พ.ศ. 2451
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 1908)
พุทธศักราช 2451 (นับแบบใหม่) ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1908 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน
- ปีวอก สัมฤทธิศก จุลศักราช 1270 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- เจ้าประเทศราช:
- เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่: เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ (28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 - 5 มกราคม พ.ศ. 2453)
- เจ้าผู้ครองนครลำพูน: เจ้าอินทยงยศโชติ (3 มกราคม พ.ศ. 2441 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2454)
- เจ้าผู้ครองนครลำปาง: เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต (3 มกราคม พ.ศ. 2441 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465)
- เจ้าผู้ครองนครน่าน: พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 - 5 เมษายน พ.ศ. 2461)
- เจ้าประเทศราช:
เหตุการณ์
[แก้]- 10 มีนาคม - ไทยเสียดินแดนตรังกานู กลันตัน ไทรบุรี ปะลิสให้อังกฤษ
- 22 พฤษภาคม - พี่น้องตระกูลไรต์ จดสิทธิบัตรอากาศยานที่พวกเขาสร้างขึ้น
- 30 พฤษภาคม - ก่อตั้งสมาคมบูดี โอโตโม ในอินโดนีเซีย
- 30 มิถุนายน - การระเบิดที่ทุงกุสกา เกิดขึ้นในไซบีเรีย
- 13 กรกฎาคม - การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกอนุญาตให้ผู้หญิงเข้าร่วมแข่งขันเป็นครั้งแรก
- 26 กรกฎาคม - สหรัฐอเมริกาก่อตั้งหน่วยงานที่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (เอฟบีไอ)
- 29 สิงหาคม - ออกพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124
- 22 กันยายน - วันประกาศเอกราชในประเทศบัลแกเรีย
- 12 ตุลาคม - ประกาศตั้งหอสมุดวชิรญาณ
- 11 พฤศจิกายน - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมรูปทรงม้า และวางศิลาฤกษ์พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ซึ่งจัดขึ้นในวโรกาสที่พระองค์ทรงครองราชย์ครบ 40 ปี ยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในประวัติศาสตร์ขณะนั้น
- 12 พฤศจิกายน - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดสะพานเฉลิมโลก 55 ข้ามคลองแสนแสบ ที่ถนนราชดำริและถนนเพชรบุรี (บริเวณแยกประตูน้ำ ในปัจจุบัน)
- 28 พฤศจิกายน - โรงเรียนเกษตราธิการ ได้ถือกำเนิดขึ้น ณ วังสระปทุม ซึ่งรวบรวมโรงเรียน 3 โรงเรียนคือ โรงเรียนแผนที่ โรงเรียนกรมคลอง และโรงเรียนวิชาการเพาะปลูก โดยกระทรวงเกษตราธิการ
- ไม่ทราบวัน สนามฟุตบอลเอลโมลีนอน เปิดใช้งานเป็นวันแรกและเป็นสนามฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศสเปนที่ยังคงใช้อยู่อีกด้วย
วันเกิด
[แก้]- 18 มกราคม - เจ้าหญิงซิบิลลาแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา พระราชมารดาในสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน (สวรรคต 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515)
- 28 มีนาคม - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระโอรสพระองค์เดียวใน สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (สิ้นพระชนม์ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2506)
- 5 เมษายน - เบตตี เดวิส นักแสดงชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 6 ตุลาคม พ.ศ. 2532)
- 8 เมษายน - หยุด แสงอุทัย ปรมาจารย์ทางสาขาวิชานิติศาสตร์ท่านหนึ่งของประเทศไทย (อนิจกรรม 30 ธันวาคม พ.ศ. 2522)
- 21 เมษายน - หม่อมราชวงศ์นิมิตรมงคล นวรัตน (เสียชีวิต 11 เมษายน พ.ศ. 2491)
- 28 พฤษภาคม - เอียน เฟลมมิง นักประพันธ์ชาวอังกฤษ (เสียชีวิต พ.ศ. 2507)
- 16 มีนาคม - จิตติ ติงศภัทิย์ นักกฎหมายคนสำคัญของประเทศไทย (เสียชีวิต 3 มีนาคม พ.ศ. 2538)
- 27 สิงหาคม - ลินดอน บี. จอห์นสัน ประธานาธิบดีคนที่ 36 ของสหรัฐฯ (เสียชีวิต พ.ศ. 2516)
- 5 ตุลาคม - หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย (เสียชีวิต 3 มกราคม พ.ศ. 2552)
- 10 ตุลาคม - พระครูโกวิทพัฒนาโนดม (เกลี้ยง เตชธฺมโม)
วันสิ้นพระชนม์ วันถึงแก่กรรม วันมรณภาพ
[แก้]- 10 กรกฎาคม - เจ้าหญิงเอลีซาเบ็ทแห่งซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซอนัค (ประสูติ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2397)
- 26 กรกฎาคม - พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ (ประสูติ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2428)
- 14 พฤศจิกายน - จักรพรรดิกวังซฺวี่ (พระราชสมภพ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2414)
- 15 พฤศจิกายน - ซูสีไทเฮา (พระราชสมภพ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2378)
- ไม่ระบุ - พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง (เกิด พ.ศ. 2370)