จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งเม็กซิโก
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระบรมฉายาลักษณ์ ค.ศ. 1864 | |||||
จักรพรรดิแห่งเม็กซิโก | |||||
ครองราชย์ | 10 เมษายน ค.ศ. 1864 - 19 มิถุนายน ค.ศ. 1867[1] | ||||
ก่อนหน้า | ขึ้นครองราชสมบัติ (เบนิโต ฆัวเรซ, ประธานาธิบดีแห่งเม็กซิโก) | ||||
ถัดไป | ล้มล้าง (เบนิโต ฆัวเรซ, ประธานาธิบดีแห่งเม็กซิโก) | ||||
ผู้สำเร็จราชการ | |||||
พระราชสมภพ | 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1832 พระราชวังเชินบรุนน์, กรุงเวียนนา, จักรวรรดิออสเตรีย | ||||
สวรรคต | 19 มิถุนายน ค.ศ. 1867 เซร์โรเดลัสกัมปานัส, เกเรตาโร, เม็กซิโก | (34 ปี)||||
ฝังพระศพ | สุสานหลวง, กรุงเวียนนา, ออสเตรีย | ||||
คู่อภิเษก | เจ้าหญิงชาร์ล็อตแห่งเบลเยียม | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน | ||||
พระราชบิดา | อาร์ชดยุกฟรันซ์ คาร์ลแห่งออสเตรีย | ||||
พระราชมารดา | เจ้าหญิงโซฟีแห่งบาวาเรีย | ||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก | ||||
ลายพระอภิไธย |
จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งเม็กซิโก (สเปน: Emperador Maximiliano I de México; เยอรมัน: Maximilian I, Kaiser von Mexiko) ทรงเป็นอาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย และทรงเป็นจักรพรรดิแห่งเม็กซิโก โดยทรงจัดตั้งคณะรัฐบาลของพระองค์เอง แต่หลายประเทศได้ปฏิเสธที่จะยอมรับการจัดตั้งคณะรัฐบาลของพระองค์ โดยเฉพาะสหรัฐ อันนำไปสู่การก่อรัฐประหาร และปฏิวัติการปกครอง นำโดยเบนิโต ฆัวเรซ ซึ่งต่อมาเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเม็กซิโก การก่อรัฐประหารครั้งนี้ เป็นเหตุทำให้พระองค์ทรงต้องถูกประหารชีวิตโดยคณะรัฐประหารในเมืองเกเรตาโรในปี พ.ศ. 2410
พระราชประวัติ
[แก้]จักรพรรดิมัคซีมีลีอาน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2375 ณ พระราชวังเชินบรุนน์ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย พระองค์เป็นพระโอรส และพระบุตรองค์ที่ 2 ในอาร์ชดยุกฟรันซ์ คาร์ลแห่งออสเตรีย และพระชายา เจ้าหญิงโซฟีแห่งบาวาเรีย พระนามและพระราชอิสริยยศเดิมของพระองค์คือ แฟร์ดีนันท์ มัคซีมีลีอาน โยเซ็ฟ พระราชกุมารและอาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย เจ้าชายแห่งฮังการีและโบฮีเมีย ( Ferdinand Maximilian Joseph, Prince Imperial and Archduke of Austria, Prince Royal of Hungary and Bohemia)
เมื่อพระองค์ทรงพระเยาว์นั้น พระองค์ทรงมีความสนพระราชหฤทัยในด้านศิลปะ วิทยาศาสตร์ และพฤกษศาสตร์ เมื่อพระองค์ทรงเจริญพระชันษาขึ้น พระองค์ทรงเข้ารับการเตรียมทหาร โดยมีพลเรือเอก วิลเฮล์ม วอน เทเก็ตต์ฮอฟฟ์ เป็นผู้ควบคุมและผู้ให้คำปรึกษาแก่พระองค์ โดยพระองค์ทรงเข้าร่วมรบในสมรภูมิอิตาลี ในสงครามออสเตรีย-ปรัสเซียด้วย และนอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีความคิดริเริ่มในการปฏิรูปประชาธิปไตย โดยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400 พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็นอุปราชแห่งราชอาณาจักรลอมบาร์ดี-เวเนเทีย (Viceroy of the Kingdom of Lombardy-Venetia)
พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงชาร์ลอตแห่งเบลเยียม ซึ่งเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 1 แห่งเบลเยียม และเจ้าหญิงหลุยส์ มารีแห่งออร์เลอ็อง ทั้ง 2 พระองค์ทรงอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2400 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม โดยเมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิแห่งเม็กซิโก เจ้าหญิงชาร์ลอตก็ทรงได้รับการสถาปนาเป็น จักรพรรดินีการ์โลตาแห่งเม็กซิโก (Empress Carlota of Mexico) ทั้ง 2 พระองค์ทรงไม่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเลย
ในตอนแรกนั้น อาร์ชดยุกมัคซีมีลีอานทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี จนถึงปีพ.ศ. 2402 ซึ่งถูกจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟ พระเชษฐาทรงปลดพระองค์ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากทรงกริ้วที่พระองค์ทรงใช้นโยบายเสรีนิยม ในการปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทั้งที่ทรงเป็นเพียงอุปราช หลังจากที่ทรงถูกปลดจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แล้ว ก็เกิดอุปสรรคใหญ่ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ, จักรวรรดิออสเตรีย และ ราชอาณาจักรอิตาลี โดยออสเตรียเสียสิทธิ์การครอบครองดินแดนของอิตาลี ส่วนพระองค์และพระชายาก็ทรงย้ายไปประทับไปอยู่ในพระตำหนักส่วนตัว ปราสามมิราแมร์ ในเมืองทรีเอสต์
จักรพรรดิแห่งเม็กซิโก
[แก้]เมื่อปีพ.ศ. 2402 มีคณะรัฐมนตรีและผู้สนับสนุนระบอบจักรวรรดิชาวเม็กซิกันได้ทาบทามให้พระองค์ไปทรงเป็นองค์พระประมุของค์ใหม่แห่งเม็กซิโก พระองค์ทรงปฏิเสธในตอนแรก แต่พระองค์ก็ทรงยอมรับราชบัลลังก์อิมพีเรียลเม็กซิกันใน 1 ปีต่อมา เพราะทรงคิดในเรื่องความก้าวหน้าทางพฤกศาสตร์ในเม็กซิโก ซึ่งเป็นเรื่องที่พระองค์ทรงสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งในเรื่องของคุณภาพของประชากรในประเทศนั้น ซึ่งพระองค์ทรงคิดว่า พระองค์น่าจะสามารถปกครองและพัฒนาคุณภาพของประชากรได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งเม็กซิโกแล้ว พระองค์จะทรงเสียสิทธิ์ในการดำรงพระยศต่างๆของออสเตรีย
อาร์ชดยุกแฟร์ดีนันด์ มัคซีมีลีอานและพระชายา อาร์คดัชเชสชาร์ล็อทเทอเสด็จมาถึงเมืองเวราครูซ ประเทศเม็กซิโก เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2407 โดยเมื่อทั้ง 2 พระองค์ได้มาถึงเม็กซิโกแล้ว มีทั้งฝ่ายที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบ โดยฝ่ายเห็นชอบคือ จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นชอบได้แก่ เบนิโต ฆัวเรซ ซึ่งตอนนั้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งเม็กซิโก แต่ถูกถอดออกจากตำแหน่ง โดยเบนิโตได้ปฏิเสธระบอบการปกครองของพระองค์ตั้งแต่แรกที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาถึงเม็กซิโกแล้ว และนอกจากเบนิโตที่ไม่เห็นชอบแล้ว ยังมีพวกสาธารณรัฐนิยมอีกด้วย
