ข้ามไปเนื้อหา

เกรียงไกร อุณหะนันทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกรียงไกร อุณหะนันทน์
ชื่อเกิดเกรียงไกร อุณหะนันทน์
เกิด3 สิงหาคม พ.ศ. 2499 (68 ปี)
กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย
อาชีพนักแสดงอิสระ นักธุรกิจ
ปีที่แสดง2525 - ปัจจุบัน
สุพรรณหงส์นักแสดงสมทบชาย - ภาพยนตร์ คนแซ่ลี้ (2536)

เกรียงไกร อุณหะนันทน์ ชื่อเล่น อุ้ย (เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2499) เป็นนักแสดงอาวุโสชาวไทยซึ่งเกิดที่กรุงเทพมหานคร[1] [2] [3]

ประวัติ

[แก้]

เกรียงไกร อุณหะนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2499 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนจิตรลดา และระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยแซนโตโธมัส ประเทศฟิลิปปินส์ ขณะศึกษาอยู่ที่ต่างประเทศ เคยเป็นนายแบบถ่ายโฆษณา เป็นนักแสดง ผู้ช่วยกำกับ และจัดฉากละครเวที[4]

การทำงาน

[แก้]

เกรียงไกรเริ่มเข้าสู่วงการสายบันเทิงไทยเคยทำงานประชาสัมพันธ์ที่โรงแรมมณเฑียรกรุงเทพมหานครต่อมาได้จัดการแสดงละครเวทีภายหลังเริ่มเข้าวงการสายบันเทิงการเป็นนักแสดงแบบเต็มตัวและได้มีการชักชวนจากโดย รุจน์ รณภพ นักแสดง ในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ไทยและละครโทรทัศน์ไทย ต่อมาเกรียงไกรได้แสดงภาพยนตร์ไทยหลาย ๆ เรื่องเช่น ปริศนา รัตนาวดี เทพธิดาโรงงาน และ นางแมวป่า เป็นต้นแสดงภาพยนตร์มาแล้ว 40 เรื่องและผลงานละคร บริษัทจัดคู่ ลายหงส์ เงิน เงิน เงิน สามอนงค์ เมียนอกหัวใจ สกาวเดือน เป็นต้น

ต่อมาในปัจจุบันเป็นนักแสดงอาวุโส สามารถรับงานละครได้ทุกช่องส่วนมากจะรับบทคุณพ่อ และ คุณปู่ เป็นต้นและมีกิจการธุรกิจส่วนตัวชื่อร้านอาหาร "ท่านหญิง" แต่ปัจจุบันได้วางมือแล้ว และสามารถรับงานละครและเล่นทุกบทบาทและสอนการแสดงให้กับนักแสดงยุคใหม่หลาย ๆ คน[5]

