หลวงไก่
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
หลวงไก่ เป็นนักร้องลูกทุ่ง สไตล์ที่เรียกว่าลูกทุ่งเพื่อชีวิตสำเนียงใต้ ที่มีผลงานเพลงออกมาแล้ว 2 ชุด และได้รับการตอบรับจากแฟนเพลงเป็นอย่างดี
หลวงไก่ | |
---|---|
ชื่อจริง | สมพงษ์ จิตรเที่ยง |
ชื่อเล่น | ไก่ |
เกิด | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 (48 ปี) จังหวัดตรัง ประเทศไทย ![]() |
แนวเพลง | ลูกทุ่ง, เพื่อชีวิต |
อาชีพ | นักร้อง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | อาร์สยาม |
ส่วนเกี่ยวข้อง | เอกชัย ศรีวิชัย |
ประวัติ[แก้]
หลวงไก่ มีชื่อจริงว่า สมพงษ์ จิตรเที่ยง เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ 2515[1] ที่จังหวัดตรังจบการศึกษาระดับประถมที่ โรงเรียนบ้านสุโสะ จังหวัดตรัง ระดับมัธยมที่ โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ระดับปวช.เรียนที่ ช่างอุตสาหกรรมหาดใหญ่ก่อนจะย้ายไปเรียนต่อที่เทคนิคตรัง จากนั้นก็เรียนต่อระดับ ปวส.แต่เรียนไม่จบ เพราะสนใจดนตรีมากกว่าการเรียน
หลวงไก่เล่นดนตรีมาตั้งแต่สมัยเรียนชั้น ม.1 โดยเริ่มจากการเป็นนักร้องนำของโรงเรียน พอขึ้นชั้น ม.3 ก็เริ่มเล่นคีย์บอร์ด พอมาเรียนที่เทคนิคตรัง ก็ไปเล่นดนตรีตามร้านอาหาร เนื่องจากฐานะทางบ้านไม่ค่อยดี ก็เลยยึดอาชีพร้องเพลงเล่นดนตรีเพื่อหาเงินส่งตัวเองเรียน ช่วงนั้นเขาเป็นมือกลอง เวลาเล่นก็ตีกลองร้องเพลงไปด้วย เขาเล่นดนตรีอยู่ที่จังหวัดตรังประมาณ 3 ปี ก็เริ่มออกไปเล่นต่างจังหวัด เริ่มที่เกาะสมุย นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ฯลฯ เขาไปเล่นเกือบทุกผับทั่วภาคใต้ เพราะคิดว่าต้องการหาเงินก่อน แล้วค่อยเรียนที่หลัง ก็เลยทำให้เรียน ปวส.ได้แค่ปีเดียว ก็หยุดไป
ในปี พ.ศ. 2540 เอกชัย ศรีวิชัยได้ตั้งวงดนตรีศรีวิชัย เขาก็ได้มาตีกลองให้กับวง ซึ่งเอกชัยและครอบครัวก็รักและดูแลเขาเป็นอย่างดี เอกชัยก็เลยผูกแขนรับเขาเป็นน้องบุญธรรม และไปไหนมาไหนด้วยกันตลอด เลยได้คลุกคลีกับวงการเพลง ได้เห็นเบื้องหน้าเบื้องหลังการทำงาน
ช่วงนั้นเขาได้ร้องเพลงช่วงโหมโรงเรียกคนดูเข้าชม โดยเขาร้องเพลงแนวเพื่อชีวิตและสตริง ขณะที่วงของเอกชัยเป็นลูกทุ่ง แต่ก็ปรากฏว่าเขาเรียกผุ้ชมกลุ่มวัยรุ่นเข้ามาดูได้มาก เอกชัยก็เลยให้ร้องสตริงมาตลอด ทั้งเพื่อดึงคนดูกลุ่มวัยรุ่น และให้วัยรุ่นได้รู้จักกับศิลปวัฒนธรรมแบบปักษ์ใต้ ไก่มัน "
เข้าวงการ[แก้]
