คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University | |
ชื่อย่อ | JC |
---|---|
สถาปนา | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 |
คณบดี | ผศ.ดร.อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์ |
ที่อยู่ | ท่าพระจันทร์ ตึกคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 ศูนย์รังสิต อาคารเรียนและที่ทำการคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121 |
วารสาร | วารสารศาสตร์ |
สี | สีม่วงเม็ดมะปราง |
มาสคอต | นกพิราบ (ไม่เป็นทางการ) |
สถานปฏิบัติ |
|
เว็บไซต์ | www.jc.tu.ac.th |
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นคณะที่เปิดสอนด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนแห่งแรกของประเทศไทย หรือที่เรียกทั่วไปภายหลังเรียกว่า "นิเทศศาสตร์" ทั้งยังเป็นที่ตั้งของสมาคมวารสารศาสตร์แห่งประเทศไทยด้วย คณะวารสารศาสตร์ฯ ยังเป็นหนึ่งในคณะที่มีคะแนนแอดมิชชั่นกลางและอัตราส่วนการแข่งขันสูงสุดในประเทศไทย โดยรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีคะแนนสอบแอดมิชชั่นทั้งประเทศสูงสุด 1 ใน 10 ของประเทศทุกๆ ปี (โดยปี พ.ศ. 2559 รับนักเรียนที่มีคะแนนสูงสุดอันดับ 1 ของประเทศ) ปัจจุบันคณะวารสารฯ มุ่งพันธกิจอันเป็นสถาบันชั้นนำของประเทศ ที่ผลิตบุคลากรแถวหน้าเพื่อยกระดับวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อสารมวลชนทั้งแวดวงสื่ออิสระและสื่อกระแสหลัก
ประวัติคณะ
[แก้]คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนวิชาการด้านสื่อสารมวลชน (นิเทศศาสตร์) ในระดับปริญญาตรี โดยแรกเริ่มนั้นจัดตั้งขึ้นในฐานะแผนกวารสารศาสตร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนวิชาการสาขาวารสารศาสตร์ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2497 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 71 ตอนที่ 11 วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497) มีหลักการและเหตุผลโดยย่อว่า
เพื่อส่งเสริมการศึกษาในด้านการสังคมสงเคราะห์และวารสารศาสตร์ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ามหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2495 และมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2497 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้ตราข้อบังคับให้แบ่งแยกแผนกวิชาภายในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ออกเป็น 2 แผนก คือ แผนกสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และแผนกวารสารศาสตร์ ให้เปิดการศึกษาวิชาทั้งสองแผนกดังกล่าวตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. 2497 (ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการแบ่งแยกแผนกวิชาภายในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ พ.ศ. 2497 ประกาศ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497) โดยกำหนดเรียกชื่อปริญญาและอักษรย่อไว้ดังต่อไปนี้
ผู้ที่สอบไล่ได้ครบทุกลักษณะวิชาตามหลักสูตรในแผนกวิชาวารสารศาสตร์ จะได้รับปริญญาดังต่อไปนี้
- ผู้ได้ปริญญาตรี เรียกว่า "วารสารศาสตร์บัณฑิต" ใช้อักษรย่อว่า "ว.บ."
- ผู้ได้ปริญญาโท เรียกว่า "วารสารศาสตร์มหาบัณฑิต" ใช้อักษรย่อว่า "ว.ม."
- ผู้ได้ปริญญาเอก เรียกว่า "วารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต" ใช้อักษรย่อว่า "ว.ด."
