ข้ามไปเนื้อหา

ราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง

Regno delle Due Sicilie (อิตาลี)
Kingdom of the Two Sicilies (อังกฤษ)
ค.ศ. 1816–ค.ศ. 1861
เพลงชาติInno al Re
(เพลงสรรเสริญกษัตริย์)
อาณาเขตของราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง
อาณาเขตของราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง
สถานะราชอาณาจักร
เมืองหลวงเนเปิลส์
ภาษาทั่วไปภาษาอิตาลี
ภาษาซิซิลี
ภาษาเนเปิลส์
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (1816-1848, 1849-1861)
พระเจ้าแผ่นดิน 
• 1816–1825
เฟอร์ดินานด์ที่ 1
• 1825–1830
ฟรานซิสที่ 1
• 1830–1859
เฟอร์ดินานด์ที่ 2
• 1859–1861
ฟรานซิสที่ 2
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
12 ธันวาคม ค.ศ. 1816
• การรวมชาติอิตาลี
12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1861
ประชากร
• ค.ศ. 1860
8,703,000 คน
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรซิซิลี
ราชอาณาจักรเนเปิลส์
ราชอาณาจักรอิตาลี (ค.ศ. 1861-1946)

ราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง (อิตาลี: Regno delle Due Sicilie; อังกฤษ: Kingdom of the Two Sicilies) เป็นชื่อใหม่ที่สมเด็จพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง หรือสมเด็จพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 4 แห่งเนเปิลส์แห่งราชวงศ์บูร์บงทรงพระราชทานให้แก่บริเวณทางใต้ของอิตาลีและซิซิลีหลังจากสมัยนโปเลียนและการฟื้นฟูอำนาจเมื่อปี ค.ศ. 1816 ที่มีเมืองหลวงอยู่ที่เนเปิลส์

ที่มา

[แก้]

ก่อนที่ฝรั่งเศสจะรุกรานในสมัยนโปเลียนราชวงศ์บูร์บงปกครองอยู่ในบริเวณนี้ซึ่งขณะนั้นแบ่งเป็นสองราชอาณาจักร: ราชอาณาจักรเนเปิลส์และราชอาณาจักรซิซิลี พระเจ้าชาลส์ที่ 7 ทรงขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสเปน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1759 มาตรา 2 ของสนธิสัญญาเนเปิลส์ลงนามเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1759 กำหนดให้ทรงตั้งพระราชโอรสองค์ที่สาม เจ้าชายดอนเฟอร์ดินานโด (ที่ทรงตั้งราชโอรสองค์ที่ 4 เพราะต้องยกเว้นราชโอรสองค์แรกเจ้าชายฟิลลิปดยุคแห่งคาลาเบรียผู้ทรงเป็นปัญญาอ่อน) ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง

พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ทรงได้รับมงกุฏซิซิลีทั้งสองในพระนามพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 4 แห่งราชอาณาจักรเนเปิลส์และพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 3 แห่งราชอาณาจักรซิซิลีตามกำหนดของกฎการสืบราชบัลลังก์ (Pragmatic Decree) ของวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1759 ซึ่งกำหนดว่าผู้สืบราชวงศ์จะไปทางพระราชโอรสของพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ และถ้าไม่มีพระราชโอรสก็จะไปทางพระอนุชา นอกจากว่ากษัตริย์แห่งสเปนจะรวมกับราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง ซึ่งถ้าเกิดขึ้นก็จะตกไปเป็นของพระราชโอรส, พระราชนัดดา หรือ great-grandson ของผู้ครองสองนคร

ถ้าสายของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสเปนสิ้นสุดลง มงกุฏราชบัลลังก์ซิซิลีทั้งสองก็จะตกไปเป็นของพระญาติสตรีที่ใกล้ที่สุดกับพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน หลังจากเปลี่ยนชื่อราชอาณาจักรเป็นราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสองแล้วเจ้าชายเฟอร์ดินานด์ก็ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง

ที่มาของชื่อ

[แก้]

ชื่อ “ซิซิลีทั้งสอง” มาจากการแยกอาณาจักรซิซิลีในปี ค.ศ. 1282 แม้ว่าจะปกครองอย่างเป็นอาณาจักรเดียวมาร่วมร้อยห้าสิบปี เกาะซิซิลีและแผ่นดินใหญ่แยกตัวจากกันเมื่อ Sicilian Vespers แข็งตัวและขับการปกครองของเนเปิลส์ออกจากซิซิลีและยอมรับกษัตริย์จากอารากอนแทนที่

