร์สุริยวงศ์ (นับว่าเป็นน้องเจ้าจารย์แก้ว และเป็นบรรพบุรุษของสายเจ้าเมืองมุกดาหาร) ไปรักษาเมืองตะโปน เมืองพิน เมืองนอง ส่วนเจ้าจารย์แก้วหรือเจ้าแก้วมงคลให้ไปสร้างเมืองท่งศรีภูมิ (ปัจจุบันคือสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) โดยให้จารย์แก้วเป็นเจ้าผู้ครองเมืองเสมอกษัตริย์ประเทศราช มีอำนาจสิทธิ์ขาดจัดราชการบริหารบ้านเมืองตามแบบอาญาสี่เช่นเดียวกับนครจำปาศักดิ์ทุกประการและมีการตรากฎหมายหรืออาณาจักร์หลักคำไว้ใช้ในการปกครองบ้านเมืองของตนเอง (พระนามของเจ้าเเก้วมงคลภายหลังมีการได้นำมาใช้เป็นชื่อเจ้าเมือง คือ “รัตนวงษา”) และแต่งตั้งให้เจ้ามืดคำดลเป็นเจ้าอุปราช ต่อมา เจ้าแก้วมงคลผู้ครองเมืองท่งศรีภูมิได้ถึงเเก่พิราลัย ในปีพ.ศ.2268 มีพระโอรสรวม 3 ท่าน คือ 1) เจ้าองค์หล่อหน่อคำ (หลานเจ้านครน่าน) เกิดแต่พระชายาท่านแรกซึ่งเป็นเจ้าหญิงนครน่าน เมื่อครั้ง พระเจ้าวิชัยหรือศรีวิชัย กษัตริย์ล้านช้าง พระองค์ที่ 30 ได้ส่งพระราชโอรส ก็คือ เจ้าแก้วมงคล ไปเกี่ยวดองกับกษัตริย์นครน่าน เพื่อกระชับอำนาจระหว่างทั้ง 2 นครรัฐ ต่อมาเจ้าองค์หล่อหน่อคำได้ไปปกครองนครน่าน และได้เปลี่ยนพระนามเมื่อครั้งได้ครองเมืองน่าน ภายหลังเกิดภัยการเมืองถูกพระยาเมืองแสนยึดอำนาจพระเจ้าวิชัยพร้อมด้วยเจ้าแก้วมงคลและเจ้าจันทร์สุริยวงศ์ จึงลี้ภัยไปพึ่งเจ้าราชครูหลวงโพนสเม็กและออกผนวช พร้อมทั้งพากันเปลี่ยนพระนามเพื่อหลีกเลี่ยงฝ่ายพระยาเมืองแสนจากการถูกปองร้ายหรือถูกตามลอบปลงพระชนม์ ซึ่งเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับเจ้าองค์หล่อหน่อคำ มีการระบุใน "พงศาวดารภาคอีสาน ฉะบับของ พระยาขัติยวงษา (เหลา ณร้อยเอ็จ)" หรือพระยาขัติยวงศา เอกาธิกสตานันท์ ผู้สำเร็จราชการเมืองร้อยเอ็จ เชื้อสายเจ้าเมืองร้อยเอ็ดซึ่งสืบเชื้อสายมาเเต่เจ้าจารย์เเก้ว โดยเเต่เดิม ท่านได้เขียนมอบถึงหลวงจรูญชวนะพัฒน์ ข้าหลวงธรรมการ มณฑลอิสาน อุบลฯ พิมพ์ครั้งแรกในงานปลงศพนางศรีสุภา (โต เอี่ยมศิริ) มารดาของหลวงจรูญชวนะพัฒน์ ณ เชิงบรมบรรพต วัดสระเกศ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ได้กล่าวถึง สระสี่แจ่ง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก ไว้ว่า ".........ครั้นต่อมา เจ้าองค์หล่อหน่อคำ ซึ่งเป็นบุตรจารแก้ว หลานเจ้าเมืองน่าน พาไพร่พลมาสืบหาบิดา ซึ่งรู้ข่าวว่าบิดามาเป็นเจ้าเมือง อยู่ริมสระสี่แจ่ง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก ครั้นมาถึงเขตต์เมืองทุ่ง ตั้งค่ายอยู่ระหว่างปากเสียวน้อย ซึ่งเรียกว่าวังหม่านจนบัดนี้นั้น เจ้าองค์หล่อจับได้เพี้ยบุตรตะพานบ้านโนนสูง กวนหมื่นหน้าบ้านเบน ซึ่งยกทัพออกมาต่อสู้กันนอกเมือง เมื่อได้ตัวแม่ทัพสองคนนี้แล้ว จึงซักไล่ไต่ถามหาสระสี่แจง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก แม่ทัพทั้งสองได้แจ้งความให้เจ้าองค์หล่อหน่อคำทราบตลอดแต่ต้นจนถึงปลาย เจ้าอค์หล่อหน่อคำจึงได้ทราบว่าเป็นเมืองบิดาของตน แล้วปล่อยให้แม่ทัพสองคนเข้าไปบอกแก่ท้าวมืดน้องชายให้ทราบทุกประการโดยแน่นอนแล้ว ท้าวมืดรู้ว่าพี่ชายแห่งตน จึงได้แต่งให้แสนท้าวออกไปอัญเชิญเจ้าองค์หล่อหน่อคำให้เข้ามายังเมืองทุ่ง แล้วจัดการรับรองให้เป็นเกียรติยศอันดี แล้วท้าวมืดพร้อมกับเจ้าองค์หล่อหน่อคำ จัดการปลงศพจารแก้วผู้เป็นบิดาตามประเพณีผู้ครองบ้านเมืองมาแต่ก่อน เสร็จแล้วเจ้าองค์หล่อหน่อคำก็ลาท้าวมืดน้องชายกลับคืนไปเมืองน่านตามเดิม........." จึงสรุปได้ดังนี้จากประโยคที่ว่า “สระสี่แจ่ง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก” เป็นการกล่าวถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ของท้องถิ่นเมืองท่งตามกุศโลบายวิธีทางภาษาของชาวลาว-อีสาน 2) เจ้ามืดดำดล หรือ ท้าวมืด เกิดแต่พระชายาท่านที่ 2 ชาวเวียงจันทน์ 3) เจ้าสุทนต์มณี หรือท้าวทนต์ เกิดแต่พระชายาท่านที่ 2 ชาวเวียงจันทน์ หลังจากการพิราลัยของเจ้าแก้วมงคล เจ้ามืดดำดลจึงได้ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองแทนพระบิดา ส่วนเจ้าสุทนต์มณีเป็นเจ้าอุปราช ปกครองเมืองท่ง ต่อมา เจ้ามืดดำดลผู้พี่ถึงแก่พิราลัยลง เจ้าสุทนต์มณีผู้น้อง จึงได้เป็นเจ้าเมืองท่งสืบต่อแทน ต่อมาในปีพ.ศ 2308 เจ้าเซียง พระโอรสองค์โตของเจ้ามืด เป็นเจ้าอุปราช และให้เจ้าสูนพระโอรสองค์รองของเจ้ามืด เป็นราชวงศ์ ซึ่งทั้งคู่ล้วนเป็นหลานชายของเจ้าทนต์ ทั้งคู่ต่างมีความอิจฉาเจ้าอาว์ที่ได้เป็นเจ้าเมืองและร่วมมือกันนำเอาทองคำแท่งไปขอสวามิภักดิ์ต่อ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์อยุธยาพระองค์สุดท้าย เพื่อขอกองทัพจากอยุธยาให้ไปช่วยยึดเมืองท่งจากเจ้าอาว์ของพวกตน พระเจ้าเอกทัศ จึงโปรดเกล้าส่ง พระยาพรหม พระยากรมท่า ออกไปรวบรวมกำลังพลจากหัวเมืองขึ้นใกล้บริเวณ(เมืองท่ง) ของกรุงศรีอยุธยา เมื่อรวบรวมกำลังพลได้แล้วจึงเข้าไปสมทบกับกองทัพของเจ้าเซียงและเจ้าสูน เพื่อที่จะยึดเมืองจากเจ้าทนต์ ทางฝ่ายเจ้าทนต์เจ้าเมืองท่ง ขณะนั้น เมื่อทราบข่าวว่าหลานร่วมมือกับกองทัพอยุธยาจะเข้ามาตีเมืองท่ง เจ้าทนต์เมื่อเห็นว่ากำลังของพวกตนไม่น่าจะพอสู้ได้ จึงได้พาไพร่พลของตนอพยพหลบหนีออกจากเมือง ไปซ่อนตัวที่บ้านดงเมืองจอก(ในพื้นที่ของอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ในปัจจุบัน)ซึ่งขณะนั้นเป็นเขตแดนของเมืองท่ง ต่อมาฝ่ายเจ้าเซียงและทัพอยุธยาสามารถบุกเข้ายึดเมืองท่งได้อย่างง่ายดาย (เจ้าเมืองหนีไปแล้ว) ภายหลังจึงมีใบบอกตั้งให้เจ้าเซียงเป็นเจ้าผู้ครองเมือง ท่านที่ 4 และเจ้าสูนเป็นเจ้าอุปราช ครองเมืองท่งสืบต่อมา เมืองท่งศรีภูมิจึงกลายมาเป็นเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักร์กรุงศรีอยุธยา และส่งบรรณาการแก่อยุธยา และตัดขาดจากอาอาณาจักร์ล้านช้างจำปาศักดิ์มานับแต่บัดนั้น เมื่อเรียบร้อยแล้ว พระยาพรหม พระยากรมท่า จึงตั้งสำนักที่ทุ่งสนามโนนกระเบาซึ่งอยู่ในท้องที่เมืองท่ง เพื่อคอยสังเกตการณ์เจ้าเซียงและเจ้าทนต์ 2 อาว์หลาน ต่อมา ทัพพม่าราชวงศ์คองบอง สามารถตีกรุงศรีอยุธยาแตก อาณาจักรอยุธยาจึงเสียกรุง ในปี พ.ศ. 2310
ยุครัฐอิสระ และภายใต้อาณาจักร์กรุงธนบุรี
หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า ในปีพ.ศ. 2310 ส่งผลให้เมืองท่งศรีภูมิ จึงกลายเป็น รัฐอิสระ อย่างน้อย 7 เดือน เนื่องจากพม่ารุกรานมาไม่ถึงถิ่นเมืองท่ง พม่ารุกรานเพียงแต่ทางฝั่งเมืองหลวง อย่างกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น และเนื่องจากการล่มสลายของอาณาจักร์กรุงศรีอยุธยา เมืองขึ้นที่สำคัญต่างๆซึ่งเคยขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา ต่างล้วนแยกตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันและกัน จึงเกิดเป็นก๊กต่างๆหรือชุมนุมขึ้น ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพิมายชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมพระยาตาก(เป็นก๊กที่แข็งแกร่งที่สุด) ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก และชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ซึ่งก๊กต่างๆเหล่านี้(ยกเว้นชุมนุมพระยาตาก) ต่างพยายามแข็งเมืองต่อกลุ่มอำนาจใหม่ที่แข็งแกร่งของพระยาตาก ซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจที่พยายามจะรวบรวมชาติขึ้นใหม่ให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวอีกครั้ง ณ.เวลานี้เมืองท่งศรีภูมิ จึงเปรียบเหมือนเป็นอีกรัฐหรืออีกประเทศหนึ่งที่มีอิสรภาพอย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ขึ้นตรงกับรัฐอื่นรัฐใด เจ้าเซียงจึงเป็นเจ้าผู้ครองรัฐอิสระซึ่งมีอำนาจในการบริหารจัดการและปกครองบ้านเมือง-ประชาชนของตนเองได้อย่างเต็มที่ และมีการตรากฎหมายไว้ใช้ในรัฐของตน ซึ่งเรียกว่า "อาณาจักร์หลักคำเมืองสุวรรณภูมิ" ซึ่งถูกตราขึ้นมาครั้งแรกโดยเจ้าสุทนต์มณี เจ้าเมืองท่งคนที่ 3 ในปีพ.ศ. 2307 โดยดัดแปลงมาจากคัมภีร์โบราณธรรมศาสตร์หลวง กฎหมายล้านช้างโบราณ ซึ่งถูกตราขึ้นโดยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช มหาราชแห่งอาณาจักร์ล้านช้าง จึงบอกได้ว่าตั้งแต่สร้างเมืองท่งศรีภูมิในปีพ.ศ. 2256 ในยุคเจ้าจารย์แก้ว จนถึงปีพ.ศ. 2307 มีการใช้กฎหมายล้านช้างโบราณอย่างคำภีร์โบราณธรรมศาสตร์หลวงในการปกครองบ้านเมือง และจึงมีการตราเป็นรูปแบบของตัวเองอย่างเป็นทางการหลังจากปีพ.ศ. 2307 เป็นต้นมา ซึ่งอาณาจักร์หลักคำเมืองสุวรรณภูมินี้เองยังเป็นต้นแบบของหลักคำเมืองร้อยเอ็ดหรือกฎหมายของเมืองร้อยเอ็ดในเวลาต่อมา โดยหลักคำเมืองสุวรรณภูมิมีการใช้งานและมีความสำคัญมาโดยตลอดจนถึงยุคร.5 เมื่อยุบเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมืองจึงมีการเลิกใช้อาณาจักร์หลักคำและหันมาใช้กฎหมายจากส่วนกลางแทน ในระหว่างปี พ.ศ. 2310-2311 รัฐท่งศรีภูมิในขณะนั้นจึงมีฐานะเทียบเท่ารัฐเอกราชอื่นๆทุกประการ และต่อมาเมืองท่งได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับก๊กพิมาย เพื่อหาพันธมิตรและกำลังสนับสนุนมาคานอำนาจและป้องกันปัญหาเมื่อหากถูกรุกรานจากข้าศึกหรือศัตรูเก่า โดยเฉพาะกลุ่มเจ้าอาว์หรือกลุ่มเจ้าสุทนต์มณีที่ยังคงฝักใฝ่และจงรักภักดีกับพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารแห่งนครจำปาสักซึ่งยังคงที่จะซ่องสุมกำลังและรอคอยโอกาศเพื่อที่จะทวง(ยึด)เมืองคืน นอกจากนี้ก็อาจยังมีกลุ่มจากทางอาณาจักร์ล้านช้างจำปาศักดิ์โดยตรงและอาณาจักร์ล้านเวียงจันทน์ของพระเจ้าสิริบุญสารที่ควรระแวดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งแต่เดิมก็มีปัญหากันมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล ซึ่งอาจจะสบโอกาสแว้งมารุกรานและบีบบังคับให้เมืองท่งกลับไปขึ้นต่ออำนาจอาณาจักร์ของตน ในเวลาเมื่อใดไม่ทราบก็เป็นได้ (ซึ่งในเวลาต่อมา ประมาณประมาณปีพ.ศ. 2314 ทางกรุงเวียงจันทน์ได้ร่วมมือกับกองทัพพม่าคองบองจากเชียงใหม่ ทำลายเมืองหนองบัวลำภู และสังหารพระตาซึ่งเป็นเสนาบดีเก่าของเวียงจันทน์และมีปัญหาความบาดหมางกันมาก่อนตายคาสนามรบ) ถือว่าเป็นความฉลาดหลักแหลมของเจ้าผู้ครองเมืองอย่างเจ้าเซียงในการป้องกันและบริหารจัดการบ้านเมืองให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข จึงทำให้ในเวลาตลอดเกือบกว่า 1 ปี เมืองท่งศรีภูมิรอดพ้นจากภัยข้าศึกศัตรูรอบข้างที่อาจจะเข้ามารุกราน จนกระทั่ง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สามารถกู้กรุงสำเร็จ และทำลายก๊กพิมายหรือชุมนุมพิมายและเมืองพิมาย จับตัวกรมหมื่นเทพพิพิธ เจ้าเมืองพิมาย ซึ่งเป็นเจ้าชายอยุธยา เชื้อกษัตริย์อยุธยา ได้ พระยาตากจึงเกลี้ยกล่อมให้กรมหมื่นเทพพิพิธสวามิภักดิ์แก่ตน แต่กรมหมื่นเทพพิพิธไม่ยอมสวามิภักดิ์จึงถูกพระยาตากสำเร็จโทษ(ประหารชีวิต) ต่อมาไม่นานพระยาตากสามารถรวบรวมก๊กต่างๆที่กระจัดกระจายให้กลับมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เป็นผลสำเร็จ และสถาปนาอาณาจักร์ขึ้นใหม่นามว่า "อาณาจักร์กรุงธนบุรี" และสถาปนาตนเองเป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งมีพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" และในปีเดียวกันนั้น หลังจากเมืองท่งศรีภูมิ เป็น อิสระ ได้ไม่นาน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้สถาปนาอาณาจักรธนบุรี เสร็จสิ้นแล้ว จึงรับสั่งให้เมืองประเทศราชทุกเมือง ที่เคยสวามิภักดิ์ ต่อ อาณาจักรอยุธยา ให้อยู่ภายใต้อำนาจดังเดิม เจ้าเซียง หรือ เจ้าเซียง จึงได้สวามิภักดิ์ขอเป็นเมืองประเทศราช ดังเดิม ต่อมา พระยาพรหม พระยากรมท่า ได้ปรึกษากับเจ้าเซียงเจ้าเมืองท่ง ได้ความว่า ที่ตั้งของเมืองท่งศรัภูมิเดิม มีน้ำกัดเซาะ และมีปัญหาน้ำท่วมเกือบทุกปี อันเนื่องมาจากที่ตั้งเมืองใกล้ลำน้ำเสียวมากเกินไป จึงเป็นการดีถ้าหากมีการย้ายที่ตั้งเมืองไปยังดงเท้าสาร(ที่ตั้งที่ทำการอำเภอสุวรรณภูมิ ในปัจจุบัน) เนื่องจากพื้นที่บริเวณนั้นเป็นดินเนินสูง ปลอดภัยจากภัยพิบัติน้ำท่วม จึงมีใบบอกขอโปรดเกล้าให้ย้ายที่ตั้งเมืองใหม่ พระเจ้าตากจึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตามดังนั้น และได้พระราชทานนามเมืองใหม่ ว่า “เมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์ประเทศราช” พร้อมทั้งสถาปนาพระยศ ให้แก่เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ อย่าง เจ้าเซียง เป็นที่ "พระรัตนวงษา" และให้ใช้พระนามดังกล่าวแก่เจ้าเมืองสุวรรณภูมิทุกท่านที่ได้สืบต่อเป็นเจ้าเมืองสืบต่อไป (ซึ่งพระยศนี้หมายถึง ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าแก้วมงคล ผู้เป็นปฐมราชวงศ์เจ้าผู้ครองเมืองท่งศรีภูมิ พระองค์แรก) ส่วนทางฝั่งเจ้าสุทนต์มณีซึ่งยังคงมีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ล้านช้างจำปาสักอยู่เนืองๆ นับตั้งแต่หลังพ่ายแพ้สงครามและเสียเมืองท่งให้แก่หลานของตนจึงยังคงกบดานอยู่แถวบริเวณบ้านดงเมืองจอก(บริเวณ ตำบลบ้านดู่ อำเภออาจสามมารถ จังหวัดร้อยเอ็ด) ซึ่งยังอยู่ในอาณาเขตของเมืองท่งศรีภูมิ ผ่านเลยจากยุคอยุธยาตอนปลาย ยุครัฐอิสระ จนถึงยุคกรุงธนบุรี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2308 - พ.ศ. 2318 รวมระยะเวลากว่า 10 ปี





รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:35, 3 กุมภาพันธ์ 2565

จังหวัดมหาสารคาม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Maha Sarakham
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
คำขวัญ: 
พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม
ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดมหาสารคามเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดมหาสารคามเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดมหาสารคามเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2563)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด5,291.683 ตร.กม. (2,043.130 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 41
ประชากร
 (พ.ศ. 2563)[2]
 • ทั้งหมด953,660 คน
 • อันดับอันดับที่ 23
 • ความหนาแน่น180.22 คน/ตร.กม. (466.8 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 16
รหัส ISO 3166TH-44
ชื่อไทยอื่น ๆสารคาม
ตักสิลานคร
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้พฤกษ์ (มะรุมป่า)
 • ดอกไม้ลั่นทมขาว (จำปาขาว)
 • สัตว์น้ำปูทูลกระหม่อม
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดมหาสารคาม หมู่ที่ 11 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 291 ตำบลแวงน่าง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000
 • โทรศัพท์0 4377 7356
 • โทรสาร0 4377 7460
เว็บไซต์http://www.mahasarakham.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดมหาสารคาม เป็นจังหวัดหนึ่งทางตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีอาณาเขตติดกับจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดขอนแก่น

เมืองศูนย์กลางของจังหวัด คือ เทศบาลเมืองมหาสารคาม ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[3]

ประวัติศาสตร์

เมืองมหาสารคามถือว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญและยาวนานมานับพันปี เพราะได้พบหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยคุปตะตอนปลายและปัลลวะของอินเดียผ่านเมืองพุกามมาในรูปแบบของศิลปะสมัยทวารวดี โดยบริเวณโคกพระเมืองกันทรวิชัย พบหลักฐานเช่น พระพุทธมิ่งเมือง พระพุทธรูปยืนมงคล และกรุพระพิมพ์ดินเผา ส่วนบริเวณอำเภอนาดูนเมืองนครจำปาศรี พบทั้งกรุพระพิมพ์ดินเผาและพระบรมสารีริกธาตุ นอกจากนี้แล้วยังได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ผ่านทางชนชาติขอม ในรูปแบบสมัยลพบุรี เช่น กู่สันตรัตน์ กู่บ้านเขวา กู่บ้านแดง และกู่อื่น ๆ รวมไปจนถึงเทวรูปและเครื่องปั้นดินเผาของขอมอยู่ตามผิวดินทั่ว ๆ ไปในจังหวัดมหาสารคาม[ต้องการอ้างอิง]

สมัยอาณาจักร์สุโขทัย-อาณาจักร์กรุงศรีอยุธยา

ประมาณปี พ.ศ. 1800 ในสมัย กรุงสุโขทัย ชนชาวไท-ลาว บางส่วนมีการอพยพมาจาก อาณาจักร์อ้ายลาวหรืออาณาจักรน่านเจ้า ต่อมา มีบางส่วนอพยพลงมาทางใต้ มาอาศัย แถบลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี เรียกตัวเองว่า ชาวล้านช้าง ช่วงแรกยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขอม มาจนกระทั่งถึง สมัย พ่อรามคำแหงมหาราช แห่งสุโขทัย ได้ขายอิทธิพลเข้าครอบครอง ถึงบริเวณล้านช้าง (เวียงจันทนท์ และ หลวงพระบาง) รวมถึงบริเวณภาคอีสานตอนเหนือบางส่วน ยกเว้นบริเวณส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกฉียงเหนือ(อีสานตอนกลางและตอนล่าง) ของไทย ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงตกเป็นของขอม(เขมร) อยู่ต่อมาเรื่อยๆ จนกระทั่ง มีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ประมาณปี พ.ศ. 1893 ของพระเจ้าอู่ทอง อำนาจของกรุงสุโขทัยจึงเริ่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ หัวเมืองขึ้นและประเทศราชต่างพากันแข็งข้อและแข็งเมืองออก เป็นเอกเทศ ต่อมาซึ่งต่อมา ขุนหลวงพะงั่ว หรือพระบรมราชาที่ 1 แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาได้ทรงยกทัพไปตีสุโขทัย และสามารถยึดไว้ในอำนาจได้ ประมาณปี พ.ศ. 1921 กรุงสุโขทัยจึงเสื่อมอำนาจอย่างบริบูรณ์มาตั้งแต่บัดนั้น

กำเนิดชนชาติลาวล้านช้าง ก่อตั้งอาณาจักร์และความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักร์โบราณ

ขุนบรม ปฐมกษัตริย์ แห่งอาณาจักร์แถน หรืออาณาจักร์อ้ายลาว(ใหม่) แห่งดินแดนนาน้อยอ้อยหนู(เดียนเบียนฟู ประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นยุคก่อนจะกำเนิดอาณาจักร์สุโขทัยของไทย ได้ส่งพระราชโอรสองค์ใหญ่ พระนามว่า “ขุนลอ” มาครองเมือง”ซวา” หรือ เมือง”เซ่า” ขับไล่ชาวข่า ลัวะ ขมุ ที่เคยครอบครองถิ่นและเมืองนี้มาก่อน ออกไปจากเมือง และ ให้นามเมืองใหม่ว่า เมือง”เชียงทอง” (ต่อมา มีการ เปลี่ยนชื่อมาเป็น “หลวงพระบาง” ในภายหลัง) ต่อมามีกษัตริย์ซึ่งสืบมาจากขุนลอ ครองเมืองถึง 22 พระองค์ จนกระทั่งพระ เจ้าฟ้างุ้มมหาราชได้ตั้งตัวเป็นมหากษัตริย์(เชื้อสายขุนลอ) แห่งเมืองเชียงทอง ในปี 1869 ทรงพัฒนาเมืองเชียงทอง ให้กลายมาเป็น อาณาจักร์ล้านช้างที่ยิ่งใหญ่ ในปี พ.ศ. 2089 เป็นอาณาจักร์อิสระมานับแต่บัดนั้น ซึ่งแรกเริ่มล้านช้างมีความสัมพันธ์อันดีกับจักรวรรดิขอม โดย พระเจ้าฟ้างุ้มมีพระมเหสีเอกเป็นธิดากษัตริย์ขอม แต่ต่อมาภายหลังอาณาจักร์ล้านช้างได้เกี่ยวดองกันทางเครือญาติและหันมาเป็นพันธมิตรกับอาณาจักร์อยุธยา(แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ ของขุนหลวงพะงั่ว) เพื่อต่อต้านอำนาจของขอม จนอยุธยาสามารถปราบขอมจนสิ้นซาก ในสมัยเจ้าสามพระยา จักรวรรดิขอมที่ยิ่งใหญ๋จึงล่มสลายมาตั้งแต่บัดนั้น โดยอาณาจักร์อยุธยาได้ครอบครองศูนย์กลางของขอมอย่างพระนคร ส่วนอาณาจักร์ล้านช้างได้ขยายอาณาเขตลงมาครอบครองดินแดนบางส่วนของขอมเดิม ประชิดเขตแดนที่บริเวณเมืองพิมายของอยุธยา(ก่อนหน้านั้น เมืองพิมายขึ้นกับขอม) ความสัมพันธ์ระหว่างล้านช้างและอยุธยาจึงเป็นความสัมพันธ์ที่ดีนับตั้งแต่นั้นมา จนกระทั่งสมัยพระเจ้าโพธิสาลราช พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักร์ล้านช้าง ได้เกี่ยวดองและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับอาณาจักร์ล้านนา แห่งราชวงศ์มังรายณ์ โดยการเสกสมรสกับเจ้าหญิงเมืองเชียงใหม่ และได้ส่งกองกำลังทัพล้านช้างเข้าไปช่วยเชียงใหม่รบกับพม่า(ไทใหญ่)และอยุธยาอยู่หลายครั้ง และชนะทุกครั้ง ภายหลังขุนนางเชียงใหม่เสนอให้พระโพธิสาลราชไปเป็นกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ แต่พระโพธิสาลราชทรงปฏิเสธ แต่ทรงเสนอให้พระราชโอรสของท่านซึ่งกำเนิดแต่ธิดากษัตริย์เมืองเชียงใหม่ไปครองเมืองเชียงใหม่แทนนามว่า “พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช” ต่อมาในปีพ.ศ. 2093 พระเจ้าโพธิสารทรงสวรรคต พระราชโอรสองค์รองอันเกิดแต่พระเหสีองค์รองต่างแก่งแย่งกันขึ้นเป็นกษัตรย์ อาณาจักร์ล้านช้าง ณ.ขนะนั้นจึงเกิดความวุ่นวายแบ่งกันเป็นฝักเป็นฝ่าย เหล่าขุนนางจึงอัญเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชให้กลับไปครองหลวงพระบาง(ล้านช้าง) เพื่อระงับเหตุความวุ่นวายที่เกิดขึ้น พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงฝากให้สมเด็จย่า(จิรปภามหาเทวี)รักษาการเมืองเชียงใหม่แทนพระองค์ พร้อมทั้งยังได้อัญเชิญพระแก้วมรกตย้ายไปที่เมืองหลวงพระบางด้วย ต่อมาจึงได้ยกทัพ เข้ายึดอำนาจและบีบพระอนุชาทั้ง 2 ให้ยอมยกราชสมบัติให้แก่ตน จนได้ครองอาณาจักร์ล้านช้าง ส่วนทางเมือง หลังจากพระเจ้าไชยเชษฐา ไม่ยอมกลับไปครองเมืองเชียงใหม่ต่อซักที ขุนนางจึงเชิญพระเจ้าเมกุติ เจ้าเมืองนาย(เชื้อสายไทยใหญ่ และยังเป็นเชื้อสายราชวงศ์มังรายณ์)ให้ไปเป็นกษัตริย์ครองเมืองเชียงใหม่แทน ต่อมาพระเจ้าบุเรงนองแผ่อำนาจมายังหัวเมืองไทใหญ่ แล้วจึงผ่านเข้ามาตีเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าเมกุติ สู้ไม่ได้ จึงยอมอ่อนน้อมและยอมส่งบรรณาการทุกปีแก่พม่า เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาทรงทราบข่าว จึงนำกองทัพจะเข้าบุกยึดเมืองเชียงใหม่จากพระเมกุติ ซึ่งขณะนั้นบุเรงนองได้ยกทัพออกไปจากเชียงใหม่เรียบร้อยแล้ว พระเมกุติเมื่อทราบว่าทัพล้านช้างพยายามจะบุกจึงส่งพระราชสาส์นไปยังบุเรงนองให้ส่งกองกำลังกลับมาช่วยตนขับไล่ทัพล้านช้าง บุเรงนองจึงยกทัพกลับไปยังเมืองเชียงใหม่ และส่งทัพขับไล่ทัพของพระเจ้าไชยเชษฐาให้กลับไปยังเขตล้านช้าง พระเจ้าไชยเชษฐาเมื่อทราบว่าเชียงใหม่ขึ้นกับบุเรงนองเรียบร้อยแล้ว จึงเลิกทัพหนีกลับไปยังเมืองหลวงพระบาง ต่อมา พระไชยเชษฐาธิราชได้เป็นพันธมิตรกับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อช่วยกันต่อต้านพระเจ้าบุเรงนองซึ่งกำลังขยายอิทธิพลมาจากดินแดนแถบนี้ ในปีพ.ศ. 2103 และท่านทรงย้ายราชธานีจากเมืองหลวงพระบางไปเมืองเวียงจันทน์อย่างเป็นทางการ ในปี 2106 (สมัยพระเจ้าโพธิสาลราชเคยย้ายลงมาชั่วคราว เพื่อทำศึกกับเมืองพวน) มาชั่วคราว เพื่อทำศึกกับเมืองพวน) นอกจากนี้ท่านยังสร้างวัดพระแก้วและพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ขึ้น ค่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ส่งกองทัพไปช่วยอยุธยาอยู่หลายครั้ง แต่เนื่องจากกองทัพพม่ามีจำนวนพลที่มากและแข็งแกร่ง ส่งผลให้อาณาจักรอยุธยาเสียเอกราชให้แก่พม่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2112 ต่อมาบุเรงนองมีความเคียดแค้นต่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชซึ่งได้ยกทัพลาวเข้าช่วยกองทัพกรุงศรีอยุธยาต่อต้านกองทัพพม่าของตนอยู่หลายครั้ง จึงยกทัพพยายามตีเมืองเวียงจันทน์ ศึกครั้งแรก บุกเข้าเมืองเวียงจันทน์ได้แต่ไม่ได้ตัวของพระเจ้าไชยเชษฐา เนื่องจากท่านไม่ได้อยู่ในเมือง ไปทำธุระทางตอนใต้ของอาณาจักร์ แต่สามรถจับเชื้อพระวงศ์ได้เป็นจำนวนมาก เช่น เจ้าอุปราชวรวังโส(พระอนุชา) นางคำไบ(พระขนิษฐา) พระหน่อแก้ว(พระราชบุตร) พระราชธิดาทั้ง 3 พระองค์ พระมเหสี เป็นต้น จึงนำตัวส่งลงไปยังกรุงหงสาวดี ศึกครั้งนี้จึงยังไม่อาจพิชิตพระเจ้ากรุงล้านช้างและอาณาจักร์ล้านช้างได้ ต่อมาศึกครั้งที่ 2 บุเรงนองได้นำกองทัพพยายามบุกเวียงจันทน์อีกครั้ง (บุเรงนองบัญชาการนำทัพเอง) แต่ครั้งนี้พระเจ้าไชยเชษฐาทรงพำนักอยู่ที่กรุงเวียงจันทน์เมื่อทราบข่าวว่าทัพพม่ากำลังจะมาบุก พระเจ้าไชยเชษฐาจึงทำการอพยพพลเมืองออกจากเมืองให้หมดและให้ไปหลบซ่อนในสถานที่ที่ปลอดภัย และวางแผนกลยุทธ์แบบกองโจรหรือป่าล้อมเมือง โดยการล่อให้ทัพพม่าเข้าไปในเมือง แล้วจึงให้ทัพลาวเข้าโจมตีแบบกองโจร จนในที่สุดเสบียงอาหารของทางฝั่งพม่าเริ่มร่อยหรอลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทหารพม่าเริ่มไม่มีแรงและกำลังใจที่จะทำศึกต่อไป ทัพพม่าบุเรงนองจึงทำการถอยทัพออกจากเวียงจันทน์และอาณาเขตล้านช้างในที่สุด ถือว่าครั้งนี้เป็นชัยชนะของทางฝั่งล้านช้างที่นำโดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่เหนือกว่าทางฝั่งทัพพม่าที่นำโดยบุเรงนองอย่างชัดเจน และต่อมาศึกครั้งที่ 3 ทัพพม่ายังไม่ยอมรามือที่จะบุกยึดล้านช้าง จึงส่งกองทัพมาบุกเวียงจันทน์อีกครั้ง แต่ครั้งนี้พระเจ้าไชยเชษฐาได้หายสาบสูญไปที่เมืองโองการ(คาดว่าน่าจะเป็น แขวงอัตปือ สปป.ลาวในปัจจุบัน) พระยาแสนสุรินทร์ลือชัยจึงสำเร็จราชการแทนและแต่งทัพออกสู้กับกองทัพพม่า แต่กองทัพที่ไร้การนำของพระเจ้าไชยเชษฐาก็ถูกทัพพม่าที่มีจำนวนมหาศาลตีจนแตกและสามารถเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์ได้อย่างง่ายดาย ล้านช้างจึงตกเป็นเมืองพม่ามาตั้งแต่บัดนั้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2118 ต่อมาในระหว่างล้านช้างตกเป็นเมืองประเทศราชของพม่า พม่าก็ได้ส่งเชื้อพระวงศ์ล้านช้างที่ถูกจับตัวไปเป็นองค์ประกันให้กลับไปครองอาณาจักร์ล้านช้างอยู่เป็นเนืองๆ ต่อมาสิ้นยุคบุเรงนองเข้าสู่ยุคนันทบุเรง อำนาจและอิทธิพลของพม่าก็เสื่อมถอยลง อันเนื่องด้วยมาจาก มีการทำสงครามกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งพยายามปลดเอกราชจากพม่า ประมาณ ปีพ.ศ. 2133– พ.ศ. 2148 เป็นผลให้ล้านช้างปลอดภัยจากอิทธิของพม่าในช่วงเวลาขณะนั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2134 นันทบุเรง จึงส่งพระหน่อแก้วกุมาร พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชกลับไปเป็นกษัตริย์ล้านช้าง เมื่อกลับล้านช้างได้ไม่นานพระหน่อแก้วกุมารจึงทรงได้ประกาศอิสรภาพจากพม่า เป็นเอกราชไม่ขึ้นตรงกับพม่าอีกต่อไป หลังจากนี้อาณาจักร์ล้านช้างจึงเป็นเอกราชและสงบร่มเย็น ปลอดภัยจากการรุกรานของข้าศึกศัตรูยาวนานมาตลอดกว่าร้อยปี

