ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{issues|เพิ่มอ้างอิง=yes|ปรับภาษา=yes}}
{{issues|เพิ่มอ้างอิง=yes|ปรับภาษา=yes}}
{{กล่องข้อมูล หน่วยงานของรัฐ 2
|ชื่อหน่วยงาน = ศาลรัฐธรรมนูญ
|ชื่อในภาษาแม่_1 =
|ชื่อในภาษาแม่_2 =
|ชื่อในภาษาแม่_ท =
|สัญลักษณ์ =
|สัญลักษณ์ _กว้าง =
|สัญลักษณ์ _บรรยาย =
|ตรา = ThaiConCourt-Seal-003.png
|ตรา_กว้าง = 150 px
|ตรา_บรรยาย =
|ภาพ =
|ภาพ_กว้าง =
|ภาพ_บรรยาย =
|วันก่อตั้ง = 11 ตุลาคม 2540
|สืบทอดจาก_1 =
|สืบทอดจาก_2 =
|สืบทอดจาก_3 =
|สืบทอดจาก_4 =
|สืบทอดจาก_5 =
|สืบทอดจาก_6 =
|วันยุบเลิก =
|สืบทอดโดย =
|เขตอำนาจ = {{flagicon|Thailand}} ทั่วประเทศไทย
|กองบัญชาการ = [[ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550|ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ<br>80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550]] (อาคารเอ)<br>เลขที่ 120 หมู่ 3 [[ถนนแจ้งวัฒนะ]]<br>[[แขวงทุ่งสองห้อง]] [[เขตหลักสี่]]<br>[[กรุงเทพมหานคร]]
|latd= |latm= |lats= |latNS=
|longd= |longm= |longs= |longEW=
|รหัสภูมิภาค =
|บุคลากร =
|งบประมาณ = 235.1022 ล้านบาท <small>([[พ.ศ. 2558]])</small><ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/069/1.PDF พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558] เล่ม 131 ตอนที่ 69ก วันที่ 30 กันยายน 2557</ref>
|รัฐมนตรี1_ชื่อ =
|รัฐมนตรี1_ตำแหน่ง =
|รัฐมนตรี2_ชื่อ =
|รัฐมนตรี2_ตำแหน่ง =
|รัฐมนตรี3_ชื่อ =
|รัฐมนตรี3_ตำแหน่ง =
|รัฐมนตรี4_ชื่อ =
|รัฐมนตรี4_ตำแหน่ง =
|รัฐมนตรี5_ชื่อ =
|รัฐมนตรี5_ตำแหน่ง =
|รัฐมนตรี6_ชื่อ =
|รัฐมนตรี6_ตำแหน่ง =
|รัฐมนตรี7_ชื่อ =
|รัฐมนตรี7_ตำแหน่ง =
|รัฐมนตรี8_ชื่อ =
|รัฐมนตรี8_ตำแหน่ง =
|รัฐมนตรี9_ชื่อ =
|รัฐมนตรี9_ตำแหน่ง =
|รัฐมนตรี10_ชื่อ =
|รัฐมนตรี10_ตำแหน่ง =
|หัวหน้า1_ชื่อ = [[นุรักษ์ มาประณีต]]
|หัวหน้า1_ตำแหน่ง = ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
|หัวหน้า2_ชื่อ = [[เชาวนะ ไตรมาศ]]<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/249/7.PDF</ref>
|หัวหน้า2_ตำแหน่ง = เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
|ต้นสังกัด =
|ลูกสังกัด_1 =
|ลูกสังกัด_2 =
|ลูกสังกัด_3 =
|ลูกสังกัด_4 =
|ลูกสังกัด_5 =
|ลูกสังกัด_6 =
|ลูกสังกัด_7 =
|ลูกสังกัด_8 =
|ลูกสังกัด_9 =
|เอกสารหลัก_1= [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560]]
|เอกสารหลัก_2= [[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561]]
|เอกสารหลัก_3=
|เอกสารหลัก_4=
|เอกสารหลัก_5=
|เอกสารหลัก_6=
|เว็บไซต์ = [http://www.constitutionalcourt.or.th/ ConstitutionalCourt.or.th]
|หมายเหตุ =
|แผนที่ =
|แผนที่_กว้าง =
|แผนที่_บรรยาย =
}}
{{การเมืองไทย}}
{{การเมืองไทย}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:02, 17 กุมภาพันธ์ 2563

ศาลรัฐธรรมนูญ (ย่อ: ศร.) เป็นองค์กรตุลาการที่จัดตั้งขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ยุบเลิกไป และมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทั่วไป

องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ

แผนผังแสดงโครงสร้างและที่มาของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐ ธรรมนูญพ.ศ. 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรวม 15 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลต่อไปนี้

  1. ผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 5 คน
  2. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีการลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา โดยการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 5 คน
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา โดยการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 3 คน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งกับและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 8 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลต่อไปนี้

