คนเดือนตุลา
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
คนเดือนตุลา เป็นชื่อเรียกกลุ่มบุคคลที่เข้าร่วมชุมนุม ในเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา ซึ่งส่วนมากขณะนั้นเป็นนักศึกษา โดยในปัจจุบัน กลุ่มคนเดือนตุลาบางส่วน ก็เข้าสู่แวดวงการเมืองและสังคม ในส่วน สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516 นั้นมีจำนวน 100 คน[1][2]ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยสมาชิกกลุ่มร่วมลงชื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
รายนามคนเดือนตุลาที่มีชื่อเสียง
[แก้]- กมล กมลตระกูล อนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หนึ่งในนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่ร่วมอยู่ในกลุ่ม "สภาหน้าโดม" ที่มีบทบาทในการจัดทำหนังสือ "ภัยขาว"
- กมล จันทรสร สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จังหวัดพระนคร พรรคประชาธิปัตย์
- การุณ ใสงาม อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดบุรีรัมย์
- พลเอก กฤษณ์ สีวะรา ผู้อำนวยการรักษาความสงบ ในรัฐบาล สัญญา ธรรมศักดิ์ โดยมีมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งในวันที่ 16 ตุลาคม 2516
- กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความประจำศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน อดีตนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- ก้องเกียรติ คงคา 13 ขบฎรัฐธรรมนูญ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดอุทัยธานี
- เกรียงกมล เลาหไพโรจน์ อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และอดีตที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทย
- ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ อดีตกรรมการสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2519, อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคอลัมนิสต์
- แก้วสรร อติโพธิ กรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และอดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร
- ไขแสง สุกใส อดีต ส.ส. นครพนม
- คำสิงห์ ศรีนอก รองประธานพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย
- คำนูณ สิทธิสมาน นักเขียน, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 และสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12
- จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตนายกสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และอดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
- ร้อยตรี เจริญ คันธวงศ์ สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
- พลตรี จำลอง ศรีเมือง มีบทบาทให้คำปราศัยโจมตีนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา[3]
- จงกล ศรีกาญจนา นายกสมาคมนิสิตเก่า คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้นำชมรมแม่บ้านในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- จีระ บุญมาก ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์
- ผศ.จินตนา เชิญศิริ สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516 รักษาการคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- จรุง รักชาติ อดีตนายกสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย บรรณาธิการเขียนบทความโจมตีนักศึกษา
- จิระนันท์ พิตรปรีชา อดีตกรรมการศูนย์ปวงชนชาวไทย และนักเขียนรางวัลซีไรต์
- พล.ต.ท.เจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัน รองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนที่ทำหน้าที่ดูแลกิจการลูกเสือชาวบ้าน ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สื่อมวลชน และอดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร
- จาตุรนต์ คชสีห์ อดีต ส.ส.ชุมพร นักกิจกรรม ในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม
- จำลอง คมสวาท เลขาธิการศูนย์กลางนักเรียนอาชีวะศึกษาแห่งประเทศไทย
- ชวน หลีกภัย อดีตประธานรัฐสภาไทย อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย และอดีตนายกรัฐมนตรีไทย นักการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- พล.ต.อ.ชุมพล โลหะชาละ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รองอธิบดีกรมตำรวจ ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- ชัย ราชวัตร นักหนังสือพิมพ์ และนักเขียน ในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม
- ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ นักหนังสือพิมพ์ และนักเขียน หนังสือคาราวาน ในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม
- นายกองเอก ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ กลุ่มชมรมคนรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ผู้อำนวยสถาบันพัฒนาการเมืองภาคประชาชน หนึ่งในผู้ถูกจับกุมข้อหากบฏ ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา
- พ.ต.อ.ชอบ ภัตติชาติ ผู้กำกับการโรงเรียนพลฯ ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- อาจารย์ ชิน คล้ายปาน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บันทึกภาพถ่ายทำเหตุการณ์
- ศาสตราจารย์ ชัยอนันต์ สมุทวณิช สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516
- ชัยสิริ สมุทวาณิช บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน อดีตอาจารย์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516
- พันตรี เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ สมาชิกขบวนการกระทิงแดง
- ฉลวย ศรีเกสร ผู้ประท้วงที่ถูกยิงในเหตุการณ์ 14 ตุลา ทำงานเป็นพนักงานควบคุมอุปกรณ์หนัก[4]
- รศ.ฉายศิลป์ เชี่ยวชาญพิพัฒน์ ประธานกรรมการบริษัท ทีซี รับเบอร์ อุตสาหกรรม จำกัด สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516
- พลตำรวจเอก ณรงค์ มหานนท์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล หัวหน้าโฆษกเวทีในเหตุการณ์ 6 ตุลา และนักวิชาการประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ศ.ธีรยุทธ บุญมี หัวหน้ากลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ หนึ่งในผู้ถูกจับกุมข้อหากบฏ ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา และอาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ณรงค์ เกตุทัต กรรมการอำนวยการมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516 บุตร สนั่น เกตุทัต
- ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง อดีตรองเลขาธิการฝ่ายการเมือง ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ธัญญา ชุนชฎาธาร 13 ขบถรัฐธรรมนูญ กรรมการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย กรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่
- ธานินทร์ กรัยวิเชียร มีบทบาทเป็นผู้ดำเนินรายการวิทยุของรัฐโจมตีนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ บรรณาธิการร่วม นิตยสาร “สังคมศาสตร์ปริทัศน์” อาจารย์ประจำ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พลตำรวจโท (ยศปัจจุบัน) ธีรชัย เหรียญเจริญ สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลชนะสงครามผู้รับแจ้งความจากนักศึกษาให้จับตัวจอมพลประภาส จารุเสถียร
- นายแพทย์ นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- นิวัติ กองเพียร สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516 ช่างภาพ และนักเขียน
- นพพร สุวรรณพานิช สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516 อดีตล่ามฉับพลันประจำองค์กรสหประชาชาติ และ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ดร.เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ นามปากกา ยุค ศรีอาริยะ อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิถีทรรศน์
- ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516
- ผศ.ทวี หมื่นนิกร ผู้เขียนนิตยสารชาวบ้าน ในเหตุการณ์ 14 ตุลา อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งใน13 ขบฎ รัฐธรรมนูญ
- ทรนง ศรีเชื้อ นามเดิม สุวัฒน์ ศรีเชื้อ ผู้ทำหนังสือคาราวาน
- เลียง ไชยกาล สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- ดร. ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ ประธานกรรมการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย สมาชิกกลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- ผศ.ดร.บุญส่ง ชเลธร รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- บัณฑิต เอ็งนิลรัตน์ ผู้เขียนนิตยสารชาวบ้าน ในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 13 ขบถรัฐธรรมนูญ
- ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516 ผู้ร่วมก่อตั้งและเลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย
- ปรีดี บุญซื่อ หนึ่งในผู้ถูกจับกุมข้อหากบฏ ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516 อดีตผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายพันธมิตรและธุรกิจตอบแทนลูกค้า บริษัทการบินไทย
- ประเดิม ดำรงเจริญ หนี่งในเก้านักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ถูกลบชื่อ (21-22 มิถุนายน 2516) ทำให้มีการเรียกร้องร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน อันเป็นชนวนจุดให้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ประธานพรรคสัจธรรม (พ.ศ. 2518) ซึ่งชนะเลือกตั้งทั้งสภานักศึกษา และองค์กรนักศึกษา
- ประพันธ์ คูณมี สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549
- ประหยัด ศ. นาคะนาท ชมรมวิทยุเสรี ทางสถานีวิทยุยานเกราะ ที่ออกอากาศโจมตีฝ่ายนักศึกษา ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- ปรีชา ผ่องเจริญกุล ผู้ควบคุมรถบัญชาการฝ่ายนักศึกษา อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- ประพันธ์ศักดิ์ กมลเพ็ชร ผู้เขียนหนังสือเรื่อง ธารอธิปไตย หนึ่งใน 13 ขบฎรัฐธรรมนูญ อดีตอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันสังกัดพรรคการเมืองใหม่
- ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ "ไอ้ก้านยาว" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคนแรก
- ประสาร มฤคพิทักษ์ กรรมการมูลนิธิ 14 ตุลา อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร
- ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตนายกสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2516, อดีตกรรมการผู้จัดการ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
- พลตำรวจ ประสาท ชูสาร ตำรวจในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- ประกิต หลิมสกุล ช่างภาพหนังสือพิมพ์ไทยรัฐในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ผู้ได้รับรางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2565
- ประเวศ เอมอมร นักเรียนนักศึกษาที่ถูกยิงในเหตุการณ์ 14 ตุลา
- ประสาน มีเฟื่องศาสตร์ ประธานที่ปรึกษาหนังสือพิมพ์รายวันสยาม บรรณาธิการเขียนบทความโจมตีนักศึกษา
- ปรีชา สามัคคีธรรม อดีตนายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย บรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ ธงไทย และ มหาราษฎร์
- ปรีชา การสมพจน์ อดีตช่างภาพหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ สมาชิกชมรมช่างภาพสื่อมวลชนอาวุโส ช่างถ่ายภาพในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- ประเดิม มงคลเจริญ อดีตหัวหน้าพรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทยคนแรก เจ้าของร่วมนิตยสาร “วรรณกรรมเพื่อชีวิต - ปฏิวัติความคิดติดอาวุธปัญญา
- ประยูร จรรยาวงษ์ นักวาดการ์ตูนล้อเลียนการเมือง ในเหตุการณ์ 14 ตุลา
- ร้อยตรี ประทีป ศิริขันธ์ - อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ในปี 2516
- ศาสตราจารย์ ปราโมทย์ นาครทรรพ สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ในปี 2516
- รองศาสตราจารย์ ประทุมพร วัชรเสถียร สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ในปี 2516
- ดำรง ลัทธพิพัฒน์ นักการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช อดีตเลขาธิการพรรคแนวร่วมมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2518), อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
- สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และอดีตรองนายกรัฐมนตรี
- รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พิชิต จงสถิตย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอเอ ฟุตแวร์ จำกัด หนึ่งในนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่ร่วมอยู่ในกลุ่ม "สภาหน้าโดม" ที่มีบทบาทในการจัดทำหนังสือ "ภัยขาว"
- พีระศักดิ์ จิตต์วิมลกุล ถูกยิงขาขาดในเหตุการณ์ 14 ตุลา
- พิชัย ฉัตรวนิชกุล อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เจ้าของร่วม นิตยสาร “วรรณกรรมเพื่อชีวิต - ปฏิวัติความคิดติดอาวุธปัญญา
- พิชัย รัตตกุล สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ในปี 2516
- พิเชียร อำนาจวรประเสริฐ อดีตนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 สื่อมวลชน และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
- พินิจ จารุสมบัติ อดีตรองเลขาธิการฝ่ายการเมือง ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย กลุ่มชมรมคนรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และอดีตรองนายกรัฐมนตรี
- พิภพ ธงไชย สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516 และแกนนำรุ่นแรกของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- พีรพล ตริยะเกษม ที่ปรึกษาของบริษัทยักษ์ใหญ่โฮเดอร์แบงก์ หรือ โฮลซิม ของสวิสเซอร์แลนด์ อดีตนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2516
- พจนา จันทรสันติ นักเขียน บรรณาธิการ
- พิชัย พืชมงคล ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสำนักงานกฎหมายธรรมนิติ
- พินัย อนันตพงศ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ในปี 2516
- รศ.พนม ทินกร ณ อยุธยา สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ในปี 2516 อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ประธานมูลนิธิอิศรา อมันตกุล สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ในปี 2516 อดีตนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย กรรมการอำนวยการ หนังสือพิมพ์มติชน
- พล.ต.ท.เทพ ศุภสมิต ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- ไพศาล วงศ์วรวิสิทธิ์ กรรมการสภาสถาบันอาศรมศิลป์
- ฟัก ณ สงขลา สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516 อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์