การล่มสลายของอาณาจักร์ล้านช้าง และการอพยพของกลุ่มเจ้านายล้านช้างลงไปตั้งเมืองต่างๆภายในภาคอีสาน(ขึ้นต่ออาณาจักร์ล้านช้างจำปาศักดิ์และกรุงศรีอยุธยา)

เมื่อประมาณพุทธศักราช 2231 หลังการสวรรคตของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช มหาราชแห่งอาณาจักร์ล้านช้าง อันมีกรุงเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง ตรงกับ สมัยของพระเพทราชาแห่งอาณาจักร์กรุงศรีอยุธยา เกิดการแย่งชิงอำนาจ เนื่องจากพระองค์ทรงประหารชีวิตรัชทายาท และไม่มีผู้สืบตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ฝ่ายทายาทและขุนนางต่างแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เพื่อแย่งกันเป็นใหญ่ จนในที่สุดอาณาจักร์ล้านช้างจึงถึงคราวล่มสลาย โดยแตกแยกออกเป็น 3 อาณาจักร์เล็กอาณาจักร์น้อย ได้แก่ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิราช พระองค์ทรงมีพระราชโอรส พระองค์หนึ่งนามว่า “เจ้าองค์หล่อ” อันเกิดเเต่พระนางสุมนานละพระมเหสี ขณะนั้นมีพระชนมายุได้ 3 พรรษา อีกทั้งพระนางสุมังคละ กำลังทรงตั้งพระครรภ์ ขณะนั้นมีขุนนางเสนาบดี นามว่า พระยาเมืองแสน ผู้มีอำนาจบาดใหญ่ สนับสนุนให้เจ้าองค์หล่อได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์หุ่นเชิดของตน โดยให้ตัวเองเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทน เเละใช้อำนาจในทางที่ไม่ชอบ ภายหลังเมื่อเจ้าองค์หล่อเติบใหญ่ขึ้น พระยาเมืองเเสนไม่ยอมคืนอำนาจให้ อีกทั้งยังขับเจ้าองค์หล่อจากราชบัลลังก์โดยมิให้ใครรู้ ต่อมาคิดที่จะบีบบังคับให้พระนางสุมังคละมาเป็นภรรยาของตน เเต่พระนางไม่ยอม พระนางจึงพาเจ้าองค์หล่อ อพยพหนีไปพึ่งเจ้าราชครูหลวงโพนเสม็ก (พระสังฆราช เเห่งเวียงจันทน์) ซึ่งเป็นที่นับถือของบรรดาลูกศิษย์เเละเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก จึงมีบรรดาเชื้อพระวงศ์มาขอเป็นลูกศิษย์ท่านมากมาย ซึ่งในนั้นมีเจ้าเเก้วมงคลเเละเจ้าจันทรสุริยวงศ์ เชื้อสายกษัตริย์ราชวงศ์ล้านช้าง พระญาติผู้ใหญ่ของเจ้าองค์หล่อ เป็นศิษย์เอกอยู่ด้วย ต่อมาเจ้าราชครูหลวงคิดว่าถ้าหากให้พระนางมาอาศัยอยู่ด้วยก็เกรงผู้อื่นจะครหานินทา อันเนื่องจากความไม่เหมาะสมเเละสถานที่อาศัยอยู่โจ่งเเจ้งเกินไปเเละไม่ค่อยปลอดภัยจึงส่งไปไว้ที่ตำบลภูชะง้อหอคำ ต่อมาพระยางสุมังคละทรงได้ประสูติพระโอรสอีกองค์หนึ่ง โดยตั้งพระนามว่า “เจ้าหน่อกษัตริย์” ณ.ที่นั้น ต่อมาฝ่ายพระยาเมืองแสนเห็นว่า เจ้าราชครูหลวงมีผู้ติดตามเเละเคารพนับถือเป็นจำนวนมาก คิดเกรงกลัวไปเองว่าท่านจะนำศิษย์ซ่องสุมที่จะแย่งชิงอำนาจไปจากตน จึงคิดที่จะกำจัดทิ้ง แต่ทางเจ้าราชครูหลวงโพนเสม็ดรู้ตัวเสียก่อน จึงนำลูกศิษย์ลูกหาเเละผู้ศรัทธากว่า 3000 ชีวิต ลี้ภัยหนีลงใต้ ระหว่างทางก็มีผู้คนมาสมัครขอเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก เมื่อเดินไปถึงเขตเเดนเมืองบันทายเพชร์ ซึ่งเป็นดินแดนของอาณาจักร์เขมร เมื่อข่าวไปถึงหูกษัตริย์เขมร กษัตริย์เขมรจึงมีการสั่งให้กลุ่มเจ้าราชครูหลวงจ่ายค่าทำเนียม ครัวละ 2 ตำลึง จึงจะสามารถไปตั้งถิ่นฐานที่นั้นได้ เจ้าราชครูหลวงจึงเห็นว่า เป็นการเดือดร้อนเเก่ผู้ติดตาม อีกทั้งยังเป็นการขูดเลือดขูดเนื้อมากจนเกินไป ท่านจึงสั่งอพยพขึ้นไปตอนเหนือ จนถึงบริเวณเมืองเก่าทางตอนใต้ของอาณาจักร์ล้านช้าง ซึ่งเคยรุ่งเรืองถึงขีดสุดจนถึงขั้นเคยเป็นศูนย์กลางของเขมรโบราณในช่วงยุคเจนละมาก่อน นามว่า “เมืองเศรษฐปุระ” จนผ่านหลายยุคหลายสมัย จนมีนามเมืองว่า “เมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี” ในการเดินทางอพยพลี้ภัยลงมายังดินเเดนลาวใต้จนถึงถิ่นเมืองเก่าเเห่งนี้นี้เอง เจ้าราชครูหลวงโพนเสม็กมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยศิษย์เอก อย่าง เจ้าแก้วมงคล เป็นแม่กองใหญ่ และจารย์หวด เป็น รองแม่กอง คอยควบคุมดูแลบริวารเเละไพร่พลของท่านมาตลอดทาง ภายหลังการมาถึงของกลุ่มเจ้าราชครูหลวงโพนเสม็ด นางเเพง นางเภา คู่เเม่ลูก ผู้ครองเมืองอยู่ขณะนั้น ก็มีความเลื่อมใสศรัทธาต่อเจ้าราชครูหลวง จึงพากันอาราธนาเจ้าราชครูหลวงให้มาปกครองเมืองเเทนพวกตนโดยให้ท่านได้ใช้หลักธรรมค้ำจุนเหล่าชาวเมือง ต่อมาเมื่อเจ้าองค์หล่อเติบโตขึ้นได้ไปพำนักที่เเดนญวน ภายหลังได้กองกำลังสนับสนุนกลับไปยึดเมืองเวียงจันทน์คืน ได้เป็นผลสำเร็จ ประมาณปีพ.ศ. 2245 เเล้วทรงจับพระยาเมืองแสนสำเร็จโทษ เจ้าองค์หล่อจึงได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักร์ล้านช้างสืบต่อมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2252 เกิดเหตุวุ่นวายขึ้นที่นครกาละจำบากนาคบุรีศรี เจ้าราชครูหลวงพยายามจัดการปัญหาด้วยวิธีละมุนละม่อมโดยใช้หลักการทางศาสนาเเต่กลับไม่เป็นผล ท่านจึงส่งจารย์จันทร์ให้ไปอัญเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์ซึ่งอยู่ที่ตำบลงิ้วพันลำน้ำโสมสนุก ให้ลงมาปกครองเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี อภิเสกขึ้นเป็นกษัตริย์อย่างเป็นทางการ เจ้าราชครูหลวงถวายพระนามท่านว่า “พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร” และได้เปลี่ยนนามเมือง ว่า “นครจำปาศักดิ์นัคบุรีศรี” เเละให้ชื่ออาณาจักร์คือ “อาณาจักร์ล้านช้างจำปาศักดิ์” เป็นเอกเทศต่างหากจากเวียงจันทน์ มีกษัตริย์เอกราช ปกครองด้วยระบอบการปกครองเช่นกับอาณาจักร์ล้านช้างโบราณ ซึ่งใช้ระบบอาญาสี่ หลังจากท่านได้เป็นกษัตริย์ได้ไม่นานก็สามารถปราบปรามปัญหาความวุ่นวายลงได้อย่างง่ายดาย โดยการช่วยของเจ้าจารย์แก้ว(เจ้าเเก้วมงคล)เป็นกำลังสำคัญในการปราบปรามปัญหาความวุ่นวายภายในอาณาจักร์จนเป็นผลสำเร็จ ภายหลังอาณาจักร์สงบสุขเรียบร้อยเเล้ว เพื่อสร้างความมั่นคงเเละความเข้มเเข็งของอาณาจักร์ พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร จึงขยายอำนาจโดยการส่งเหล่าบรรดาขุนนางเเละพระญาติไปสร้างเมืองขึ้นใหม่เเละปกครองเมืองนั้นๆ โดย ให้จารย์หวดไปสร้างเมือเมืองโขง ให้เจ้าจันทร์สุริยวงศ์ (นับว่าเป็นน้องเจ้าจารย์แก้ว และเป็นบรรพบุรุษของสายเจ้าเมืองมุกดาหาร) ไปรักษาเมืองตะโปน เมืองพิน เมืองนอง ส่วนเจ้าจารย์แก้วหรือเจ้าแก้วมงคลให้ไปสร้างเมืองท่งศรีภูมิ (ปัจจุบันคือสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) โดยให้จารย์แก้วเป็นเจ้าผู้ครองเมืองเสมอกษัตริย์ประเทศราช มีอำนาจสิทธิ์ขาดจัดราชการบริหารบ้านเมืองตามแบบอาญาสี่เช่นเดียวกับนครจำปาศักดิ์ทุกประการและมีการตรากฎหมายหรืออาณาจักร์หลักคำไว้ใช้ในการปกครองบ้านเมืองของตนเอง (พระนามของเจ้าเเก้วมงคลภายหลังมีการได้นำมาใช้เป็นชื่อเจ้าเมือง คือ “รัตนวงษา”) และแต่งตั้งให้เจ้ามืดคำดลเป็นเจ้าอุปราช ต่อมา เจ้าแก้วมงคลผู้ครองเมืองท่งศรีภูมิได้ถึงเเก่พิราลัย ในปีพ.