เอกชัยได้พาน้องบุญธรรมเข้ามาเสนอกับ ค่าย อาร์ สยาม แนวเพลงที่เขาทำตอนแรกเป็นแนวเพลงเพื่อชีวิต พอดีทางค่ายได้ตั้งยูนิตเพลงชื่อ มีดี เร็คคอร์ด ขึ้น ซึ่งมี สนอง โสตถิลักษณ์ และ หนู มิเตอร์ เป็นผู้บริหาร ซึ่งทำเพลงเพื่อชีวิตตรงกับแนวเพลงที่เขานำเสนอพอดี ผู้บริหารค่าย อาร์ สยาม ก็เลยมอบหมายให้ พี่หนู มิเตอร์ ดูแลงานเพลงชุดนี้ให้
ผลงาน[แก้]
อัลบั้ม[แก้]
หลวงไก่ (2547)[แก้]
ขอบคุณอย่างแรง (อัลบั้มพิเศษ) (2548)[แก้]
ฉลองยอดขายชุดหลวงไก่ 5 แสนก๊อปปี้
มีเพลงพิเศษเพิ่มจากชุดแรก 2 เพลง
- เด็กช่าง...รักจริง
- หลบมาบ้านเรา
- ขวัญใจพี่หลวง
- เพื่อเธอ
- ปรารถนา
- ไม่ได้ตีสะหม้อ
- คนขี้หก
- เจ้านกน้อย
- รักทองแดง
- สาวสะตอ ม.ราม
- แอบรักอย่างแรง
- สวยตรงใจ[2]
แหลงชัดคำเดียว (2549)[แก้]
- แหลงชัดคำเดียว
- เผลอใจรัก
- คนไม่สาไร
- ขวัดดังเปล่า
- ผิดตรงไหน
- แรงใจพี่หลวง
- ฝากเพลงหอมแก้ม
- สาวสะพานควาย
- ยังไม่พร้อม
- เสียแล้วเสียไป[3]
รักหลาวรักเดียว (2550)[แก้]
- ขอที (อย่ามีปัญหา)
- สะหม้ออินเตอร์
- ขวัญใจคนยาก
- ครั้งสุดท้าย
- ฟ้าส่งเธอมา
- เด็กวิน เด็กแว้น
- อย่าหลงแผ้ว แผ้ว
- รักหลาวรักเดียว
- แหลงชัดคำเดียว
- ขอบคุณที่ยังรักกัน
- มอเตอร์ไซค์แมน[4]
แค่โทรมาบอกว่าคิดถึง (2552)[แก้]
- ขยะหัวใจ
- แค่โทรมาบอกว่าคิดถึง
- งามหน้าไหมน้อง
- ฟ้าคงมีเหตุผล
- ไม่มีเงินไม่มีรัก
- ลูกน้องลูกพี่
- เลิกราไม่เลิกรัก
- แสงไฟในเศษฟืน
- หยับเข้ามา
- ห่างกันก้าวหนึ่งถึงเข้าใจ
หลวงไก่ลายเสือ (อัลบั้มพิเศษ) (2553)[แก้]
- สู้เพื่อเธอ
- เก็บไว้นานนาน
- คิดมากไปหรือเปล่า
- เรือลำหนึ่ง
- ชีวิตหนี้
- อยากกลับบ้าน
- ยังได้อยู่
- ผงเข้าตา
- เพี้ยน
- กระดาษห่อไฟ
- 18 ฝน[5]
หลวงไก่ 5 (2554)[แก้]
- คนมีประวัติ
- ขวัญใจเด็กช่าง
- เพื่อนแท้ในวันแพ้พ่าย
- คิดถึง คิดไม่ถึง
- ท่าไม้ตาย
- วินมอเตอร์ไซค์กับนายหัว
- คอย
- เรือโคลงใจเคลง
- สัญชาติงูเห่า
- เสียหลัก
หลวงไก่ 6 พี่หลวงคนเดิม (2556)[แก้]
- พี่หลวงคนเดิม
- รับสายช้าอย่างอน
- ยาพิษร้าย
- รอ
- สละเรือ
- กรุณาวางสาย
- ต่อหน้าฉันไม่มีใคร ต่อหน้าใครไม่มีฉัน
- สะหม้อรอเธอ
- ก่อร่างสร้างฝัน
- ทางหลวงหมายเลข 1
- ลมหายใจคือเธอ
- เราจะไม่ทิ้งกัน
อัลบั้มรวมเพลง[แก้]
รวมฮิต หลวงไก่[แก้]
- แหล่งชัดคำเดียว
- แรงใจพี่หลวง
- บินหลาดง
- คนไม่สาไร
- เด็กช่างรักจริง
- เด็กช่างสาวพาณิชย์
- หลบมาอยู่บ่านเรา
- ขวัญใจพี่หลวง
- ฝากเพลงหอมแก้ม
- สาวสะตอม.ราม
- คนขี้หก
- ขวัดด้งเปล่า
- เผลอใจรัก
- แอบรักอย่างแรง
หลวงไก่ จัมโบ้ฮิต[แก้]
- เก็บไว้นานนาน
- สู้เพื่อเธอ
- แค่โทรมาบอกว่าคิดถึง
- เลิกราไม่เลิกรัก
- ใครใช้ให้ไปรักเขา
