วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยดนตรี
มหาวิทยาลัยรังสิต
The Conservatory of Music
Rangsit University
คติพจน์Making the impossible possible
(ทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้)
สถาปนาพ.ศ. 2545
คณบดีผศ.ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ
ที่อยู่
อาคารวิทยาลัยดนตรี (อาคาร 17) มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถนนเอกประจิม ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000
วารสารวารสารดนตรีรังสิต (TCI Tier 1)
สี███ สีส้ม
เว็บไซต์rsu.ac.th/music

วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นวิทยาลัยดนตรีแห่งที่สามของประเทศไทย ต่อจาก วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ (มหิดล) และ คณะดุริยางคศาสตร์ ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2545 โดย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต

ประวัติ[แก้]

เดิมก่อนมีวิทยาลัยดนตรี นักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตเรียนวิชาดนตรีซึ่งเป็นวิชาเลือกภายใต้การสอนของหน่วยงานศูนย์วัฒนธรรมของมหาลัย โดยมีอาจารย์ธเนศ ศรีวงษ์ และอาจารย์สุวิวัฒน์ ธินิวัฒนารักษ์(สมเกียรติ หอมยก) โดย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ มีความต้องการให้มหาวิทยาลัยรังสิตมีสถาบันการเรียนดนตรีเฉพาะให้มหาวิทยาลัยรังสิตมีหลักสูตรการเรียนการสอนรอบด้าน

วิทยาลัยดนตรีถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546 โดยเชิญ ดร.ภาธร ศรีกรานนท์ มาเป็นคณบดีแก้ขัดไปก่อนโดยที่ ดร.อาทิตย์ ได้ติดต่อกับอาจารย์เด่น อยู่ประเสริฐ ซึ่งขณะนั้นกำลังศึกษาปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยโคโลราโดเหนือ มาเป็นคณบดีไว้แล้ว

วิทยาลัยดนตรีเริ่มแรกได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสี่แขนงคือ การประพันธ์เพลง, ดนตรีแจ๊สศึกษา, การแสดงดนตรี, และการผลิตดนตรี ซึ่งในปี พ.ศ. 2547 ดร.เด่น ได้เพิ่มแขนงการแสดงดนตรีและการสอนเพิ่ม, ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีโครงการที่จะเปิดสอนแขนงดนตรีบำบัด แต่ไม่มีนักศึกษาเข้าเรียน, และปี พ.ศ. 2552 อาจารย์บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ์ ได้เสนอให้มีแขนงการประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์และมัลติมีเดียขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีที่เดียวในเมืองไทยที่มีการสอนแขนงวิชานี้

วิทยาลัยดนตรี มีความแตกต่างเป็นพิเศษจากสถาบันดนตรีแห่งอื่นคือ ที่นี่นักศึกษาปริญญาตรีทุกคนจะต้องสอบวิชาเหมือนกัน(ยกเว้นเครื่องดนตรี) โดยเมื่อเข้าไปศึกษาแล้ว นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งจะต้องเรียนรวมโดยจะเลือกแขนงที่จะเข้าในชั้นปีที่สองนั้น ต้องได้ระดับผลการเรียนเป็น B+ หรือ A ตามวิชาต่างๆ

ทำเนียบคณบดี[แก้]

  • พ.ศ. 2545-2546 ดร.ภาธร ศรีกรานนท์
  • พ.ศ. 2546-2560 ผศ.ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ
  • พ.ศ. 2560-2561 รศ.ดร.วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น (รักษาการ)
  • พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน ผศ.ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ

หลักสูตร[แก้]

ต่ำกว่าปริญญาตรี
ปริญญาตรี
ปริญญาโท

ระดับเตรียมอุดมดนตรี ม.4-ม.6

ดุริยางคศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Music)

  • แขนงการผลิตดนตรี (Music Production)
  • แขนงเทคโนโลยีวิศวกรรมดนตรี (Music Engineering Technology)
  • แขนงการออกแบบเสียงและการประพันธ์เพลงประกอบสื่อ (Sound and Media Composition)
  • แขนงการประพันธ์เพลงร่วมสมัย (Composition)
  • แขนงการประพันธ์เพลงสมัยนิยม (Songwriting)
  • แขนงการแสดงดนตรีคลาสสิก (Instrumental Performance)
  • แขนงการแสดงเปียโน (Piano Performance)
  • แขนงการแสดงกีตาร์คลาสสิก (Guitar Performance)
  • แขนงการแสดงขับร้อง (Voice Performance)
  • แขนงดนตรีแจ๊สและการแสดงเชิงปฏิภาณ (Jazz and Contemporary Improvised Music)

หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Music)

  • แขนงการแสดงและการสอนดนตรี (Performance and Pedagogy)
  • แขนงการประพันธ์เพลงร่วมสมัย (Composition)
  • แขนงดนตรีแจ๊สศึกษา (Jazz Studies)
  • แขนงทฤษฎีดนตรี (Music Theory)

กิจกรรมการแสดงและวงดนตรี[แก้]