ศ.2268 มีพระโอรสรวม 3 ท่าน คือ 1) เจ้าองค์หล่อหน่อคำ (หลานเจ้านครน่าน) เกิดแต่พระชายาท่านแรกซึ่งเป็นเจ้าหญิงนครน่าน เมื่อครั้ง พระเจ้าวิชัยหรือศรีวิชัย กษัตริย์ล้านช้าง พระองค์ที่ 30 ได้ส่งพระราชโอรส ก็คือ เจ้าแก้วมงคล ไปเกี่ยวดองกับกษัตริย์นครน่าน เพื่อกระชับอำนาจระหว่างทั้ง 2 นครรัฐ ต่อมาเจ้าองค์หล่อหน่อคำได้ไปปกครองนครน่าน และได้เปลี่ยนพระนามเมื่อครั้งได้ครองเมืองน่าน ภายหลังเกิดภัยการเมืองถูกพระยาเมืองแสนยึดอำนาจพระเจ้าวิชัยพร้อมด้วยเจ้าแก้วมงคลและเจ้าจันทร์สุริยวงศ์ จึงลี้ภัยไปพึ่งเจ้าราชครูหลวงโพนสเม็กและออกผนวช พร้อมทั้งพากันเปลี่ยนพระนามเพื่อหลีกเลี่ยงฝ่ายพระยาเมืองแสนจากการถูกปองร้ายหรือถูกตามลอบปลงพระชนม์ ซึ่งเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับเจ้าองค์หล่อหน่อคำ มีการระบุใน "พงศาวดารภาคอีสาน ฉะบับของ พระยาขัติยวงษา (เหลา ณร้อยเอ็จ)" หรือพระยาขัติยวงศา เอกาธิกสตานันท์ ผู้สำเร็จราชการเมืองร้อยเอ็จ เชื้อสายเจ้าเมืองร้อยเอ็ดซึ่งสืบเชื้อสายมาเเต่เจ้าจารย์เเก้ว โดยเเต่เดิม ท่านได้เขียนมอบถึงหลวงจรูญชวนะพัฒน์ ข้าหลวงธรรมการ มณฑลอิสาน อุบลฯ พิมพ์ครั้งแรกในงานปลงศพนางศรีสุภา (โต เอี่ยมศิริ) มารดาของหลวงจรูญชวนะพัฒน์ ณ เชิงบรมบรรพต วัดสระเกศ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ได้กล่าวถึง สระสี่แจ่ง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก ไว้ว่า ".........ครั้นต่อมา เจ้าองค์หล่อหน่อคำ ซึ่งเป็นบุตรจารแก้ว หลานเจ้าเมืองน่าน พาไพร่พลมาสืบหาบิดา ซึ่งรู้ข่าวว่าบิดามาเป็นเจ้าเมือง อยู่ริมสระสี่แจ่ง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก ครั้นมาถึงเขตต์เมืองทุ่ง ตั้งค่ายอยู่ระหว่างปากเสียวน้อย ซึ่งเรียกว่าวังหม่านจนบัดนี้นั้น เจ้าองค์หล่อจับได้เพี้ยบุตรตะพานบ้านโนนสูง กวนหมื่นหน้าบ้านเบน ซึ่งยกทัพออกมาต่อสู้กันนอกเมือง เมื่อได้ตัวแม่ทัพสองคนนี้แล้ว จึงซักไล่ไต่ถามหาสระสี่แจง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก แม่ทัพทั้งสองได้แจ้งความให้เจ้าองค์หล่อหน่อคำทราบตลอดแต่ต้นจนถึงปลาย เจ้าอค์หล่อหน่อคำจึงได้ทราบว่าเป็นเมืองบิดาของตน แล้วปล่อยให้แม่ทัพสองคนเข้าไปบอกแก่ท้าวมืดน้องชายให้ทราบทุกประการโดยแน่นอนแล้ว ท้าวมืดรู้ว่าพี่ชายแห่งตน จึงได้แต่งให้แสนท้าวออกไปอัญเชิญเจ้าองค์หล่อหน่อคำให้เข้ามายังเมืองทุ่ง แล้วจัดการรับรองให้เป็นเกียรติยศอันดี แล้วท้าวมืดพร้อมกับเจ้าองค์หล่อหน่อคำ จัดการปลงศพจารแก้วผู้เป็นบิดาตามประเพณีผู้ครองบ้านเมืองมาแต่ก่อน เสร็จแล้วเจ้าองค์หล่อหน่อคำก็ลาท้าวมืดน้องชายกลับคืนไปเมืองน่านตามเดิม........." จึงสรุปได้ดังนี้จากประโยคที่ว่า “สระสี่แจ่ง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก” เป็นการกล่าวถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ของท้องถิ่นเมืองท่งตามกุศโลบายวิธีทางภาษาของชาวลาว-อีสาน 2) เจ้ามืดดำดล หรือ ท้าวมืด เกิดแต่พระชายาท่านที่ 2 ชาวเวียงจันทน์ 3) เจ้าสุทนต์มณี หรือท้าวทนต์ เกิดแต่พระชายาท่านที่ 2 ชาวเวียงจันทน์ หลังจากการพิราลัยของเจ้าแก้วมงคล เจ้ามืดดำดลจึงได้ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองแทนพระบิดา ส่วนเจ้าสุทนต์มณีเป็นเจ้าอุปราช ปกครองเมืองท่ง ต่อมา เจ้ามืดดำดลผู้พี่ถึงแก่พิราลัยลง เจ้าสุทนต์มณีผู้น้อง จึงได้เป็นเจ้าเมืองท่งสืบต่อแทน ต่อมาในปีพ.ศ 2308 เจ้าเซียง พระโอรสองค์โตของเจ้ามืด เป็นเจ้าอุปราช และให้เจ้าสูนพระโอรสองค์รองของเจ้ามืด เป็นราชวงศ์ ซึ่งทั้งคู่ล้วนเป็นหลานชายของเจ้าทนต์ ทั้งคู่ต่างมีความอิจฉาเจ้าอาว์ที่ได้เป็นเจ้าเมืองและร่วมมือกันนำเอาทองคำแท่งไปขอสวามิภักดิ์ต่อ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์อยุธยาพระองค์สุดท้าย เพื่อขอกองทัพจากอยุธยาให้ไปช่วยยึดเมืองท่งจากเจ้าอาว์ของพวกตน พระเจ้าเอกทัศ จึงโปรดเกล้าส่ง พระยาพรหม พระยากรมท่า ออกไปรวบรวมกำลังพลจากหัวเมืองขึ้นใกล้บริเวณ(เมืองท่ง) ของกรุงศรีอยุธยา เมื่อรวบรวมกำลังพลได้แล้วจึงเข้าไปสมทบกับกองทัพของเจ้าเซียงและเจ้าสูน เพื่อที่จะยึดเมืองจากเจ้าทนต์ ทางฝ่ายเจ้าทนต์เจ้าเมืองท่ง ขณะนั้น เมื่อทราบข่าวว่าหลานร่วมมือกับกองทัพอยุธยาจะเข้ามาตีเมืองท่ง เจ้าทนต์เมื่อเห็นว่ากำลังของพวกตนไม่น่าจะพอสู้ได้ จึงได้พาไพร่พลของตนอพยพหลบหนีออกจากเมือง ไปซ่อนตัวที่บ้านดงเมืองจอก(ในพื้นที่ของอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ในปัจจุบัน)ซึ่งขณะนั้นเป็นเขตแดนของเมืองท่ง ต่อมาฝ่ายเจ้าเซียงและทัพอยุธยาสามารถบุกเข้ายึดเมืองท่งได้อย่างง่ายดาย (เจ้าเมืองหนีไปแล้ว) ภายหลังจึงมีใบบอกตั้งให้เจ้าเซียงเป็นเจ้าผู้ครองเมือง ท่านที่ 4 และเจ้าสูนเป็นเจ้าอุปราช ครองเมืองท่งสืบต่อมา เมืองท่งศรีภูมิจึงกลายมาเป็นเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักร์กรุงศรีอยุธยา และส่งบรรณาการแก่อยุธยา และตัดขาดจากอาอาณาจักร์ล้านช้างจำปาศักดิ์มานับแต่บัดนั้น เมื่อเรียบร้อยแล้ว พระยาพรหม พระยากรมท่า จึงตั้งสำนักที่ทุ่งสนามโนนกระเบาซึ่งอยู่ในท้องที่เมืองท่ง เพื่อคอยสังเกตการณ์เจ้าเซียงและเจ้าทนต์ 2 อาว์หลาน ต่อมา ทัพพม่าราชวงศ์คองบอง สามารถตีกรุงศรีอยุธยาแตก อาณาจักรอยุธยาจึงเสียกรุง ในปี พ.ศ. 2310 ยุครัฐอิสระ และภายใต้อาณาจักร์กรุงธนบุรี หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า ในปีพ.