อาร์ชดยุกแฟร์ดีนันด์ และอาร์คดัชเชสชาร์ล็อทเทอ พระชายา ได้เลือกเม็กซิโกซิตี้เป็นเมืองหลวง โดยทรงเลือกปราสาทชาพัลเทเพ็ค ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขา ชานเมืองเม็กซิโก ซิตี้เป็นพระราชฐานหลัก ซึ่งปราสาทนี้เคยเป็นพระราชฐานหลักของหัวหนเชนเผ่าแอซแท็กมาก่อน ทั้ง 2 พระองค์ทรงทำพระราชพิธีเถลิงวัลย์ราชสมบัติที่มหาวิหาร เมโทรโปลิตานา แต่เป็นพระราชพิธีที่ไม่เป็นทางการ เพราะเนื่องจากระบอบการปกครองที่ไม่มั่นคง อีกทั้งไม่มั่นใจในการจัดตั้งคณะรัฐบาลใหม่
ด้วยความที่จักรพรรดิ และจักรพรรดินีไม่มีพระราชโอรส หรือพระราชธิดาเลย พระองค์จึงทรงแต่งตั้งเจ้าชายอากุสติน เด อิตูร์บิเด ซึ่งเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ของพระราชวงศ์เม็กซิโกที่เคยปกครองจักรวรรดิเม็กซิโกที่ 1 มาก่อน เป็นองค์รัชทายาท โดยเจ้าชายอากุสติน เป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิอากุสตินที่ 1 จักรพรรดิมัคซีมีลีอานมีพระบรมราชโองการ สถาปนาเจ้าชายอากัสตินเป็น เจ้าชายแห่งอิตูร์บิเด (His Imperial Highness The Prince of Iturbide)
ในระหว่างที่พระองค์ทรงปกครองเม็กซิโก ในนามของจักรวรรดิเม็กซิโกที่ 2 พระองค์ทรงได้รับคำแนะนำจากแนวทางการบริหารประเทศของฆัวเรซ ทั้งในเรื่องของการฟื้นฟูประเทศ การให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ซึ่งตอนแรก พระองค์ได้ทรงประทานอภัยโทษแก่ฆัวเรซ ที่คิดต่อต้านพระองค์ เพราะเนื่องจาก พระองค์ทรงอยากให้ฆัวเรซมาช่วยในการบริหารประเทศ แต่ฆัวเรซปฏิเสธและคิดอยากจะโค่นล้มอำนาจพระองค์ พระองค์จึงทรงส่งทหารไปสังหารฆัวเรซอย่างลับๆ แต่ฆัวเรซได้รับความช่วยเหลือจากนักสาธารณรัฐนิยม และฆ่าทหารของพระองค์จนหมด และนอกจากนี้นักสาธารณรัฐนิยมคิดจะฆ่าผู้ที่สนับสนุนลัทธิจักรวรรดินิยมให้หมด แต่ความคิดนี้ได้ถูกล้มเลิก เพราะมันขัดแย้งกับนโยบายระบอบการปกครองของฆัวเรซ ผู้ซึ่งเคยเป็นประธานาธิบดีมาก่อน
การล้มล้างราชบัลลังก์
[แก้]หลังจากเสร็จสิ้นสงครามกลางเมืองอเมริกัน กองทัพสหรัฐอเมริกาได้หันมาสนับสนุนกองทัพให้กับนักสาธารณรัฐนิยมที่คิดจะก่อรัฐประหาร ก่อกบฏล้มล้างราชบัลลังก์ ส่วนตัวจักรพรรดิเองก็ได้รับการช่วยเหลือ และสนับสนุนจากจักรวรรดิฝรั่งเศส จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ได้ส่งกองทัพส่วนหนึ่งไปรับพระองค์และพระมเหสีเพื่ออพยพไปที่อื่น แต่พระองค์ก็ทรงถูกพวกทหารก่อรัฐประหารและกองทัพจากสหรัฐอเมริกาจับไป ส่วนจักรพรรดินีการ์โลตาทรงอพยพไปยุโรปอย่างปลอดภัย โดยพระองค์เสด็จนิวัติเบลเยียม ที่ซึ่งพระเจ้าเลออปอลที่ 1 และสมเด็จพระราชินีหลุยส์-มารี ทรงรอรับเสด็จ โดยพระองค์ไม่เสด็จนิวัติกลับไปเม็กซิโกอีกเลยและประทับอยู่ที่เบลเยียมจวบจนสิ้นพระชนม์
