วิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดงและสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยการภาพยนตร์
ศิลปะการแสดงและสื่อใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Suan Sunandha International School of Art,
Suan Sunandha Rajabhat University
ชื่อย่อSiSA
คณบดีดร.นิรชราภา ทองธรรมชาติ
ที่อยู่
วิทยาเขตนครปฐม
อาคาร Academy of Film and Performing Arts (อาคาร 28)
เลขที่ 111/3–5 หมู่ที่ 2
ถนนศาลายา–บางภาษี ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
สี███ ███ สีส้ม สีเทา
เว็บไซต์www.sisa.ssru.ac.th

วิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดงและสื่อใหม่ (อังกฤษ: Suan Sunandha International School of Art, Suan Sunandha Rajabhat University) เป็นส่วนราชการไทยเทียบเท่าหน่วยงานระดับคณะ ในกำกับของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่มีการเรียนการสอนสาขาวิชาการศิลปะภาพยนตร์และสาขาการสร้างสรรค์และสื่อดิจิทัล หลักสูตรนานาชาติ (International Program) แห่งแรกของมหาวิทยาลัยราชภัฏ

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้มีมติอนุมัติจัดตั้ง "วิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดงและสื่อใหม่" ขึ้นมาเพื่อเป็นวิทยาลัยด้านภาพยนตร์และการแสดงระดับนานาชาติแห่งแรกของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัทเอกชนและหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่กำลังเติบโตปีละกว่า 200,000 ล้านบาท รวมถึงการเตรียมเข้าสู่การเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558

วิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เรียกชื่อย่อว่า SISA ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2555 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (เขตดุสิต) เปิดทำการเรียนการสอนปีแรกในปีการศึกษา 2556 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (เขตดุสิต) โดยใช้อาคาร 31 เป็นอาคารเรียนชั่วคราวสมัยนั้น เปิดสอนใน 2 หลักสูตร มีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 30 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 ทางวิทยาลัยฯได้เห็นชอบกับทางผู้บริหารมหาวิทยาลัย โดยย้ายวิทยาลัยการภาพยนตร์ฯ ไปยังวิทยาเขตนครปฐม เนื่องจากรองรับการขยายตัวของนักศึกษาที่มีเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี เพื่อตอบสนองตามนโยบายของมหาวิทยาลัย และมีห้องเรียนห้องปฏิบัติการที่เพียงพอต่อการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ซึ่งอาคารเรียนสร้างเสร็จสมบูรณ์พอดีในปี พ.ศ. 2559 มีจำนวนห้องเรียนที่เพียงพอในอาคารทั้งสิ้น 20 ห้อง และได้เปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาตรีมาจนปัจจุบัน มีนักศึกษาไทยและนักศึกษาชาวต่างชาติในแต่ละสาขาวิชา ในปี พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดนครปฐม มีหน่วยงานกลางที่ดูแลอำนวยความสะดวกนักศึกษา เช่น หอพัก สนามกีฬา โรงอาหาร การติดต่อยื่นเอกสาร และคณะอื่นๆที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก จำนวน 4 หน่วยงาน มีนักศึกษาประมาณ 5,000 คน [1]

สีประจำวิทยาลัย[แก้]

  •   สีส้มแสด หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองและประสบผลสำเร็จ เปี่ยมไปด้วยปัญญา
  •   สีเทา หมายถึง การผนวกศาสตร์ด้านภาพยนตร์ ศิลปะ และสื่อสมัยใหม่เข้าด้วยกัน

หลักสูตร[แก้]

ปัจจุบัน วิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาตรี จำนวน 2 หลักสูตร 4 แขนงวิชา ดังนี้

หลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดงและสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.)

