ข้ามไปเนื้อหา

คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะศิลปนาฏดุริยางค์
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
Faculty of Music and Drama, Bunditpatanasilpa Institute
สถาปนาพ.ศ. 2542
คณบดีผศ.ดร.ขวัญใจ คงถาวร
ที่อยู่
คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ถนนราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
วารสารวารสารคณะศิลปนาฏดุริยางค์
สี  สีแสด
มาสคอต
พระพิฆเนศ
เว็บไซต์fda.bpi.ac.th

คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (อังกฤษ: Faculty of Music and Drama, Bunditpatanasilpa Institute) เป็นคณะวิชาสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มีหน้าที่ผลิตศิลปิน นักวิชาการ นักบริหารจัดการด้านนาฏศิลป์ ดนตรีไทยและคีตศิลป์ไทย

ประวัติ

[แก้]

คณะศิลปนาฏดุริยางค์ เป็นคณะวิชาหนึ่งในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มีหน้าที่ผลิตศิลปิน นักวิชาการ นักบริหารจัดการด้านนาฏศิลป์ ดนตรีไทยและคีตศิลป์ไทย เริ่มเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปบัณฑิต (ต่อเนื่อง) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับนาฏศิลป์ชั้นสูงจากวิทยาลัยนาฏศิลปทั่วประเทศเข้ามาศึกษาต่อในหลักสูตรนี้ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรเป็นเวลา 2 ปี ใน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สาชาวิชาดนตรีไทย และสาขาวิชาคีตศิลป์ไทย ในปีการศึกษา 2547 คณะวิชาได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปบัณฑิต (4 ปี) โดยเปิดการเรียนการสอนเฉพาะสาขานาฏศิลป์ไทย

ต่อมาในปีการศึกษา 2548 คณะวิชาได้ทำการเปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาดนตรีไทย และคีตศิลป์ไทย ตามลำดับ ต่อมาในปีการศึกษา 2550 คณะวิชาได้เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน เพิ่มอีก 1 สาขา โดยแบ่งเป็น 2 แขนงวิชา คือ แขนงวิชาศิลปะดนตรีพื้นบ้านอีสาน และแขนงวิชาศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสาน โดยจัดการเรียนการสอนในรูปแบบห้องเรียนเครือข่าย ณ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด และวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา โดยพยายามเน้นการควบคุมคุณภาพของหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นสำคัญ และได้มีการพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพให้ครบภารกิจของคณะศิลปนาฏดุริยางค์ จึงเร่งรัดให้มีการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในให้ครบภารกิจของคณะศิลปนาฏดุริยางค์ ในด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพและการบริหาร จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษา เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์ที่คณะศิลปนาฏดุริยางค์กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสูตร

[แก้]
หน่วยงาน
ปริญญาตรี
ปริญญาโท

ภาควิชานาฏศิลป์

หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศป.บ.)

  • สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย

หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต (ศป.ม.)

  • สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย

ภาควิชาดุริยางคศิลป์

หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศป.บ.)

  • สาขาวิชาดนตรีไทย
  • สาขาวิชาคีตศิลป์ไทย

หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต (ศป.ม.)

  • สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย

ภาควิชาศิลปะดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน

หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศป.บ.)

  • สาขาวิชาศิลปะดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]