ราชอาณาจักรเนเปิลส์ฝรั่งเศสปกครองบริเวณเนเปิลส์แต่ยังใช้เรียกตนเองว่าราชอาณาจักรซิซิลีเพื่อแสดงว่ายังเป็นเจ้าของซิซิลีอยู่ ฉะนั้นบริเวณเนเปิลส์จึงเป็นที่รู้จักกันในนาม “ราชอาณาจักรซิซิลีทางฝั่งแหลมฟาโร” ตามประภาคารตรงปลายแหลมทางด้านช่องแคบเมสสินา แม้ว่าราชอาณาจักรซิซิลีมิได้ใช้ชื่อเรียกตนเองว่า “ราชอาณาจักรซิซิลี” มาตั้งแต่สัญญาสงบศึกคาลตาเบลลอตตาในปี ค.ศ. 1302 แต่ใช้ชื่อตรีนาเกรียแทนที่

อาณาจักรทั้งสองมิได้เป็นอิสระภายใต้การปกครองของตนเองจนกระทั่งปี ค.ศ. 1735 ภายใต้การนำของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสเปน และมิได้รวมเป็นอาณาจักรเดียวกันจนกระทั่งปี ค.ศ. 1815 ตามการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (Congress of Vienna)

ระหว่างปี ค.ศ. 1816 ถึงปี ค.ศ. 1848 เกิดการปฏิวัติต่อต้านการปกครองของราชวงศ์บูร์บงถึงสามครั้งในอิตาลีรวมทั้งการปฏิวัติเพื่ออิสรภาพของซิซิลี ปี ค.ศ. 1848 เมื่อซิซิลีเป็นอิสระจากการปกครองของราชวงศ์บูร์บงเป็นเวลา 16 เดือน

พระเจ้าแผ่นดินของราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง ค.ศ. (1816–1861)

[แก้]
พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง

ในปี ค.ศ. 1860–1861 ราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสองสูญเสียอิสรภาพต่อราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย ตำแหน่งอาณาจักรซิซิลีทั้งสองจึงสิ้นสุดลง แต่ก็ยังมีการอ้างสิทธิโดยประมุขของราชวงศ์บูร์บง-ซิซิลี

บุคคลอื่นๆ ในราชวงศ์ซิซิลีทั้งสอง:

ราชวงศ์บูร์บง-ซิซิลีทั้งสองนอกบัลลังก์

[แก้]

ราชวงศ์บางราชวงศ์ยังมีสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์บูร์บง-ซิซิลีทั้งสองนอกบัลลังก์รวมทั้งสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย, พระเจ้าแผ่นดินแห่งบาวาเรีย, วืร์ทเต็มเบิร์ก และฮาโนเวอร์, พระราชินีแห่งสเปน สมเด็จพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย และ พระสันตะปาปา

พระประมุขของราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง (ค.ศ. 1861–ปัจจุบัน)

[แก้]

ธงของราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง

[แก้]
คำบรรยายขององค์ประกอบของธง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Alio, Jacqueline. Sicilian Studies: A Guide and Syllabus for Educators (2018), 250 pp.
  • Eckaus, Richard S. "The North-South differential in Italian economic development." Journal of Economic History (1961) 21#3 pp: 285–317.
  • Finley, M. I., Denis Mack Smith and Christopher Duggan, A History of Sicily (1987) abridged one-volume version of 3-volume set of 1969)
  • Imbruglia, Girolamo, ed. Naples in the eighteenth century: The birth and death of a nation state (Cambridge University Press, 2000)
  • Petrusewicz, Marta. "Before the Southern Question: 'Native' Ideas on Backwardness and Remedies in the Kingdom of Two Sicilies, 1815–1849." in Italy's 'Southern Question' (Oxford: Berg, 1998) pp: 27–50.
  • Pinto, Carmine. "The 1860 disciplined Revolution. The Collapse of the Kingdom of the Two Sicilies." Contemporanea (2013) 16#1 pp: 39–68.
  • Riall, Lucy. Sicily and the Unification of Italy: Liberal Policy & Local Power, 1859–1866 (1998), 252pp
  • Zamagni, Vera. The economic history of Italy 1860–1990 (Oxford University Press, 1993)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • (ในภาษาอิตาลี) Brigantino – Il portale del Sud, a massive Italian-language site dedicated to the history, culture and arts of southern Italy
  • (ในภาษาอิตาลี) Casa Editoriale Il Giglio, an Italian publisher that focuses on history, culture and the arts in the Two Sicilies
  • (ในภาษาอิตาลี) La Voce di Megaride, a website by Marina Salvadore dedicated to Napoli and Southern Italy
  • (ในภาษาอิตาลี) Associazione culturale "Amici di Angelo Manna", dedicated to the work of Angelo Manna, historian, poet and deputy
  • (ในภาษาอิตาลี) Fora! The e-journal of Nicola Zitara, professor; includes many articles about southern Italy's culture and history
  • Regalis, a website on Italian dynastic history, with sections on the House of the Two Sicilies