ตำบลสนามชัย (อำเภอเมืองสุพรรณบุรี)
ตำบลสนามชัย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Sanam Chai |
เจดีย์ทหารนิรนามที่วัดสนามไชย | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | เมืองสุพรรณบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 21.87 ตร.กม. (8.44 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 10,905 คน |
• ความหนาแน่น | 498.63 คน/ตร.กม. (1,291.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 72000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 720118 |
องค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย | |
---|---|
พิกัด: 14°30′13.8″N 100°08′24.5″E / 14.503833°N 100.140139°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | เมืองสุพรรณบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 21.87 ตร.กม. (8.44 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 10,905 คน |
• ความหนาแน่น | 498.63 คน/ตร.กม. (1,291.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06720114 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 288 หมู่ 5 ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 |
เว็บไซต์ | www |
สนามชัย เป็นตำบลในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลสนามชัย มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลโพธิ์พระยา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลดอนมะสังข์ และตำบลดอนตาล
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลไผ่ขวาง ตำบลท่าระหัด และตำบลท่าพี่เลี้ยง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลรั้วใหญ่ และตำบลพิหารแดง
ประวัติ
[แก้]สนามชัย เดิมเป็นพื้นที่ของตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2475 ทางจังหวัดสุพรรณบุรีได้ยุบพื้นที่ตำบลหัวเวียง รวมเข้ากับตำบลพิหารแดง[3] ก่อนที่ปี พ.ศ. 2519 นายสอน สุทธิสาร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ประกาศแยก 6 หมู่บ้านด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน ของเขตตำบลพิหารแดง ได้แก่ หมู่ 1 บ้านหัวถนน, หมู่ 2 บ้านกิโลแปด, หมู่ 3 บ้านหัวเกาะ, หมู่ 7 บ้านสนามชัย, หมู่ 8 บ้านหัวเวียง และหมู่ 10 บ้านดอนโพธิ์ ออกมาตั้งเป็นตำบลสนามชัย[4][5] โดยอนุมัติจากนายคนึง ฦาไชย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลสนามชัยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านหัวถนน
- หมู่ที่ 2 บ้านกิโลแปด
- หมู่ที่ 3 บ้านหัวเกาะ
- หมู่ที่ 4 บ้านหัวเวียง
- หมู่ที่ 5 บ้านสนามชัย
- หมู่ที่ 6 บ้านดอนโพธิ์
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ตำบลสนามชัยเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลสนามชัยหลังจากจัดตั้งตำบลขึ้น[4] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลสนามชัยมี 6 หมู่บ้าน พื้นที่ 21.87 ตารางกิโลเมตร ประชากร 7,682 คน และ 2,313 ครัวเรือน[6] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลสนามชัยอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (102 ง): 6–49. วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543
- ↑ "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับโคกหม้อซึ่งยุบไปรวมกับตำบลท่าพี่เลี้ยง และตำบลหัวเวียงซึ่งยุบไปรวมกับตำบลพิหารแดง ในท้องที่ อำเภอท่าพี่เลี้ยง จัหงวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ก): 692. วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2475
- ↑ 4.0 4.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (115 ง): 2676–2679. วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2519
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (118 ง): 2727–2730. วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2519
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539