ศ. 2310 ส่งผลให้เมืองท่งศรีภูมิ จึงกลายเป็น รัฐอิสระ อย่างน้อย 7 เดือน เนื่องจากพม่ารุกรานมาไม่ถึงถิ่นเมืองท่ง พม่ารุกรานเพียงแต่ทางฝั่งเมืองหลวง อย่างกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น และเนื่องจากการล่มสลายของอาณาจักร์กรุงศรีอยุธยา เมืองขึ้นที่สำคัญต่างๆซึ่งเคยขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา ต่างล้วนแยกตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันและกัน จึงเกิดเป็นก๊กต่างๆหรือชุมนุมขึ้น ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพิมายชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมพระยาตาก(เป็นก๊กที่แข็งแกร่งที่สุด) ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก และชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ซึ่งก๊กต่างๆเหล่านี้(ยกเว้นชุมนุมพระยาตาก) ต่างพยายามแข็งเมืองต่อกลุ่มอำนาจใหม่ที่แข็งแกร่งของพระยาตาก ซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจที่พยายามจะรวบรวมชาติขึ้นใหม่ให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวอีกครั้ง ณ.เวลานี้เมืองท่งศรีภูมิ จึงเปรียบเหมือนเป็นอีกรัฐหรืออีกประเทศหนึ่งที่มีอิสรภาพอย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ขึ้นตรงกับรัฐอื่นรัฐใด เจ้าเซียงจึงเป็นเจ้าผู้ครองรัฐอิสระซึ่งมีอำนาจในการบริหารจัดการและปกครองบ้านเมือง-ประชาชนของตนเองได้อย่างเต็มที่ และมีการตรากฎหมายไว้ใช้ในรัฐของตน ซึ่งเรียกว่า "อาณาจักร์หลักคำเมืองสุวรรณภูมิ" ซึ่งถูกตราขึ้นมาครั้งแรกโดยเจ้าสุทนต์มณี เจ้าเมืองท่งคนที่ 3 ในปีพ.ศ. 2307 โดยดัดแปลงมาจากคัมภีร์โบราณธรรมศาสตร์หลวง กฎหมายล้านช้างโบราณ ซึ่งถูกตราขึ้นโดยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช มหาราชแห่งอาณาจักร์ล้านช้าง จึงบอกได้ว่าตั้งแต่สร้างเมืองท่งศรีภูมิในปีพ.ศ. 2256 ในยุคเจ้าจารย์แก้ว จนถึงปีพ.ศ. 2307 มีการใช้กฎหมายล้านช้างโบราณอย่างคำภีร์โบราณธรรมศาสตร์หลวงในการปกครองบ้านเมือง และจึงมีการตราเป็นรูปแบบของตัวเองอย่างเป็นทางการหลังจากปีพ.ศ. 2307 เป็นต้นมา ซึ่งอาณาจักร์หลักคำเมืองสุวรรณภูมินี้เองยังเป็นต้นแบบของหลักคำเมืองร้อยเอ็ดหรือกฎหมายของเมืองร้อยเอ็ดในเวลาต่อมา โดยหลักคำเมืองสุวรรณภูมิมีการใช้งานและมีความสำคัญมาโดยตลอดจนถึงยุคร.5 เมื่อยุบเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมืองจึงมีการเลิกใช้อาณาจักร์หลักคำและหันมาใช้กฎหมายจากส่วนกลางแทน ในระหว่างปี พ.ศ. 2310-2311 รัฐท่งศรีภูมิในขณะนั้นจึงมีฐานะเทียบเท่ารัฐเอกราชอื่นๆทุกประการ และต่อมาเมืองท่งได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับก๊กพิมาย เพื่อหาพันธมิตรและกำลังสนับสนุนมาคานอำนาจและป้องกันปัญหาเมื่อหากถูกรุกรานจากข้าศึกหรือศัตรูเก่า โดยเฉพาะกลุ่มเจ้าอาว์หรือกลุ่มเจ้าสุทนต์มณีที่ยังคงฝักใฝ่และจงรักภักดีกับพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารแห่งนครจำปาสักซึ่งยังคงที่จะซ่องสุมกำลังและรอคอยโอกาศเพื่อที่จะทวง(ยึด)เมืองคืน นอกจากนี้ก็อาจยังมีกลุ่มจากทางอาณาจักร์ล้านช้างจำปาศักดิ์โดยตรงและอาณาจักร์ล้านเวียงจันทน์ของพระเจ้าสิริบุญสารที่ควรระแวดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งแต่เดิมก็มีปัญหากันมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล ซึ่งอาจจะสบโอกาสแว้งมารุกรานและบีบบังคับให้เมืองท่งกลับไปขึ้นต่ออำนาจอาณาจักร์ของตน ในเวลาเมื่อใดไม่ทราบก็เป็นได้ (ซึ่งในเวลาต่อมา ประมาณประมาณปีพ.ศ. 2314 ทางกรุงเวียงจันทน์ได้ร่วมมือกับกองทัพพม่าคองบองจากเชียงใหม่ ทำลายเมืองหนองบัวลำภู และสังหารพระตาซึ่งเป็นเสนาบดีเก่าของเวียงจันทน์และมีปัญหาความบาดหมางกันมาก่อนตายคาสนามรบ) ถือว่าเป็นความฉลาดหลักแหลมของเจ้าผู้ครองเมืองอย่างเจ้าเซียงในการป้องกันและบริหารจัดการบ้านเมืองให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข จึงทำให้ในเวลาตลอดเกือบกว่า 1 ปี เมืองท่งศรีภูมิรอดพ้นจากภัยข้าศึกศัตรูรอบข้างที่อาจจะเข้ามารุกราน จนกระทั่ง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สามารถกู้กรุงสำเร็จ และทำลายก๊กพิมายหรือชุมนุมพิมายและเมืองพิมาย จับตัวกรมหมื่นเทพพิพิธ เจ้าเมืองพิมาย ซึ่งเป็นเจ้าชายอยุธยา เชื้อกษัตริย์อยุธยา ได้ พระยาตากจึงเกลี้ยกล่อมให้กรมหมื่นเทพพิพิธสวามิภักดิ์แก่ตน แต่กรมหมื่นเทพพิพิธไม่ยอมสวามิภักดิ์จึงถูกพระยาตากสำเร็จโทษ(ประหารชีวิต) ต่อมาไม่นานพระยาตากสามารถรวบรวมก๊กต่างๆที่กระจัดกระจายให้กลับมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เป็นผลสำเร็จ และสถาปนาอาณาจักร์ขึ้นใหม่นามว่า "อาณาจักร์กรุงธนบุรี" และสถาปนาตนเองเป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งมีพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" และในปีเดียวกันนั้น หลังจากเมืองท่งศรีภูมิ เป็น อิสระ ได้ไม่นาน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้สถาปนาอาณาจักรธนบุรี เสร็จสิ้นแล้ว จึงรับสั่งให้เมืองประเทศราชทุกเมือง ที่เคยสวามิภักดิ์ ต่อ อาณาจักรอยุธยา ให้อยู่ภายใต้อำนาจดังเดิม เจ้าเซียง หรือ เจ้าเซียง จึงได้สวามิภักดิ์ขอเป็นเมืองประเทศราช ดังเดิม ต่อมา พระยาพรหม พระยากรมท่า ได้ปรึกษากับเจ้าเซียงเจ้าเมืองท่ง ได้ความว่า ที่ตั้งของเมืองท่งศรัภูมิเดิม มีน้ำกัดเซาะ และมีปัญหาน้ำท่วมเกือบทุกปี อันเนื่องมาจากที่ตั้งเมืองใกล้ลำน้ำเสียวมากเกินไป จึงเป็นการดีถ้าหากมีการย้ายที่ตั้งเมืองไปยังดงเท้าสาร(ที่ตั้งที่ทำการอำเภอสุวรรณภูมิ ในปัจจุบัน) เนื่องจากพื้นที่บริเวณนั้นเป็นดินเนินสูง ปลอดภัยจากภัยพิบัติน้ำท่วม จึงมีใบบอกขอโปรดเกล้าให้ย้ายที่ตั้งเมืองใหม่ พระเจ้าตากจึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตามดังนั้น และได้พระราชทานนามเมืองใหม่ ว่า “เมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์ประเทศราช” พร้อมทั้งสถาปนาพระยศ ให้แก่เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ อย่าง เจ้าเซียง เป็นที่ "พระรัตนวงษา" และให้ใช้พระนามดังกล่าวแก่เจ้าเมืองสุวรรณภูมิทุกท่านที่ได้สืบต่อเป็นเจ้าเมืองสืบต่อไป (ซึ่งพระยศนี้หมายถึง ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าแก้วมงคล ผู้เป็นปฐมราชวงศ์เจ้าผู้ครองเมืองท่งศรีภูมิ พระองค์แรก) ส่วนทางฝั่งเจ้าสุทนต์มณีซึ่งยังคงมีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ล้านช้างจำปาสักอยู่เนืองๆ นับตั้งแต่หลังพ่ายแพ้สงครามและเสียเมืองท่งให้แก่หลานของตนจึงยังคงกบดานอยู่แถวบริเวณบ้านดงเมืองจอก(บริเวณ ตำบลบ้านดู่ อำเภออาจสามมารถ จังหวัดร้อยเอ็ด) ซึ่งยังอยู่ในอาณาเขตของเมืองท่งศรีภูมิ ผ่านเลยจากยุคอยุธยาตอนปลาย ยุครัฐอิสระ จนถึงยุคกรุงธนบุรี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2308 - พ.ศ. 2318 รวมระยะเวลากว่า 10 ปี