- นายกองโท ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และอดีตเลขาธิการพรรคจุฬาประชาชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พันตำรวจเอก (ยศปัจจุบัน) มนัส สัตยารักษ์ รองผู้บังคับการกองทะเบียนประวัติอาชญากร[5] สายตรวจรถวิทยุกองปราบปราม ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- มาลีรัตน์ แก้วก่า อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสกลนคร และแกนนำรุ่นที่สองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- มนตรี จึงสิริอารักษ์ 13 ขบฎรัฐธรรมนูญ อดีตพนักงานพิสูจน์อักษร นิตยสาร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ ผู้เขียนนิตยสารชาวบ้าน ในเหตุการณ์ 14 ตุลา
- มนัส เศียรสิงห์ ศิลปิน นักวาดภาพ และนักกิจกรรมในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา
- พลตำรวจเอก มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น รองอธิบดีกรมตำรวจ ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- มานะ แพร่พันธุ์ ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์บ้านเมือง บรรณาธิการเขียนบทความโจมตีนักศึกษา
- มานิตย์ ศรีสาคร บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เขียนบทความโจมตีนักศึกษา
- ศาสตราจารย์ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ในปี 2516
- ร้อยโท (ยศขณะนั้น) รณชัย ศรีสุวรนันท์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการทหารสูงสุด(ตำแหน่งปี 2544) สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ในปี 2516
- ราชันย์ วีระพันธุ์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ที่มีพื้นฐานมาจากธุรกิจท่องเที่ยว ตัวแทนนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
- เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ในปี 2516 รองประธานกรรมการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
- คุณหญิง วิมล เจียมเจริญ แกนนำสำคัญของชมรมแม่บ้านฝ่ายโจมตีนักศึกษาผ่าน สถานีวิทยุยานเกราะ ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- วัชระ เวทยะธีรางค์ นามปากกา ยอดธง ทับทิวไม้ คอลัมนิสต์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ นักเขียนและโหราจารย์ในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา
- วิทยา แก้วภราดัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
- วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ อดีตนักแสดงละครกรณีแขวนคอ 2 ช่างไฟฟ้าที่จังหวัดนครปฐม และนักวิชาการประวัติศาสตร์จีน
- พล.ต.ต.(ยศขณะนั้น) วิเชียร แสงแก้ว ผู้บังคับการกองปราบปราม ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- วิภา ดาวมณี อดีตอาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- วิสา คัญทัพ หนึ่งในนักศึกษาที่ถูกลบชื่อจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง, หนึ่งในผู้ถูกจับกุมข้อหากบฏ ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา ปัจจุบันเป็นนักเขียน และนักดนตรีเพื่อชีวิต
- วิทยากร เชียงกูล ผู้ประพันธ์บทกวี เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน และคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
- วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ บรรณาธิการที่ปรึกษานิตยสารสารคดี อดีตรองผู้อำนวยการสถานีสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
- วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน
- วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ บรรณาธิการ นิตยสารชาวบ้าน ในเหตุการณ์ 14 ตุลา
- วีระ สมความคิด ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน และเลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน
- วีรพงษ์ รามางกูร สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516
- รองศาสตราจารย์ วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน อดีตนายกสมาคมอาจารย์อุดมศึกษาแห่งประเทศไทย สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516
- วีระศักดิ์ สุนทรศรี นักเขียนในกลุ่ม "พระจันทร์เสี้ยว" เจ้าของนามปากกา “สัญจร”
- พ.ต.ท.วัชรินทร์ เนียมวณิชกุล ผู้บังคับกองร้อยที่ 1 บางเขน โรงเรียนนายสิบตำรวจบางเขน ตำรวจยิงปืนเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขณะในปากยังคาบบุหรี่ ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- นายแพทย์ วิชัย โชควิวัฒน ประธานมูลนิธิ 14 ตุลา สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516 อดีตเลขาธิการแพทยสภา
- วิชัย แสงดาวฉาย เลขานุการโครงการบัณฑิตศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผู้ชุมนุม ในเหตุการณ์6ตุลา
- ศิลา โคมฉาย นักเขียนรางวัลซีไรต์
- รศ.ดร.ศิริยุภา พูลสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร องครักษ์ สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516