  • สาขาวิชาศิลปะภาพยนตร์ หลักสูตรนานาชาติ Bachelor of Fine Arts in Cinematic Arts (International Program)
     แขนงวิชาการสร้างภาพยนตร์ ( Major in Film Production )
     แขนงวิชาศิลปะการแสดงประยุกต์ ( Major in Applied Performing Arts )
  • สาขาวิชาการสร้างสรรค์และสื่อดิจิทัล หลักสูตรนานาชาติ Bachelor of Fine Arts in Creativity and Digital Media (International Program)
     แขนงวิชาการออกแบบดิจิทัล (Major in Digital Design) 
     แขนงวิชาการตลาดดิจิทัล (Major in Digital Marketing)
- -

ทำเนียบคณบดี[แก้]

มีรายชื่อคณบดีที่ดำรงตำแหน่งตามวาระการบริหาร ดังนี้

ทำเนียบรายชื่อคณบดีวิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดงและสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีดังนี้
ลำดับที่ รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1

ผศ.เจษฏาภรณ์ อัจฉริโยภาส

รักษาราชการแทน

2

ดร.นิรชราภา ทองธรรมชาติ

ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยการภาพยนตร์ฯ (วาระที่ 1)

3

ดร.นิรชราภา ทองธรรมชาติ

ดำรงตำแหน่งคณบดีวิทยาลัยการภาพยนตร์ฯ - ปัจจุบัน (วาระที่ 2)

ทำเนียบผู้บริหารวิทยาลัยการภาพยนตร์[แก้]

รายชื่อผู้บริหารวิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และสื่อใหม่ ชุดปัจจุบันมีดังนี้

ทำเนียบผู้บริหารวิทยาลัยการภาพยนตร์วิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดงและสื่อใหม่ ปัจจุบัน มีดังนี้
ลำดับที่ รายนามผู้บริหาร ดำรงตำแหน่ง
1

ดร.นิรชราภา ทองธรรมชาติ

คณบดีวิทยาลัยการภาพยนตร์ฯ

2

อาจารย์ ต้นฝน ทรัพย์นิรันดร์

รองคณบดีฝ่ายแผนงานและประกันคุณภาพ

3

อาจารย์ พิสณฑ์ สุวรรณภักดี

รองคณบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา

4

อาจารย์ ธีรพงศ์ เสรีสำราญ

หัวหน้าสาขาวิชาศิลปะภาพยนตร์

5

อาจารย์ ศิริเดช ศิริสมบูรณ์

หัวหน้าสาขาการสร้างสรรค์และสื่อดิจิทัล

การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อ[แก้]

  • รอบ Portfolio 1/1 เดือนตุลาคม – เดือนพฤศจิกายน
  • รอบ Portfolio 1/2 เดือนธันวาคม – เดือนกุมภาพันธ์
  • รอบระบบโควต้า เดือนธันวาคม – เดือนมีนาคม
  • รอบรับตรงร่วมกัน เดือนพฤษภาคม
  • รอบ Admission เดือนมิถุนายน
  • รอบรับตรงอิสระ เดือนมิถุนายน – เดือนกรกฎาคม
  • รอบรับตรงของวิทยาลัยฯ เดือนพฤษภาคม – เดือนกรกฎาคม

ชีวิตในรั้ววิทยาลัยการภาพยนตร์ฯ (Facilities)[แก้]

ทางวิทยาลัยฯ มีสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อบริการนักศึกษาต่าง ๆ ดังนี้

