คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ
Faculty of Fine And Applied Arts, Thaksin University
สถาปนา14 สิงหาคม พ.ศ. 2546
คณบดีผศ.ดร.ระวีวัฒน์ ไทยเจริญ
ที่อยู่
เลขที่ 140 หมู่ 4 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90000
สี  สีแดงชาด
เว็บไซต์www.art.tsu.ac.th

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ (Faculty of Fine and Applied Arts, Thaksin University) ตั้งอยู่ที่ วิทยาเขตสงขลา เลขที่ 140 หมู่ที่ 4 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

ประวัติ[แก้]

ในปี 2522 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา ได้เปิดสอนวิชาพื้นฐาน รายวิชาศิลปะและวัฒนธรรม เป็นวิชาเลือกบังคับ เลือกเสรี ในฐานะภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรม และเปิดวิชาเลือกเสรีรายวิชาพื้นฐานทางด้านดุริยางคศาสตร์ในฐานะภาควิชาดุริยางคศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ต่อมาในปีการศึกษา 2535 ได้เปิดเป็นวิชาโท สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ ในปีการศึกษา 2537 ภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรมเปลี่ยนเป็นภาควิชาศิลปกรรมโดยเปิดสอนเป็นวิชาเอกทัศนศิลป์หลักสูตร 4 ปี ในปีการศึกษา 2538 ภาควิชาดุริยางคศาสตร์ ได้เปิดสอนวิชาเอกดุริยางคศาสตร์(สากล) ในปี พ.ศ. 2539 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒภาคใต้ ได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณ จึงได้มีการปรับสภาพสาขาวิชาเอกทัศนศิลป์และสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ เป็นภาควิชาเดียวกัน คือ ภาควิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 14 สิงหาคม 2546 คณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยทักษิณ ให้จัดตั้งเป็นหน่วยงานราชการภายในมหาวิทยาลัยทักษิณ โดยแบ่งโครงสร้างองค์กรออกเป็น 4 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สำนักงานเลขานุการคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาทัศนศิลป์ สาขาวิชา ดุริยางคศาสตร์ไทย และสาขาวิชาดนตรีนานาชาติ (ดุริยางคศาสตร์สากล) 7 กุมภาพันธ์ 2548 คณะกรรมการบริหารข้าราชการมหาวิทยาลัยทักษิณ ในการประชุม ครั้งที่1/2548 มีมติให้คณะใหม่ดำเนินการโดยมีสำนักงานเลขานุการคณะเป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน การบริหารงบประมาณ และมีประธานบริหารหลักสูตรทำหน้าที่บริหารจัดการด้านวิชาการของหลักสูตรต่างๆ สังกัดคณะฯ ทั้งนี้ให้ยกเลิกตำแหน่งหัวหน้าสาขาวิชา

สัญลักษณ์ประจำคณะ[แก้]

  • ปรัชญา ปัญญา จริยธรรม นำการพัฒนาศิลปกรรมเพื่อชีวิตและสังคมที่สมบูรณ์
  • สีประจำคณะ ได้แก่ แดงชาด

หลักสูตร[แก้]

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาดังนี้

ปริญญาตรี

ดุริยางคศาสตรบัณฑิต

  • สาขาดุริยางศาสตร์สากล
  • สาขาดุริยางศาสตร์ไทย

ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาศิลปะการแสดง
    • เอกโนรา
    • เอกนาฏศิลป์ไทย
    • เอกการละคร
  • สาขาทัศนศิลป์
    • เอกจิตรกรรม
    • เอกประติมากรรม
    • เอกศิลปะภาพพิมพ์
    • เอกศิลปะไทย
  • สาขาศิลปะการออกแบบ
    • เอกการออกแบบกราฟิก
    • เอกการออกแบบผลิตภัณฑ์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]