อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ
ศาสตราจารย์ อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ (เกิด 4 ตุลาคม พ.ศ. 2475 – 16 มกราคม พ.ศ. 2564) หรือ ศาสตราจารย์ ดร.อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์
ประวัติ
[แก้]อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ เป็นบุตรชายของ พระนิติทัณฑ์ประภาศ (สนอง สุจริต) กับนางชวนชื่น นิติทัณฑ์ประภาศ ซึ่งเป็นน้องสาวของ ปรีดี พนมยงค์ เขาสำเร็จการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส โดยได้ Diplome d’Etudes Superieures de Droit Public และ Docteur ed droit จากมหาวิทยาลัยกอง (Universite de Caen)
ด้านครอบครัว สมรสกับนางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีบุตรธิดา 2 คน คือ ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิตและอดีตอธิบดีกรมสรรพากร กรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและเป็นอดีตกรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ และ นางสาวอิสริยา นิติทัณฑ์ประภาศ
อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2564[1]
ในการนี้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จแทนพระองค์ เข้าร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 17.00 น.[2]
การศึกษา
[แก้]- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- Diplôme d'Études Supérieures de Droit Public, University de Caen ประเทศฝรั่งเศส
- Docteur en droit, Université de Caen ประเทศฝรั่งเศส
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 28
การทำงาน
[แก้]อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ เคยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (พ.ศ. 2527-2535) และเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (11 เมษายน พ.ศ. 2541 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2545) รวมทั้งได้รัแต่งตั้งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ (14 มีนาคม พ.ศ. 2545 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2545)[3]
อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ นอกจากนั้นยังเป็นตุลาการเสียงข้างน้อย 1 ใน 7 คนที่วินิจฉัยว่า ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จงใจปกปิดบัญชีทรัพย์สินฯ หรือคดีซุกหุ้น เมื่อปี 2544
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สิ้น ‘ศ.ดร.อิสระ นิติทัณฑ์ประภาศ’ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ในวัย 88 ปี
- ↑ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาเสด็จงานพระราขทานเพลิง ณ วัดเทพศิรินทร์
- ↑ [https://web.archive.org/web/20111119082322/http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00046139.PDF เก็บถาวร 2011-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ]]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓๙, ๘ มิถุนายน ๒๕๒๒
ก่อนหน้า | อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ประเสริฐ นาสกุล | ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (14 มีนาคม พ.ศ. 2545 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2545) |
กระมล ทองธรรมชาติ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2475
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2564
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักกฎหมายชาวไทย
- ประธานศาลรัฐธรรมนูญไทย
- ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์