โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม
โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม Thammasat Klongluang Witayakom School | |
---|---|
![]() | |
ที่ตั้ง | |
![]() | |
69 หมู่ 10 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ธ.ค. (TK) |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล |
คำขวัญ | นตฺถิ ปัญญา สมาอาภา แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญาไม่มี |
สถาปนา | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2516 |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1001130201 |
ผู้อำนวยการ | นายสุรชัย ภิญโญชีพ |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษา |
สี | ███ แดง - ███ สีน้ำเงิน |
เพลง | เพลงมาร์ชโรงเรียนธรรมศาสตร์ |
เว็บไซต์ | http://thk.ac.th/ |
โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม โรงเรียนในสวัสดิการแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นโรงเรียนรัฐบาลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 (ปทุมธานี สระบุรี) (สังกัดเดิมคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1) ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่ที่ 10 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 ริมถนนพหลโยธิน ใกล้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และเป็นโรงเรียนประจำอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]
- ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน ประกอบด้วยส่วนประกอบต่างๆซึ่งแต่ละส่วนมีความหมายดังนี้
- ธรรมจักร หมายถึง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากโรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคมเป็นโรงเรียนสวัสดิการแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พุ่มดอกบัว หมายถึง ศีล 5
- กลีบบัวบาน หมายถึง มรรค 8
- 2516 หมายถึง ปีที่ก่อตั้งโรงเรียน
- ปิรามิด หมายถึง บ่อเกิดแห่งปัญญา
- คติธรรมของโรงเรียน นตฺถิ ปัญญา สมาอาภา แปลว่า แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญาไม่มี
- ปรัชญา การศึกษาอย่างต่อเนื่อง จะช่วยพัฒนาชีวิตและสังคม
- คำขวัญ คือเรียนดี มีคุณธรรม กิจกรรมเยี่ยม
- สีประจำโรงเรียน แดง-น้ำเงิน
- ███ สีแดง หมายถึง ผู้มีความอดทนเข้มแข็ง เสียสละ เพียรพยายาม และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
- ███ สีน้ำเงิน หมายถึง เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
- ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นอินทนิล
- เพลงประจำโรงเรียน เพลงมาร์ชธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงเรียน
- พระพุทธชัยมงคล
- เจ้าพ่อหนองเป็ด
ประวัติโรงเรียน[แก้]
พ.ศ. 2516 -ได้รับอนุญาตจากกรมสามัญศึกษาให้เปิดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้ชื่อว่า"โรงเรียนคลองหลวงวิทยาคม"โดยใช้ศาลาการเปรียญวัดบางขันและเปิด สอนนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1