- ขอบคุณที่ยังรักกัน
- ขวัญใจพี่หลวง
- ฝากเพลงหอมแก้ม
- ขยะหัวใจ
- เศษทรายในรองเท้า
- แหลงชัดคำเดียว
- รักหลาวรักเดียว
- อย่าแหลงแผ้ว แผ้ว
- เด็กช่าง...รักจริง
- สาวสะตอ ม.ราม
- แรงใจพี่หลวง
อัลบั้มพิเศษ[แก้]
อัลบั้ม อาร์สยาม 5 ปีทอง พี่น้องร้องเพลงรัก (2550)[แก้]
เป็นอัลบั้มที่ค่ายอาร์สยามครบรอบ 5 ปีและอัลบั้มเป็นเพลงที่รวมนักร้องอาร์สยามร้องคู่กัน มีทั้งหมด 2 ชุด บ่าววีอยู่ชุดที่ 1
- ไม่เกี่ยวกับละคร - หนู มิเตอร์ & แคท รัตกาล
- บินหลาดง - หลวงไก่ & เจี๊ยบ เบญจพร
- น้องสาว - บ่าววี & บิว กัลยาณี
- น้องสาวคนดี พี่ชายคนเดิม - ยิว & เชียร์
- อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจใคร - ปีเตอร์ โฟดิฟาย & กระแต
- เด็กช่างสาวพาณิชย์ - หลวงไก่ & บิว กัลยาณี
- หนุ่มขี้เหงา สาวมาดเซอร์ - อู๋ พันทาง & สุชาดา ไวยาวัจกร
- มนต์รักไร้พรมแดน - ต้อย หมวกแดง & อันดา
- ผู้ชายถูกทิ้ง...ผู้หญิงอกหัก - ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง & นุ่น รมิดา
- ชวนร้องเพลงรัก - อู๋ พันทาง & ปี๊ดและเปรียว
อัลบั้ม พี่บ่าว สาวนุ้ย (2551)[แก้]
เป็นอัลบั้มเพลงคู่ที่บ่าววีร้องร่วมกับบิว กัลยาณี หลวงไก่ และอันดา
- ยังไม่สาย - หลวงไก่, บ่าววี, อันดา, บิว กัลยาณี
- ก้อนเกลือยังหวาน - บ่าววี & บิว กัลยาณี
- พี่บ่าวตายแน่ - หลวงไก่, บ่าววี, บิว กัลยาณี
- นับหนึ่งไปด้วยกัน - หลวงไก่ & อันดา
- หาเรื่องบอกรัก - บ่าววี & บิว กัลยาณี
- ถามข่าวปักษ์ใต้ - หลวงไก่ & อันดา
- พบรักหน้าเซเว่น - บ่าววี & บิว กัลยาณี
- ไม่เชื่อหรอก - หลวงไก่ & อันดา
- คนไกลที่ใกล้กัน - บ่าววี & บิว กัลยาณี
- คราวหน้าอย่าง้อ - หลวงไก่ & อันดา
ซิ้งเกิล[แก้]
- หิ่งห้อย (2557)
- ขอ 3 คำ (2558)
- เทริด (เพลงประกอบภาพยนตร์ เทริด) (2559)
- ชั่วข้ามคืน (2561)
- โนราห์ (เพลงประกอบภาพยนตร์ โนราห์) (2561)
- รักสายแรง ร้องร่วมกับ ใบเตย Rsiam (2562)
- หิดถิ ร้องร่วมกับ อ๊อฟ ดอกฟ้า Rsiam (2562)
ผลงานภาพยนตร์[แก้]
- รวมพลคนลูกทุ่งเงินล้าน (2556) (รับเชิญ)
- ทาสรักอสูร (2557)
- ฮักแพง (2561) รับบท หลวงไก่ (รับเชิญ)
- มนต์รักดอกผักบุ้ง เลิกคุยทั้งอำเภอ (2563)
ผลงานละคร[แก้]
ปี | เรื่อง | ออกอากาศ | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2560 | เงาอาถรรพ์ | ช่อง 8 | ทอง | |
2563 | คนเหนือฅน | ช่อง 7 | จ่าแดง | รับเชิญ |
เกียรติยศ[แก้]
รางวัลมาลัยทอง นักร้องชายยอดนิยมประจำปี พ.ศ. 2549 จากเพลง " ฝากเพลงหอมแก้ม"(ประกาศเมื่อ 28 มกราคม พ.ศ. 2550)