คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Faculty of Dentistry, Khon Kaen University | |
ชื่อย่อ | ทพ. / DENT |
---|---|
สถาปนา | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2522[1] |
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
คณบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์ อชิรวุธ สุพรรณเภสัช |
ที่อยู่ | |
วารสาร | วารสารทันตกัลปพฤกษ์ วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
สี | สีม่วง |
สถานปฏิบัติ | โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
เว็บไซต์ | https://dentist.kku.ac.th/ |
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อังกฤษ: Faculty of Dentistry, Khon Kaen University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น กระทรวงศึกษาธิการ เป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นโรงเรียนทันตแพทย์แห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและแห่งที่สี่ของประเทศถัดจาก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประวัติ
[แก้]คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการศูนย์แพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2523 คณะทันตแพทยศาสตร์ ได้เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีรุ่นแรก จำนวน 30 คน โดยรับนักศึกษาจากส่วนกลาง และนักเรียนเรียนดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นมาได้รับนักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันรับนักศึกษา จำนวนปีละ 80 คน[2]
ในเบื้องต้น ได้ใช้อาคารเรียนของคณะแพทยศาสตร์ (คณะสาธารณสุขศาสตร์ในปัจจุบัน) และคณะพยาบาลศาสตร์เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว จนกระทั่งเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2527 จึงได้ย้ายสำนักงานคณบดี และสถานที่เรียนมาอยู่ที่อาคารเรียนรวม สี่คณะในศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มีอาคารคลินิกทันตกรรม 1 (พ.ศ. 2525) ใช้เป็นสถานที่สำหรับฝึกปฏิบัติงานคลินิกของ วิชาทันตกรรมบูรณะ ทันตกรรมประดิษฐ์ ปริทันตวิทยา และทันตกรรมบดเคี้ยว และอาคารคลินิกทันตกรรม 2 (พ.ศ. 2529) เป็นคลินิกของทันตกรรมสำหรับเด็ก เวชศาสตร์ช่องปาก ศัลยศาสตร์ช่องปาก ทันตรังสีวิทยา ตลอดจนห้องปฏิบัติการของภาควิชาทันตกรรม
ต่อมา รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์สมนึก พูนทรัพย์ คณบดีในสมัยนั้น เล็งเห็นว่าคณะทันตแพทยศาสตร์ ยังขาดห้องบรรยาย และสำนักงานของตัวเอง จึงได้ขอจัดตั้งงบประมาณสำหรับก่อสร้างอาคารใหม่ ทางด้านทิศเหนือของอาคารเดิม โดยอาคารดังกล่าว ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพระราชทานนามว่า "มหิตลานุสรณ์" โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดอาคารในวันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2533
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2540 คณะทันตแพทยศาสตร์ได้รับอนุมัติงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการหลังใหม่ เพื่อใช้เป็นอาคารโรงพยาบาลทันตกรรม และใช้ในการปฏิบัติงานของนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา รวมทั้งเป็นห้องปฏิบัติการวิจัยในสาขาต่างๆ โดยการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2544 อาคารดังกล่าว ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามอาคารว่า "อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา"
สัญลักษณ์
[แก้]- สัญลักษณ์ประจำคณะ
สัญลักษณ์ประจำคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ
- สีประจำคณะ
- ต้นไม้/ดอกไม้ประจำคณะ
สาขาวิชา
[แก้]คณะทันตแพทยศาสตร์ แบ่งหน่วยงานด้านการเรียนการสอนเป็นสาขาวิชา มีสถานะเทียบเท่าภาควิชา ได้แก่
- สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
- สาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์
- สาชาวิชาทันตกรรมบูรณะ
- สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ช่องปาก
- สาขาวิชาทันตกรรมป้องกัน
- โรงพยาบาลทันตกรรม
หลักสูตร
[แก้]หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[3] | ||
---|---|---|
ระดับปริญญาบัณฑิต | ||
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (ท.บ.)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต | ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง |
---|---|
หลักสูตรประกาศนียบัตร
หลักสูตรฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน
|
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
|
โรงพยาบาลทันตกรรม
[แก้]คณะทันตแพทยศาสตร์ ได้เริ่มก่อตั้ง “โครงการจัดตั้งโรงพยาบาลทันตกรรม” ขึ้น ใน พ.ศ. 2540 และในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2547 คณะทันตแพทยศาสตร์ ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยขอนแก่นให้จัดตั้ง “โรงพยาบาลทันตกรรม” ปัจจุบันโรงพยาบาลทันตกรรม มีทันตแพทย์ทั้งสิ้น 17 ท่าน โดยมี ผศ.ทพญ.ภัทรมน รัตนาพันธุ์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สนับสนุนการเรียนการสอน ที่กำหนดให้นักศึกษาทันตแพทย์ปริญญาตรีและหลังปริญญา ได้ฝึกปฏิบัติงานในคลินิก ตั้งแต่ตรวจวินิจฉัย วางแผน จนถึงการให้การรักษา ตั้งแต่ต้นจนเสร็จสมบูรณ์ รวมถึงการรักษาผู้ป่วยในงานทันตกรรมบูรณะ ทันตกรรมประดิษฐ์ ปริทันตวิทยา และทันตกรรมบดเคี้ยวในลักษณะผสมผสานในผู้ป่วยคนเดียวกัน
ศูนย์ความเป็นเลิศทางทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์
- ศูนย์ทันตกรรมรากเทียม
- ศูนย์ทันตกรรมเลเซอร์
- ศูนย์ปากแหว่งเพดานโหว่
- ศูนย์ฟื้นฟูใบหน้าและขากรรไกร
คณบดี
[แก้]ทำเนียบคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น | ||
---|---|---|
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทันตแพทย์ อิศระ ยุกตะนันทน์ | พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2526 | |
2. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ สมนึก พูนทรัพย์ | พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2533 | |
3. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ประทีป พันธุมวนิช | พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2536 | |
4. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง นิธิภาวี ศรีสุข | พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2544 | |
5. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ดร. นิวัตร จันทร์เทวี | พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2548 | |
6. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ อินทรพล หอวิจิตร | พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2552 | |
7. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร. นวรัตน์ วราอัศวปติ เจริญ | พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2558 | |
8. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร. วรานุช ปิติพัฒน์ | พ.ศ. 2558 - ปัจจุบ้น |
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]ดูเพิ่ม รายนามบุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
หมายเหตุ รายนามดังกล่าว จัดเรียงชื่อและนามสกุลตามตัวอักษร
อ้างอิง
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]- มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะทันตแพทยศาสตร์", ขอนแก่น 18 ปี, 2525, หน้า 159 - 168
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น, "คณะทันตแพทยศาสตร์", 30 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น : มหาวิทยาลัย, 2537, หน้า 75 - 78
- รายชื่อคณะทันตแพทยศาสตร์ในประเทศไทย