ชาติพยัคฆ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาติพยัคฆ์
ประเภทดราม่า, พีเรียด, อิงประวัติศาสตร์
สร้างโดยบริษัท เมตตา และ มหานิยม จำกัด
เขียนโดยบทประพันธ์ : ณพุทธ สุศรีฯ
ฉัตรชัย เปล่งพานิช
บทโทรทัศน์ : ณพุทธ สุศรีฯ
กำกับโดยโชติรัตน์ รักเริ่มวงษ์
แสดงนำ
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนตอน14 ตอน
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างฉัตรชัย เปล่งพานิช
ความยาวตอน150 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
ออกอากาศ15 มีนาคม –
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ชาติพยัคฆ์ เป็นบทประพันธ์และบทโทรทัศน์ของ ณพุทธ สุศรีฯ เป็นละครอิงประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่5 เกี่ยวกับการล่าอาณานิคมและเสียดินแดนของไทย โดยมีตัวเอกเป็น กล้า ทาสหนุ่มผู้มีความทรนงในตัวเอง และ คุณพลอย บุตรสาวของคุณพระพิสุทธิ์ ซึ่งแอบรักกันแต่ด้วยฐานะที่ขวางกั้นทำให้เขาและเธอต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ นานา ผลิตโดย ช่อง3 ค่าย เมตตา และ มหานิยม กำกับการแสดง โชติรัตน์ รักเริ่มวงษ์ นำแสดงโดย จรณ โสรัตน์ ในบท กล้า นิษฐา จิรยั่งยืน ในบท คุณพลอย ร่วมด้วย กมลเนตร เรืองศรี,ณัฐวิญญ์ วัฒนกิตติพัฒน์,สมิทธิ ลิขิตมาศกุล,ฉัตรชัย เปล่งพานิช,สินจัย เปล่งพานิช และอีกมากมาย [1]

นักแสดง[แก้]

ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2559
ตัวละคร นักแสดงนำโดย
นักแสดงหลัก
กล้า เมืองสิงห์ จรณ โสรัตน์
คุณพลอย นิษฐา คูหาเปรมกิจ
บัว กมลเนตร เรืองศรี
อาเหวิน ณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์
รื่น จิรายุ ตันตระกูล
มิ่ง โชคชัย บุญวรเมธี
คุณโชติ สมิทธิ ลิขิตมาศกุล
ให้เกียรติรับเชิญ
เจ๊คิ้ม เจนนิเฟอร์ คิ้ม
ทองอิน นภัสกร มิตรธีรโรจน์
นักแสดงสมทบ
หม่อมเจ้าชาตรี เกียรตินภากร (ท่านเตี่ย) ฉัตรชัย เปล่งพานิช
นางเพียร / คุณทิพย์ สินจัย เปล่งพานิช
พระยาประเสริฐภักดี นพพล โกมารชุน
คุณพระพิสุทธิ์มนตรี เกรียงไกร อุณหะนันทน์
จีนหยง (เถ้าแก่หยง) ศานติ สันติเวชชกุล
คุณหญิงกุหลาบ สรวงสุดา ลาวัณย์ประเสริฐ
ปีเตอร์ เดวิด อัศวนนท์
นายพลอังเดร / ท่านกงศุล ปีเตอร์ ธูนสตระ
ฮิวโก้ กลศ อัทธเสรี
ข้าหลวงเบอร์นาร์ด ปีแอร์ เดอลาลองด์
มิสเตอร์สตีเฟ่น เมอริค เดวิดสัน
อาเหมย กัญญา ไรวินท์
เฮียเล้ง วสันต์ อุตตมะโยธิน
ตาสังข์ ถั่วแระ เชิญยิ้ม
แม่เอียด ณัฐนี สิทธิสมาน
อาฉาง ฝันดี จรรยาธนากร
อาเฉียง ฝันเด่น จรรยาธนากร
ยันต์ ชลัฏ ณ สงขลา
เที่ยง สมจิตร จงจอหอ
ทิว ณัฐภณ มิเกลลี่
ด้วง พศิน เรืองวุฒิ
ยอด วัชรชัย สุนทรศิริ
ชด สุพจน์ พงษ์พรรณเจริญ
พ่อบ้านกุ่ย ประทีป หาญอุดมลาภ
ตาชุ่ม สรวุฒิ เจริญเชื้อ
อาหลอ จตุพร วณิชวรพงศ์
อาเปียว ศุภรัตน์ มีปรีชา
เฮียหม่า วสันต์ พัดทอง
แมรี่ ด.ญ. จิรดา โมแรน
พลอย (วัยเด็ก) ด.ญ. กุลฑีรา ยอดช่าง
กล้า (วัยเด็ก) ด.ช. ณพัฒน์ วรรณบวร
บัว (วัยเด็ก) ด.ญ. ชนัญญา เลิศวัฒนามงคล
นักแสดงรับเชิญ
เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ เวชสิทธิ์ สุขมาก
ผู้ใหญ่เชื้อ ชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา
เฮียสาม เยี่ยมพนา ลีลาภิรมย์
หลวงวิชัย อมร พงษ์พิชิตภูมิ
เถ้าแก่หยี สุพจน์ ตั้งจารุจุรี
นักฆ่า วีระศักดิ์ จงสมจิตต์เจริญ
หมอจีน ธนัท ภักดีเดชาเกียรติ
เถ้าแก่เบ๊ วิโรจน์ วงศ์วิเศษศิริ
คนลากรถ มานะ เล่งอิ้ว
มาร์คัส รอน สมูเรนเบิร์ก
กัปตันจอห์น เคิร์ก ริดเดลล์
เซียปัง เซี่ย เหวิน หลง
ล่าม สิทธิโชค เปล่งพานิช