ในปีการศึกษา 2509 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้อนุมัติให้คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์เปิดการศึกษาวิชาการหนังสือพิมพ์ภาคค่ำขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมวิทยฐานะของนักหนังสือพิมพ์อาชีพให้สูงขึ้น รวมทั้งพัฒนาการสื่อสารมวลชนทางด้านหนังสือพิมพ์ และขยายบริการการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยให้มีหลักสูตรการศึกษา 3 ปี ผู้ที่สอบไล่ได้ครบทุกลักษณะวิชาตามหลักสูตรนี้จะได้รับประกาศนียบัตรวิชาการหนังสือพิมพ์
ในปีการศึกษา 2512 มีการปรับปรุงการศึกษาภาคค่ำของแผนกวารสารศาสตร์ใหม่ โดยระงับการรับสมัครเข้าศึกษาวิชาการหนังสือพิมพ์ภาคค่ำ และเปิดสอนระดับปริญญาตรีแทนในปีการศึกษาเดียวกันนั้น โดยใช้เวลาในการศึกษา 6 ปี ผู้ที่สอบไล่ได้ครบทุกลักษณะวิชาตามหลักสูตรจะได้รับปริญญาวารสารศาสตร์บัณฑิต มีศักดิ์และสิทธิ์เหมือนวารสารศาสตร์บัณฑิตหลักสูตรการศึกษา 4 ปี ทุกประการ การศึกษาในด้านวารสารศาสตร์ได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2513 แผนกวารสารศาสตร์ จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ดังราชกิจจานุเบกษา เล่ม 87 ตอนที่ 116 วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2513 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2513 ให้ไว้ ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2513
เนื่องจากการศึกษาในสาขาวิชาสื่อสารมวลชนได้เจริญก้าวหน้าและขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการยกฐานะแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนขึ้นเป็น "คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน" ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญา การใช้อักษรย่อสำหรับปริญญาและครุยวิทยฐานะในคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2522 ให้ไว้ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 ดังราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 201 วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2522 และประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ "ให้มีสำนักงานเลขานุการในคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน" ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522
สีประจำคณะ
[แก้]ในคราวประชุมคณบดี ครั้งที่ 7/2533 เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2533 ได้มีมติให้คณะใหม่ไปพิจารณาเลือกสีประจำคณะที่ไม่ซ้ำกับคณะเก่า สำหรับคณะเก่าก็ขอให้กำหนดสีที่ชัดเจนด้วย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนจึงนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ โดยมติประชุมกำหนดให้สีม่วงเม็ดมะปรางเป็นสีประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ปริญญา
[แก้]ในปี พ.ศ. 2534 มีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะและเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรวบรวมการเรียกชื่อปริญญาและสีประจำสาขาวิชาทั้งของสาขาวิชาเดิมและสาขาวิชาใหม่ไว้ในพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน และพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ได้มีการสะกดชื่อปริญญาของคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนแตกต่างไปจากเดิมเล็กน้อย โดยตัดเครื่องหมายทัณฑฆาตท้ายคำว่า "ศาสตร์" ออก ดังพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะและเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2534 ให้ไว้ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108 ตอนที่ 122 วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 (7) สาขาวิชาวารสารศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น ได้แก่
- ผู้ได้ปริญญาตรี เรียกว่า "วารสารศาสตรบัณฑิต" ใช้อักษรย่อว่า "ว.บ."
- ผู้ได้ปริญญาโท เรียกว่า "วารสารศาสตรมหาบัณฑิต" ใช้อักษรย่อว่า "ว.ม."
- ผู้ได้ปริญญาเอก เรียกว่า "วารสารศาสตรดุษฎีบัณฑิต" ใช้อักษรย่อว่า "ว.ด."