  • Rangsit University Symphony Orchestra
  • RSU Chorus
  • RSU Piano Trio
  • RSU Chamber Orchestra
  • RSU String Quartet
  • RSU Wind Ensemble
  • RSU Brass Choir
  • RSU Percussion Ensemble
  • RSU Jazz Ensemble
  • RSU Guitar Ensemble
  • RSU Opera and Musical Theatre

ศูนย์บริการทางวิชาการดนตรี[แก้]

  • RSU Music Academy สถาบันดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป
  • RSU Music Production Center ศูนย์การผลิตดนตรี ประพันธ์เพลง บันทึกเสียง ผสมเสียง
  • RSU Artist Management ศูนย์การบริหารจัดการศิลปิน

การสอบปฏิบัติ (Audition)[แก้]

หลักสูตรดุริยางคศาสตร์บัณฑิต และดุริยางคศาสตร์มหาบัณฑิต

  • เล่น และ/หรือ ร้อง บันไดเสียง เมเจอร์และไมเนอร์ (Major/Minor Scales) รวมถึงอาร์เปจิโอ (Arpeggio)
  • ทดสอบทักษะการอ่านและการร้องโน้ต (Sight Reading/Sight Singing)
  • ทดสอบโสตทักษะ (Aural Skills)
  • บรรเลงบทเพลงที่แตกต่างยุคสมัย 2-3 บทเพลง ซึ่งสามารถเลือกได้จาก เพลงเดี่ยว (solo repertoire) เช่น โซนาตา (sonata) หรือ คอนแชร์โต (concerto), แบบฝึกหัด (études), หรือท่อนเด่นจากบทเพลงออร์เคสตรา (orchestral excerpts) เป็นต้น

การสอบข้อเขียน[แก้]

  • ทฤษฎีดนตรี (Music Theory)
  • โสตทักษะ (Aural Skills)
  • ประวัติดนตรี (Music History)
  • ความรู้เบื้องต้นทางดนตรีคอมพิวเตอร์ (Basic Knowledge in Computer Music) สำหรับแขนงวิชาการผลิตดนตรีและดนตรีประกอบภาพยนตร์และมัลติมีเดีย
  • ภาษาอังกฤษ (English for Graduate Studies) เฉพาะหลักสูตรมหาบัณฑิต
  • เสนอผลงานการประพันธ์เพลง (Composition Portfolio Evaluation) สำหรับแขนงวิชาการประพันธ์เพลง

ทุนการศึกษา[แก้]

มหาวิทยาลัยรังสิต มอบทุนความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี ซึ่งเป็นทุนการศึกษาพระราชทาน ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเป็นทุนการศึกษาตลอดหลักสูตรจำนวนปีละ 10 ทุน

ผลงานดีเด่นของนักศึกษา[แก้]

  • นายโสภณ สุวรรณกิจ ศิษย์เก่าแขนงดนตรีแจ๊สศึกษา มีผลงานแสดงดนตรีหลายแห่ง ออกอากาศช่องไทยพีบีเอสบ่อยครั้ง
  • นายเก่งฉกาจ เก่งการค้า ศิษย์เก่าแขนงวิชาดนตรีแจ๊สศึกษา ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภท Individual Performance การประกวด Thailand Jazz Competition ครั้งที่ 6 เมื่อวันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2554
  • นางสาวบัณฑิตา ประชามอญ ศิษย์เก่าแขนงวิชาดนตรีแจ๊สศึกษา ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทขับร้อง การประกวด Thailand Jazz Competition ครั้งที่ 6 เมื่อวันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2554
  • นายเอกพันธ์ วรรณสุทธิ์ ศิษย์เก่าแขนงวิชาดนตรีแจ๊สศึกษา ได้รับถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รางวัลชนะเลิศรางวัลนักร้องยอดเยี่ยม การประกวด KPN AWARD 2010 เมื่อวันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553 และรางวัลชนะเลิศ The Voice Thailand All Stars
  • นายสุระศักดิ์ อุตสาห์ ศิษย์เก่าแขนงการประพันธุ์และอาจารย์ประจำแขนงวิชาการประพันธ์เพลง ได้รับรางวัล Young Thai Artist Award 2006 และ 2008 สาขาดุริยวรรณกรรม จัดโดยมูลนิธิปูนซิเมนต์ไทย
  • วง RSCM ของนักศึกษาแขนงวิชาดนตรีแจ๊สศึกษา ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดดนตรีแจ๊ส 98.5 Breeze FM UBC True Jazz Challenge 2006
  • นักศึกษาวิทยาลัยดนตรีร่วมแสดงและร่วมประพันธ์เพลง ในพิธีเปิด-ปิดการแข่งขัน กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007 ครั้งที่ 24
  • ตำรา "หลักการประพันธ์เพลง" (Principles of Music Composition) โดย นายลัญฉนะวัต นิมมานรตนกุล ศิษย์เก่า แขนงวิชาการประพันธ์เพลง วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วง neXt GENeration ของนักศึกษาแขนงวิชาดนตรีแจ๊สศึกษา ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดดนตรี University Academy Contest เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2551

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]