พ.ศ. 2518- กรมสามัญศึกษาได้รับมองที่ดินจากกรมส่งเสริมสหกรณ์จำนวน50ไร่ใช้เป็นสถานที่ ก่อสร้างโรงเรียน โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคมได้ย้ายมาอยู่ที่ปัจจุบันเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน
พ.ศ. 2521 -เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและโรงเรียนได้รับพิจารณาคัดเลือก จากกรมสามัญศึกษา ให้เป็นโรงเรียนเข้าอยู่ในโครงการปรับปรุงโรงเรียนมัธยมชนบท รุ่นที่ 14 (คมช)
พ.ศ. 2524 -เข้าอยู่ในโครงการปรับปรุงส่งเสริมการบริหารโรงเรียนให้ถึงเกณฑ์มาตรฐาน (ปบม.) และได้รับพระราชทานโรงเรียนดีเด่นขนาดกลาง
พ.ศ. 2526 -ได้รับประกาศนียบัตรจากสำนักงานเขตการศึกษา 1 เป็นโรงเรียนที่ปรับปรุงการบริหารโรงเรียนรวม 6 หมวดงานถึงเกณฑ์มาตรฐานอยู่ในระดับดีมาก
พ.ศ. 2529- กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนคลองหลวงวิทยาคมเป็น โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคมเป็นโรงเรียนในโครงการร่วมระหว่าง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และกรมสามัญศึกษา
พ.ศ. 2533- ได้รับเลือกเป็นโรงเรียนตัวอย่างการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอาชีพ
พ.ศ. 2535- กระทรวงศึกษาธิการให้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาพาณิชยกรรมสาขาวิชาพาณิชยการ
พ.ศ. 2543- สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศให้เป็นโรงเรียนสวัสดิการแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2546- เป็นโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1 กระทรวงศึกษาธิการและได้เปลี่ยนหลักสูตรปวช.ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาพาณิชยการ เป็นสาขาธุรกิจคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2552- โรงเรียนได้เปิดการเรียนการสอนห้องเรียนคุณภาพ วิทย์-คณิตพิเศษ (GEP) และห้องเรียนคุณภาพ อังกฤษพิเศษ English Program (EP) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 เป็นรุ่นแรกจำนวน 4 ห้อง
พ.ศ. 2553 -โรงเรียนได้เปิดการเรียนการสอนห้องเรียนคุณภาพเพิ่มอีก 4 ห้อง รวมเป็น 8 ห้อง
พ.ศ. 2554 -โรงเรียนได้เปิดการเรียนการสอนห้องเรียนคุณภาพเพิ่มอีก 4 ห้อง รวมเป็น 12 ห้อง ปัจจุบันมีนักเรียน 4045 คน
พ.ศ. 2558 -โรงเรียนได้เปิดสอนหลักสูตรทวิภาคีร่วมกับกลุ่มบริษัท CP ALL และสำนักงานคณะกรรมการศึกษา
-ได้รับพระราชทานโรงเรียนดีเด่น ขนาดใหญ่
อาคารและสิ่งปลูกสร้างภายในโรงเรียน[แก้]
10 อาคาร
- อาคาร 2
(กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ อังกฤษ,จีน,ญี่ปุ่น) มี 2 ชั้น และใต้ถุน 1 ชั้น
- อาคาร 3
อาคารเรียนที่ใหญ่ที่สุด มี 6 ชั้น
- อาคาร 4 มี 2 ชั้น และใต้ถุน 1 ชั้น
(สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม)
- อาคาร 5 มี 3 ชั้น
(ห้องประชุมพลอยอินทนิล-ศูนย์มัลติมิเดีย ห้องผู้อำนวยการ)
- อาคาร 1 มี 3 ชั้น
(คอมพิวเตอร์-การงานอาชีพ) และโรงอาหาร มี 3 ชั้น และชั้นลอย 1 ชั้น
- อาคาร 7
- อาคาร 6 มี 4 ชั้น
(วิทยาศาสตร์)
- อาคาร 9 มี 2 ชั้น
(เกษตร-วงโยธวาทิต)
- อาคาร 8 มี 4 ชั้น
(คณิตศาสตร์-ภาษาไทย)
- อาคาร 10
(อาคารเอนกประสงค์ หอประชุม)
- อาคาร ฝ่ายปกครอง
- อาคาร ประชาสัมพันธ์
- อาคาร เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
- อาคาร คหกรรม