  • การยืมอุปกรณ์ด้านการภาพยนตร์และอุปกรณ์อื่นๆ สามารถยืมได้ครั้งละไม่เกิน 7 วัน / สัปดาห์
  • มีห้องสืบค้นคว้า – หาความรู้เพิ่มเติมได้ภายในเวลาราชการตั้งแต่ เวลา 08.30 – 16.30 น.
  • มีบริการรถตู้รับ – ส่งจากจุดศาลายา หน้ามหาวิทยาลัยมหิดล บริเวณหน้าประตู 4 มาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดนครปฐม ค่าบริการรถตู้รับ – ส่ง 20 บาท / ครั้ง
  • มีห้องสตูดิโอบริการให้ยืม ห้องปรับอากาศเย็นสบาย ไม่คิดค่าบริการใดๆทั้งสิ้น
  • มีห้องเรียนการแสดง ห้องปรับอากาศเย็นสบาย หลังเลิกเรียนสามารถซ้อมการแสดงได้
  • การเรียนที่วิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดงและสื่อใหม่ ห้องปรับอากาศทั้งห้องเรียนบรรยายและห้องปฏิบัติ
  • มีห้องเรียนบรรยาย ห้องมินิเทียร์เตอร์สำหรับฉายหนังในคาบเรียนได้อย่างสมบูรณ์แบบ
  • มีศูนย์อาหารขนาดกลางตั้งใหญ่ภายในศูนย์การศึกษา บริการนักศึกษาในด้านต่างๆ มีอาหารไทย อาหารต่างชาติ และอาหารอิสลาม
  • มีมินิมาร์ทจำหน่าย ขนม อาหาร น้ำ ของใช้สำคัญบริการนักศึกษา

รูปแบบการเรียนการสอน[แก้]

ทางวิทยาลัยฯได้จัดให้มีการเรียนการสอนในทุกรายวิชาเรียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เพราะเป็นหลักสูตรนานาชาติ โดยเน้นให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้จริงและปฏิบัติได้หลังจากเรียนในห้องเรียน มีการบูรณาการเรียนการสอนจากหลายวิชา ซึ่งในแต่ละสาขาวิชาจะมีนักศึกษาต่างชาติร่วมเรียนด้วย