งานสร้าง[แก้]

ละครเรื่อง ชาติพยัคฆ์ เป็นผลงานการประพันธ์ของ "ณพุทธ สุศรีฯ" และ "ฉัตรชัย เปล่งพานิช" ก่อนที่ ณพุทธ สุศรีฯ จะเขียนเป็นบทละครโทรทัศน์ซึ่งกำลังโด่งดังอยู่ทางไทยทีวีสีช่อง 3 เนื้อเรื่องกล่าวถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศสยาม นักล่าอาณานิคมชาติตะวันตกต่างหมายมั่นที่จะยึดครองแผ่นดินสยามไว้ ให้เหมือนกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน แต่ชนชาวสยามก็พยายามพิทักษ์รักษาเสรีภาพไว้อย่างสุดความสามารถ แม้กระทั่งเดนทาสคนหนึ่งผู้แทบจะจบชีวิตครั้งแล้วครั้งเล่า ยังเข้าร่วมฟันฝ่าอุปสรรคและขวากหนามอันแสนลำเค็ญทั้งปวงนั้นด้วยจิตใจอันกล้าหาญ "ชาติพยัคฆ์" ในภาคของนวนิยายนี้ ผู้แปรได้เสริมใส่จินตนาการให้มีความเข้มข้นและสีสันไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาพของละครที่เราเห็นอยู่ในจอโทรทัศน์ แม้ว่าอาจจะมีบางบทบางตอนที่ผิดแผกแตกต่างจากละครบ้าง แต่ก็มิได้ทำให้อรรถรสของนวนิยายเรื่องนี้ลดน้อยลงแต่ประการใด กลับเปิดให้จินตนาการของผู้อ่านได้โลดแล่นไปอย่างไร้ขอบเขต ดังเช่นนวนิยายที่ดีทั้งหลายจะพึงมี ชาติพยัคฆ์ ในบทบาทของนวนิยาย จึงเป็นเหมือนกับเหรียญอีกด้านหนึ่งของละครโทรทัศน์ ที่เปิดให้นักอ่านได้ติดตามผ่านตัวอักษรที่เรียงร้อยอย่างมีศิลปะ และคอยเกื้อกูลให้เกิดประโยชน์ผ่านศิลปะอีกแขนงหนึ่ง หาได้จำกัดไว้เพียงศิลปะด้านการแสดงแต่อย่างเดียวเท่านั้น[2]