- อาคาร ช่างอุตสาหกรรม ช่างไม้
สนามฟุตบอล,สนามบาส 2 แห่ง,สนามวอลเลย์ 2 สนาม,สนามตะกร้อ 2 สนาม,สนามเปตอง,ลานอเนกประสงค์,สนามฟุตซอล 2 สนาม (ปัจจุบันบางส่วนชำรุดทรุดโทรมและมีการซ่อมบูรณะเรียบร้อยแล้ว)
ผู้บริหารโรงเรียน[แก้]
ลำดับ | ชื่อ | พ.ศ.ที่ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นาย สมาน รักษาศีล | 2516-2531 |
2 | นาย วันชาติ เฟื่องรัตน์ | 2531-2542 |
3 | นาย สุวิทย์ พ่วงลาภ | 5 ม.ค-9พ.ย.2543 |
4 | นาย ปรีชา จิตรสิงห์ | 2543-2544 |
5 | นาย เดชา ธรรมศิริ | 2544-2551 |
6 | นาย จรัญ ดีงาม | 2551-2554 |
7 | นาย ชัยชนะ ใจแก้ว | 2554-2556 |
8 | นาย สุรชัย ภิญโญชีพ | 2557-2560 |
9 | ว่าที่ร้อยตรีเริงฤทธิ์ ผดุงพันธิ์ | 2561-ปัจจุบัน |
ระบบการเรียนการสอน[แก้]
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ห้องเรียนปกติ จำนวน 16 ห้องเรียน ได้แก่
•ห้องเรียนเน้น วิทย์-คณิต จำนวน 4 ห้องเรียน
•ห้องเรียนเน้น อังกฤษ-คณิต จำนวน 3 ห้องเรียน
•ห้องเรียนเน้น ภาษาญี่ปุ่น จำนวน 1 ห้องเรียน
•ห้องเรียนเน้น ภาษาจีน จำนวน 1 ห้องเรียน
•ห้องเรียนเน้น รวมเหล่า [ทหาร] จำนวน 1 ห้องเรียน
•ห้องเรียนเน้น อาชีพ จำนวน 1 ห้องเรียน
•ห้องเรียนเน้น คอมพิวเตอร์และ AI จำนวน 1 ห้องเรียน
•ห้องเรียนเน้น กีฬา จำนวน 2 ห้องเรียน
•ห้องเรียนเน้น ดนตรีไทยและสากล จำนวน 1 ห้องเรียน
•ห้องเรียนเน้น นาฏศิลป์ ทัศนศิลป์และการแสดง จำนวน 1 ห้องเรียน
- ห้องเรียนพิเศษ
ห้องเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ อังกฤษ-คณิตศาสตร์ ห้องเรียน ห้องเรียนพิเศษโครงการจัดการเรียนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ(Intensive English Program :IEP
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
- ห้องเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 4 ห้องเรียน
- ห้องเรียนแผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ จำนวน 3 ห้องเรียน
- ห้องเรียนแผนการเรียนภาษาญี่ปุ่น จำนวน 1 ห้องเรียน
- ห้องเรียนแผนการเรียนบริหารธุรกิจและการบัญชี จำนวน 1 ห้องเรียน
- ห้องเรียนแผนการเรียนภาษาจีน จำนวน 1 ห้องเรียน
- ห้องเรียนแผนการเรียนคอมพิวเตอร์และ AI จำนวน 1 ห้องเรียน
- ห้องเรียนแผนการเรียนศิลปะการแสดง จำนวน 1 ห้องเรียน
- ห้องเรียนแผนการเรียนกีฬา จำนวน 1 ห้องเรียน
- ห้องเรียนแผนการเรียนอาชีพ จำนวน 1 ห้องเรียน
- ห้องเรียนแผนการเรียนนิติศาสตร์-รัฐศาสตร์ จำนวน 1 ห้องเรียน
- ห้องเรียนพิเศษ วิทย์-คณิตพิเศษ (SMEP) จำนวน 3 ห้องเรียน
- ห้องเรียนพิเศษ อังกฤษพิเศษEnglish Program (EMEP) จำนวน 1 ห้องเรียน :<ref>คู่มือนักเรียนปีการศึกษา2553โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม
- ห้องเรียนแผนการเรียนภาษาอัง กฤษ-ไทย-สังคม(ศิลป-สังคม) จำนวน 1 ห้อง
รวมทั้งหมด 17 ห้องเรียน
อ้างอิง[แก้]
โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของโรงเรียน
- โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม ที่เฟซบุ๊ก
- ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคมในระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 14°05′06″N 100°36′29″E / 14.084939°N 100.608064°E