ส่วนจักรพรรดินั้น ได้ทรงถูกนำพระองค์เข้าศาลโดยมีเบนิโต ฆัวเรซเป็นแกนนำ ศาลสั่งให้ประหารชีวิตพระองค์ทันที ทางด้านผู้นำยุโรปหลายประเทศนั้น เช่นอิตาลี และ จักรวรรดิเยอรมัน รวมทั้งจักรวรรดิออสเตรีย ได้ส่งโทรเลขไปที่เม็กซิโกเพื่อเจรจาในการปล่อยตัวพระองค์กลับสู่มาตุภูมิ เพื่อสงครามภายในจะได้สงบ แต่เม็กซิโก ซึ่งมีฆัวเรซเป็นแกนนำ ได้ปฏิเสธ โดยหาว่าต่างชาติได้เข้ามาก้าวก่ายปัญหาส่วนตัวของประเทศ
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2410 มีการประหารชีวิตจักรพรรดิ รวมทั้งพลเอกมิเกล มิรามอน และ พลเอกโทมัส เม็จยา ซึ่งเป็นราชเลขานุการ และองคมนตรีของพระองค์ ที่เมืองเกเรตาโร เม็กซิโกได้ส่งพระบรมศพของพระองค์กลับสู่มาตุภูมิที่กรุงเวียนนา โดยพระบรมศพของพระองค์ถูกจัดขึ้นอย่างสมพระเกียรติ โดยจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟ พระเชษฐามีพระบัญชาให้ฝังพระบรมศพไว้ที่วิหารฮาพส์บวร์ค
พระราชอิสริยยศและราชอิสริยาภรณ์
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งเม็กซิโก | |
---|---|
พระราชลัญจกร | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ฮิส อิมพีเรียล มาเจสตี |
การขานรับ | เซอร์ |
พระราชอิสริยยศ
[แก้]- 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1832 – 10 เมษายน ค.ศ. 1864: ฮิสอิมพีเรียลและรอยัลไฮเนส เจ้าชายและอาร์ชดยุกมัคซิมิลิอานแห่งออสเตรีย พระราชกุมารแห่งฮังการีและโบฮีเมีย (His Imperial and Royal Highness Imperial Prince & Archduke Maximilian of Austria, Prince Royal of Hungary and Bohemia)
- 10 เมษายน ค.ศ. 1864 - 19 มิถุนายน ค.ศ. 1867): ฮิสอิมพีเรียลมาเจสตี สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเม็กซิโก (His Imperial Majesty The Emperor of Mexico)
พระราชอิสริยยศจักรพรรดิ
[แก้]ฮิสอิมพีเรียลมาเจสตี ดอน มักซิมิลิอาโนที่ 1 ด้วยพระหรรษทานแห่งพระผู้เป็นเจ้า และความปรารถนาของปวงชน สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเม็กซิโก
His Imperial Majesty Don Maximiliano I (Maximilian I), By the Grace of God and will of the people, Emperor of Mexico.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]จักรวรรดิเม็กซิโก
จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 ในฐานะประธานแห่งราชอิสริยาภรณ์ของเม็กซิโก :
- เครื่องอิสริยาภรณ์นักบุญพระแม่มารีแห่งกวาดาลูเป
- เครื่องอิสริยาภรณ์นกอินทรีเม็กซิโก
- เครื่องอิสริยาภรณ์นักบุญชาลส์
ต่างประเทศ
- :
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์ขนแกะทองคำ ค.ศ. 1852[2]
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญสเทเฟน ค.ศ. 1856[3]
-
- บาเดิน:[4]
- Knight of the House Order of Fidelity, 1856
- Grand Cross of the Zähringer Lion, 1856
- แม่แบบ:Country data ราชอาณาจักรบาวาเรีย เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์ฮูเบิรต์.
