คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Faculty of Associated Medical Sciences, Khon Kaen University | |
ชื่อย่อ | ทนพ. / AMS |
---|---|
สถาปนา | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 |
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ที่อยู่ | |
สี | สีน้ำเงิน |
เว็บไซต์ | https://ams.kku.ac.th/ |
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อังกฤษ: Faculty of Associated Medical Sciences, Khon Kaen University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับที่ 8 ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (วันประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาพร้อมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) [1] เป็นคณะเทคนิคการแพทย์แห่งแรกและแห่งเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประวัติ
[แก้]ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2516 มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เสนอโครงการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยคณะต่างๆ 7 คณะ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ จากนั้น โครงการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการบรรจุเข้าในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 - 2519) โครงการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ อยู่ในโครงการศูนย์แพทยศาสตร์ ระยะที่ 2 ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 - 2524) [2]
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตนักเทคนิคแพทย์ และเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ยกระดับบริการทางด้านห้องปฏิบัติการชันสูตรสาธารณสุข และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเจ้าหน้าที่ชันสูตรสาธารณสุขในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนการค้นคว้าวิจัยและส่งเสริมงานบริการประชาชนทางด้านนี้ นอกจากนี้คณะเทคนิคการแพทย์ยังมีหน้าที่ผลิตนักกายภาพบำบัด เป้าหมายเพื่อพัฒนาการเป็นแหล่งกลางของการตรวจทางห้องปฏิบัติการชันสูตรสาธารณสุขและกายภาพบำบัด สำหรับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และหน่วยงานในศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นตัวกลางในการสนับสนุนทางด้านวิชาการ งานวิจัยทางเทคนิคการแพทย์ และกายภาพบำบัดทั้งภายในและภายนอกประเทศ[3]
สัญลักษณ์
[แก้]- สัญลักษณ์ประจำคณะ
สัญลักษณ์ประจำคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ งูพันเส้นเลือดแดง
- สีประจำคณะ
- ดอกไม้ประจำคณะ
ดอกแก้วเจ้าจอม
หลักสูตร
[แก้]หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[4] | |||
---|---|---|---|
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก | |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
คณบดี
[แก้]ทำเนียบคณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น | ||
---|---|---|
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ พิสิฏฐ์ สัณฑ์พิทักษ์ | พ.ศ. 2521 - 2527 | |
2. รองศาสตราจารย์ สุภาภรณ์ พัวเพิ่มพูลศิริ | พ.ศ. 2527 - 2527 (รักษาการแทนฯ) | |
3. รองศาสตราจารย์ สุภินันท์ สายเชื้อ | พ.ศ. 2527 - 2529 | |
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิง เนตรเฉลียว สัณฑ์พิทักษ์ | พ.ศ. 2529 - 2533 | |
5. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ศาสตรี เสาวคนธ์ | พ.ศ. 2533 - 2537 | |
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไพศาล มงคลวงศ์โรจน์ | พ.ศ. 2537 - 2540 | |
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิง จิราพร สิทธิถาวร | พ.ศ. 2540 - 2543 | |
8. รองศาสตราจารย์ ยุพา เอื้อวิจิตรอรุณ | พ.ศ. 2543 - 2547 | |
9. รองศาสตราจารย์ ชูชาติ อารีย์จิตรานุสรณ์ | พ.ศ. 2547 - 2550 | |
10. รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร กิจเจริญ | พ.ศ. 2550 - 2559 | |
11. รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรี เจียรนัยกูร | พ.ศ. 2559 - 2562 | |
12. รองศาสตราจารย์ ดร.ทนพญ. จุรีรัตน์ ดาดวง | พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน |
หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี และผู้รักษาการแทนคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น
งานวิจัย
[แก้]ปัจจุบันคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการจัดตั้งศูนย์วิจัยเฉพาะทางที่ชื่อว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ หรือ ศวป. (Centre for Research and Development of Medical Diagnostic Laboratories, CMDL) โดยมีเป้าหมายคือ พัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถสนับสนุนการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา เป็นศูนย์ปฏิบัติการอ้างอิงในระดับชาติ และภูมิภาคโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเซีย โอเซียเนีย เป็นศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะทางทั้งการให้บริการทางห้องปฏิบัติการและการวิจัยเป็นศูนย์การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตชุดน้ำยาตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานและผลิตได้เอง ภายในประเทศและเป็นแหล่งรวมและสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยมุ่งดำเนินการวิจัยและพัฒนาใน 4 แนวทางหลัก ดังนี้
1. โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคธาลัสซีเมีย
2. โครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับโรคมะเร็ง
3. โครงการวิจัยและพัฒนาภูมิคุ้มกันระดับโมเลกุลและการปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อ
4. โครงการวิจัยและพัฒนาวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยโรคติดเชื้อ
จากการดำเนินงานในช่วง พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2548 ของโครงการย่อยทั้ง 4 โครงการ สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการต่างๆได้รวมทั้งสิ้น 53 เรื่อง โดย ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ นานาชาติ จำนวน 41 เรื่อง และตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ในประเทศ จำนวน 12 เรื่องนอกจากนี้นักวิจัยของ ศวป. มีผลงานวิจัยและพัฒนาที่ได้รับการจดสิทธิบัตรไปแล้ว 1 รายการ
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]ดูเพิ่ม รายนามบุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
หมายเหตุ รายนามดังกล่าว จัดเรียงชื่อและนามสกุลตามตัวอักษร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยขอนแก่น, ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 95, ตอนที่ 72 ก, 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2521, หน้า 433
- ↑ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะเทคนิคการแพทย์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 142
- ↑ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะเทคนิคการแพทย์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 143
- ↑ "ระบบฐานข้อมูลหลักสูตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-27. สืบค้นเมื่อ 2010-12-09.
ดูเพิ่ม
[แก้]- มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะเทคนิคการแพทย์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 141 - 150
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะเทคนิคการแพทย์", 30 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น : มหาวิทยาลัย, 2537, หน้า 67 - 69