ผลงานการแสดงภาพยนตร์

[แก้]
  • ปริศนา (2525) รับบท ม.จ.พจน์ปรีชา
  • เทพธิดาโรงงาน (2525) รับบท รังสรรค์
  • นางแมวป่า (2525) รับบท ร.ต.อ.ไชยา
  • กตัญญูประกาศิต (2526)
  • รักเธอตลอดไป (2526)
  • มายาพิศวาส (2526) รับบท ชลา
  • เงิน เงิน เงิน (2526) รับบท อรรคพล
  • สามอนงค์ (2526) รับบท ภูมิ
  • แรงอธิษฐาน (2527) รับบท รพีพันธ์
  • วันนั้นคงมาถึง (2527) รับบท พราหมณ์
  • รักต้องโกย (2527)
  • น.ส.ลูกหว้า (2527)
  • ยอดรัก ยอดพยศ (2528) รับบท ผู้ชาย
  • รัตนาวดี (2528) รับบท ม.จ.ดนัยวัฒนา / นายเล็ก
  • ขบวนการคนใช้ (2529)
  • เมียแต่ง (2529) รับบท ภุชงค์
  • แรงหึง (แรงเงา) (2529) รับบท เจนภพ
  • ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท (2529) รับบท ม.ร.ว.อรุณณรงค์
  • ไฟเสน่หา (2530)
  • เมียหมายเลข 1 (2530) รับบท สารวัตรทะนง
  • พิศวาส (2530)
  • วงศาคณาญาติ (2530)
  • หวานมันส์ฉันคือเธอ (2530) รับบท อาจารย์
  • ไฟซ่อนเชื้อ (2530) รับบท พร
  • เมียนอกหัวใจ (2530)
  • พยัคฆ์ร้ายสวาท 60 (2530) รับบท เฮียว
  • ถามหัวใจคุณก็ได้ (2530)
  • พรหมจารีสีดำ (2530) รับบท โภไคย ไกรฤทธิ์
  • ไฟหนาว (2530)
  • ก้อ โอเคน่ะ (2530)
  • เหตุเกิดที่ห้องไอซียู (2530) รับบท ณัฐ
  • เมียคนใหม่ (2530) รับบท ทัศนะ
  • รักจ๋ามาแล้วจ้ะ (2530) รับบท เกรียงไกร
  • ทายาทคนใหม่ (2531) รับบท พิธาน
  • คู่กรรม (2531) รับบท หมอทาเคดะ
  • ภุมรีสีทอง (2531)
  • ตลาดพรหมจารี (2531) รับบท แกม
  • หวานมันส์ฉันคือเธอ 2 (2531) รับบท อาจารย์
  • 2482 นักโทษประหาร (2531) รับบท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
  • พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ (2532) รับบท ประนาท
  • เทวดาตกสวรรค์ (2532) รับบท เจ้านายของเขา
  • บุญชู 5 เนื้อหอม (2533) รับบท อ.สุโต
  • นางอาย (2533) รับบท เด่นชาติ
  • ปุกปุย (2533) รับบท พ่อว่าว
  • ไอ้คุณผี (2534) รับบท พระภูมิ
  • ฝากฝันไว้เดี๋ยว จะเลี้ยวมาเอา (2535)
  • คนแซ่ลี้ (2536) รับบท ศักดิ์สิทธิ์
  • จันดารา ปัจฉิมบท (2556) รับบท เสด็จพระองค์ชาย
  • แม่เบี้ย (2558) รับบท ท่านสุจินต์
  • U-TURN จุดกลับใจ (2559)

ละครโทรทัศน์

[แก้]

ละครเวที

[แก้]
  • (2526) พระลอเป็นภาษาอังกฤษ โดย ศ.กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ เก็นติ้งไฮแลนด์ ประเทศมาเลเซีย
  • (2554) ละครเวทีสี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล ณ เมืองไทยรัชดาลัยเธียเตอร์
  • (2557) ละครเวทีสี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล (Restage) ณ เมืองไทยรัชดาลัยเธียเตอร์
  • (2560) ละครเวทีสี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล (Restage) ณ เมืองไทยรัชดาลัยเธียเตอร์
  • (2562) ละครเวทีสี่แผ่นดิน THE LEGEND MUSICAL @ LHONG 1919

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติคร่าวของอุ้ย เกรียงไกร อุณหะนันทน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-17. สืบค้นเมื่อ 2019-11-17.
  2. ดารารุ่นใหญ่ “เกรียงไกร” ย้อนอดีตศิษย์ “จิตรลดา” ได้เรียนเพราะพระมหากรุณาธิคุณ
  3. อานัส ฬาพานิช-อุ้ย เกรียงไกร แต่งกายในลุคอิสลาม
  4. "ประวัติเกรียงไกร อุณหะนันทน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-17. สืบค้นเมื่อ 2019-11-17.
  5. อุ้ย เกรียงไกร เผยชีวิตศิษย์เก่า จิตรลดา เทิดทูนในหลวงหลังชีวิตแทนได้

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]