สุภิญญา กลางณรงค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุภิญญาเมื่อปี 2009

สุภิญญา กลางณรงค์ (เกิด พ.ศ. 2519 ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นนักกิจกรรมสังคมด้านสื่อ เริ่มต้นทำงานที่ป่าใหญ่ครีเอชั่น ในฝ่ายผลิตและเขียนบทสารคดีโทรทัศน์ในปี 2537 จากนั้นร่วมงานเป็นฝ่ายสื่อและเผยแพร่ของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเป็นผู้ประสานงานคณะทำงานติดตามมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ซึ่งเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรสื่อสาร สุภิญญาร่วมก่อตั้งคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการและรองประธานคปส. หลังจากนั้นมีความสนใจในสื่อใหม่และร่วมก่อตั้งและเป็นผู้ประสานงานคนแรกของเครือข่ายพลเมืองเน็ต ในปี 2551 ก่อนจะลาออกจากทุกตำแหน่งเพื่อเข้ากระบวนการสรรหาคัดเลือกเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการกสทช.ในปี 2554

สุภิญญาเป็นที่รู้จักจากบทบาทวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการแทรกแซงสื่อสมัยรัฐบาลทักษิณ โดยเฉพาะจากคดีที่ถูกชินคอร์ปฟ้อง เมื่อปลายปี พ.ศ. 2546 ชินคอร์ปอเรชั่นฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญากับเธอในฐานะจำเลยที่ 1 จากนั้นในปลายปี พ.ศ. 2547 ก็ฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 400 ล้านบาท เนื่องจากการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน ของ ทักษิณ ชินวัตร, พรรคไทยรักไทย, และชินคอร์ปอเรชั่น ศาลตัดสินยกฟ้องเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยเห็นว่าสุภิญญาให้สัมภาษณ์เพื่อประโยชน์สาธารณะ

สุภิญญาเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อปีพ.ศ. 2549 สุภิญญาแสดงความเสียใจต่อสาธารณะในภายหลังต่อบทบาทดังกล่าว และได้ลดบทบาทการเคลื่อนไหวโดยยุติการดำรงตำแหน่งเลขาธิการคปส.หลังครบวาระและไปดำรงตำแหน่งรองประธานคปส.แทน และเป็นอนุกรรมาธิการของวุฒิสภาภายใต้การสนับสนุนของ ส.ว.แต่งตั้ง

กสทช.[แก้]

บทบาทกับกสทช. สุภิญญาดำรงตำแหน่งประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลกันเอง และประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยระหว่างดำรงตำแหน่ง ได้ทวีตแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานที่ทำอย่างต่อเนื่อง ผ่านบัญชีทวิตเตอร์ @supinya[1]

เมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 สุภิญญาประกาศยุติการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หลังจากที่ศาลฎีกาพิพากษาว่ามีความผิดจากคดีปีนรั้วสภาเมื่อปี พ.ศ. 2560[2]ต่อมามีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560[3]สุภิญญาปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 7 ตุลาคม 2554 ถึง 14 มีนาคม 2560

ประวัติการศึกษา[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://twitter.com/supinya
  2. ศาลฎีกาพิพากษาคดี 'ปีนสภาต้าน กม.สนช. ปี 50' มีความผิด แต่สั่งรอกำหนดโทษ 2 ปี
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/007/26.PDF
  4. http://www.sut.ac.th/ird/VIJAI_Content/finished/Others/NRCT49/cxbib%20pdf/cxbib4935.pdf[ลิงก์เสีย]
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๔๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒๑๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  • สุภิญญา กลางณรงค์. อิสรภาพความคิด. ปาปิรุส พับลิเคชั่น. พ.ศ. 2548. (ส่วนประวัติท้ายเล่ม)
  • สุภิญญา กลางณรงค์. พูดความจริง. OPENBOOK. พ.ศ. 2550.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]