ชัมมูและกัศมีร์ (รัฐมหาราชา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐมหาราชาชัมมูและกัศมีร์

1846–1952
1846-1936
1936-1952
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของชัมมูและกัศมีร์
ตราแผ่นดิน
แผนที่ของกัศมีร์
แผนที่ของกัศมีร์
สถานะรัฐมหาราชา]
เมืองหลวงศรีนคร
ภาษาราชการเปอร์เซีย (1846–1889)
อูรดู (1889–1952)[1]
ภาษาทั่วไปกัศมีร์, ฮินดูสตาน, โดกรี, ลาดาข, บัลติ, ชีนา, ฯลฯ
ศาสนา
อิสลาม, ฮินดู, พุทธ, ไชนะ, ซิกข์
การปกครองรัฐมหาราชา
มหาราชา 
• 16 มีนาคม 1846 – 30 มิถุนายน 1857
กุหลาบ สิงห์ (แรก)
• 23 กันยายน 1925 – 17 พฤศจิกายน 1952
หริ สิงห์ (ท้าย)
ประวัติศาสตร์ 
• ตั้งรัฐมหาราชา
1846
22 ตุลาคม 1947
• ผนวกเข้าอินเดีย
26–27 ตุลาคม 1947
1 มกราคม 1949
• กลายเป็นรัฐใต้รัฐธรรมนูญอินเดีย
17 พฤศจิกายน 1952
• สิ้นสุด
1952
พื้นที่
• รวม
85,885[2] ตารางไมล์ (222,440 ตารางกิโลเมตร)
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิซิกข์
อินเดีย
รัฐชัมมูและกัศมีร์
ปากีสถาน
• อาฌาดกัศมีร์
• เขตกิลกิต
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย (ชัมมูและกัศมีร์, ลาดาข)
ปากีสถาน (อาฌาดกัศมีร์, กิลกิตบัลติสถาน)
China (Aksai Chin, Trans-Karakoram Tract)

รัฐมหาราชาชัมมูและกัศมีร์ (อังกฤษ: Princely State of Kashmir and Jammu)[3] เป็นรัฐมหาราชาตั้งแต่สมัยบริษัทอินเดียตะวันออก เรื่อยมาถึงอาณานิคมอินเดียของอังกฤษ ในปี 1846 ถึง 1952 รัฐมหาราชานี้เกิดขึ้นหลังสงครามอังกฤษ-สิกข์ ครั้งที่หนึ่ง ทำให้เกิดการแบ่งอาณาเขตใหม่ขึ้นในอดีตจักรวรรดิซิกข์

ในสมัยการแบ่งอินเดียและคการรวมชาติอินเดีย มหาราชาหริ สิงห์ ลังเลใจในการที่จะตัดสินใจอนาคตของรัฐ กระทั้งในปี 1947 ได้เกิดการกบฏในแถบตะวันตกของรัฐ ตามด้วยการโจมตีจากแคว้นแนวหน้าตะวันตกเฉียงเหนือที่หนุนหลังโดยปากีสถาน หริ สิงห์ ได้ลงนามในวันที่ 26 ตุลาคม 1947 เข้าร่วมกับอินเดีย โดยแลกเปลี่ยนกับการได้รับกองทัพของอินเดียมาช่วยรบในกัศมีร์ จุดนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของข้อพิพาทกัศมีร์[4] อำเภอทางตะวันตกและเหนือของรัฐถูกส่งค่อให้อยู่ภายใต้ปกครองของปากีสถานในพื้นที่ที่ปัจจุบันคืออาฌาดกัศมีร์ และ กิลกิตบัลติสถาน ในขณะที่อาณาเขตที่เหลือเป็นของอินเดีย ในพื้นที่ที่ปัจจุบันคือชัมมูและกัศมีร์ และ ลาดาข[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Rahman, Tariq (2011). From Hindi to Urdu : a social and political history. Orient Blackswan Private Ltd. p. 201. ISBN 978-81-250-4248-8. OCLC 757810159.
  2. David P. Henige (2004). Princely States of India: A Guide to Chronology and Rulers. Orchid Press. p. 99. ISBN 978-974-524-049-0.
  3. "Kashmir and Jammu", Imperial Gazetteer of India, Secretary of State for India in Council: Oxford at the Clarendon Press, 15: 71–, 1908
  4. "Q&A: Kashmir dispute – BBC News". BBC News. 8 August 2019.
  5. Bose, Sumantra (2003). Kashmir: Roots of Conflict, Paths to Peace. Harvard University Press. pp. 32–37. ISBN 0-674-01173-2.