รางวัลและผลงานนักศึกษา[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ นายอานันท์ ตันติวรศรี, โครงการคลิปสุดเจ๋ง Fun มันส์ทุกกูรู โรลเลอร์ โคสเตอร์ บริษัทยูอาร์ซี จำกัด ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560
  • รางวัลชมเชย นายศรัณญ์ โฆษิตเจริญ นางสาวกชกร แจ่มกระจะ นายวิชยยุตถ์ พรประเสริฐและ นายกิตติธัช ศรีพิชิต, โครงการประกวดภาพยนตร์สั้น ลูกไม้ใต้ต้น 6+6 กรมพัฒนาแรงงาน ปี พ.ศ. 2559
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายธีรพล กัณหาไชย, คลิปวิดีโอโครงการสร้างสรรค์ปันนน้ำใจ ปี พ.ศ. 2558
  • รางวัลชมเชยอันดับ 1 นางสาวตนิสา วุฒิเบญจพลชัย นางสาวอินทุอร ภิรมย์ฤทธิ์ นายธีรพล กัณหาไชย นายพนธกร ลีพัฒนากิจ, โครงการประกวดวิดีโอ ประหยัดพลังงาน ของกระทรวงพลังงาน ในหัวข้อ "คลิปวิดีโอ Balance Energy Clip Contest" กระทรวงพลังงาน ปี พ.ศ. 2558
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 นายธีรพล กัณหาไชย และนางสาวตนิสา วุฒิเบญจพลชัย โครงการ NFPA FAIR SHORT FILM "หัวข้อเลือกรัก รู้จัก Safe" สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ปี พ.ศ. 2558
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายอานันท์ ตันติวรศรี นายจริวัฒน์ กองแก้ว นายธนโชติ ง้อสุรเชษฐ์ นายสันหกช ตรีนาถเกษม โครงการ Viral Clip ประกันภัยออนไลน์ บริษัททิพยประกันภัย ปี พ.ศ. 2558
  • รางวัลชมเชย นายธีรพล กัณหาไชย และนางสาวตนิสา วุฒิเบญจพลชัย โครงการ John Henry Story Awards ปี พ.ศ. 2558
  • รางวัลชนะเลิศ นางสาวธารีณี ชุติเมธาลักษณ์ โครงการบทประกวดวิจารณ์ภาพยนตร์ครั้งที่ 4 จากสถาบันปรีดีพนมยงค์ ปี พ.ศ. 2558
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายณัฏฐ์ มฤศโชติ นางสาวพิมพ์นารา พันธิ์ฤทธิ์ดำ นางสาวอินทุอร ภิรมย์ฤทธิ์ นายพนธกร ลีพัฒนากิจ และนางสาวจุฬาลักษณ์ เนียมหะ ประกวดภายในงานภาพยนตร์สั้นวิทยาศาสตร์ ขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ปี พ.ศ. 2558
  • รางวัลชนะเลิศ นางสาววรางคณา แก้วนาขา นายพนธกร ลีพัฒนากิจ นายณัฏฐ์ มฤศโชติ นายธีรพล กัณหาไชย และนางสาวตนิสา วุฒิเบญจพลชัย การประกวดภาพยนตร์การเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาครั้งที่ 13 ปี พ.ศ. 2557
  • รางวัลชมเชย นางสาวตนิสา วุฒิเบญจพลชัย นางสาวพิมพ์นารา พันธิ์ฤทธิ์ดำ นายพนธกร ลีพัฒนากิจ และ นายเวทพิสิฐ วงศ์ทิพยสถาน โครงการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียขยายผลองค์ความรู้ สำนักงานเลขาธิการ ปี พ.ศ. 2557
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นางสาวตนิสา วุฒิเบญจพลชัย โครงการประกวดภาพถ่ายวังสวนสุนันทา ปี พ.ศ. 2557
  • รางวัลชนะเลิศ นางสาววรนันท์ ปัญญาวงศ์ โครงการ DJ Paka Pioneer lady DJ ของ Siam 2 nite ปี พ.ศ. 2557
  • รางวัลชนะเลิศ นายธีรพล กัณหาไชย นางสาวตนิสา วุฒิเบญจพลชัย นายพนธกร ลีพัฒนากิจ และนายณัฏฐ์ มฤศโชติ โครงการ SSRU Music video awards จากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปี พ.ศ. 2557
  • รางวัลชนะเลิศ นายธีรพล กัณหาไชย นางสาวตนิสา วุฒิเบญจพลชัย นายพนธกร ลีพัฒนากิจ นางสาวพิมพ์นารา พันธิ์ฤทธิ์ดำ และ นางสาวอินทุอร ภิรมย์ฤทธิ์ โครงการประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกร่วมต้านทุจริตเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาล สำนักคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ปี พ.ศ. 2557
  • รางวัลชนะเลิศ นายอานันท์ ตันติวรศรี ประกวดโฆษณาแมลงทอดไฮโซ จากหน่วยงาน SME แมลงทอดไฮโซ ปี พ.ศ. 2556
  • รางวัลชนะเลิศ นายสันหกช ตรีนาถเกษม โครงการ K switch short film จากหน่วยงาน K Swiss ปี พ.ศ. 2556

การวางแผนเดินทาง (Travel)[แก้]

การเดินทางโดยรถยนต์[แก้]

เส้นทางถนนสายเพชรเกษม เลี้ยวเข้าแยกถนนพุทธมณฑล สาย 4 ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยมหิดล ขับมาเรื่อยผ่านหอนาฬิกาจนมาถึงแยกสถานีตำรวจภูธรศาลายาแล้วเลี้ยวขวา ขับมาเรื่อย (ระยะทางอีกประมาณ 10 กิโลเมตร) จนเห็นป้ายมหาวิทยาลัยด้านหน้าทางเข้าซอย เลี้ยวซ้ายขับมาตามถนนจนเห็นที่ตั้ง มหาวิทยาลัย วิทยาเขตนครปฐม สามารถขับมาตามเส้นทางถนนปิ่นเกล้า – นครชัยศรี เข้าได้ 3 ทาง คือ