กลุ่มสาขาวิชา
[แก้]เพื่อให้การศึกษาและวิจัยทางวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนในแขนงต่างๆ แก่นักศึกษา ให้ได้มีความรู้ความชำนาญ สามารถวินิจฉัยและตัดสินปัญหาของสังคมในส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะไปใช้ในการประกอบวิชาชีพวารสารศาสตร์ มีจริยธรรมและสำนึกต่อสังคม มีความรู้และทักษะในวิชาชีพ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 6 กลุ่มสาขาวิชา ดังนี้
- กลุ่มสาขาวิชาบริหารการสื่อสาร เก็บถาวร 2007-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Communication Management)
- กลุ่มสาขาวิชาวารสารศาสตร์ เก็บถาวร 2007-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Journalism)
- กลุ่มสาขาวิชาวิทยุและโทรทัศน์ เก็บถาวร 2007-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Radio and Television Broadcasting)
- กลุ่มสาขาวิชาสื่อสารองค์กร เก็บถาวร 2007-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Corporate Communication)
- กลุ่มสาขาวิชาโฆษณา เก็บถาวร 2007-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Advertising)
- กลุ่มสาขาวิชาภาพยนตร์และภาพถ่าย เก็บถาวร 2007-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Cinematography)
หลักสูตรที่เปิดสอน
[แก้]- ระดับปริญญาตรี
- หลักสูตรวารสารศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556)
- หลักสูตรวารสารศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
- หลักสูตรวารสารศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสื่อมวลชนศึกษา (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556
- หลักสูตรวารสารศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561
- ระดับปริญญาโท
- หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)
- หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)
- หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)
- หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อและเนื้อหา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)
- หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)
- หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)
- ระดับปริญญาเอก
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อและการสื่อสาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)
บุคคลสำคัญคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
[แก้]หัวหน้าแผนกอิสระแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
[แก้]คำนำหน้าชื่อ | รายชื่อ | ดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
อาจารย์ ดร. | เกษม ศิริสัมพันธ์ | พ.ศ. 2514 – 2517 | หัวหน้าแผนกอิสระ |
รองศาสตราจารย์ ดร. | สมควร กวียะ | พ.ศ. 2517 – 2522 | หัวหน้าแผนกอิสระ |
คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
[แก้]คำนำหน้าชื่อ | รายชื่อ | ดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
รองศาสตราจารย์ ดร. | บุญเลิศ ศุภดิลก | พ.ศ. 2522 – 2526 | |
ศาสตราจารย์ | สุธี นาทวรทัต | พ.ศ. 2526 – 2527 | ผู้รักษาการแทนในตำแหน่งคณบดี |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | ชวลิต ปัญญาลักษณ์ | พ.ศ. 2527 – 2529 | |
รองศาสตราจารย์ ดร. | เสรี วงษ์มณฑา | พ.ศ. 2529 – 2531 | |
ศาสตราจารย์ ดร. | บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา | พ.ศ. 2531 – 2534 | |
รองศาสตราจารย์ | อรทัย ศรีสันติสุข | พ.ศ. 2534 – 2537 | |
รองศาสตราจารย์ ดร. | สุรัตน์ เมธีกุล | พ.ศ. 2537 – 2540 | |
