หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร
หม่อมเจ้า ชั้น 5
หม่อมเจ้าขจรจบกิติคุณ-หม่อมราชวงศ์วิจิตรโฉม กิติยากร.jpg
หม่อมเจ้าขจรจบกิติคุณ และหม่อมราชวงศ์วิจิตรโฉม กิติยากร หม่อม
หม่อมหม่อมราชวงศ์วิจิตรโฉม กิติยากร
บุตรหม่อมราชวงศ์สฤษดิคุณ กิติยากร
หม่อมราชวงศ์เกียรติคุณ กิติยากร
หม่อมราชวงศ์สุจิตคุณ สารสิน
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
พระมารดาหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร
ประสูติ15 มีนาคม พ.ศ. 2444
สิ้นชีพตักษัย28 มกราคม พ.ศ. 2510 (65 ปี)
ธรรมเนียมพระยศของ
พันตรี หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนกระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับกระหม่อม/เพคะ

พันตรี หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร (15 มีนาคม พ.ศ. 2444 - 28 มกราคม พ.ศ. 2510) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ กับหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร (ราชสกุลเดิม เทวกุล)

หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนราชวิทยาลัย สมัยบางขวางแล้ว ก็ทรงศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อพ.ศ. 2457 จบหลักสูตรโรงเรียนนายร้อยทหารบก รับราชการทหารบก ประจำกรมจเรทหารบกเมื่อพ.ศ. 2466 ทรงสอนวิชาประวัติศาสตร์ทหารที่โรงเรียนเสนาธิการทหาร กระทรวงกลาโหม ทรงก่อตั้งโรงเรียนการปืนกลสำหรับนายทหารที่จังหวัดสระบุรี จากนั้นเข้าประจำกรมทหารมหาดเล็ก และกรมจเรทหารราบ ตามลำดับ

หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ ได้รับพระราชทานยศพันตรี ประจำกรมเสนาธิการทหารบก ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ไปศึกษาต่อโรงเรียนเสนาธิการทหาร ที่กรุงปารีส แต่ยังไม่ทันจบก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทรงถูกปลดประจำการ และต้องเสด็จกลับประเทศไทย

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นอาจารย์พิเศษที่คณะอักษรศาสตร์ และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทรงดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฝรั่งเศส

หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ เป็นนักร้องประจำวงลายคราม เป็นผู้แปลหนังสือ แนวรบด้านตะวันตก เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง (All Quiet on The Western Front) จากผลงานประพันธ์ภาษาเยอรมันของ เอริค มาเรีย เรอมาร์ค (Erich Maria Remarque) ไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2472

หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์วิจิตรโฉม กิติยากร (ราชสกุลเดิม ชยางกูร; 22 มีนาคม พ.ศ. 2454 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2534) เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2477 มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่[1]

หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2510 สิริชันษา 65 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2510 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2006-10-12.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๓๐ ง หน้า ๑๒๒๔, ๑๑ พฤษภาคม ๒๔๙๗
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๗๐, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๖, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๑๕๗๕, ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๙๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๙๓๗, ๒๒ มีนาคม ๒๕๐๓