สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ
สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ | |
---|---|
![]() | |
พระปรมาภิไธย | สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ |
พระอิสริยยศ | สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งกรีซ |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์กลึคสบวร์ก |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
พระราชสมภพ | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 ณ พระราชวังตาตอย,ประเทศกรีซ |
สวรรคต | 1 เมษายน พ.ศ. 2490 ณ เอเธนส์,ประเทศกรีซ (พระชนมายุ 56 พรรษา) |
พระราชบิดา | พระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ |
พระราชมารดา | เจ้าหญิงโซฟีแห่งปรัสเซีย |
พระมเหสี | เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย |
ลายพระอภิไธย | ![]() |
สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ (ภาษากรีก: Γεώργιος Β', Βασιλεύς των Ελλήνων) (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 - 1 เมษายน พ.ศ. 2490) ทรงปกครองกรีซตั้งแต่ พ.ศ. 2465 - พ.ศ. 2468 และตั้งแต่ พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2490
ช่วงต้นของชีวิต ครั้งแรกของการเป็นกษัตริย์และการลี้ภัย[แก้]
เจ้าชายจอร์จทรงพระราชสมภพที่พระตำหนักในพระราชวังตาตอย ใกล้เอเธนส์ เป็นพระโอรสพระองค์ในสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซกับพระมเหสีเจ้าหญิงโซฟีแห่งปรัสเซีย พระองค์เป็นพระปนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรและเป็นพระนัดดาในสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ ชาวเดนมาร์กเจ้าชายแห่งกวอกเบิร์ก ผู้ซึ่งได้รับเลือกเป็นกษัตริย์ในปีพ.ศ. 2406 ราชวงศ์ของเจ้าชายจอร์จเป็นหนึ่งในห้าเชื้อสายของราชวงศ์ไบแซนไทน์
เจ้าชายจอร์จทรงดำเนินการงานทางด้านกองทัพ ทรงเข้าการฝึกกับราชองครักษ์แห่งปรัสเซียเมื่อพระชนมายุ 18 พรรษา จากนั้นทรงเข้าร่วมการรบในสงครามบอลข่านเป็นหนึ่งในกองทัพทหารราบกรีก เมื่อพระอัยกาทรงถูกลอบปลงพระชนม์ในปีพ.ศ. 2457 เจ้าชายจอร์จจึงกลายเป็นรัชทายาทในพระยศดยุคแห่งสปาร์ตา
หลังจากการรัฐประหารยึดอำนาจสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 มกุฎราชกุมารจอร์จทรงลี้ภัยไปพร้อมกับพระบิดาในปีพ.ศ. 2461 พระอนุชาของพระองค์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งกรีซ ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์โดยการแต่งตั้งของนายกรัฐมนตรี อีเลฟเทอริออส เวนิเซลอส เป็นสาธารณรัฐอย่างแท้จริง
เมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์สวรรคตหลังจากทรงติดเชื้อหลังจากถูกวานรกัดในปีพ.ศ. 2463 เวนิเซลอสถูกลงมติให้พ้นจากตำแหน่งและการลงมติจากประชาชนได้ให้พระราชาธิบดีคอนสแตนตินกลับคืนสู่ราชบัลลังก์ มกุฎราชกุมารจอร์จทรงได้เป็นพันเอกหลังจากการทำสงครามต่อต้านตุรกี ในช่วงนี้ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย พระธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนียกับสมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 ณ บูคาเรสต์ โรมาเนีย เมื่อกองทัพเติร์กชนะกองทัพกรีซในสงครามอิสเมอร์ พระราชาธิบดีคอนสแตนตินทรงสละราชสมบัติและเจ้าชายจอร์จทรงครองราชสมบัติสืบต่อในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2465
การพ่ายแพ้ครั้งนี้ทำให้พระราชวงศ์ถูกยึดอำนาจโดยนายกรัฐมนตรี เอียนนิส เมทาซัสในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2466 เหล่าคณะปฏิวัติได้เสนอให้พระองค์ออกจากประเทศในขณะที่คณะชาติได้พิจารณาปัญหารัฐบาลในอนาคต พระองค์ทรงยินยอมแต่ปฏิเสธที่จะสละราชสมบัติ ทรงออกจากประเทศในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2466 และไปยังภูมิลำเนาของพระมเหสีคือโรมาเนีย เมื่อสาธารณรัฐได้ถูกก่อตั้งในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2467 พระองค์ทรงถูกขับออกจากราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการ ทรงถูกถอนสัญชาติกรีกและสิทธิในทรัพย์สมบัติทั้งหมด
พระมเหสีของพระองค์ประทับที่บูคาเรสต์ พระองค์เสด็จประพาสอังกฤษและเยี่ยมพระมารดาที่ฟลอเรนซ์บ่อยๆ ในพ.ศ. 2475 เสด็จออกจากโรมาเนียไปประทับที่อังกฤษ พระองค์ทรงไม่มีพระโอรสธิดาและทรงหย่ากับพระราชินีเอลิซาเบธในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2478
