เวลาในขวดแก้ว
เวลาในขวดแก้ว | |
---|---|
![]() | |
กำกับ | ประยูร วงศ์ชื่น อมรศรี เย็นสำราญ อนุกูล จาโรทก |
เขียนบท | บทประพันธ์ : ประภัสสร เสวิกุล บทภาพยนตร์ : อมรศรี เย็นสำราญ |
อำนวยการสร้าง | ประยูร วงศ์ชื่น (วีเอ็น โปรดักชั่น) |
นักแสดงนำ | นฤเบศร์ จินปิ่นเพชร ปวีณา ชารีฟสกุล วาสนา พูนผล จรัล มโนเพ็ชร มยุรา ธนะบุตร จิตต์โสภิณ ลิมปิสวัสดิ์ |
กำกับภาพ | วิเชียร เรืองวิชญกุล |
ผู้จัดจำหน่าย | เอเพ็กซ์ |
วันฉาย | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 |
ประเทศ | ![]() |
ภาษา | ภาษาไทย |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย |
เวลาในขวดแก้ว | |
---|---|
ประเภท | ละครโทรทัศน์ |
สร้างโดย | บริษัท เมกเกอร์ กรุ๊ป |
กำกับโดย | อมรศรี เย็นสำราญ |
แสดงนำ | แอน ทองประสม (จ๋อม) สมชาย เข็มกลัด (นัต) จรัล มโนเพ็ชร (พ่อของนัต) ปวีณา ชารีฟสกุล (ป้อม) ชนานา นุตาคม (แม่ของนัต) กานต์ หงษ์ทอง (ชัย) ไพที ศรีสุข (เอก) โชติรส บุรินทร์ (หนิง) |
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่อง | เวลาในขวดแก้ว โดย จรัล มโนเพ็ชร |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
จำนวนตอน | 15 ตอน |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | ประวิทย์ มาลีนนท์ |
ผู้อำนวยการสร้าง | มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช อมรศรี เย็นสำราญ |
ความยาวตอน | 105 นาที/ตอน |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 |
ออกอากาศ | 11 มีนาคม พ.ศ. 2535 – พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พุธ-พฤหัสบดี 20.55-21.55 น. |
เวลาในขวดแก้ว เป็นนวนิยายไทยของ ประภัสสร เสวิกุล มีเนื้อหาสะท้อนชีวิตและปัญหาของวัยรุ่นในด้านต่างๆ ทั้งครอบครัว ความรัก การศึกษา สังคม และการเมือง จัดพิมพ์เป็นพ็อคเก็ตบุ๊คครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2528 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2534 ได้มีการสร้างเป็นภาพยนตร์ไทย โดย ประยูร วงศ์ชื่น นำแสดงโดย นฤเบศร์ จินปิ่นเพชร, ปวีณา ชารีฟสกุล และ วาสนา พูนผล
ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทั้งรายได้และคำนิยม โดยได้รับรางวัลจากสองสถาบันคือ รางวัลสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2534 จำนวน 4 รางวัล[1] และรางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2534 อีก 2 รางวัล[2][3]
ในปี พ.ศ. 2535 มีการสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางไทยทีวีสีช่อง 3 โดย มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช ออกอากาศเดือน มีนาคม-พฤษภาคม 2535 นำแสดงโดย สมชาย เข็มกลัด, แอน ทองประสม และยังได้นักแสดงจากภาพยนตร์ คือ ปวีณา ชารีฟสกุล และ จรัล มโนเพ็ชร มาร่วมแสดงในบทเดิม ออกอากาศทุกคืนวันพุธ และวันพฤหัสบดี เวลา 20.55-21.55 น.
ต่อมาได้นำเรื่องนี้มาสร้างเป็นละครอีก 2 ครั้ง ออกอากาศในปี พ.ศ. 2543 โดยบริษัทอาร์เอส ทุกเย็นวันเสาร์ และวันอาทิตย์ ทางช่อง 3 นำแสดงโดย ธนา สุทธิกมล, อลิชา ไล่ศัตรูไกล และ ฌัชฌา รุจินานนท์ และออกอากาศในปี พ.ศ. 2558 โดยบริษัทดาวินชี โปรดักชั่น กำกับการแสดงและจัดโดย นุติ เขมะโยธิน ออกอากาศทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.00 - 21.00 น. ทางช่องทรูโฟร์ยู [4][5]
เรื่องย่อ
[แก้]ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ก็เหมือน เวลาในขวดแก้ว ที่ทอดสะพานทอดข้ามให้เราได้รู้จัก คาลิล ยิบราน เหตุการณ์ 14 ตุลา การล้อมปราบนักศึกษา การประท้วงของคนงานในโรงงาน และเพลง Time In A Bottle ของ Jim Croce เพลงหลักที่แทรกอยู่ในชีวิตของตัวละครหลักในเรื่อง และยังเป็นเพลงที่บอกเล่าความหมายของชื่อเรื่อง
แด่นัต หนิง ป้อม และจ๋อม รวมถึงชัยกับเอก ตัวละครหลักทั้ง 6 ที่ก้าวเดินและเผชิญหน้ากับความธรรมดาสามัญของชีวิต ทั้งปัญหาครอบครัว ปัญหาทางสังคม ปัญหาความรัก ปัญหาทางการเมือง เป็นเรื่องราวชีวิตธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้
นัต ชายหนุ่มตัวกลมผู้อ่อนไหว จากครอบครัวที่แสนอบอุ่นในวัยเด็ก กลับแตกร้าว เมื่อพ่อและแม่แยกทางกัน เขากับน้องสาว (หนิง) อยู่กับแม่และพ่อคนใหม่ นัตรักดนตรี (ไวโอลิน) แต่ต้องเรียนนิติฯ เพื่อให้ชีวิตมีทิศทางตามความตั้งใจของแม่ นัตเป็นตัวละครดำเนินเรื่อง ใช้เสียงจากความคิดเล่าเรื่องราวผ่านม่านตาและมุมมองของตัวเอง
ป้อม หญิงสาวบุคลิกทอมบอยแอบหลงรักนัต ป้อมเคยหยิบยื่น 'ปีกหัก' ของคาลิล ยิบราน ให้นัตอ่าน แต่นัตไม่ได้อ่าน
จ๋อม สาวสวย ฐานะดี เป็นเพื่อนผู้หญิงรุ่นพี่ของนัต ที่สนใจไวโอลินและซ้อมดนตรีกับนัตบ่อยๆ และเป็นรักแรกของนัต แม้ภายนอกจ๋อมดูเหมือนจะสมบูรณ์พร้อม สวย รวย เก่ง แต่ความจริงเธอกลับเหมือนแบกโลกทั้งใบไว้คนเดียว เมื่อครอบครัวแตกร้าว พ่อมีภรรยาใหม่และเลี้ยงจ๋อมด้วยเงินมากกว่าความเข้าใจ เธอเลยใฝ่หาความรักที่ขาดหาย...
