ข้ามไปเนื้อหา

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Faculty of Fine and Appiled Arts,
Thammasat University
สถาปนา26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 (23 ปี)
คณบดีผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์[1]
ที่อยู่
ศูนย์รังสิต
99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121
ศูนย์ลำปาง
248 หมู่ 2 ถนนลำปาง–เชียงใหม่ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 52190
วารสาร• ศิลปกรรมสาร
สี  สีทอง
เว็บไซต์http://www.fineart.tu.ac.th/

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 โดยเป็นคณะลำดับที่ 16 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีหน้าที่ทำการเรียนการสอนด้านศิลปกรรมศาสตร์ อีกทั้งส่งเสริมการศึกษา การสร้างองค์ความรู้ และการให้บริการทางวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมแก่สังคม

ประวัติ

[แก้]

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งเนืองด้วยตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2531 โดยเสนอขออนุมัติบรรจุโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ในแผนพัฒนาการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535–2539) ของทบวงมหาวิทยาลัย โดยยกฐานะสาขาวิชาการละคอน ในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขึ้นเป็นโครงการจัดตั้ง ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยเห็นชอบให้บรรจุโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์เป็น โครงการใหม่ไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535–2539) ต่อมามีการเสนอเพิ่มอีกสาขาวิชาคือสาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ โดยโอนความรับผิดชอบของทั้งสองหลักสูตรมาในโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ ต่อมาสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในคราวการประชุมครั้งที่ 12/2544 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ได้พิจารณาแล้วมีมติให้จัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ขึ้นเป็นหน่วยงานภายใน ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มีการบริหารงานเป็นอิสระและมีประสิทธิภาพ ซึ่งตามระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารงานคณะ ศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2544[2][3]

หลักสูตร

[แก้]

ปัจจุบัน คณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้ทำการสอนด้านศิลปกรรม ศิลปวัฒนธรรม โดยมีการทำการเรียนการสอนที่ศูนย์รังสิตและศูนย์ลำปางดังต่อไปนี้

ปริญญาตรี
(จัดการเรียนการสอนที่ศูนย์รังสิต)
ปริญญาตรี
(จัดการเรียนการสอนที่ศูนย์ลำปาง)
ปริญญาโท ปริญญาเอก

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.)

  • สาขาวิชาการละคอน
  • สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ)

  • สาขาวิชาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ศป.ม)

(อยู่ระหว่างการพัฒนาหลักสูตร)

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศป.ด)

(อยู่ระหว่างการพัฒนาหลักสูตร)

อ้างอิง

[แก้]
  1. คณะผู้บริหารคณะศิลปกรรมศาสตร์
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-02. สืบค้นเมื่อ 2017-07-06.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-02. สืบค้นเมื่อ 2017-07-06.