- ศาตราภิชาน ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516 ที่ปรึกษาศูนย์แรงงานและการจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สุรินทร์ มาศดิตถ์ นักการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- พล.ต.อ.สุรพล จุลละพราหมณ์ รองอธิบดีกรมตำรวจ ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- พลตรี สุตสาย หัสดิน หัวหน้ากลุ่มขบวนการกระทิงแดง
- ร้อยตำรวจตรี (ยศปัจจุบัน) สมศักดิ์ วงศ์พรหม[6] ตำรวจในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- สุชาติ ประไพหอม เลขาธิการศูนย์นักเรียนอาชีวะแกนนำกลุ่มขบวนการกระทิงแดง
- ศาสตราจารย์ ดร. เสริน ปุณณะหิตานนท์ รักษาการคณบดีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ในปี 2516
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภชัย มนัสไพบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ในปี 2516
- สุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการวารสารรายสามเดือนของสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ในเหตุการณ์ 14 ตุลา
- ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2516, อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ประธานคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ตามข้อเสนอของ คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549
- สมพงษ์ สระกวี อดีตนายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2516 และอดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสงขลา
- ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตหนึ่งในแกนนำขบวนการนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา, อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอ่างทอง และอดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทย
- สมศักดิ์ ขวัญมงคล ประธานสหพันธ์เกษตรกรแห่งประเทศไทย แกนนำกลุ่มขบวนการกระทิงแดง
- สุธรรม แสงประทุม อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517-2519, อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย, อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร และรองหัวหน้าพรรคพลังธรรม
- รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อดีตผู้ประสานงาน 21 กลุ่มอิสระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2516 และอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผศ.ดร. แสง สงวนเรือง ผู้เขียนนิตยสารชาวบ้าน ในเหตุการณ์ 14 ตุลา อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก
- สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (สุรชัย แซ่ด่าน) นักเคลื่อนไหว
- นายกองใหญ่ สมัคร สุนทรเวช ผู้ปลุกระดมให้ประชาชนเข้าใจว่านักศึกษาเป็นคอมมิวนิสต์และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพผ่านสถานีวิทยุยานเกราะ ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- สมัคร ชาลีกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- สำราญ แพทยกุล องคมนตรี
- สมคิด สิงสง นักกิจกรรม เป็น บุคคลที่ บัณฑิต เอ็งนิลรัตน์ พาตำรวจไปค้นบ้านเนื่องจากนาย บัณฑิต ไม่มีที่อยู่แน่นอน
- พลตำรวจโท (ยศปัจจุบัน) สมควร หริกุล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน[7] แกนนำกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- พลตำรวจตรี สง่า กิตติขจร สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516 ผู้สนับสนุนนักศึกษา ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม
- เรืออากาศตรี สุเทพ วงศ์กำแหง สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516
- พลตำรวจเอก สล้าง บุนนาค อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ รองผู้กำกับการ 2 ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- สุรชัย จันทิมาธร สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ในปี 2516 นักดนตรีเพื่อชีวิต หัวหน้าวงดนตรีคาราวาน
- พ.ต.ท.สพรั่ง จุลปากรณ์ ตำรวจในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- สายัณห์ พรนันทารัตน์ กรรมการบริหารสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย อดีตช่างภาพหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ช่างภาพเหตุการณ์ 6 ตุลา
- พล.ต.อ.สุรพล จุลละพราหมณ์ รองอธิบดีกรมตำรวจ ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อุปนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตผู้ต้องขังเหตุการณ์ 6 ตุลา
- ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคนแรก, อดีตเลขาธิการพรรคพลังประชาชน และอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย
- สมชาย หอมลออ กรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทรมาน
- สุวิทย์ วัดหนู นักเคลื่อนไหวทางสังคม
- สมบูรณ์ เกตุผึ้ง อุปนายกสมาคมช่างภาพข่าวสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ช่างภาพหนังสือพิมพ์สยามรัฐเหตุการณ์ 6 ตุลา
