ประทุมพร วัชรเสถียร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รองศาสตราจารย์ ประทุมพร วัชรเสถียร (สกุลเดิม เหล่าวานิช ; ชื่อเล่น: ตุ้ง; 27 กันยายน พ.ศ. 2486 ที่ย่านบางรัก ถนนสีลม จังหวัดพระนคร — 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (67 ปี 84 วัน)) นามปากกา ดวงใจ เป็นนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองและนโยบายต่างประเทศแถบยุโรป, นักเขียน, นักจัดรายการวิทยุ และพิธีกรรายการโทรทัศน์ ตลอดจนเคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ร.ศ.ประทุมพร เป็นรัฐศาสตรบัณฑิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 14 จากนั้น ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐ ได้ป็นมหาบัณฑิตด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่วนด้านครอบครัว ประทุมพรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ และได้สมรสกับนายธีระ วัชรเสถียร[1] สามีนับถือนิกายโรมันคาทอลิก มีบุตรชายด้วยกันคือนายพลธร วัชรเสถียร[2]

ร.ศ.ประทุมพร เป็นที่รู้จักมากในบทบาทนักเขียน และสื่อมวลชน ในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 ด้วยเป็นหนึ่งใน 100 บุคคลที่ร่วมลงชื่อคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอม กิตติขจร ด้วย[3]

ถึงแก่กรรมเมื่อเวลา 04.10 น. ของวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หลังต่อสู้กับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมาระยะหนึ่ง[4] ก่อนเสียชีวิตได้ทำพินัยกรรมมอบร่างของตนให้แก่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย[5] มีพิธีไว้อาลัย ณ คริสตจักรสืบสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร การนี้ท่านผู้หญิงอรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์ได้อัญเชิญพวงหรีดของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีตั้งเพื่อไว้อาลัย[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. [https://web.archive.org/web/20050314190020/http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?stcolumnid=1046&stissueid=2459&stcolcatid=1&stauthorid=58 เก็บถาวร 2005-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รศ.ประทุมพร วัชรเสถียร กับ “ดวงใจ” “จากดวงใจถึงคุณย่า.คอม จากสกุลไทย]
  2. 2.0 2.1 สามวา สองศอก (25 ธันวาคม 2553). "ถูกทุกข้อสามวาสองศอก: ดวงใจ". ไทยโพสต์. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-26. สืบค้นเมื่อ 2010-12-27.
  4. http://www.prachatai.com/journal/2010/12/32376
  5. http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=111129&categoryID=38
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๘, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗๔, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