รองศาสตราจารย์ | ปิยกุล เลาวัณย์ศิริ | พ.ศ. 2540 – 2546 | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | ธนัญญา เชรษฐา | พ.ศ. 2546 – 2549 | |
รองศาสตราจารย์ | มาลี บุญศิริพันธ์ | พ.ศ. 2549 – 2551 | |
รองศาสตราจารย์ ดร. | พรจิต สมบัติพานิช | พ.ศ. 2551 – 2554 | |
รองศาสตราจารย์ | พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช | พ.ศ. 2555 – 2560 | |
รองศาสตราจารย์ ดร. | อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์ | พ.ศ. 2561 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 | |
รองศาสตราจารย์ | ปัทมา สุวรรณภักดี | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 – 7 กันยายน พ.ศ. 2563 | ผู้รักษาการแทนในตำแหน่งคณบดี |
รองศาสตราจารย์ | ประไพพิศ มุทิตาเจริญ | 8 กันยายน พ.ศ. 2563 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 | ผู้รักษาการแทนในตำแหน่งคณบดี |
รองศาสตราจารย์ | กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์ | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน |
คณาจารย์ที่มีชื่อเสียง
[แก้]คำนำหน้าชื่อ | รายชื่อ | เกียรติประวัติ |
---|---|---|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ | กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ | อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน |
หม่อมราชวงศ์ | คึกฤทธิ์ ปราโมช (อดีตอาจารย์พิเศษ) | นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง ศิลปินแห่งชาติ และอดีตนายกรัฐมนตรี อาจารย์พิเศษคณะวารสารฯ สมัยที่ยังเป็นแผนกอิสระ |
สุภา ศิริมานนท์ (อดีตอาจารย์) | นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ และนักวารสารศาสตร์คนสำคัญของประเทศไทย และผู้สื่อข่าวสงครามคนแรกของประเทศไทย | |
ดร. | เกษม ศิริสัมพันธ์ (อดีตอาจารย์) | หัวหน้าแผนกอิสระคนแรกของคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน พ.ศ. 2514–2517 สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ สมาชิกวุฒิสภา ผู้มีบทบาทต่อวิชาชีพสื่อมวลชนไทย |
รองศาสตราจารย์ | มาลี บุญศิริพันธ์ (ศิษย์เก่า,อดีตอาจารย์) | ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อสารมวลชน นักวารสารศาสตร์ อดีตคณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน และประธานกรรมการนโยบาย ไทยพีบีเอส |
ศาสตราจารย์ ดร. | สุรพงษ์ โสธนะเสถียร (อาจารย์) | ศาสตราจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน นักวิจัยทางสังคมศาสตร์ นักวิชาการด้านการบริหารและการจัดการทางด้านการสื่อสาร และการสื่อสารทางการเมือง รางวัลเมธีวิจัยอาวุโส สกว. พ.ศ. 2547, 2550 , อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ, เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา |
ศาสตราจารย์ ดร. | บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา (ศิษย์เก่า,อาจารย์) | ศาสตราจารย์ท ศิลปวิทยาางวิชาการของภาพยนตร์ศึกษาและการวิจารณ์ภาพยนตร์ นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน อดีตคณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาภาพยนตร์และภาพถ่าย |
รองศาสตราจารย์ ดร. | เสรี วงษ์มณฑา | นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด อดีตคณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน นักพูด นักบรรยาย นักแสดง และพิธีกร |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | วันชัย ธนะวังน้อย (ศิษย์เก่า, อาจารย์) | อดีตผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ และผู้ประกาศวิทยุ-โทรทัศน์ นักแสดง |
ชิน คล้ายปาน (อดีตอาจารย์) | ช่างภาพ ผู้กำกับภาพยนตร์ |