ส่วนผู้สร้าง ฉัตรชัย เปล่งพานิช ลั่นตั้งใจสร้างถึงแม้ละครเรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่ถูกสมมติขึ้นมาทั้งตัวแสดง เรื่องราว และสถานที่ [3]

ส่วนเสื้อผ้าหน้าผมในเรื่องย้อนไปในปี พ.ศ. 2436

การตอบรับ[แก้]

คำวิจารณ์[แก้]

ด้านเสียงวิจารณ์ กระปุกออนไลน์ ได้ทำสกู๊ปข่าวสัมภาษณ์ถึงนักแสดงพระเอกนางเอกของเรื่องว่าแสดงได้ดีเยี่ยมและทุกตัวละครแสดงได้สมบทบาทในทุกฉากและเนื้อเรื่องที่เข้มข้นชวนให้น่าติดตามทุกตอน จนเรียกได้ว่า วันจันทร์-อังคาร กลายเป็น วันชาติพยัคฆ์ ไปโดยปริยาย[4]

เรตติ้ง[แก้]

การตอบรับของละครเรื่องนี้ทั้งหมด 14 ตอน (เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559 - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559) Nielsen ได้วัดค่าเฉลี่ยเรตติ้งละครจากผู้ชมทั่วประเทศไทยทั้งหมด 14 ตอน อยู่ที่ 6.18

เรตติ้งที่มีอันดับสูงที่สุดในละครแต่ละตอนจะแสดงด้วย สีเขียว, เรตติ้งที่มีอันดับต่ำที่สุดในละครแต่ละตอนจะแสดงด้วย สีแดง, เรตติ้งเฉลี่ยของละครจะแสดงด้วย สีน้ำเงิน

ตอนที่ ออกอากาศ เรตติ้งทั่วประเทศ
1 15 มีนาคม พ.ศ. 2559 5.42
2 21 มีนาคม พ.ศ. 2559 5.06
3 22 มีนาคม พ.ศ. 2559 6.16
4 28 มีนาคม พ.ศ. 2559 6.30
5 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 6.48
6 4 เมษายน พ.ศ. 2559 6.50
7 5 เมษายน พ.ศ. 2559 6.90
8 11 เมษายน พ.ศ. 2559 5.54
9 12 เมษายน พ.ศ. 2559 5.63
10 18 เมษายน พ.ศ. 2559 6.46
11 19 เมษายน พ.ศ. 2559 6.32
12 25 เมษายน พ.ศ. 2559 6.21
13 26 เมษายน พ.ศ. 2559 6.28
14 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 7.19

รางวัลและการเข้าชิง[แก้]

รางวัล สาขารางวัล ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผลการตัดสิน
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ [5]
นักแสดงสนับสนุนหญิงดีเด่น กมลเนตร เรืองศรี ชนะ
รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 10 [6]
ละครโทรทัศน์แห่งปี ชาติพยัคฆ์ เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงหญิงแห่งปี นิษฐา จิรยั่งยืน เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 8 [7]
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จิรายุ ตันตระกูล เสนอชื่อเข้าชิง
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม ชาติพยัคฆ์ เสนอชื่อเข้าชิง
กำกับภาพยอดเยี่ยม ชาติพยัคฆ์ เสนอชื่อเข้าชิง
ลำดับภาพยอดเยี่ยม ชาติพยัคฆ์ เสนอชื่อเข้าชิง
เครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม ชาติพยัคฆ์ เสนอชื่อเข้าชิง

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]