เมืองมหาสารคามได้สร้างวัดดอนเมือง ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดข้าวฮ้าว (วัดธัญญาวาส) และได้ย้ายกองบัญชาการไปอยู่ริมหนองกระทุ่มด้านเหนือของวัดโพธิ์ศรีปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2456 หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัด โดยความเห็นชอบของพระมหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิริยะศิริ) ได้ย้ายศาลากลางไปอยู่ที่ตั้งศาลากลางหลังเดิม (ที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคามปัจจุบัน) และในปี พ.ศ. 2542 ได้ย้ายศาลากลางไปอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง หรือผู้ว่าราชการจังหวัด รวม 46 คน[4]

ความเปลี่ยนแปลง

สรุปความเปลี่ยนแปลงเด่นๆของเมืองมหาสารคาม ระหว่างปี พ.ศ. 2408-2500 นับจากวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2408 ถึงปี พ.ศ. 2500 เมืองมหาสารคามมีความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายประการคือ

  • พ.ศ. 2408 ขึ้นกับเมืองร้อยเอ็ด
  • พ.ศ. 2412 ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2419 ยกฐานะเมืองมหาสารคามเป็นเมืองประเทศราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เลื่อนฐานะท้าวมหาชัย (กวด) เป็น เจ้าผู้ครองเมืองประเทศราช ให้มีพระราชทินนามว่า พระเจริญราชเดช วีรเชษฐ์มหาขัติยพงศ์ รวิวงศ์สุรชาติ ประเทศราชธำรงรักษ์ ศักดิ์กิติยศเกรียงไกร ศรีพิชัยเทพวรฤทธิ์ พิศอนุพงศ์ปรีชา สิงหบุตรสุวัฒนา นคราภิบาล ชาญพิชัยสงคราม
  • พ.ศ. 2422 พระเจริญราชเดช (ฮึง) เป็นเจ้าเมืองมหาสารคาม คนที่2
  • พ.ศ. 2425 ตั้งบ้านนาเลาขึ้นเป็นเมืองวาปีปทุม เเละตั้งบริเวณบึงกุย เป็นเมืองโกสุมพิสัย ขึ้นกับเมืองมหาสารคาม
  • พ.ศ. 2443 ส่วนกลางให้ยุบตำเเหน่งเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง(ลดทอนอำนาจของเจ้านายท้องถิ่น) ในปีเดียวกันนั้นได้มีการเเบ่งเมืองมหาสารคามออกเป็น 2 อำเภอ คือ อำเภออุทัยสารคาม เเละอำเภอประจิมสารคาม
  • พ.ศ. 2446 พระพิทักษ์นรากร(อุ่น) ได้เป็นผู้ว่าราชการเมือง ต่อมาภายหลัง ได้รับเเต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองมหาสารคามคนที่ 3 มีทินนามว่า "พระเจริญราชเดช(อุ่น)"
  • พ.ศ. 2455 ยุบตำเเหน่งผู้ว่าราชการเมือง เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด โดยมี หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามคนเเรก
  • พ.ศ. 2475 เปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เเละในปีเดียวกันนั้น ให้ยุบจังหวัดอุทัยกาฬสินธุ์ให้ลงเป็นอำเภอหลุบขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม เเละโอนทุกอำเภอที่เคยขึ้นกับจังหวัดอุทัยกาฬสินธ์ุให้โอนมาเป็นอำเภอขึ้นตรงต่อจังหวัดมหาสารคาม
  • พ.ศ. 2477 มีการขุดคลองสมถวิล เพื่อสร้างเป็นเเหล่งน้ำที่สำคัญ ของชาวชุมชนเมืองมหาสารคาม
  • พ.ศ.2478 จังหวัดมหาสารคามมีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามขึ้น
  • พ.ศ. 2490 เเยกอำเภอกาฬสินธุ์(หลุบ) เเละบางอำเภอ ออกจากจังหวัดมหาสารคาม เเละยกฐานะอำเภอกาฬสินธุ์ขึ้นเป็นจังหวัดกาฬสินธุ์มาตั้งเเต่บัดนั้น
  • พ.ศ. 2498 จังหวัดมหาสารคามมีการจัดตั้งเทศบาลเมืองมหาสารคาม
  • พ.ศ. 2500 มีการสร้างหอนาฬิกาขึ้นเพื่อเป็นเเลนด์มาร์กใจกลางตัวเมืองของจังหวัด

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดมหาสารคามตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 5,300 ตารางกิโลเมตร (3,307,300 ไร่) ระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ 475 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้[5]

จังหวัดมหาสารคามมีฉายาเป็น "ดินแดนแห่งสะดืออีสาน" เนื่องจากตั้งอยู่ที่จุดกึ่งกลางของภาคอีสาน ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านบึงกุย หมู่ 13 ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย)[6]

ภูมิประเทศ

โดยทั่วไป จังหวัดมหาสารคามมีพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 130 – 230 เมตร ทิศตะวันตกและทิศเหนือเป็นที่สูงในเขตอำเภอโกสุมพิสัย อำเภอเชียงยืน และอำเภอกันทรวิชัย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัด และค่อย ๆ เทลาดมาทางทิศตะวันออกและทิศใต้[5]

สภาพพื้นที่แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ [5]

  1. พื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ — ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มริมน้ำ เช่น ที่ราบลุ่มริมแม่น้ำชี ในบริเวณอำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอโกสุมพิสัย และทางตอนใต้ของจังหวัดแถบชายทุ่งกุลาร้องไห้
  2. พื้นที่ค่อนข้างราบเรียบสลับกับลูกคลื่นลอนลาด — ตอนเหนือของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เป็นแนวยาวไปทางตะวันออก ถึงอำเภอเมืองมหาสารคาม]
  3. พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดสลับกับพื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน — ตอนเหนือและตะวันตกของจังหวัด บริเวณนี้มีเนื้อที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัด

ภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศในเขตจังหวัดมหาสารคาม เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน มีฝนตกสลับกับอากาศแห้ง ในปี พ.ศ. 2555 มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือน 118.1 มิลลิเมตร และปริมาณน้ำฝนมากที่สุดที่ 414.9 มิลลิเมตร ในเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคม-กรกฎาคม ที่ 27.91 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39.3 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด 15.0 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย ประมาณ 73.55 % (เดือนมกราคม - กรกฎาคม)[5]

การเมืองการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

จังหวัดมหาสารคามแบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ, 133 ตำบล, 1,804 หมู่บ้าน มีรายชื่ออำเภอดังนี้

แผนที่
แผนที่แสดงอำเภอของจังหวัดมหาสารคาม
เลข ชื่ออำเภอ จำนวนตำบล พื้นที่
(ตร.กม.)
ระยะห่าง
จาก
ศาลากลาง (กม.)
1 อำเภอเมืองมหาสารคาม 14 556.697
2 อำเภอแกดำ 5 149.521 26
3 อำเภอโกสุมพิสัย 17 827.876 30
4 อำเภอกันทรวิชัย 10 372.221 17
5 อำเภอเชียงยืน 8 289.027 37
6 อำเภอบรบือ 15 681.622 26
7 อำเภอนาเชือก 10 528.198 58
8 อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย 14 409.783 84
9 อำเภอวาปีปทุม 15 605.774 42
10 อำเภอนาดูน 9 248.449 67
11 อำเภอยางสีสุราช 7 242.507 75
12 อำเภอกุดรัง 3 267 40
13 อำเภอชื่นชม 4 113.008 56
รวม 133 5,291.683

การปกครองส่วนท้องถิ่น

จังหวัดมหาสารคามมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 143 แห่ง เป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่าง ประกอบด้วย เทศบาล 47 แห่ง เป็นเทศบาลเมือง 1 แห่ง คือเทศบาลเมืองมหาสารคาม และเทศบาลตำบล 18 แห่ง ที่เหลือเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 123 แห่ง[7] โดยเทศบาลทั้งหมดแบ่งตามอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม มีดังนี้

รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด

ลำดับ ปี พ.ศ. พระนาม / ชื่อ เจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
1 2408 - 2422 พระเจริญราชเดช (ท้าวมหาชัย กวด ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม ต้นตระกูล ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)
2 2422 - 2443 พระเจริญราชเดช (ท้าวไชยวงษา ฮึง ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)
3 2443 - 2444 อุปฮาด (เถื่อน รักษิกจันทร์)
4 2444 - 2455 พระเจริญราชเดช (ท้าวโพธิสาร อุ่น ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)
5 2455 - 2459 หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน
6 2460 - 2462 พระยาสารคามคณาพิบาล (พร้อม ณ นคร)
7 2462 - 2466 พระยาสารคามคณาพิบาล (ทิพย์ โรจน์ประดิษฐ์)
8 2466 - 2468 พระยาประชากรบริรักษ์ (สาย ปาละนันทน์)
9 2468 - 2474 พระยาสารคามคณาพิบาล (อนงค์ พยัคฆันต์)
10 2474 - 2476 พระอรรถเปศลสรวดี (เจริญ ทรัพย์สาร)
11 2476 - 2482 หลวงอังคณานุรักษ์ (สมถวิล เทพาคำ)
12 2482 - 2484 หลวงประสิทธิ์บุรีรักษ์ (ประสิทธ์ สุปิยังตุ)
13 2484 - 2486 หลวงบริหารชนบท (ส่าน สีหไตร)
14 2486 - 2489 ขุนไมตรีประชารักษ์ (ไมตรี ไมตรีประชารักษ์)
15 2489 - 2490 ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์)
16 2490 - 2493 ขุนพิศาลาฤษดิ์กรรม (ทองใบ น้อยอรุณ)
17 2493 - 2495 นายเชื่อม ศิริสนธิ
18 2495 - 2500 หลวงอนุมัติราชกิจ (อั๋น อนุมัติราชกิจ)
19 2500 - 2501 ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์)
20 2501 - 2506 นายนวน มีชำนาญ
21 2506 - 2510 นายรง ทัศนาญชลี
22 2510 - 2513 นายเวียง สาครสินธุ์
23 2513 - 2514 นายพล จุฑางกูร
24 2514 - 2517 นายสุจินต์ กิตยารักษ์
25 2517 - 2519 นายชำนาญ พจนา
26 2519 - 2522 นายวุฒินันท์ พงศ์อารยะ
27 2522 - 2523 นายสมภาพ ศรีวรขาน
28 2523 - 2524 ร้อยตรีกิตติ ปทุมแก้ว
29 2524 - 2526 นายธวัช มกรพงศ์
30 2526 - 2528 นายสมบูรณ์ พรหมเมศร์
31 2528 - 2531 นายไสว พราหมมณี
32 2531 - 2534 นายจินต์ วิภาตะกลัศ
33 2534 - 2535 นายวีระชัย แนวบุญเนียร
34 2535 - 2537 นายภพพล ชีพสุวรรณ
35 2537 - 2538 นายประภา ยุวานนท์
36 2538 - 2540 นายวิชัย ทัศนเศรษฐ
37 2540 - 2542 นายเกียรติพันธ์ น้อยมณี
38 2542 - 2544 นางศิริเลิศ เมฆไพบูลย์
39 2544 - 2546 นายสมศักดิ์ แก้วสุทธิ
40 2546 - 2548 นายวิทย์ ลิมานนท์วราไชย
41 2548 - 2550 นายชวน ศิรินันท์พร
42 2550 - 2551 นายรังสรรค์ เพียรอดวงษ์
43 2551 - 2552 นายพินิจ เจริญพานิช
44 2552 - 2554 นายทองทวี พิมเสน
45 2554 - 2555 นายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน
46 2555 - 2557 นายนพวัชร สิงห์ศักดา
47 2557 - 2558 นายชยาวุธ จันทร
48 2558 - 2559 นายโชคชัย เดชอมรธัญ
49 2559 - 2561 นายเสน่ห์ นนทะโชติ
50 2561 - 2563 นายเกียรติศักดิ์ จันทรา
51 2563 - ปัจจุบัน นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ

การคมนาคม

ทางบก

รถยนต์ส่วนตัว

เส้นทางที่สะดวกและสั้นที่สุด คือใช้เส้นทางถนนพหลโยธินเข้าสู่จังหวัดสระบุรี และเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนมิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา เข้าสู่จังหวัดขอนแก่น แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนแจ้งสนิท จนกระทั่งเข้าสู่จังหวัดมหาสารคาม

รถโดยสารประจำทาง

สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่บริเวณถนนเลียบคลองสมถวิล ผู้ให้บริการรถโดยสารจากกรุงเทพฯ อาทิ บริษัท ขนส่ง จำกัด, นครชัยแอร์, เชิดชัยทัวร์, รุ่งประเสริฐทัวร์ และชาญทัวร์ นอกจากนี้ยังมีผู้ให้บริการรถโดยสารไปยังจังหวัดข้างเคียง อาทิ สหพันธ์ร้อยเอ็ดทัวร์, แสงประทีปทัวร์ และอื่น ๆ

จากอำเภอเมืองมหาสารคาม มีรถโดยสารประจำทางให้บริการไปยังอำเภอต่าง ๆ ได้แก่ พยัคฆภูมิพิสัย วาปีปทุม นาดูน นาเชือก บรบือ กุดรัง และเชียงยืน

จังหวัดมหาสารคามมีสถานีขนส่งผู้โดยสารหลายแห่ง ได้แก่ที่เทศบาลเมืองมหาสารคาม, บรบือ, พยัคฆภูมิพิสัย, วาปีปทุม และโกสุมพิสัย

ทางรถไฟ

ในปัจจุบัน จังหวัดมหาสารคามยังไม่มีทางรถไฟตัดผ่าน สถานีรถไฟที่อยู่ใกล้ที่สุด ได้แก่ สถานีรถไฟขอนแก่น (71 กิโลเมตร) และสถานีรถไฟบ้านไผ่ (69 กิโลเมตร) ซึ่งทั้งสองสถานีนั้นอยู่ในจังหวัดขอนแก่น

ในอนาคต จะมีโครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม ซึ่งจะผ่านหลายจังหวัดในอีสานตอนกลาง รวมถึงมหาสารคามด้วย

ทางอากาศ

จังหวัดมหาสารคามไม่มีท่าอากาศยาน จึงต้องใช้บริการท่าอากาศยานของจังหวัดข้างเคียง ได้แก่ ท่าอากาศยานขอนแก่น (82 กิโลเมตร), ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด (59 กิโลเมตร) และท่าอากาศยานบุรีรัมย์ (121 กิโลเมตร)

เศรษฐกิจ

ประเพณีและวัฒนธรรม

สถานที่สำคัญ

โบราณสถาน

ดูเพิ่มเติมที่หัวข้อ รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดมหาสารคาม

พระอารามหลวง

สถานที่ท่องเที่ยว

สถานที่สำคัญอื่น

สถานพยาบาล

สถานศึกษา

ดูเพิ่มเติมที่หัวข้อ หมวดหมู่: สถาบันการศึกษา, สถาบันอุดมศึกษา ในจังหวัดมหาสารคาม,รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดมหาสารคาม

จังหวัดมหาสารคามมีฉายาว่าเป็น "ตักสิลานคร" หรือแปลตามตัวคือ นครแห่งการศึกษา หรือเมืองแห่งการศึกษาของภาคอีสาน เนื่องจากมีสถาบันการศึกษาอยู่หลายแห่งและมีมากที่สุดแห่งหนึ่งของภาคอีสาน อีกทั้งยังมีมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ทำให้เป็นจังหวัดที่ได้รับความนิยมจากประชาชนในภาคอีสานทางด้านการศึกษา[8]

บุคคลที่มีชื่อเสียง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

16°11′N 103°17′E / 16.18°N 103.29°E / 16.18; 103.29

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2564. สืบค้น 7 เมษายน 2564.
  3. "MSU at a glance". Mahasarakham University. สืบค้นเมื่อ 6 December 2020.
  4. "ประวัติเมืองมหาสารคาม". จังหวัดมหาสารคาม. 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-10. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "ข้อมูลทั่วไปจังหวัดมหาสารคาม". จังหวัดมหาสารคาม. 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-10. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภ่าคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. https://www.m-culture.go.th/mahasarakham/ewt_news.php?nid=1123&filename=index[URL เปล่า]
  7. ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
  8. https://esan108.com/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3.html[URL เปล่า]