บุคคลสำคัญอื่นๆ
[แก้]คำนำหน้าชื่อ | รายชื่อ | เกียรติประวัติ |
---|---|---|
สรรพสิริ วิริยศิริ |
|
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง (ปริญญาโท)
[แก้]คำนำหน้าชื่อ | รายชื่อ | เกียรติประวัติ |
---|---|---|
บุษบา ดาวเรือง : เล็ก | รองประธานกรรมการ / ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ | |
ชิบ จิตนิยม | สมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 13 อดีตผู้ประกาศข่าว ช่อง 3 เอชดี | |
สุภิญญา กลางณรงค์ | อดีตคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) | |
แอน ทองประสม | พิธีกร, นักแสดง, ผู้จัดละครโทรทัศน์ ช่อง 3 เอชดี และอดีตทูตUNICEF | |
ดร. | อริสรา กำธรเจริญ : หมวย (อดีตอาจารย์ประจำคณะ) | รองสาวแพรวปี พ.ศ. 2539 นักแสดง ผู้ประกาศข่าว และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ ช่อง 3 เอชดี, Thai PBS, ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี และ TNN (ศิษย์เก่าปริญญาตรี–โท–เอก) |
ฐปณีย์ เอียดศรีไชย : แยม | ผู้สื่อข่าวภาคสนาม รายการข่าว 3 มิติ ช่อง 3 เอชดี และเจ้าของเพจ The Reporter | |
จิรายุ ห่วงทรัพย์ | นักการเมือง อดีตผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ปัจจุบันเป็นนักการเมือง ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสวัสดิการและกิจการธุรกิจของกองทัพ ฯ โฆษกกระทรวงกลาโหม | |
ชมพูนุช ตัณฑเศรษฐี (สุวรรณบุปผา) : เจ็ม | อดีตผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี, ช่อง 7 เอชดี และช่องเวิร์คพอยท์ทีวี ปัจจุบันเป็น Content Creator ด้านสื่อสารมวลชนในแอพลิเคชั่น Tiktok | |
ธัญญาเรศ เองตระกูล (รามณรงค์) : ธัญญ่า | นักแสดงและพิธีกรอิสระ | |
มีสุข แจ้งมีสุข : ไก่ | อดีตผู้ประกาศข่าว รายการผู้หญิงถึงผู้หญิง ช่อง 3 เอชดี | |
ดร. | อิศริยา สายสนั่น : เอ๊ะ | นักแสดง พิธีกร ผู้จัดละครโทรทัศน์ช่อง 8 (ศิษย์เก่าปริญญาโท-เอก) |
รินลณี ศรีเพ็ญ : จอย | นักแสดง และพิธีกรสังกัดช่อง 3 เอชดี | |
สกาวใจ พูนสวัสดิ์ : อ๋อม | นักแสดง, อดีตผู้ดำเนินรายการ อดีตผู้จัดรายการโทรทัศน์ และอดีตนักการเมืองสังกัดพรรคเพื่อไทย | |
ดร. | ปริศนา กัมพูสิริ : โบว์ลิ่ง | นางสาวไทยประจำปี พ.ศ. 2555 อดีตผู้ประกาศข่าวช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี ปัจจุบันดำเนินรายการโทรทัศน์ทางช่อง 8 |
ปาลิตา โกศลศักดิ์ : ปลา | นางแบบ และนักแสดงสังกัดค่ายช่อง 7 เอชดี | |
สุฐิตา เรืองรองหิรัญญา : นิหน่า | นักร้อง นักแสดง พิธีกร อดีตผู้ประกาศข่าวกีฬาช่อง 7 เอชดี ปัจจุบันเป็นผู้ประกาศข่าวช่องช่องพีพีทีวี (ศิษย์เก่าปริญญาตรี-โท) | |
ผึ้งนภา คล่องพยาบาล : ผึ้ง | ผู้ประกาศข่าว Thai PBS | |
ราณี แคมเปน : เบลล่า | นักแสดง ช่อง 3 เอชดี |
ศิษย์ที่มีชื่อเสียง (ปริญญาตรี)
[แก้]คำนำหน้าชื่อ | รายชื่อ | เกียรติประวัติ |
---|---|---|
ภาคภูมิ ร่มไทรทอง : มาย | นักแสดง มีชื่อเสียงจากละครเรื่อง คินน์พอร์ช | |
อติคุณ อดุลโภคาธร : เอิร์ธ | นักแสดง มีชื่อเสียงจากซีรีส์ ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น | |
ยุทธนา มุกดาสนิท : หง่าว | ผู้กำกับภาพยนตร์ นักเขียน และนักเขียนบทละครเวทีและภาพยนตร์ อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท แกรมมี่ภาพยนตร์ จำกัด และบริษัท มาสเตอร์แพลน จำกัด และศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) พ.ศ. 2560[2] | |
มารุต สาโรวาท : ต้อ (อดีตอาจารย์พิเศษ) | ผู้สร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ | |
ดร. | อริสรา กำธรเจริญ : หมวย (อดีตอาจารย์ประจำคณะ) | รองสาวแพรวปี พ.ศ. 2539 นักแสดง ผู้ประกาศข่าว และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ช่อง 3 เอชดี, Thai PBS, ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี และ TNN (ศิษย์เก่าปริญญาตรี–โท–เอก) |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | รุจน์ โกมลบุตร (อาจารย์ประจำคณะ) | อดีตนักหนังสือพิมพ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน |
รสนา โตสิตระกูล | วุฒิสมาชิกกรุงเทพมหานคร นักสิทธิมนุษยชน นักเขียน | |
วสันต์ ภัยหลีกลี้ | กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ช่อง 9 อสมท. | |
พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร | อดีตผู้บริหารบริษัทเครือมติชน อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ช่อง 9 อสมท. | |
กนก รัตน์วงศ์สกุล | พิธีกร ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ อดีตผู้ประกาศข่าว และอดีตอำนวยการส่วนงานผู้ประกาศข่าว เนชั่นทีวี ของบริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันเป็นผู้ประกาศข่าวช่องเจเคเอ็น 18 สังกัด ท็อปนิวส์ | |
ปาริฉัตร ศาลิคุปต์ | นักเขียนนวนิยาย เจ้าของนามปากกา: กิ่งฉัตร | |
สันติ เศวตวิมล (แม่ช้อยนางรำ) | นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักวิจารณ์อาหาร และพิธีกรชาวไทย ผู้ก่อตั้ง เปิปพิสดาร | |
ศุภรัตน์ นาคบุญนำ | ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ประกาศข่าวช่อง 7 เอชดี | |
เขมทัตต์ พลเดช | อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บมจ.อสมท ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมวารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์ | |
วิศาล ดิลกวณิช | อดีตผู้ประกาศข่าว ช่อง 3 เอชดี และอดีตพิธีกรรายการบ่ายนี้มีคำตอบทางช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี | |
ปิยวดี มาลีนนท์ : ตู่ | ผู้จัดละครโทรทัศน์ ช่อง 3 เอชดี, กรรมการผู้จัดการบริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด และผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่ม บมจ. บีอีซี เวิลด์ | |
ศศิธร วัฒนกุล : ลอร่า | พิธีกรรายการโทรทัศน์ | |
สุฐิตา ปัญญายงค์ : นิหน่า | นักร้อง นักแสดง พิธีกร อดีตผู้ประกาศข่าวกีฬาช่อง 7 เอชดี ปัจจุบันเป็นผู้ประกาศข่าวช่องช่องพีพีทีวี (ศิษย์เก่าปริญญาตรี-โท) | |
พริมรตา เดชอุดม : จ๊ะจ๋า | พิธีกร นักแสดงสังกัดช่อง 3 เอชดี และเจ้าของธุรกิจร้านดอกไม้ JajaFlowers | |
พงศธร จงวิลาส : เผือก | ครีเอทีฟโฆษณา, นักแสดงภาพยนตร์และละครซิทคอม ปัจจุบันเป็นดีเจอยู่ที่ 94 อีเอฟเอ็ม และพิธีกรรายการโทรทัศน์ | |
ณัฏฐพงษ์ ชาติพงศ์ : ฟรอยด์ | นักแสดง และพิธีกรรายการโทรทัศน์ | |
วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล : พิช | นักร้อง นักแสดง (อดีตนักร้องนำวงออกัส) | |
ราณี แคมเปน : เบลล่า | ดารานักแสดง ช่อง 3 เอชดี (ศิษย์เก่าปริญญาตรี-โท) | |
ธนษิต จุตรภุช : ต้น (AF8) | นักร้อง, นักแสดง ผู้ชนะเลิศนักล่าฝันจากรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 8 | |
อุทัย ปุญญมันต์ : เค้ก (บีไฟว์) | นักร้องวงบีไฟว์ (B5) | |
ปวีณา ตันฑ์ศรีสุโรจน์ : ปอย | นักแสดง และพิธีกรรายการโทรทัศน์ | |
โศธิดา โชติวิจิตร : ทราย | ผู้สื่อข่าว รายการข่าว 3 มิติ ช่อง 3 เอชดี | |
ทิฆัมพร อยู่กำเหนิด : แนส | อดีตผู้ประกาศข่าว ช่อง 3 เอชดี ปัจจุบันเป็นผู้ประกาศข่าวช่อง 8 | |
อรวรรณ กริ่มวิรัตน์กุล | พิธีกรรายการโทรทัศน์ | |
ยุวดี ธัญญสิริ | นักหนังสือพิมพ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส ประจำทำเนียบรัฐบาล | |