- แม่แบบ:Country data ดัชชีเบราน์ชไวค์ House Order of Henry the Lion ชั้นประถมาภรณ์ ประกอบสายสร้อย
- แม่แบบ:Country data แกรนด์ดัชชีเฮ็สเซิน
- เครื่องอิสริยาภรณ์ลุดวิค, 11 พฤษภาคม 1856[5]
- เครื่องอิสริยาภรณ์ฟิลิปส์แห่งแมคนานิมัส ชั้นประถมาภรณ์ 1856
- แม่แบบ:Country data ราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์
- Royal Guelphic Order ชั้นประถมาภรณ์ 1856[6]
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์จอร์จ. 1856
- ปรัสเซีย
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อินทรีแดง ชั้นประถมาภรณ์
- Knight of the เครื่องราชอิสริยาภรณ์อินทรีดำ.
- ซัคเซิน Order of the Rue Crown.
- เครื่องอิสริยาภรณ์ผู้ไถ่บาป ชั้นประถมาภรณ์
- เบลเยียม เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลโอโปลด์ (ทหาร) ชั้นมหาปรมาภรณ์.
- เครื่องอิสริยาภรณ์ดาวกางเขนใต้ ชั้นประถมาภรณ์
- เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์หอคอยและดาบ ชั้นประถมาภรณ์
- เนเธอร์แลนด์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตเนเธอร์แลนด์ ชั้นประถมาภรณ์
- ฝรั่งเศส เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นประถมาภรณ์
- เครื่องอิสริยาภรณ์มอลตา ชั้นประถมาภรณ์
- สวีเดน เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม. ชั้นสายสร้อย, 21 April 1865
- รัสเซีย
- เครื่องอิสริยาภรณ์นักบุญแอนดรูว์ ชั้นประถมาภรณ์ ประกอบสายสร้อย
- เครื่องอิสริยาภรณ์นักบุญอเล็กซานเดอร์ เนฟสกี้.
- เครื่องอิสริยาภรณ์นักบุญสตานิสลาฟ.
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อินทรีขาว ชั้นประถมาภรณ์
- เครื่องอิสริยาภรณ์นักบุญแอนนา ชั้นประถมาภรณ์
- อิตาลี
- เครื่องอิสริยาภรณ์แม่พระรับสาร, 29 มีนาคม 1865[7]
- แคว้นทัสเคนี เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์โยเซฟ ชั้นประถมาภรณ์ ประกอบสายสร้อย
- เครื่องอิสริยาภรณ์เกียรติคุณนักบุญเฟอร์ดินาน ชั้นประถมาภรณ์ ประกอบสายสร้อย
- Order of Saint Januarius ชั้นประถมาภรณ์ ประกอบสายสร้อย
พระราชตระกูล
[แก้]จักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งเม็กซิโก | พระชนก: อาร์ชดยุกฟรันซ์ คาร์ลแห่งออสเตรีย |
พระอัยกาฝ่ายพระชนก: จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: จักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: เจ้าหญิงมาเรีย หลุยซ่าแห่งสเปน | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก: เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซ่าแห่งทู ซิชิลีส์ |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งทู ซิชิลีส์ | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: อาร์คดัชเชสมารี แคโรไลน์แห่งออสเตรีย | |||
พระชนนี: เจ้าหญิงโซฟีแห่งบาวาเรีย |
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี: สมเด็จพระเจ้ามัคซีมีลีอานที่ 1 โยเซฟแห่งบาวาเรีย |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: ท่านเค้านท์เฟรเดอริก ไมเคิลแห่งซไวน์บรืคเคน-เบอร์เก็นเฟลด์ | |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: เค้านท์เตสแพลพาทีนมารี ฟรานซิสก้าแห่งซาล์สแบช | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี: เจ้าหญิงแคโรไลน์แห่งบาเดน |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: มาร์เกรฟคาร์ล ลุดวิกแห่งบาเดน | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: แลนด์เกรวีนอามีลี่แห่งเฮสส์-ดาร์มสตัดท์ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Derecho Mexicano, Jacinto Pallares, Mexico ISBN 1-162-47704-0
- ↑ Boettger, T. F. "Chevaliers de la Toisón d'Or – Knights of the Golden Fleece". La Confrérie Amicale. สืบค้นเมื่อ 25 June 2019.