  1. ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 3 คน
  2. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน

อำนาจหน้าที่ที่สำคัญของศาลรัฐธรรมนูญ คือ การพิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ของวุฒิสภา หรือของรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือพิจารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยที่ศาลเห็นเอง หรือคู่ความโต้แย้ง และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ตลอดจนพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ

การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญเป็นระบบไต่สวน ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ ซึ่งแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปของศาลยุติธรรม

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เคยมีที่ตั้งอยู่ที่ อาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ เลขที่ 326 ถนนจักรเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร แต่ปัจจุบันได้ย้ายไปที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร[1] ใกล้กับที่ทำการกองบัญชาการกองทัพไทย

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญหลังเก่า ณ อาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2549

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุด พ.ศ. 2549 ได้สิ้นสภาพไปพร้อมกับศาลรัฐธรรมนูญ ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 และได้บัญญัติขึ้นตามมาตรา 35 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่แทน

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

คำวินิจฉัย

ตั้งแต่มีการออกคำสั่งของคณะรัฐประหารฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2549 หลังการรัฐประหาร 1 วัน ซึ่งส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญที่มีมาแต่เดิมสิ้นสภาพและศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ก็ได้ขึ้นปฏิบัติการโดยมีองค์ประกอบและวิธีการได้มาตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๔๙ (ฉบับชั่วคราว) มาตรา ๓๕ https://www.opdc.go.th/Law/File_download/1159841316-1.pdf

พ.ศ. 2550

ตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย จากการจ้างพรรคเล็กลงเลือกตั้ง และเพิกถอนสิทธิลงเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรค 5 ปี โดยในภายหลัง นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้น กล่าวถึงการวินิจฉัยยุบพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรค ณ ขณะนั้นเป็นไปเพื่อรักษาความสงบของบ้านเมือง ซึ่งไม่ได้วินิจฉัยคดีโดยวางอยู่บนพื้นฐานนิติรัฐ นิติธรรม

ตัดสินให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิดในทุกข้อกล่าวหาในกรณีจ้างพรรคเล็กใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ซึ่งในภายหลังนายสุขสันต์ ไชยเทศ อดีตผู้อำนวยการพรรคพัฒนาชาติไทย และนายชวการ โตสวัสดิ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคพัฒนาชาติไทย ซึ่งเป็นพยานปากเอกคดียุบพรรคไทยรักไทย เปิดเผยว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ สัญญาว่าจะให้เงินพยานพรรคเล็กคนละ 15 ล้านบาทและช่วยเรื่องคดีแลกกับการที่ให้พยานเหล่านี้ให้การว่าไปพบ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยาเพื่อรับการว่าจ้างให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยที่ความจริงแล้วมิได้มีเหตุการณ์ดังกล่าว โดยในระหว่างการดำเนินคดี นายสุเทพ เทือกสุบรรณได้นำพยานเหล่านี้ไปเก็บตัวในเซฟเฮาส์ทางภาคใต้ และสุดท้ายก็ไม่ได้ช่วยเหลือเรื่องคดีกับพยานพรรคเล็กเหล่านี้ดังที่สัญญาไว้แต่อย่างใด

พ.ศ. 2551

วินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากจัดรายการชิมไปบ่นไปซึ่งในภายหลังนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ได้ยอมรับว่าการวินิจฉัยถอด นายสมัคร สุนทรเวช ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นั้นผิดพลาด ด้วยการนำข้อกฎหมายมาวางก่อน แล้วค่อยนำข้อเท็จจริงมาพิจารณา

ตัดสินให้ยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และเพิกถอนสิทธิลงเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรค 5 ปี

พ.ศ. 2553

ยกคำร้อง กรณีนายอภิชาต สุขัคคานนท์ นายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์ใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อพัฒนาพรรคการเมืองจำนวน 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 ด้วยมติสี่ต่อสองว่า กฎหมายกำหนดให้ผู้ร้องยื่นคำร้องมาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏแก่ตนว่าผู้ถูกร้องฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นเหตุให้ถูกยุบได้ ทว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องมาล่วงระยะเวลาสิบห้าวันดังกล่าวนี้ จึงไม่ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องสืบไป และให้ยกคำร้อง

ยกคำร้อง กรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์รับเงินบริจาคจำนวน 258 ล้านบาท จากบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า เนื่องจากกระบวนการยื่นขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องสืบไป และให้ยกคำร้อง


พ.ศ. 2556

ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาและคุณสมบัติของ ส.ว.เป็นการกระทำที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามมาตรา 68 โดยจากกรณีนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากต่อส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่กล่าวว่า

ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแม้จะให้ถือเอามติฝ่ายเสียงข้างมากเป็น เกณฑ์ก็ตาม แต่หากละเลยหรือใช้อำนาจตามอำเภอใจกดขี่ข่มเหงฝ่ายเสียงข้างน้อยโดยไม่ฟังเหตุผลและขาดหลักประกันจนทำให้ฝ่ายเสียงข้างน้อยไม่มีที่อยู่ที่ยืนตามสมควรแล้วไซร้ จะถือว่าเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างไร หากแต่ก็จะกลับกลายเป็นระบอบเผด็จการฝ่ายข้างมาก ขัดแย้งต่อระบอบการปกครองของประเทศไปอย่างชัดแจ้ง

ซึ่งในตอนท้ายของคำวินิจฉัย ก็มีเป็นการลงมติโดยเสียงข้างมากขององค์คณะตุลาการในการตัดสินเรื่องนี้

อาศัยเหตุดังได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้นจึงวินิจฉัยโดยมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ว่าการดำเนินการพิจารณาและลงมติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้องทั้งหมดในคดีนี้เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 มาตรา 125 วรรค 1 และวรรค 2 มาตรา 126 วรรค 3 มาตรา 291 และมาตรา 3 และวินิจฉัยด้วยมติเสียงข้างมากว่า 5 ต่อ 4 ว่า มีเนื้อความที่เป็นสาระสำคัญขัดแย้งต่อหลักการพื้นฐานและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 อันเป็นการกระทำเพื่อให้ผู้ถูกร้องได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรค 1

รายนามประธานศาลรัฐธรรมนูญ

  1. นายเชาวน์ สายเชื้อ (11 เมษายน พ.ศ. 2541[2] - 23 กันยายน พ.ศ. 2542)
  2. นายประเสริฐ นาสกุล (12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 [3] - 7 กันยายน พ.ศ. 2544)
  3. ศาสตราจารย์ ดร.อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ (14 มีนาคม พ.ศ. 2545[4] - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545)
  4. ศาสตราจารย์ ดร.กระมล ทองธรรมชาติ (28 มีนาคม พ.ศ. 2546[5] - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2548)
  5. นายอุระ หวังอ้อมกลาง (3 สิงหาคม พ.ศ. 2549[6] - 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
  6. นายชัช ชลวร (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 [7] - 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (ลาออก)[8])
  7. นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ (26 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556 (ลาออก)[9]
  8. นายจรูญ อินทจาร ( 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 [10] )
  9. นายนุรักษ์ มาประณีต ( 11 กันยายน พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน)

บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

  1. นาย ชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
  2. นายอุระ หวังอ้อมกลาง (ศาลฎีกา) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
  3. นายผัน จันทรปาน (ศาลปกครองสูงสุด)
  4. นายจิระ บุญพจนสุนทร (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์)
  5. นายจุมพล ณ สงขลา (ศาลฎีกา)
  6. นายนพดล เฮงเจริญ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์)
  7. นายปรีชา เฉลิมวณิชย์ (ศาลฎีกา)
  8. นายมงคล สระฏัน (ศาลฎีกา)
  9. นายมานิต วิทยาเต็ม (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์
  10. นายศักดิ์ เตชาชาญ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์)
  11. พล.ต.อ สุวรรณ สุวรรณเวโช (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์)
  12. นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ (ศาลฎีกา)
  13. นายสุธี สุทธิสมบูรณ์ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์)
  14. ศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ อัศวโรจน์ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์)
  15. นายอภัย จันทนจุลกะ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์)
  16. นายเชาวน์ สายเชื้อ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์)
  17. ศาสตราจารย์ ดร.โกเมน ภัทรภิรมย์ (ลาออก)
  18. พลโทจุล อติเรก (ครบวาระ)
  19. ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช (ลาออก)
  20. นายประเสริฐ นาสกุล ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์)
  21. นายสุจินดา ยงสุนทร (ลาออก)
  22. นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ (พ้นจากตำแหน่ง)
  23. ศาสตราจารย์อนันต์ เกตุวงศ์ (ครบวาระ)
  24. ศาสตราจารย์ ดร. อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์)
  25. ศาสตราจารย์ ดร. กระมล ทองธรรมชาติ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์)
  26. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุจิต บุญบงการ (พ้นจากตำแหน่ง)
  27. ศาสตราจารย์ ดร.อมร รักษาสัตย์ (พ้นจากตำแหน่ง)
  28. นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (ลาออก)
  29. นายจรูญ อินทจาร (อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์)
  30. นายเฉลิมพล เอกอุรุ(พ้นจากตำแหน่ง)
  31. นายสุพจน์ ไข่มุกด์ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์)

อ้างอิง

  • บรรเจิด สิงคะเนติ, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐) หมวดองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เรื่อง ๔. ศาลรัฐธรรมนูญ, กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2544
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๕๐), ส่วนที่ ๒ ศาลรัฐธรรมนูญ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น