นันทขว้าง สิรสุนทร : เกี๊ยง | นักวิจารณ์ภาพยนตร์และนักเขียนเกี่ยวกับวัฒนธรรมร่วมสมัย และผู้ประกาศข่าวกีฬาช่องเนชั่นทีวี, ท็อปนิวส์ และอมรินทร์ทีวี | |
ธนชาติ ศิริภัทราชัย : เบ๊น | นักเขียนสำนักพิมพ์แซลมอน มีชื่อเสียงจากการเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง "NEW YORK 1st TIME นิวยอร์กตอนแรกๆ" | |
วาสนา นาน่วม | นักข่าวสายทหาร มีชื่อเสียงจากการเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง "ลับ ลวง พราง" | |
ราเชนทร์ ลิ้มตระกูล | ผู้สร้างและกำกับภาพยนตร์ เช่น โลกทั้งใบให้นายคนเดียว, มือปืน/โลก/พระ/จัน, จีจ้า ดื้อสวยดุ และฝัน-หวาน-อาย-จูบ ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตอาวุโส จีเอ็มเอ็ม ทีวี บริษัทในเครือ จีเอ็มเอ็ม มีเดีย (จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่) | |
มานุสส วรสิงห์ | ผู้กำกับภาพยนตร์ นักถ่ายทำและตัดต่อวิดีโอต่างๆ รวมไปถึงงานภาพยนตร์สั้นและรายการโทรทัศน์ | |
กมลวรรณ ตรีพงศ์ : แอน | อดีตผู้ประกาศข่าว Thai PBS, สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี, ช่อง 3 เอสดี และช่อง 3 เอชดี | |
จีรชาตา เอี่ยมรัศมี : จี | ผู้ประกาศข่าว Thai PBS อดีตผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี | |
เบญจมาลัญช์ ทิพย์ขันทอง : ทราย | อดีตผู้ประกาศข่าวช่อง Thai PBS, ช่อง 3 เอสดี และช่อง 3 เอชดี | |
สุธาศินี หาญทองไชย : นี | ผู้ประกาศข่าว Thai PBS | |
เอกราช อุดมอำนวย | ผู้สื่อข่าว Thai PBS | |
เจนไวยย์ ทองดีนอก | ผู้กำกับภาพยนตร์ความสุขของกะทิ (ภาพยนตร์) และดำรงตำแหน่ง Production Supervisor ของบริษัทสหมงคลฟิล์ม | |
ธนนท์ สัตตะรุจาวงษ์ | อดีตนักเรียนทุนอานันทมหิดล คนแรกของประเทศในคณะวารสารศาสตร์ ฯ สาขาภาพยนตร์ | |
พัฒนะ จิรวงศ์ : ตั้ม | ผู้กำกับสารคดี ผู้กำกับภาพยนตร์/ผู้เขียนบทภาพยนตร์ พุ่มพวง (พ.ศ. 2554) | |
วิทิต คำสระแก้ว | ผู้กำกับภาพยนตร์ กั๊กกะกาวน์ และเขาชนไก่ | |
ปรัชนันท์ ลิ้มรัตน์ : หมู | รองนางสาวไทยอันดับ 2 ประจำปี พ.ศ. 2547 | |
พรวดี พงษ์สถิตย์ : มิ้นท์ | นางแบบและนักแสดง มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่อง เดอะเมีย (2005) | |
หัสสยา อิสริยะเสรีกุล : แพรว (Preppy G) | นักแสดงและศิลปินสังกัด GMM Grammy ช่อง Play Channel | |
ฐิตวินน์ คำเจริญ : ปาล์ม | นักจัดรายการวิทยุและนักแสดง มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่อง 6:66 ตายไม่ได้ตาย | |
รฐา โกกิลานนท์ : แท๊บบี้ (AF6) | นักร้อง นักล่าฝันจากรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 6 | |
อัทธนียา เอี่ยมวสันต์ : ออม | อดีตนักแสดงสังกัด โพลีพลัส ปัจจุบันทำธุรกิจส่วนตัว | |
ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ : เจมส์ | (ศิษย์ปัจจุบัน) นักแสดง ผู้รับบท "ซัน" จากซีรีส์ ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น | |
ธนบดี ใจเย็น : ภีม | (ศิษย์ปัจจุบัน) ศิลปินสังกัด MBO Teen Entertainment ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ | |
ณัชคุณ นุตตานนท์ : ปลื้ม (V.R.P) | (ศิษย์ปัจจุบัน) ศิลปินสังกัด กามิกาเซ่ | |
พีรวิชญ์ อรรถชิตสถาพร : มีน | นักแสดง | |
นะเพียร เพิ่มสมบัติ : นะ | (ศิษย์ปัจจุบัน) นักแสดง มีชื่อเสียงจากซีรีส์เรื่อง "Love Sick the series season 2" | |
ฉัตรฑริกา สิทธิพรม : แคร์ | รองชนะเลิศอันดับที่ 2 มิสไทยแลนด์เวิลด์ และนักแสดงสังกัด ช่อง 3 เอชดี | |
ศลิษา มาเซียค : เจด (เจนนี่) | นักแสดง มีชื่อเสียงจากละครเรื่อง น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์ | |
เจนนี่ ฟิโลเมน่า : เมน่า | นักแสดงสังกัดช่อง 3 เอชดี | |