- ผศ.สมเกียรติ อ่อนวิมล สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในปี 2516
- สรรพสิริ วิรยศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ในเหตุการณ์ 6 ตุลา เขาโดนสั่งปลดหลังแพร่ภาพเหตุการณ์ออกอากาศ
- สถาพร ชินะจิตร ผู้เขียน นิตยสารชาวบ้าน ในเหตุการณ์ 14 ตุลา กรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
- รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เสาวณีย์ ลิมมานนท์ อดีตโฆษกเวที ในเหตุการณ์ 14 ตุลา, ผู้ช่วยบริหารงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ รองผู้อำนวยการหัวหน้าสายงานสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์การตลาด กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
- ศ.เสน่ห์ จามริก ประะธานสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
- เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตหัวหน้าโฆษกเวที ในเหตุการณ์ 14 ตุลา, อดีตคณบดี ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย พ.ศ. 2553
- เสรี ศิรินุพงศ์ ข้าราชการกรมเจ้าท่า อดีตช่างจัตวากรมเจ้าท่า 1ใน18รายที่ถูกจับในเหตุการณ์6ตุลา
- ผศ.ดร.ผดุง พรมมูล ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประธานสภานักศึกษาโรงเรียนเพาะช่าง ผู้เข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์ 14 ตุลา
- ผศ.ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ผู้ก่อตั้งวารสาร ตราชู อดีตประธานศาลปกครองสุงสุด
- น.พ.เหวง โตจิราการ อดีตนายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, ปัจจุบันเป็นกรรมการสมาพันธ์ประชาธิปไตย (ตั้งแต่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535) และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน
- พลตำรวจเอก ศรีสุข มหินทรเทพ อธิบดีกรมตำรวจ ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- ศุภชัย โพธิ์สุ อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย สหายแสง ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
- โอริสสา ไอราวัณวัฒน์ ผู้จัดการแผนกบริการศูนย์ฮอนด้า สาขาลาดพร้าว เลขาธิการแนวร่วมอาชีวะเพื่อประชาชนแห่งประเทศไทย ปี 2518
- ศ.(พิเศษ)ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อดีตนายกสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2519), อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
- อภินันท์ บัวหภักดี อดีตนักแสดงละครกรณีแขวนคอ 2 ช่างไฟฟ้าที่จังหวัดนครปฐม ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์ และบรรณาธิการฝ่ายภาพ อนุสาร อสท
- รศ.(พิเศษ)ดร.อดิศร เพียงเกษ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันเป็นประธานบริหาร บริษัท ดี-สเตชัน จำกัด
- สิบตำรวจเอกอากาศ ชมภูจักร ตำรวจกองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดนใน เหตุการณ์ 6 ตุลา[8]
- อมรเทพ อมรรัตนานนท์ อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2519), โฆษกเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พ.ศ. 2551) ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- อาคม มกรานนท์ โฆษกของชมรมวิทยุเสรี ทางสถานีวิทยุยานเกราะ ที่ออกอากาศโจมตีฝ่ายนักศึกษา
- ร้อยเอก อำนวย พานประเสริฐ แกนนำกลุ่มพิทักษ์ชาติไทย
- ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ผู้ปลุกระดมให้ประชาชนเข้าใจว่านักศึกษาเป็นคอมมิวนิสต์และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพผ่านสถานีวิทยุยานเกราะ ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
- ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน ผู้เขียนนิตยสารชาวบ้านในเหตุการณ์ 14 ตุลา
- ร้อยตำรวจโท อารีย์ มนตรีวัตร ตำรวจที่ทำหน้าที่ควบคุมฝูงคนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ดร.อาทร จันทรวิมล ผู้ควบคุมเครือข่ายวิทยุลูกเสือ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการลูกเสือแห่งประเทศไทย
- พลโท อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์ สำนักงานสารนิเทศ สำนักงานผู้บัญชาการทหารสูงสุด แกนนำชมรมวิทยุเสรี ทางสถานีวิทยุยานเกราะ ที่ออกอากาศโจมตีฝ่ายนักศึกษา
- อธึกกิต แสวงสุข สหายรื่น บรรณาธิการอาวุโสวอยซ์ ทีวี กลุ่มแนวร่วมศิลปิน ในเหตุการณ์ 6 ตุลา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายชื่อกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
- ↑ รายชื่อกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ธงชัย วินิจจะกูล : ความทรงจำ ภาพสะท้อนและความเงียบในหมู่ฝ่ายขวาหลังการสังหารหมู่ 6 ตุลา
- ↑ ครบ 50 ปี “วันมหาวิปโยค” ผ่านบาดแผลครึ่งศตวรรษของนักสู้ประชาธิปไตยที่ประวัติศาสตร์ไม่จำ
- ↑ มนัส สัตยารักษ์
- ↑ รำลึก 6 ตุลาคม 2519 ‘วันวังเวง’ โดย มนัส สัตยารักษ์
- ↑ สมควร หริกุล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
- ↑ ตำรวจพลร่มตระเวนชายแดน