  • จากสี่แยกสะพานกรุงธนบุรี ตรงมาตามถนนสายปิ่นเกล้า – นครชัยศรี
  • จากสี่แยกสะพานพระปิ่นเกล้า ตรงมาตามถนนสายปิ่นเกล้า – นครชัยศรี
  • จากปากทางบางขุนนนท์ เข้ามาทางตลิ่งชันแล้วเลี้ยวซ้ายมาบรรจบกับถนนปิ่นเกล้า – นครชัยศรี

การเดินทางโดยรถประจำทาง รถทัวร์โดยสาร รถตู้[แก้]

โดยลงที่ป้ายประตู 4 มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วต่อแท็กซี่หรือรถตู้ของมหาวิทยาลัยเข้ามา โดยสายรถเมล์ที่มาถึงศาลายามีดังนี้

  • สาย 84ก (วงเวียนใหญ่ - ศาลายา)
  • สาย 124 (สนามหลวง - มหิดล)
  • สาย 125 (สะพานกรุงธน - มหิดล)
  • สาย 388 (ปากเกร็ด - ศาลายา)
  • สายปอ. 515 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - ศาลายา)
  • สาย 556 (สถานีรถไฟมักกะสัน - วัดไร่ขิง)
  • สายปอ.547 (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ - สถานีขนส่งจตุจักร)
  • รถทัวร์โดยสารกรุงเทพฯ - นครปฐม ขึ้นได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ซึ่งสามารถบอกให้รถจอดบริเวณตลาดพุทธ แล้วนั่งมอเตอร์ไซต์ต่อมาที่หน้ามหาวิทยาลัยมหิดลประตู 4 แล้วต่อด้วยแท็กซี่หรือรถตู้ของมหาวิทยาลัย
  • รถตู้ปรับอากาศ (เซ็นทรัลปิ่นเกล้า – มหิดลศาลายา) ขึ้นรถที่ปั๊มน้ำมันข้างเซ็นทรัลปิ่นเกล้า
  • รถตู้ปรับอากาศ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – มหิดลศาลายา) ขึ้นรถที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิตรงป้ายหน้าโรงพยาบาลราชวิถี

การเดินทางโดยรถไฟสายใต้[แก้]

ขึ้นได้ที่สถานีธนบุรี (ใกล้ โรงพยาบาลศิริราช) หรือสถานีหัวลำโพง หรือสถานีนครปฐม โดยขบวนเที่ยวต่างๆ จะผ่านสถานีศาลายา ให้ลงที่สถานีศาลายาแล้ว นั่งรถรับจ้างเข้ามามหาวิทยาลัย หรือใช้บริการแท็กซี่โดยใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 30 นาที ระยะทางจากศาลายามาถึงมหาวิทยาลัย วิทยาเขตนครปฐม ประมาณ 10 กิโลเมตร

ความร่วมมือทางวิชาการ (National and International Collaborations)[แก้]

ความร่วมมือระดับนานาชาติ (Internationals)[แก้]

ความร่วมมือภายในประเทศ (Domestic)[แก้]

  • Imagin Design กลุ่มบริษัทอิเมจิน [ต้องการอ้างอิง]
  • เครือข่ายการ์ตูนไทย สร้างสรรค์สังคม
  • Kantana บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด(มหาชน)
  • SiPA สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ [ต้องการอ้างอิง]
  • สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ
  • TDEC สมาพันธ์สมาคมดิจิตอลคอนเทนต์บันเทิงไทย
  • สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย
  • สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย [ต้องการอ้างอิง]
  • สมาคมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย [ต้องการอ้างอิง]
  • บริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น จำกัด
  • บริษัท เดอะ มั๊งค์ สตูดิโอ จำกัด
  • บริษัท เซอร์เรียล สตูดิโอ จำกัด
  • บริษัท เชลล์ฮัท เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จำกัด
  • บริษัท จี โมทีฟ โปรดักชั่น จำกัด

 อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]