อาทิตยา ทองวิชิต : แองเจิ้ล | นักแสดงสังกัดช่อง 7 HD | |
จิดาภา ศิริบัญชาวรรณ : จิด้า | นักแสดงและนักร้อง สังกัด MBO Teen Entertainment ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ | |
แก้วใส คริสตัล : แก้วใส | นักแสดงสังกัดช่อง 7 HD | |
วชิรวิชญ์ วัฒนภักดีไพศาล : ริว | อดีตนักกีฬาเทเบิลเทนนิสเยาวชนทีมชาติไทย และนักแสดงสังกัดช่อง 3 เอชดี |
ละคอนวารสารฯ ธรรมศาสตร์
[แก้]สำหรับประวัติละคอนวารสารฯนั้น ในปี พ.ศ. 2523 หลังจากที่ทางคณะวารสารศาสตร์ฯ ได้ยกฐานะจากแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เป็น "คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน" ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์ฯ ก็ได้ผลิตและจัดแสดงละครเวทีออกมาอย่างต่อเนื่อง และเริ่มนับลำดับเรื่องอย่างจริงจัง โดยมีชื่อเรื่อง ดังนี้
- ปี พ.ศ. 2523 เรื่อง หมอผีครองเมือง
|
|
ละครเวทีทุกเรื่องข้างต้นจะแฝงไปด้วยแก่นสาระ แนวคิดต่างๆของนักศึกษา ที่ต้องการจะสื่อสารออกไปให้ผู้ชมในโรงละครได้ซึมซับสิ่งต่างๆ ผ่านความบันเทิง โดยสิ่งที่เหล่านี้ล้วนกลั่นกรองมาจากสภาพสังคมและปัญหาในปัจจุบันจากมุมมองในฐานะคนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตอยู่ในสังคมไทยและในฐานะนักศึกษาด้านสื่อสารมวลชนที่พร้อมจะทำหน้าที่เป็นกระจกเงาสะท้อนสังคม ซึ่งในบางครั้งความคิดเหล่านี้ชี้ให้เห็นปัญหาในสังคม และถูกหยิบยกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ต่อบนเวทีสาธารณะ นับว่าเป็นความประสบความสำเร็จและเป็นความภูมิใจอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาที่ทำละครเวที
สำหรับชื่อของละคอนวารสารนั้น จะเห็นว่าใช้คำว่า “ละคอน” แทนคำว่า “ละคร” ซึ่งเป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานจัดเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับปัจจุบันนั้น (คำว่า “ละคอน” และ “ละคร” นั้นมีความหมายเหมือนกัน และมักใช้สลับกันจนสับสนแก่ผู้อ่านตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ทางราชบัณฑิตยสถานจึงเลือกเก็บคำว่าละคร เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว) เนื่องจากต้องการสร้างเอกลักษณ์ให้แก่ละคอนวารสารฯ และยังคงสืบทอดคำว่า “ละคอนวารสารฯ” นี้จวบจนปัจจุบัน
นอกจากนี้นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 ละคอนวารสารถูกพัฒนาให้มีลักษณะกึ่งละครเพลง เพิ่มสีสันให้กับการแสดง และการประชาสัมพันธ์ สอบถามข้อมูลละคอนวารสารฯ คลิกที่นี่
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รายงานประจำปีการศึกษา คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3]
- Bachelor of Arts Program in Journalism (Mass Media Studies)
- ละคอนวารสารฯ ธรรมศาสตร์ เก็บถาวร 2017-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2497
- พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2513
- พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2513
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญา การใช้อักษรย่อสำหรับปริญญา และครุยวิทยฐานะในคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2522
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2534
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-15. สืบค้นเมื่อ 2022-04-15.
- ↑ "ยุทธนา มุกดาสนิท". culture.go.th. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-27. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
- ↑ "รายงานประจำปี". www.jc.tu.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-15. สืบค้นเมื่อ 2022-04-15.