- ↑ "A Szent István Rend tagjai" เก็บถาวร 22 ธันวาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Hof- und Staats-Handbuch des Großherzogtum Baden (1858), "Großherzogliche Orden" pp. 34, 48
- ↑ Hof- und Staats-Handbuch des Großherzogtum Hessen (1865), "Großherzogliche Orden und Ehrenzeichen" p. 10
- ↑ Hof- und Staats-Handbuch des Königreich Hannover (1865), "Königliche Orden und Ehrenzeichen" p. 38
- ↑ Cibrario, Luigi (1869). Notizia storica del nobilissimo ordine supremo della santissima Annunziata. Sunto degli statuti, catalogo dei cavalieri (ภาษาอิตาลี). Eredi Botta. p. 120. สืบค้นเมื่อ 4 March 2019.
- The Cactus Throne by Richard O'Connor
- The Crown of Mexico by Joan Haslip
- Maximilian and Juarez by Jasper Ridley
- La Corona de Sombra by Rodolfo Usigli
- From Mexico to Miramar or, Across the Lake of Oblivion by C.M. Mayo, Massachusetts Review, December 2006
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Imperial House of Mexico
- C.M. Mayo's Maximilian Page
- Recollections of my life by Maximilian I of Mexico Vol. I at archive.org
- Recollections of my life by Maximilian I of Mexico Vol. II at archive.org
- Recollections of my life by Maximilian I of Mexico Vol. III at archive.org
- Manet, The Execution Maximilian, Five Paintings 1867 - 1869
ก่อนหน้า | จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งเม็กซิโก | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิอากัสตินที่ 2 | จักรพรรดิแห่งเม็กซิโก (ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค) (10 เมษายน ค.ศ. 1864 - 19 มิถุนายน ค.ศ. 1867) |
จักรพรรดิอากัสตินที่ 3 | ||
ฮวน เมโพมูนซีโน อัลมอนท์ โฮเซ่ มาเรียโน่ ซาลัส ผู้สำเร็จราชการแทน |
พระประมุขแห่งเม็กซิโก (ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค) (10 เมษายน ค.ศ. 1864 - 19 มิถุนายน ค.ศ. 1867) |
เบนิโต ฆัวเรซ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีแห่งเม็กซิโก | ||
จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย | อุปราชแห่งลอมบาร์ดี - เวเนเทีย (ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค) (ค.ศ. 1857 - ค.ศ. 1859) |
จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 (เวเนเทีย) สมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2 แห่งอิตาลี (ลอมบาร์ดี) |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2375
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2410
- คริสต์ศตวรรษที่ 19 ในเม็กซิโก
- มกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิออสเตรีย
- มกุฎราชกุมารแห่งฮังการี
- ราชวงศ์ออสเตรีย
- ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค
- ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
- จักรพรรดิเม็กซิโก
- พระมหากษัตริย์ที่ถูกสำเร็จโทษ
- ผู้ถูกประหารชีวิตด้วยอาวุธปืน
- จักรวรรดิเม็กซิโกที่ 2
- พระมหากษัตริย์ผู้ทรงก่อตั้ง
- เจ้าแผ่นดินที่ถูกปลดจากราชบัลลังก์