กระทรวงกลาโหม (ประเทศไทย)
Ministy of Defense | |
เครื่องหมายราชการ ตราจักร สมอ และปีก ภายใต้พระมหามงกุฎ | |
ตราพระคชสีห์ | |
อาคารศาลาว่าการกระทรวงกลาโหมตรงข้ามวัดพระศรีรัตนศาสดาราม | |
ภาพรวมกระทรวง | |
---|---|
ก่อตั้ง | 8 เมษายน พ.ศ. 2430 |
กระทรวงก่อนหน้า |
|
ประเภท | กระทรวง |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 7 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
งบประมาณต่อปี | 200,213,262,600 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
รัฐมนตรี | |
รัฐมนตรีช่วย |
|
ฝ่ายบริหารกระทรวง |
|
ต้นสังกัดกระทรวง | รัฐบาลไทย |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของกระทรวง |
กระทรวงกลาโหม (อังกฤษ: Ministry of Defence) เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีหน้าที่ป้องกันประเทศ เพิ่มขีดความสามารถ และรักษาผลประโยชน์ของชาติ สร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในกลุ่มอาเซียน และมิตรประเทศ เพื่อลดความหวาดระแวงสร้างสันติภาพ ให้ความสำคัญในการตอบสนองนโยบายเร่งด่วนของคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของกระทรวงกลาโหม ตลอดจนภารกิจอื่นตามที่ได้รับมอบหมายเป็นการเฉพาะ และมีหน้าที่พิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งในฐานะที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ และทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการตามพระราชประสงค์
ประวัติ
กระทรวงกลาโหมตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ตรงข้ามวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เดิมเป็นโรงช้าง โรงม้า และโรงสีข้าวของทหาร ในสมัยรัชกาลที่ 5 จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตสร้างเป็นโรงทหารถาวรขึ้น ต่อมาจึงจัดตั้งเป็นกระทรวงกลาโหม
สัญลักษณ์
กระทรวงกลาโหมมีตราที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของกระทรวงอยู่ 2 อย่าง ได้แก่
ตราพระคชสีห์
ในพระธรรมนูญใช้ตรากล่าวไว้ว่า ตราพระคชสีห์เป็นตราของเจ้าพระยามหาเสนาบดี ผู้ดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหมในระบบการปกครองแบบจตุสดมภ์ มีทั้งตราใหญ่ ตรากลาง และตราน้อย เมื่อมีการจัดรูปแบบการบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลางเป็น 12 กระทรวงในปี พ.ศ. 2435 ตำแหน่งสมุหพระกลาโหมได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ดูแลกิจการทหารทั้งหมดของประเทศ ตราพระคชสีห์จึงใช้เป็นตราประจำตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมสืบมาจนกระทั่งถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงมีการเปลี่ยนแปลงแบบตราสำหรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเสียใหม่ในปี พ.ศ. 2482 (ตามหลักฐานที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา) อย่างไรก็ตาม ตราพระคชสีห์ยังคงนับเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของกระทรวงกลาโหม และถูกใช้เป็นองค์ประกอบในการออกแบบตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อสีอความหมายถึงข้าราชการฝ่ายทหารสืบมาจนถึงปัจจุบัน
-
ตราพระคชสีห์
-
รูปคชสีห์ (ซ้าย) ในตราแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ 5
-
รูปคชสีห์ (ซ้าย) ในเครื่องหมายราชการของกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
-
รูปคชสีห์ (ขวา) ในเครื่องหมายราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี
ตราจักรสมอปีก
ตราจักรสมอปีกปรากฏหลักฐานครั้งแรกในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2482 หน้า 2373 ซึ่งบรรยายลักษณะไว้ดังนี้
เครื่องหมายราชการส่วนรวมแห่งกระทรวงกลาโหม
ตราประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรูปจักร มีสมอสอดขัดในวงจักร ด้านซ้ายขวามีรูปปีกนกกางอยู่ภายใต้รูปพระมหามงกุฎ (ไม่จำกัดสีและขนาด)
นอกจากนี้ในประกาศดังกล่าวยังลงภาพเครื่องหมายราชการของกระทรวงกลาโหมในหน่วยที่ไม่ขึ้นหน่วยกองทัพ ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2482 หน้า 2375 ซึ่งบรรยายลักษณะของเครื่องหมายไว้ว่า
เครื่องหมายราชการในหน่วยที่ไม่ขึ้นหน่วยกองทัพ เป็นรูปจักรมีสมอสอดขัดในวงจักร ด้านซ้ายขวามีรูปปีกนกกาง (ไม่จำกัดสีและขนาด)
ตราจักรสมอปีกทั้งสองแบบนี้นับเป็นเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 ซึ่งส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมได้ใช้เป็นต้นแบบในการออกแบบเครื่องหมายราชการประจำสังกัดของตนมาถึงปัจจุบัน
-
ตราประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ภาพจากราชกิจจานุเบกษา)
-
ธงประจำตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
-
เครื่องหมายราชการของกองบัญชาการกองทัพไทย
-
เครื่องหมายราชการของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
-
สัญลักษณ์ของโรงเรียนช่างฝีมือทหาร
สำหรับความหมายของตราจักรสมอปีก สื่อความหมายถึงเหล่าทัพทั้งสามเหล่าซึ่งรวมกันเป็นกองทัพไทย ได้แก่
- จักร หมายถึงกองทัพบก
- สมอ หมายถึงกองทัพเรือ
- ปีก หมายถึงกองทัพอากาศ
หน่วยงานในสังกัด
กระทรวงกลาโหม มีการแบ่งส่วนราชการระดับกรมออกเป็น 5 หน่วยงาน ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551[2] และพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556[3] ดังนี้
- สำนักงานรัฐมนตรี มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมืองของรัฐมนตรี และมีหน้าที่รับผิดชอบกำกับดูแลสำนักงานจเรทหารทั่วไป
- สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีหน้าที่เกี่ยวกับงานนโยบายและยุทธศาสตร์ งานราชการประจำทั่วไปของกระทรวง
- กองทัพไทย มีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพไทย การป้องกันราชอาณาจักรและดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม ควบคุมการปฏิบัติงานของกองบัญชาการกองทัพไทย
- หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
หน่วยงานในกำกับดูแล
กระทรวงกลาโหม มีองค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ และองค์การของรัฐในความกำกับดูแล ดังนี้
- องค์การมหาชน
- รัฐวิสาหกิจ
- องค์การของรัฐ แต่ ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ.
หน่วยงานในอดีต
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๙, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 เล่ม 125 ตอนที่ 26 ก วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 หน้า 35
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 เล่ม 130 ตอนที่ 109 ก วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 หน้า 1
ดูเพิ่ม
- กองทัพไทย
- กองบัญชาการกองทัพไทย
- กองทัพบกไทย
- กองทัพเรือไทย
- กองทัพอากาศไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย
- ปลัดกระทรวงกลาโหมของไทย
- ที่ปรึกษากระทรวงกลาโหมของไทย
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์ กระทรวงกลาโหม เก็บถาวร 2021-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ กระทรวงกลาโหม (ประเทศไทย)
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์