การฟื้นฟูระบอบกษัตริย์และยุคการปกครองของเมทาซัส[แก้]
กรีซในระหว่างปีพ.ศ. 2467 ถึงพ.ศ. 2478 ได้มีการเปลี่ยนคณะรัฐบาลทั้งหมด 23 คณะ การเผด็จการและ 13 รัฐประหาร นายพลจอร์จิออส คอนไดลิส อดีตสมาชิกลัทธิเวนิเซลิสซึมได้ยึดอำนาจรัฐบาลในปีพ.ศ. 2478 และตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรี เขาได้ดำเนินการลงมติจากรัฐบาลเพื่อสิ้นสุดระบอบสาธารณรัฐ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 ผู้ลงมติ 95% สนับสนุนการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์
พระราชาธิบดีจอร์จซึ่งพำนักอยู่ที่ลอนดอน ได้เสด็จกลับแผ่นดินกรีกในวันที่ 25 พฤศจิกายน พระองค์ทรงแต่งตั้งศาสตราจารย์คอนสแตนตินอส เดอเมิร์ตซิสเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว ได้มีการเลือกตั้งในเดือนมกราคม ผลปรากฏว่าเหล่าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งกรีซได้เสียงข้างมาก และได้มีเหตุการณ์การตายของนักการเมืองที่มีชื่อเสียงหลายคน(รวมทั้งนายพลจอร์จิออส คอนไดลิสและคอนสแตนตินอส เดอเมิร์ตซิส)เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้จึงเป็นการก้าวสู่อำนาจของเอียนนิส เมทาซัส ในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2479 พระราชาธิบดีจอร์จได้ลงนามอนุมัติการตั้งคณะรัฐบาลเผด็จการของเมทาซัสเรียกว่า"คณะรัฐบาลสิงหาคมที่ 4" ได้ล้มเลิกระบอบรัฐสภา สั่งปิดพรรคการเมืองต่างๆ ล้มล้างรัฐธรรมนูญ และสถาปนา"อารยธรรมเฮเลนที่ 3" พระราชาธิบดีภายใต้การปกครองของเมทาซัสทรงตระหนักถึงลัทธิฟาสซิสต์ เหล่านักการเมืองฝ่ายตรงข้ามได้ถูกจับหลายคน และรัฐบาลได้มีการสั่งห้ามเผยแพร่งานเขียนและหนังสือต่างๆรวมทั้งงานเขียนของเพลโต,ธูซิดดิดีสและซีนอพอน นักปรัชญาสมัยกรีกโบราณ
สงครามโลกครั้งที่ 2[แก้]
จากการขยายตัวทรงเศรษฐกิจและลัทธิเผด็จการของนาซีเยอรมนี และสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ปะทุขึ้น ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2483 เมทาซัสได้ปฏิเสธคำขาดของอิตาลีที่ต้องการนำกำลังพลมาประจำการในกรีซ ทำให้อิตาลียกพลบุกกรีซ เกิดเป็นสงครามกรีซ-อิตาลี กรีซป้องกันสำเร็จและได้ยึดดินแดนทางตอนใต้กว่าครึ่งของแอลเบเนีย แต่เมื่อเยอรมนีบุกบัลแกเรียใน 6 เมษายน พ.ศ. 2484 และได้ถูกบุกรุกล้ำดินแดนและแผ่นดินใหญ่ของกรีซถูกยึดครอง
ในวันที่ 23 เมษายน พระราชาธิบดีและคณะรัฐบาลได้ออกจากแผ่นดินใหญ่ไปอยู่ที่เกาะครีต แต่หลังจากเกิดยุทธการเกาะครีต ซึ่งเกาะครีตถูกโจมตีทางอากาศอย่างหนัก พระองค์ทรงลี้ภัยไปอียิปต์ และทรงลี้ภัยสู่อังกฤษอีกครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ทรงขอร้องพระองค์ให้ออกจากประเทศ ซึ่งขณะนั้นกรีซได้ถูกยึดครองแล้ว
เสด็จนิวัติกรีซและสวรรคต[แก้]
หลังสงครามยุติ ในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2489 พระองค์เสด็จกลับกรีซ และในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2490 พระองค์ทรงถูกพบหมดสติในห้องของพระองค์ที่พระราชวังหลวงในเอเธนส์ และสิ้นพระชนม์ในวันต่อมาด้วยภาวะผนังเส้นโลหิตแดงหนาและมีความยึดหยุ่นน้อยลง โดยบางคนคิดว่าเป็นเรื่องล้อเล่นเพราะเป็นวันเอพริลฟูลส์ พระศพของพระองค์ถูกฝังที่วิหารออร์ทอด็อกซ์แห่งการรู้แจ้งในเอเธนส์
พระอนุชาของพระองค์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีพอลที่ 1 แห่งกรีซได้สืบราชสมบัติต่อ จากการลี้ภัยของพระองค์บ่อยครั้งทำให้ทรงถูกวิจารณ์ว่า"สิ่งจำเป็นของกษัตริย์แห่งกรีซคือ “กระเป๋าเดินทาง"
อ้างอิง[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ | ![]() |
![]() สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งชาวเฮเลน (ครั้งที่ 1) (ราชวงศ์ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-กลึคสบวร์ก) (พ.ศ. 2465 – พ.ศ. 2468) |
![]() |
ไม่มี สาธารณรัฐเฮเลน |
ไม่มี สาธารณรัฐเฮเลน |
![]() |
![]() สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งชาวเฮเลน (ครั้งที่ 2) (ราชวงศ์ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-กลึคสบวร์ก) (พ.ศ. 2478 – พ.ศ. 2490) |
![]() |
สมเด็จพระราชาธิบดีพอลที่ 1 แห่งกรีซ
|