นักแสดงนำ
[แก้]ปี | พ.ศ. 2534 | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2543 | พ.ศ. 2558 |
---|---|---|---|---|
รูปแบบการนำเสนอ | ภาพยนตร์สี 35 มม. | ละคร ช่อง 3 | ละคร ช่องทรูโฟร์ยู | |
ผู้สร้าง | วี.เอ็น. โปรดักชั่น | เมกเกอร์ กรุ๊ป | ชาโดว์ (อาร์เอส) | ดาวินชี โปรดักชั่น |
ผู้เขียนบท | อมรศรี เย็นสำราญ | อมรศรี เย็นสำราญ | เบญจมาศ ดาลหิรัญรัตน์ | ศัลยา |
ผู้กำกับการแสดง | ประยูร วงศ์ชื่น อมรศรี เย็นสำราญ อนุกูล จาโรทก |
อมรศรี เย็นสำราญ | นพดล มงคลพันธ์ | นุติ เขมะโยธิน |
นัต | นฤเบศร์ จินปิ่นเพชร | สมชาย เข็มกลัด | ธนา สุทธิกมล | เศรษฐพงศ์ เพียงพอ |
ป้อม | ปวีณา ชารีฟสกุล | ปวีณา ชารีฟสกุล | ฌัชฌา รุจินานนท์ | สุนันทา ยูรนิยม |
จ๋อม | วาสนา พูนผล | แอน ทองประสม | อลิชา หิรัญพฤกษ์ | สุวพิชญ์ ไตรพรวรกิจ |
ชัย | วรสิทธิ์ ชีพสาธิต | กานต์ หงษ์ทอง | เจฟฟรี เบญจกุล | กิตติศักดิ์ ปฐมบูรณา |
เอก | อภิชาต ติ๋วตระกูล | ไพที ศรีสุข | วรศักดิ์ ลาภสมบูรณ์ | วงศพัทธ์ ตั้งนิยม |
หนิง | จิตต์โสภิณ ลิมปิสวัสดิ์ | โชติรส บุรินทร์ | ปภัสวรรณ ยอดเณร | เนรัญชรา เลิศประเสริฐ |
กฤษ (พ่อนัต, หนิง) | จรัล มโนเพ็ชร | จรัล มโนเพ็ชร | ภาณุเดช วัฒนสุชาติ | อนุวัฒน์ นิวาตวงศ์ |
ชุลีพร (แม่นัต, หนิง) | มยุรา ธนะบุตร | ชนานา นุตาคม | อภิรดี ภวภูตานนท์ | ปวีณา ชารีฟสกุล |
ลุงอมร | สืบ บุณยรัตพันธุ์ | เกรียงไกร อุณหะนันทน์ | อนุสรณ์ เดชะปัญญา | ชรัส เฟื่องอารมย์ |
แหวว | สาลินี ภักดีผล | ปริศนา กล่ำพินิจ | ก้ามปู ปัทมสูต | ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี |
วิฑูรย์ (พ่อจ๋อม) | กำธร สุวรรณปิยะศิริ | กำธร สุวรรณปิยะศิริ | เวนย์ ฟอลโคเนอร์ | วสุ แสงสิงแก้ว |
รางวัล (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2534)
[แก้]- รางวัลสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2534
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ปวีณา ชารีฟสกุล)
- บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (อมรศรี เย็นสำราญ)
- เพลงนำยอดเยี่ยม (บัตเตอร์ฟลาย) [1]
- รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2534
- ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ปวีณา ชารีฟสกุล)
- ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (มยุรา ธนะบุตร) [2]
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นวนิยายไทย
- ภาพยนตร์ไทย
- ภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2534
- ละครโทรทัศน์ไทย
- ละครโทรทัศน์ช่อง 3
- ละครโทรทัศน์ช่องทรูโฟร์ยู
- ผู้ชนะรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมสุพรรณหงส์
- ละครโทรทัศน์ไทยในปี พ.ศ. 2535
- ละครโทรทัศน์ไทยในปี พ.ศ. 2543
- ละครโทรทัศน์ไทยในปี พ.ศ. 2558
- ละครโทรทัศน์โดยเมคเกอร์กรุ๊ป
- ละครโทรทัศน์โดยชาโดว์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์
- ภาพยนตร์ที่กำกับโดย ประยูร วงษ์ชื่น
- ภาพยนตร์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 1990
- ละครโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 1990
- ละครโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2000
- ละครโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2010