วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยดุริยศิลป์
มหาวิทยาลัยพายัพ
Duriyaslip College of Music
คติพจน์ให้ดู ให้อ่าน ให้คิด...
คณบดีธวัช อัศวเดชาฤทธิ์
ที่อยู่
วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ เขตแก้วนพรัฐ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000
สี  สีดำ
เว็บไซต์music.payap.ac.th

วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ (อังกฤษ: Duriyaslip College of Music) เป็นวิทยาลัยดนตรีชั้นนำของประเทศ และในภาคเหนือ เป็นวิทยาลัยดนตรีแห่งที่สี่ของประเทศไทย ต่อจาก วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ (มหิดล), คณะดุริยางคศาสตร์ และ วิทยาลัยดนตรี โดยมีวิทยาลัยดนตรีที่เปิดพร้อมกันในปีนั้นสองโรงเรียนคือ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ (มหาสารคาม) และ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา คือก่อตั้งในปี พ.ศ. 2551

ประวัติ[แก้]

เดิมมีสถานะเป็น สาขาวิชา สังกัดคณะมนุษยศาสตร์ นับเป็น 1 ใน 8 สาขาวิชาแรกที่เปิดดำเนินการพร้อมกับการก่อตั้งวิทยาลัยพายัพเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยมีอาจารย์แคโรลีน คิงสฮิลล์ เป็นหัวหน้าสาขาวิชาดุริยศิลป์คนแรก ในปี พ.ศ. 2548 ภาควิชาดุริยศิลป์ได้ปรับปรุงหลักสุตรและจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ที่มีความต้องการผู้เชี่ยวชาญดนตรีเฉพาะทางมากขึ้น โดยแบ่งกลุ่มวิชาออกเป็น 6 แขนงวิชา คือ ดนตรีศึกษา ดนตรีเชิงพาณิชย์ การประพันธ์เพลง ดนตรีแจ๊ส ดนตรีศาสนา และการแสดงดนตรี การจัดกลุ่มแขนงวิชาทำให้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนในกลุ่มแขนงวิชาที่นักศึกษาสนใจเป็นพิเศษ ตามความถนัดของแต่ละคน สามารถพัฒนาทักษะให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและสามารถแข่งขันในตลาดแรงงานได้ ในปี พ.ศ. 2549 ภาควิชาดุริยศิลป์ได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยศิลป์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา 4 แขนงวิชา คือ ดนตรีศึกษา ดนตรีชาติพันธุ์ การประพันธ์เพลง และการแสดงดนตรีสากล จากการขยายงานด้านการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ ในปี พ.ศ. 2551 ภาควิชาดุริยศิลป์จึงได้รับการปรับสถานภาพเป็นวิทยาลัยดุริยศิลป์

หลักสูตร[แก้]

ปริญญาตรี
ปริญญาโท
หลักสูตรประกาศนียบัตร
หลักสูตรระยะสั้น

หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Fine Art)[1]

  • แขนงวิชาการประพันธ์เพลง (Composition)
  • แขนงวิชาการแสดงดนตรีสากล (Instrumental Performance)
  • แขนงวิชาการแสดงขับร้อง (Vocal Performance)
  • แขนงวิชาการแสดงดนตรีจีน (Chinese Instrumental Performance)

หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Fine Art)

  • แขนงวิชาดนตรีศึกษา (Music Pedagogy)
  • แขนงวิชาการประพันธ์เพลง (Composition)
  • แขนงวิชาการแสดงดนตรีสากล (Instrumental Performance)

หลักสูตรประกาศนียบัตร (Commercial Music)

  • หลักสูตรเทคโนโลยีดนตรี (Music Technology)
  • หลักสูตรการประพันธ์ดนตรีเพื่อการพาณิชย์ (Commercial Music Composition)
  • หลักสูตรการตลาดดนตรี (Music Business)

หลักสูตรระยะสั้น 1 - เตรียมความพร้อมสู่นักเรียนดุริยางค์ทหารบก

  • หลักสูตรเตรียมความพร้อมสู่นักเรียนดุริยางค์ทหารบก

หลักสูตรระยะสั้น 2 - เตรียมความพร้อมสู่การศึกษาสาขาดนตรีในระดับอุดมศึกษา

  • หลักสูตรเตรียมความพร้อมสู่การศึกษาสาขาดนตรีในระดับอุดมศึกษา

หลักสูตรระยะสั้น 3 – หลักสูตรการเรียบเรียงบทเพลงขั้นพื้นฐาน

  • หลักสูตรการเรียบเรียงบทเพลงขั้นพื้นฐาน

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]